บทสรุปและข้อเสนอแนะ โครงการ ‘FACTkathon : Fact-Collab to Debunk Dis-infodemic’

บทความ

‘FACTkathon : Fact-Collab to Debunk Dis-infodemic’
บทสรุปและข้อเสนอแนะ

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับกิจกรรมการแข่งขันระดมสมอง “หักล้างมูลเท็จ แสวงหาความจริงร่วม” “FACTkathon : Fact-Collab to Debunk Dis-infodemic” ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และเป็นความร่วมมือกับสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ มูลนิธิสภาการหนังสือพิมพ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย (Fnf Thailand) สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น ChangeFusion Centre for Humanitarian Dialogue (HD) และ ภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) นับตั้งแต่วันแถลงข่าวเปิดตัวกิจกรรมในวันที่ 22 ก.ย. 2564 ถึงการมอบรางวัลในวันที่ 24 พ.ย. 2564

งานนี้นอกจากจะเป็นการประชันไอเดียของคนรุ่นใหม่ระดับมหาวิทยาลัย ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแก้ปัญหาข่าวลวงที่มากมายในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีการระดมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวทางการหา “ความจริงร่วม” ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้ที่มีความเห็นต่างได้อย่างปกติสุข เกิดเป็นบทสรุปของโครงการ ดังนี้

1) ทวงถามความรับผิดชอบกับผู้ผลิตและส่งต่อข่าวลวง : มีข้อเสนอแนะให้มีวิธีการป้องกันและแก้ไขข้อความ
ผู้ผลิตและผู้ส่งต่อข่าวลวง ที่จะช่วยลดการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นลงได้

2) ให้ความสำคัญกับทักษะ “รู้เท่าทันสื่อ” : การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ไม่ใช่วิชาที่เกิดขึ้นใหม่ในยุคดิจิทัล แต่ถูกพูดถึงเรื่องนี้นับตั้งแต่มีการเกิดขึ้นของสื่อมวลชนยุคอนาล็อก (วิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์) เช่น กลยุทธ์หรือเทคนิคที่ใช้ผลิตเนื้อหาผ่านสื่อแต่ละประเภทใช้ส่งสารถึงปัจเจกชนหรือกลุ่มคนซึ่งเป็นผู้รับสาร บทบาทของสื่อต่อการสร้างกระแสค่านิยมหรือวัฒนธรรมต่างๆ ในสังคม เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล การผลิตและส่งต่อข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้นทั้งกว้างขวางและรวดเร็ว การรู้เท่าทันสื่อจึงยิ่งมีความสำคัญเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อข่าวลวงหรือข้อมูลบิดเบือน

ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าแพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ Facebook , Twitter , Instagram , Line ฯลฯ ถูกออกแบบมาให้ทำงานอย่างไร และผู้ผลิตเนื้อหา (Content) ใช้วิธีการอย่างไรในการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้รับสาร ซึ่งจะซับซ้อนกว่าสื่อดั้งเดิม เช่น แพลตฟอร์มบางชนิดสามารถใช้วิธีการบางอย่างเพื่อให้สาร (ข้อความ ภาพ คลิปวีดีโอ คลิปเสียง) ถูกมองเห็นอย่างกว้างขวางและในความถี่ต่อเนื่อง หรือมีสถิติการส่งต่อจำนวนมาก ผู้ที่ไม่รู้เท่าทันวิธีการเหล่านี้อาจเชื่อไปก่อนแล้วว่าเป็นเรื่องจริงโดยไม่ได้ตรวจสอบ

3) ลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล : แม้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่จะถูกมองว่าเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Native) จึงใช้งานได้คล่องกว่าคนวัยอื่นๆ ที่อาจจะเพิ่งรู้จักเทคโนโลยีดิจิทัลในวัยกลางคนหรือวัยเกษียณ แต่ในความเป็นจริงก็ยังพบช่องว่าง กล่าวคือ เด็กและเยาวชนในครัวเรือนที่ไม่มีทุนทรัพย์จัดหาเครื่องมือเชื่อมต่อ (Device) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และ/หรือเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ด้านดิจิทัล อาทิ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่สัญญาณมีความเสถียร ย่อมมีข้อจำกัดในการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลเมื่อเทียบกับเด็กและเยาวชนในครัวเรือนที่มีความพร้อม

4) สนับสนุนบทบาทขององค์กรที่ทำงานต่อต้านข่าวลวงที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถนำข้อมูลไปถึงผู้คนได้ง่าย : ปัจจุบันมีความพยายามจากหลายฝ่ายในการต่อสู้กับปัญหาข่าวลวง ทั้งภาครัฐที่มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ภาคสื่อมวลชนที่มีศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ของ อสมท. และภาควิชาการ-ประชาชน ที่รวมตัวกันในนามโคแฟค ซึ่งนอกจากจะสนับสนุนให้องค์กรเหล่านี้ทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วแล้ว ควรพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลที่เมื่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตไปพบข้อมูลบางอย่างแล้วสงสัย สามารถส่งไปประมวลผลกับระบบขององค์กรข้างต้นได้ทันทีว่าเคยมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วหรือยัง (ข่าวลวงหลายข่าวมักมีลักษณะ “แชร์วนซ้ำ” บางเรื่องพิสูจน์กันไปแล้วหลายปีว่าไม่จริงแต่ก็ยังมีการส่งต่อวนกลับมาอีก)

5) ขยายแนวร่วมตรวจสอบข่าวลวงสู่ระดับท้องถิ่น : ในความเป็นจริงที่การสื่อสารรวดเร็ว ข้อมูลถูกผลิตและส่งต่ออย่างมหาศาล ข่าวลวงหรือข้อมูลบิดเบือนจึงมีความหลากหลายซึ่งบางเรื่องอาจจะไม่ได้เป็นกระแสมากพอที่องค์กรจากส่วนกลางจะมองเห็นและเข้าไปตรวจสอบ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างแนวร่วมในระดับชุมชน ซึ่งอาจเป็นสื่อมวลชนท้องถิ่น หรือแกนนำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ฯลฯ) โดยให้ผู้ที่สนใจประเด็นข่วงลวงมาฝึกฝนทักษะการตรวจสอบ รวมถึงพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะว่าจะส่งเสริมเรื่องนี้ในระดับท้องถิ่นของตนเองอย่างไร เพราะแต่ละพื้นที่นั้นมีบริบททางสังคมไม่เหมือนกัน

6) สร้างวัฒนธรรม “ตั้งคำถาม” และ “ยอมรับความเปลี่ยนแปลง” : ได้รับข้อมูลอะไรมาอย่าเพิ่งเชื่อในทันที แต่ต้องสงสัยไว้ก่อนซึ่งจะนำไปสู่การสืบค้นข้อเท็จจริง อีกทั้งเข้าใจว่าข้อมูลต่างๆ เปลี่ยนแปลงได้หากมีข้อเท็จจริงใหม่เกิดขึ้น การเปลี่ยนความคิดตามข้อเท็จจริงจึงไม่ใช่เรื่องผิดหรือน่าละอาย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะที่ผ่านมาสังคมไทยเป็นสังคมที่คุ้นชินกับการเชื่อตามๆ กันมา ไม่ว่าเชื่อในวัยวุฒิ (อาวุโสกว่า อายุมากกว่า) หรือคุณวุฒิ (การศึกษาสูงกว่า ตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่า) ดังนั้นต้องเริ่มจากระบบการศึกษาที่นักเรียนต้องสามารถตั้งคำถามกับตำราหรือสิ่งที่ครูบาอาจารย์สอนได้ แต่ประเด็นนี้ก็มีความท้าทายที่ต้องไปเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน รวมถึงการฝึกอบรมครูในมหาวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์

7) เปิดพื้นที่ให้ “ผู้เห็นต่าง” ได้พูดคุยกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างความเข้าใจและหาจุดร่วมของแต่ละฝ่าย : เนื่องจากเรื่องราวหนึ่งนั้นมีหลายมุม และแต่ละคนมักเลือกรับข้อมูลเพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ตรงกับอารมณ์ความรู้สึก (อคติ-Bias) หรือความเชื่อของตนเองและไม่เปิดรับชุดข้อมูลที่แตกต่าง นานวันเข้าจึงทำให้เกิดความแตกแยกและขัดแย้ง ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะมีพื้นที่ให้ผู้เห็นต่างได้มาพูดคุยกันโดยไม่มีแรงกดดันจากสถานะที่แตกต่าง (เช่น วัย อำนาจ)

แม้ว่าแต่ละฝ่ายจะไม่ได้เห็นด้วยเหมือนกันหมดทุกเรื่อง แต่ “การเปิดใจรับฟังกันและกัน” ย่อมเปิดโอกาสนำไปสู่การแสวงหาและค้นพบแง่มุมที่แต่ละฝ่ายสามารถยอมรับร่วมกันได้ อย่างไรก็ตาม ข้อแสนอนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยเหตุผลเดียวกับเรื่องการสร้างวัฒนธรรมตั้งคำถาม เพราะที่ผ่านมาสังคมไทยคุ้นชินกับการยึดมั่นในวัยวุฒิหรือคุณวุฒิที่มีลำดับชั้นต่ำ-สูง อีกทั้งยังขาดการฝึกฝนทักษะการสื่อสารกับผู้ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งในแง่ความคิดเห็นและแง่สถานะต่างๆ ทางกายภาพและทางสังคม ดังนั้นจึงเป็นสิ่งท้าทายที่ต้องฝึกทักษะเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้นในทุกช่วงวัย


ขอบคุณที่มา
https://www.presscouncil.or.th/7014

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 16 มกราคม 2565

จริงหรือไม่…? “เนื้อดิบ”  มีสรรพคุณเป็นยา ป้องกันและรักษา #โควิด19

ไม่จริง

เพราะ…ไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์ยืนยัน และการรับประทานเนื้อดิบอาจมีผลทำให้เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/k0uo7sjukrs4


จริงหรือไม่…? ข้อมูลผู้ป่วยรพ. ศิริราชกว่า 39 ล้านคน รั่วไหล และถูกนำไปประกาศขายในอินเทอร์เน็ต 

ไม่จริง

เพราะ…คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่พบการรั่วไหลของข้อมูลในสังกัดแต่อย่างใด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1adohe7p85fab


จริงหรือไม่…? #เมล็ดฝรั่ง ทำให้เกิดไส้ติ่ง

ไม่จริง

เพราะ…ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบสาเหตุหลักเกิดจากการอุดตันของไส้ติ่งเอง เมล็ดกะท้อนมีความเสี่ยงจะทำให้ลำไส้อุดตันมากกว่าฝรั่ง เพราะมีขนาดใหญ่

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/kzem545ykwqt


จริงหรือไม่…? พืชกระท่อมสามารถยับยั้งและทำลายเชื้อไวรัสโคโรน่าได้

ไม่จริง

เพราะ…ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่ายังไม่มีกลไกงานวิจัยในการต้านไวรัส และยังไม่ได้มีคำอธิบายในทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน การกินใบกระท่อมมีผลระยะยาวทำให้เกิดการเสพติดได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/l4pq4h1cnl9u


จริงหรือไม่…? คนว่างงานหรือมองหารายได้เสริมสามารถเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อรับเงินแสน เงินสงเคราะห์ + เงินสนับสนุน รับเงิน 1,400 บ.และรับเงินทันทีหลังจากทำงานและลงทะเบียนเสร็จ

ไม่จริง

เพราะ…เป็นการแอบอ้างกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โดยไม่ได้รับอนุญาต

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1w52v3d5ievlj


จริงหรือไม่…? กทม. ได้เพิ่มจุดฉีดวัคซีนทั่ว กทม. 101 จุด รับมือโควิด

จริง

เพราะ…ณ ศูนย์เยาวชนฯไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง/ รพ.สังกัด กทม. 11 แห่ง/ 20 โรงพยาบาลเครือข่ายความร่วมมือ และ 69 ศูนย์บริการสาธารณสุข ของ กทม. สามารถลงทะเบียนจองคิวผ่าน แอปฯ QueQ 

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/f7ygqg0pp9tz


จริงหรือไม่…? ไวรัสโคโรนาเสียสมรรถนะการติดเชื้อมนุษย์ 90% หมดภายใน 20 นาทีที่ออกมาลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งอัตราการสูญเสียส่วนใหญ่ภายใน 5 นาทีแรก

จริง

เพราะ…เว็บ medRxiv ชี้ให้เห็นว่า หากหากสวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างจากบุคคลอื่น โอกาสในการติดเชื้อก็จะน้อยลง 

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3w14bb4p8b8mf


จริงหรือไม่…? กทม.- หลายจังหวัด จับผู้ที่ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย ภายในรถ

จริง

เพราะ…เพื่อให้ประชาชนเคร่งครัดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด19

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/29vipnp3wy2dc


จริงหรือไม่…? โควิดโอมิครอน ติดเชื้อและเพิ่มจำนวนในเซลล์ทางเดินหายใจ ทำให้แพร่กระจายได้ง่าย

จริง

เพราะ…แพร่เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตาประมาณ 70 เท่า แต่ที่เซลล์เนื้อปอดกลับเพิ่มจำนวนได้ช้ากว่า เป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายได้ว่าทำไมสายพันธุ์โอมิครอนถึงแพร่เร็ว เพราะมันชุกชุมในทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งแพร่กระจายไปยังผู้คนรอบข้างได้ง่าย แต่ไม่ค่อยมีอันตรายอะไรมาก

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/20wwfx70jlcba


จริงหรือไม่…? วัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถฉีดวันเดียวกับวัคซีนโควิด 19 ได้

จริง

เพราะ…เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยลง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/22lf1rily4mwz


จริงหรือไม่…? มีโรคระบาด “อหิวาต์แอฟริกันหมู ASF “ ในประเทศไทย

จริง

เพราะ…กรมปศุสัตว์ยอมรับ ตรวจพบโรคระบาดร้ายแรง ที่นครปฐม เมื่อปี 2561 ต่อมา ครม.มีมติเป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี 2562 พร้อมประกาศเขตโรคระบาด-แจ้งองค์การโรคระบาดสัตว์ #OIE

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/17sas038qzpbk


จริงหรือไม่…? การหาวบ่อย อาจเป็นสัญญาณของโรคอันตราย

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…อาจเกี่ยวข้องโรคหรือภาวะเจ็บป่วยที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคลมชัก ตับวาย ฯลฯ หากหาวบ่อยผิดปกติควรได้รับการตรวจจากแพทย์

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1t7r5p0tgln0r


จริงหรือไม่…? การดื่มน้ำที่ไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ไม่ดี ก่อให้เกิดสมองเสื่อมได้

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…น้ำไม่เพียงพอเป็นส่วนหนึ่งของเลือดที่สูบฉีดไปทั่วร่างกาย ทำให้เลือดมีความข้นหนืดมากขึ้นทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้ เป็นสาเหตุของอาการสมองเสื่อม

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3akjz74e4r07t

มาตรการรับมือกับโอมิครอนในต่างประเทศ Cofact Special Report #12

บทความ

มาตรการรับมือกับโอมิครอนในต่างประเทศ

ปัจจุบันโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนกำลังแพร่ระบาดหนักและแทนที่สายพันธุ์เดลต้าแล้วในหลายประเทศ แต่ละประเทศมีมาตรการรับมือไวรัสสายพันธุ์นี้แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะคล้ายกันก็คือมาตรการที่ใช้กับโอมิครอนไม่เข้มงวดเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์ดั้งเดิม เนื่องจากผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายฉบับระบุตรงกันว่าความรุนแรงของเชื้อโอมิครอนน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ บวกกับการฉีดวัคซีนและภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนผู้ป่วยครองเตียง และผู้ป่วยหนักน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า

ฝรั่งเศสผ่านร่างกฎหมาย Vaccine Pass เกือบทุกกิจการต้องตรวจปชช.ก่อนเข้าใช้บริการ

เมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศสอนุมัติแผนการออกเอกสารอนุญาตให้ประชาชนที่ฉีดวัคซีนครบตามจำนวนโดสสามารถเข้าใช้บริการสถานที่ต่างๆ หรือ Vaccine Pass โดยบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปจะต้องแสดงคิวอาร์โค้ดที่ระบุว่าตนได้รับการฉีดวัคซีนครบตามจำนวนโดสแล้ว ทั้งนี้ฝรั่งเศสยังไม่ใช้มาตรการล็อกดาวน์ หรือปิดสถานประกอบการต่างๆ ถึงแม้จะมียอดผู้ติดเชื้อต่อวันถึงหลักแสนคน เนื่องจากรัฐบาลบอกว่าปัจจุบันอัตราครองเตียงของผู้ป่วยโควิดนั้นอยู่ราวๆ 50-60% ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์โอมิครอน

โรงเรียนในสหราชอาณาจักรยังคงเปิดตามปกติ

รัฐบาลอังกฤษยังคงอนุญาตให้โรงเรียนในประเทศเปิดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ตามปกติในภาคเรียนใหม่ โดยนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนทุกคนจะต้องมีผลตรวจโควิด-19 เป็นลบมาแสดงก่อนเข้าโรงเรียนในวันเปิดเทอมวันแรก อย่างไรก็ตามนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา อายุ 12 ปีขึ้นไปจะต้องสวมหน้ากากอนามัยขณะอยู่ในพื้นที่โรงเรียนตลอดเวลา ถึงแม้จะมีผลตรวจโควิดเป็นลบ และฉีดวัคซีนครบจำนวนโดสแล้วก็ตาม 

สหราชอาณาจักรกำลังประสบกับปัญหาขาดแคลนครูที่สามารถเข้าสอนในโรงเรียนได้ นาดฮิม ซาฮาวี รัฐมาตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของสหราชอาณาจักรระบุว่า ในช่วงปลายปีที่ผ่านมามีครูลาป่วยเนื่องจากป่วยด้วยโควิด หรือมีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูงกว่า 8% และเขาคาดว่าในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโอมิครอนพอดี อาจจะมีจำนวนครูที่ลาป่วยมากกว่านี้

รัฐนิวเซาท์เวลส์สั่งปิดสถานบันเทิง สกัดโอมิครอน

ผู้ว่าการรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐที่มีประชากรมากที่สุดในออสเตรเลีย ซึ่งมีเมืองสำคัญอย่างนครซิดนีย์ สั่งปิดสถานบันเทิงชั่วคราวเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อโอมิครอน พร้อมกับเพิ่มมาตรการจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการร้านอาหาร และคาเฟ่ ห้ามมีการยืนดื่มสุรา หรือเต้น และห้ามมีการเล่นดนตรีสดในร้านอาหาร ส่วนห้างสรรพสินค้า ฟิตเนส และสถานประกอบการอื่นๆ ยังเปิดให้บริการได้ตามปกติ

ออสเตรเลียกำลังประสบกับปัญหาจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อรายวันสูงถึง 35,000 ราย

สหรัฐฯ อนุมัติฉีดวัคซีนเข็ม 3 ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป

เมื่อวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA อนุมัติให้ใช้วัคซีนของไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค เข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) ให้กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป โดย FDA กำหนดเกณฑ์ให้เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 เดือน 

รอเชล วาเลนสกี้ ผู้อำนวยการองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ ระบุว่า เด็กมีความจำเป็นต้องเข้ารับการฉีดวัคซีน เนื่องจากจะช่วยลดความรุนแรงของเชื้อ และยังมีส่วนช่วยให้การเรียนการสอนในโรงเรียนดำเนินต่อไปได้โดยไม่ต้องกลับไปเรียนออนไลน์ที่บ้าน เนื่องจากมีผลการศึกษาชัดเจนว่าการเรียนในโรงเรียนส่งผลดีต่อพัฒนาการและทักษะการเข้าสังคมของเด็ก สุขภาพจิตของเด็กดีกว่า 

ขณะที่อดีตคณะที่ปรึกษาทางการแพทย์ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เผยแพร่บทความในเว็บไซต์วารสารทางการแพทย์ JAMA แนะนำให้รัฐบาลสหรัฐฯ เปลี่ยนแนวคิดใหม่เพื่อรับมือกับโควิด-19 เนื่องจากผลการศึกษาหลายแห่งระบุตรงกันว่า โควิด-19 กำลังจะเป็นโรคประจำถิ่น ดังนั้นรัฐบาลควรหันมาดูแลผู้ป่วยเสมือนผู้ที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง เร่งการฉีดวัคซีน และปรับมาพัฒนายารักษา พร้อมกับมีมาตรการให้ประชาชนเข้าถึงยา และอุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากอนามัยคุณภาพสูงแบบ N95 และ KN95 และชุดตรวจหาเชื้อด้วยตนเองที่บ้าน (ATK) ได้ง่ายกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะสุดท้ายแล้วเราต้องอยู่กับโควิด-19 ให้ได้

เกาหลีใต้ออกมาตรการห้ามผู้ที่ยังไม่ฉีดวัคซีนเข้าห้างฯ-ซูเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่

เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ประชาชนสามารถรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ ได้ไม่เกิน 4 คน และสถานประกอบการต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพจะต้องปิดให้บริการภายในเวลา 22:00 นอกจากนี้รัฐบาลยังขยายขอบเขตประเภทกิจการที่ผู้เข้าใช้บริการต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนก่อนเข้าใช้บริการเพิ่มเติม ได้แก่ห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ หลังจากก่อนหน้านี้อนุมัติให้ใช้กับร้านอาหารแบบนั่งรับประทานในร้าน โรงภาพยนตร์ ฟิตเนสและสปามาแล้ว ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปจะต้องแสดงหลักฐานดังกล่าว (วัคซีนพาส) ก่อนเข้าใช้บริการสถานที่เหล่านี้ ส่วนแผนการใช้วัคซีนพาสกับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปยังคงเลื่อนไปก่อน เนื่องจากปัจจุบันยังมีเด็กอีกกว่า 30% ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนแม้แต่เข็มเดียว ทั้งนี้รัฐบาลจะขอเวลาใช้มาตรการนี้อีก 2 สัปดาห์เพื่อประเมินสถานการณ์ว่าระบบสาธารณสุขยังสามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยได้อยู่หรือไม่

สิงคโปร์ปรับกฎใหม่ ฉีดวัคซีนครบ ต้อง 3 เข็ม

เมื่อวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ประกาศให้ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปต้องไปฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป โดยชาวสิงคโปร์ และผู้พักอาศัยจะต้องไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภายใน 9 เดือน เพราะหลังจากนั้นรัฐบาลสิงคโปร์จะปรับเกณฑ์ใหม่ว่าผู้ฉีดวัคซีนครบโดสจะต้องฉีด 3 เข็ม (2 เข็มสำหรับผู้ที่เคยฉีดวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันมาก่อน) ผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นจะไม่นับว่าเป็นผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ และอาจถูกปฏิเสธการใช้บริการสถานที่ต่างๆ เช่นการนั่งรับประทานอาหารในร้าน หรือการใช้บริการโรงภาพยนตร์และฟิตเนส 

ลอเรนซ์ หว่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ยังระบุด้วยว่า ขณะนี้รัฐบาลยังคงไม่ใช้มาตรการเข้ม เช่นการล็อกดาวน์ เนื่องจากจะกระทบกับภาคเศรษฐกิจ แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่ผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติม ปัจจุบันสิงคโปร์ใช้มาตรการตรวจหลักฐานการฉีดวัคซีนสำหรับผู้เข้าใช้บริการสถานประกอบการในร่ม เช่น ร้านอาหาร ฟิตเนส ห้างสรรพสินค้า และโรงภาพยนตร์ และจำกัดจำนวนโต๊ะและผู้รับประทานอาหารร่วมโต๊ะในร้านอาหาร

ที่มา​:

https://thehill.com/policy/healthcare/588342-boosters-needed-to-be-considered-fully-vaccinated-in-singapore?rl=1

https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-01-05/singapore-says-boosters-needed-to-be-considered-fully-vaccinated

uhttps://edition.cnn.com/world/live-news/omicron-variant-coronavirus-news-01-06-22/index.html

https://www.reuters.com/world/europe/french-parliament-approves-latest-covid-vaccine-measures-2022-01-06/

https://www.bbc.com/news/uk-59886078

http://www.arirang.com/news/News_View.asp?nseq=290610

https://www.channelnewsasia.com/world/covid-19-australia-new-south-wales-most-populous-state-reinstate-some-curbs-2419846


เกี่ยวกับผู้เขียน

ธนภณ เรามานะชัย (ไมค์) Fact-checker และ คอลัมนิสต์ประจำ Cofact Thailand

ปัจจุบันทำหน้าที่วิทยากรด้านการตรวจสอบข้อมูลข่าวและเครื่องมือดิจิทัลด้านข่าวให้กับ Google News Initiative ก่อนหน้านี้เขาเป็นผู้ประกาศข่าวเทคโนโลยีให้กับสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (Voice TV) และอดีตกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) https://www.damikemedia.com

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 9 มกราคม 2565

จริงหรือไม่…? มุสลิมไทยได้เป็นเจ้าของบัญชีธนาคารอิสลามทุกคน สามารถกู้เงินโดยไม่ต้องใช้หนี้คืนได้

ไม่จริง

เพราะ…เป็นการแอบอ้างใช้ภาพสื่อประชาสัมพันธ์ของมุสลิมไทยโพสต์ ลูกค้าที่ขอสินเชื่อกับธนาคารอิสลามจะต้องชำระเงินต้น และกำไรตามสัญญา

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/yo08j5vm0g7k


จริงหรือไม่…? คนท้องสามารถกินน้ำกระท่อมได้

ไม่จริง

เพราะ…จะมีผลกับเด็กในท้อง เพราะมีสารออกฤทธิ์บางตัวที่คล้ายกับการทำงานของ พวกฝิ่น มอร์ฟีน ทรามาดอล (เขียวเหลือง) ดังนั้น หากใช้ในสตรีมีครรภ์ จึงมีความเป็นไปได้ว่า จะมีผลกับเด็กในท้อง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/qk2lh6m881ft


จริงหรือไม่…? ทุกสถานศึกษา #เชียงใหม่  ชะลอการเรียนแบบปกติ On site ตั้งแต่ 4 – 9 มกราคม 2565

จริง

เพราะ…ออกคำสั่งโดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นรูปแบบอื่นตามความเหมาะสมเพื่อยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคในสถานที่ราชการและหน่วยงานของรัฐ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1tadgo5o5mc1u


จริงหรือไม่…? โอมิครอนหรือโอไมครอนรุนแรงน้อยกว่าโควิดสายพันธุ์อื่น

จริง

เพราะ…งานวิจัยเผย ผู้ป่วย #โอมิครอน นำตัวส่งโรงพยาบาลน้อยลง 60% เทียบกับผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตาซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1tc00c1tb8w4r


จริงหรือไม่…? การรับประทานยาฟาวิพิราเวียร์ รักษาโควิด ตาจะมีอาการกลายเป็นสีม่วงเรืองแสง

จริง

เพราะ…ยาประกอบไปด้วยสารเรืองแสง ยาเลยกระจายไปทั่วร่าง ทั้งผิว เส้นผม เล็บ ลูกตา บางคนจะเห็นชัดเลยว่าเรืองแสง บางคนก็มองด้วยตาเปล่าแล้วเห็นเป็นสีม่วงๆ ทั้งนี้ร่างกายจะกำจัดยาออกไปเอง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/14e3fpi015n4


จริงหรือไม่…? การกินแล้วนอนสามารถทำให้อ้วนได้ 

จริง

เพราะ…กินเสร็จแล้วนอนทันที ร่างกายแทบจะไม่มีการนำเอาพลังงานมาใช้ น้ำตาลที่ได้จากการกินอาหาร แทนที่จะเปลี่ยนเป็นพลังงานกลับต้องถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันแทน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1yyhr3zcf3ggy


จริงหรือไม่…? ยื่นภาษี 64 เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ต้องเสียภาษี

จริง

เพราะ…สําหรับพ่อค้าแม่ค้า ที่เข้าร่วมโดย “รายได้จากการขาย” คือ ยอดขายปกติ และ “ยอดขายคนละครึ่ง” ถือเป็น “เงินได้พึงประเมิน” ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2bmyu7htw087r


จริงหรือไม่…? ช้อปดีมีคืน ปี 2565 ซื้อสินค้า-บริการ ลดหย่อนภาษี ใช้ลดหย่อนได้สูงสุด 30000 บาท 

จริง

เพราะ…สำหรับผู้มีภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถใช้สิทธิได้ทุกคน ยกเว้นพวกห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลไม่ต้องลงทะเบียน โดยซื้อของที่มี vat หนังสือ otop เก็บใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ เพื่อลดหย่อนภาษีปีภาษี 2565 ยื่น 2566

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/pdvxffx2izko


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 2 มกราคม 2565

จริงหรือไม่…?  ฉีดวัคซีนเสี่ยงติดโควิดมากกว่าคนมีภูมิธรรมชาติ 13 เท่า

ไม่จริง

เพราะ…ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่าเป็นข้อมูลจากผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีนในสหรัฐฯ ซึ่งข้อมูลจากเวบยังไม่ผ่านการ Peer Review หรือประเมินความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญในแวดวงวิชาการ จึงไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงในงานปฏิบัติการทางคลินิกได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/19wndw8al1fv


จริงหรือไม่…? Moderna และ Johnson&Johnson ปกปิดข้อมูลในฉลากวัคซีน

ไม่จริง

เพราะ…ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า ไม่ใช่การจงใจปิดบังข้อมูล แต่เป็นความต้องการให้ผู้คนค้นหาข้อมูลของวัคซีนทางออนไลน์ เนื่องจากมีการอัพเดทข้อมูลที่ทันต่อสถานการณ์มากกว่า

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/7dbjehi6342y


จริงหรือไม่…? ธนาคารออมสิน เปิดสินเชื่อสู้ภัยไวรัส ไม่มีงานทำก็กู้ได้ วงเงิน 500,000 บาท

ไม่จริง

เพราะ…สินเชื่อดังกล่าวมีชื่อว่า สินเชื่อสวัสดิการสู้ภัยโควิด ไม่มีชื่อเรียกอื่น และเป็นสินเชื่อที่ให้บริการแก่ผู้ที่มีเงินเดือนมีรายได้ประจำเท่านั้น

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/x11vehlwznwn


จริงหรือไม่…?  สหภาพยุโรป มีมติยอมรับ Thailand Digital Health Plus บนหมอพร้อม เพื่อเข้าประเทศในสหภาพยุโรปกว่า

จริง

เพราะ…เริ่มใช้งานได้ภายใน ม.ค. 65 ใช้เดินทางเข้าประเทศกว่า 60 แห่ง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/356lom19vs8c3


จริงหรือไม่…? “ไวรัสนิปาห์” ไม่มีวัคซีน โอกาสตาย 70%

จริง

เพราะ…เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน จากการสัมผัสมูลสัตว์ และสารคัดหลั่งของพาหะนำโรค ยังไม่มียาต้านทานไวรัสนิปาห์ได้โดยตรง รวมไปถึงยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1idck1qcvhp1c


จริงหรือไม่…? ครม. มอบของขวัญให้ลูกจ้างแรงงาน เพิ่มเงินสงเคราะห์ลูกจ้างสูงสุด 100 เท่า

จริง

เพราะ…เพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์จากกองทุนฯลูกจ้างสูงสุด 100 เท่า รวมทั้งสมทบผู้ประกันตน ม.40 นาน 6 เดือนและฟรีดอกเบี้ย 0% นาน 12 เดือน สำหรับการกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/ywoluir96edx


จริงหรือไม่…? ไขมันพอกตับ คือสิ่งที่คนไทยเป็นกันเยอะมาก ไม่ใช่เพียงเพราะแอลกอฮอล์ แต่การกินขนมเครื่องดื่มก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…การกินอาหารให้พลังงานสูง แอลกอฮอลล์ เป็นสาเหตุของไขมันพอกตับ แต่ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับเพศ ประเภท ปริมาณและระยะเวลาดื่มแอลกอฮอล์ และนอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆด้วย

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3b9j0j5gd7x2

แนะนำเครื่องมือตรวจสอบข้อมูลลวงด้วยตนเอง Cofact Special Report #11

บทความ

ทำความรู้จัก OSINT วิธีการสำคัญสำหรับตรวจสอบข่าวลวง-ข่าวเท็จ

นิก วอเตอร์ส บรรณาธิการของ Bellingcat ลาออกจากกองทัพอังกฤษเมื่อปี 2015 เขาได้ทำงานกับกองทัพมาเป็นเวลา 4 ปี ด้วยความที่เขาสนใจประเด็นเรื่องปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทำให้เขาตัดสินใจศึกษาต่อปริญญาโทสาขาด้านความมั่นคงและความขัดแย้งที่ King’s College London

ระหว่างที่เขาเรียน เขาเกิดสนใจประเด็นที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวกรองแบบ Open Source หรือ OSINT หรือการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่เขาเขียนคือหัวข้อ power of OSINT for investigating disinformation during the Ukrainian conflict หรือพลังของ OSINT ในการสืบค้นข้อมูลลวงเกี่ยวกับปัญหาข้อพิพาทระหว่างยูเครน บทความนี้ถูกตีพิมพ์ใน Bellingcat เว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสืบสวนสอบสวน ก่อนหน้านั้นเขายังได้เขียนบทความเกี่ยวกับสงครามในเยเมน ข้อพิพาทในซีเรีย และข้อมูลการจู่โจมด้วยโดรนของประเทศต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลประเภท OSINT อีกด้วย

วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ OSINT ได้รับความนิยมมากในยุคสื่อสังคมออนไลน์ การเข้าถึงเซิร์จเอนจิ้น และเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ช่วยให้คนทั่วไปเข้าถึงฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลบนโลกอินเทอร์เน็ต ช่วยให้นักข่าว นักวิจัย หรือแม้แต่หน่วยงานความมั่นคงใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการสืบสวนคดียากๆ 

Bellingcat ก่อตั้งโดย เอเลียต ฮิกกินส์ นักข่าวในเมืองเลเชสเตอร์ของอังกฤษ สำนักข่าวนี้เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการค้นหาข้อมูลแบบ OSINT ในช่วงเริ่มแรกเขานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอาวุธที่ใช้ในสงครามซีเรีย ต่อมาพวกเขาได้รับความสนใจจากการนำเสนอข่าวสืบสวนสอบสวนกรณีเครื่องบินสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบิน MH17 ถูกยิงตกเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2014 ปัจจุบันพวกเขานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนเชิงลึกที่ใช้วิธีแบบ OSINT และฝึกอบรมผู้ที่สนใจในการทำข่าวด้วยวิธีนี้

วอเตอร์สบอกกับ First Draft ถึงทักษะ เครื่องมือ และความสามารถที่จำเป็นในการสืบสวนสอบสวนข้อมูลแบบโอเพนซอร์ส และนี่คือประเด็นสำคัญที่เขาได้สรุป

  1. ความคล่องแคล่วในการวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูล

การยืนยันความถูกต้องของรูปภาพและวีดีโอที่เราพบบนสื่อโซเชียลเป็นสิ่งสำคัญของกระบวนการ OSINT โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลบนโลกออนไลน์มีจำนวนมาก การยืนยันข้อมูลด้วยวิธี OSINT จึงสำคัญกับนักข่าวเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันเป็นทักษะที่จะช่วยให้พวกเขาวิเคราะห์ที่มาของภาพได้

ปกติแล้วเรามักจะเห็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สำคัญๆ บันทึกภาพของพวกเขาแล้วโพสลงสื่อโซเชียลเช่นทวิตเตอร์ก่อนที่ภาพเหล่านั้นจะถูกเผยแพร่ผ่านทางสื่อกระแสหลัก ถึงแม้ข้อมูลเหล่านี้จะสำคัญต่อการนำเสนอข่าว แต่หลายครั้งภาพเหล่านี้ก็มักนำเสนอความจริงบางส่วน หรืออาจจะเป็นภาพเท็จก็ได้

ดังนั้นเราควรตั้งคำถามกับทุกเนื้อหา ภาพถ่าย และวีดีโอที่เราเห็นบนสื่อโซเชียล และตรวจสอบว่าผู้ที่โพสเป็นใคร เพราะอะไรเขาหรือเธอจึงโพสเนื้อหาเหล่านั้น เหมือนกับที่วอเตอร์สย้ำเสมอว่า “การวิเคราะห์ที่มาของข้อมูลคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ OSINT”

  1. ทักษะด้านการค้นหาขั้นสูง

นอกจากการเข้าใจว่าเราจะหาข้อมูลโอเพนซอร์ชจากไหนได้แล้ว การมีทักษะการใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูลเหล่านั้นด้วยความเข้าใจก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ทวิตเตอร์และกูเกิลมีเครื่องมือที่เคล็ดลับและเครื่องมือค้นหาขั้นสูงที่ช่วยให้เราปลดล็อกข้อมูลสำคัญเหล่านี้ได้

การค้นหาขั้นสูงผ่านทวิตเตอร์ (Twitter’s advanced search) สามารถช่วยให้เราค้นหาทวีตที่มีข้อความ สถานที่ วัน เวลา ภาษา ประเภทชื่อบัญชี หรือแม้แต่แฮชแทคที่เราสนใจได้ (เมื่อไม่นานมานี้ เฟซบุ๊กได้ยุติการให้บริการฟังค์ชั่นค้นหาแบบละเอียด เช่นการใช้คีย์เวิร์ด สถานที่ หรือช่วงเวลาของโพสต่างๆ)

ขณะที่กูเกิลเองก็มีคำสั่งการค้นหาพิเศษ ที่จะช่วยให้เราค้นหาข้อมูลได้ละเอียดมากกว่าการค้นหาแบบปกติ วอเตอร์สบอกว่า “กูเกิลเป็นเครื่องมือค้นหาที่มีความสามารถมากกว่าที่คุณคิด แต่หลายครั้งที่ผู้ใช้งานมักจะใช้เพียงฟังค์ชั่นพื้นฐานของมัน”

  1. แนวคิดแบบนักสืบ

การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสืบค้นข้อมูล OSINT ที่ดี คนคนนั้นจะต้องมีแนวคิดแบบนักสืบ วอเตอร์สบอกว่า “เขาจะไม่ตัดสินข้อมูลเพียงแค่การใช้เครื่องมือแค่หนึ่งหรือสองอย่าง แต่สิ่งที่ทำให้พวกเรา (นักวิจัยด้าน OSINT) สนุกกับการทำงานร่วมกันก็คือความรักในการแก้ปริศนาต่างๆ”

เขาบอกด้วยว่า การเข้าใจความรู้สึกและการกระทำของคนในเหตุการณ์สำคัญๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญ เราควรเรียนรู้พฤติกรรมของพวกเขาและนำมาใช้ในการสืบหาข้อมูล

วอเตอร์สบอกว่า “เครื่องมือต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งที่ยังคงอยู่คือหลักการ และแนวคิดแบบสืบสวนสอบสวน รวมถึงการมองหาวิธีการที่หลากหลายในการสืบค้นหาความจริง”

  1. เข้าใจความเป็นจริงของเหตุการณ์ด้วยเครื่องมือตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ

หัวใจสำคัญของการวิจัยเรื่อง OSINT ของวอเตอร์ส คือการเข้าใจว่าภาพถ่าย หรือคลิปวีดีโอต่างๆ นั้นถ่ายจากสถานที่ใด 

เขาจะใช้เครื่องมือตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุอย่าง Google Maps, Google Earth และการค้นหาภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) จากเซิร์จเอนจิ้นของรัสเซีย Yandex และเว็บค้นหาภาพ RevEye ประกอบการยืนยันสถานที่เกิดเหตุ

นอกจากนี้เขายังใช้เครื่องมือยืนยันสภาพอากาศ เช่น SunCalc และ ShadowCalculator เพื่อยืนยันว่าเวลาที่เกิดเหตุตรงกับภาพที่โพสหรือไม่

วอเตอร์สใช้วิธีการวาดเส้นเพื่อเปรียบเทียบจุดสองจุดในภาพถ่ายดาวเทียมว่าตรงกับจุดที่ผู้โพสภาพถ่ายหรือไม่ (ภาพจาก: Nick Waters/Twitter)

แต่การรู้จักวิธีใช้เครื่องมือการค้นหาพิกัดที่ตั้งต่างๆ อาจจะไม่เพียงพอเสมอไป

วอเตอร์สบอกว่า “หลายครั้งที่คนเรามักจะตัดสินทันทีว่าภาพที่ถ่ายเกิดในสถานที่ที่มีการกล่าวอ้างจริง การรู้จักภาษาท้องถิ่นที่ใช้ในพื้นที่นั้นๆ หรือการเข้าใจวัฒนธรรมของภูมิภาคที่เกิดเหตุจะช่วยให้เรายืนยันสถานที่เกิดเหตุได้ง่ายขึ้น”

ซาเมีย ฮาร์บ (@obretix บนทวิตเตอร์) ผู้เชี่ยวชาญด้านพิกัดภูมิศาสตร์บอกว่า เขาได้นำเทคนิคการยืนยันสถานที่เกิดเหตุจากวอเตอร์สไปใช้ยืนยันสถานที่เกิดเหตุข้อพิพาทในซีเรีย

วอเตอร์สบอกว่า ฮาร์บมีความสามารถในการจับคู่ภาพกับสถานที่ รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์จริงในพื้นที่ของซีเรียเป็นอย่างดี

  1. การส่วนร่วมในการสืบค้นข้อมูล

มูฮัมมัด อิดรีส์ อาหมัด อาจารย์ด้านวารสารศาสตร์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยสเตอร์ลิงได้เขียนถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการสืบสวนหาข้อมูลร่วมกันด้วยวิธี OSINT ในวารสาร The New York Review of Books

Bellingcat นำหลักการนี้มาใช้ต่ออีกขั้นด้วยวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนนักสืบสวนข้อมูลระดับโลก วอเตอร์สบอกว่า “นักสืบสวนข้อมูลทั่วโลกมีการใช้หลักการแบบ OSINT เหมือนๆ กัน หลายครั้งที่พวกเขารวมตัวกันเป็นชุมชนเพื่อช่วยยืนยันข้อมูลและจุดเกิดเหตุในสถานที่ที่อาจตรวจสอบได้ยาก พวกเขามองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายใหม่ๆ ไม่ได้เป็นงานที่น่าเบื่อ” 

เขายังบอกอีกด้วยว่า นักข่าวที่ใช้ทักษะ OSINT ควรใช้สื่อสังคมออนไลน์สร้างการมีส่วนร่วมในการยืนยันข้อมูลและสถานที่เกิดเหตุ เพราะการสร้างชุมชนที่มีส่วนร่วมในการยืนยันข้อมูลร่วมกัน ย่อมมีพลังมากกว่าการทำตามลำพัง

ที่มา: https://firstdraftnews.org/articles/the-skills-every-digital-investigator-needs/


เกี่ยวกับผู้เขียน

ธนภณ เรามานะชัย (ไมค์) Fact-checker และ คอลัมนิสต์ประจำ Cofact Thailand

ปัจจุบันทำหน้าที่วิทยากรด้านการตรวจสอบข้อมูลข่าวและเครื่องมือดิจิทัลด้านข่าวให้กับ Google News Initiative ก่อนหน้านี้เขาเป็นผู้ประกาศข่าวเทคโนโลยีให้กับสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (Voice TV) และอดีตกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) https://www.damikemedia.com

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 26 ธันวาคม 2564

จริงหรือไม่…? ธนาคารกรุงเทพ ส่ง SMS อีเมล LINE หรือ Facebook เพื่อขอข้อมูลส่วนตัว

ไม่จริง

เพราะ…เป็นมิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็นธนาคาร หลอกเอาข้อมูลส่วนตัว

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3397kynn0elt5


จริงหรือไม่…? #WHO เตือน ยกเลิกงานปีใหม่วันนี้ ดีกว่าเสียใจทีหลัง

จริง

เพราะ…เพื่อป้องกันการระบาดใหญ่ของโอไมครอน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/9qmwpclzi1lk


จริงหรือไม่…? อาการของสายพันธุ์ #โอไมครอน

จริง

เพราะ…เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย เหนื่อยมาก ไอแห้ง เหงื่อออกตอนกลางคืน และหากไม่ได้ฉีดวัคซีน อาการอาจจะรุนแรงมากกว่านี้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/387vyk6ggu6lw


จริงหรือไม่…? อย. อนุมัติวัคซีนไฟเซอร์ สำหรับกลุ่มเด็ก 5-11 ปี

จริง

เพราะ…อย. อนุมัติวัคซีนไฟเซอร์ในกลุ่มเด็ก 5 – 11 ปี ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ 2 เข็ม ห่างกัน 21 วัน วัคซีนลดลงเหลือ 10 ไมโครกรัม

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/z55nbv9lgrtq


จริงหรือไม่…?แกงไทยมีคุณสมบัติต้านเซลล์มะเร็ง

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…งานวิจัยพบว่า แกงป่า แกงส้ม แกงเหลือง แกงเลียง มีส่วนช่วยยับยั้งกระบวนการของเซลล์มะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามควรทานอาหารให้หลากหลายตามหลักโภชนาการ

อ่านต่อได้ที่

https://cofact.org/article/1gmucm3r32n03


จริงหรือไม่…? กทม. แถลงด่วน ประกาศยกเลิกงานปีใหม่ทั้งหมด

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ยกเลิก งานปีใหม่ และสวดมนต์ข้ามคืน ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพฯ ส่วนภาคเอกชนเป็นการขอความร่วมมือให้ ‘งด’ แต่หากจะจัดต้องมีมาตรการดเข้มงวด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2nxt5fq0ykdrp

ทำความรู้จักโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน อันตรายแค่ไหน? วัคซีนป้องกันได้หรือไม่? Cofact Special Report #10

บทความ

English Summary

COVID-19’s Omicron variant has been spreading across the globe and will soon be the main variant in some parts of the world. Although the initial data suggested that this variant does not cause the severe illness, but many countries do not take a risk and start putting some restrictions back. Thailand has been reporting a few dozen Omicron cases in the past month with no significant surge. However, the government does not take a chance and encourage people who have been fully vaccinated to get boosted and those who are still unvaccinated to get their first shot. In this article, we answer frequently asked questions on Omicron situation in Thailand, such as most common symptoms and how effective the current vaccines prevent the severe diseases and hospitalization. 

โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ล่าสุดที่กำลังแพร่ระบาดมากขึ้นทั่วโลก และกำลังเป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดมากที่สุดในแถบแอฟริกาใต้แทนที่สายพันธุ์เดลต้า ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมารัฐบาลในหลายประเทศเร่งศึกษาข้อมูล และใช้มาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมไม่ให้สายพันธุ์โอมิครอนแพร่ระบาด เนื่องจากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าสายพันธุ์นี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ 

คำถาม: สถานการณ์การแพร่ระบาดของโอมิครอนเป็นอย่างไร?

คำตอบ: ปัจจุบันโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายรวดเร็วที่สุดในประเทศแถบแอฟริกาใต้ แทนที่สายพันธุ์เดลต้าแล้ว ขณะที่ประเทศแถบยุโรป และอเมริกาเหนือเริ่มผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนในเอเชียยังพบผู้ติดเชื้อไม่มาก อย่างไรก็ตามโควิดสายพันธุ์เดลต้า ยังคงเป็นสายพันธุ์ที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุดทั่วโลก แต่ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าโอมิครอนจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดหนักในอีกไม่ช้า

คำถาม: ลักษณะอาการของผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเป็นอย่างไรบ้าง?

คำตอบ: ผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนส่วนใหญ่จะมีไข้ ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ ประมาณ 3-4 วันอาการจะดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงรับรสชาติอาหาร และกลิ่นได้ดีอยู่

คำถาม: ความรุนแรงของอาการป่วยมากหรือน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า?

คำตอบ: จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขของไทย และจากศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐฯ (CDC) พบว่าความรุนแรงของอาการป่วยของสายพันธุ์โอมิครอนมีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ก่อนหน้า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายป่วยเองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล อย่างไรก็ตามในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ด้วยกันเองยังไม่สามารถฟันธงได้อย่างแน่ชัดถึงความรุนแรงของเชื้อ

คำถาม: จริงหรือไม่ที่สายพันธุ์โอมิครอนเกิดจากการฉีดวัคซีนที่น้อยในประเทศแถบแอฟริกา?

คำตอบ: มีการคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญหลายคน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในประเทศแอฟริกาใต้ว่า จำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนที่น้อยในทวีปแอฟริกา ส่งผลให้ไวรัสกลายพันธุ์จนเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่เช่นโอมิครอน อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญยังไม่สรุปตรงกันว่านี่คือสาเหตุหลักของการเกิดสายพันธุ์นี้

คำถาม: วัคซีนปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อของสายพันธุ์โอมิครอนได้หรือไม่?

คำตอบ: ผลการศึกษาของไฟเซอร์ และโมเดอร์นา สองผู้ผลิตและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 พบว่า วัคซีน 2 เข็มมีประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์โอมิครอนค่อนข้างต่ำ แต่ยังสามารถป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ ขณะที่การฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนได้ดีกว่า ทำให้หน่วยงานสาธารณสุขในหลายๆ ประเทศ เร่งการฉีดวัคซีนเข็ม 3 ให้กับประชาชนเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ และแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน รวมถึงสายพันธุ์เดลต้าที่มีความรุนแรงของอาการมากกว่า อย่างไรก็ตามทั้งสองบริษัท รวมถึงผู้ผลิตวัคซีนรายอื่นๆ กำลังเร่งศึกษาและพัฒนาวัคซีนเวอร์ชั่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์โอมิครอนโดยเฉพาะ คาดว่าจะสามารถใช้กับประชาชนทั่วไปได้ภายในต้นปี หรือกลางปีหน้า

คำถาม: วิธีการป้องกันตัว เช่น การสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือบ่อยๆ ยังใช้ได้กับสายพันธุ์โอมิครอนหรือไม่?

คำตอบ: โควิด-19 ทุกสายพันธุ์สามารถแพร่กระจายได้ในอากาศ ดังนั้นการสวมหน้ากากอนามัยเวลาที่อยู่ในพื้นที่ที่มีคนจำนวนมากๆ และการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ยังเป็นสิ่งจำเป็น

คำถาม: จะมีโอกาสหรือไม่ที่โอมิครอนจะเป็นสายพันธุ์โควิด-19 หลักที่มาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า?

คำตอบ: ปัจจุบันโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดในประเทศแถบแอฟริกาตอนใต้เป็นทีเรียบร้อยแล้ว จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขของสหราชอาณาจักรคาดการณ์ว่าภายในอีกไม่กี่เดือน โอมิครอนจะกลายเป็นโควิด-19 สายพันธุ์หลักในประเทศ เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อต่อวันของสายพันธุ์นี้มีแนวโน้มสูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ

คำถาม: ประเทศไทยมีการรับมือกับการแพร่ระบาดของสายพันธุ์นี้อย่างไร?

คำตอบ: ปัจจุบันรัฐบาลใช้มาตรการตรวจหาเชื้อผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยทุกคนด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีที่ละเอียดและแม่นยำที่สุด นักท่องเที่ยว และผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไม่ว่าจะมาจากประเทศไหนก็ตาม ทั้งในกลุ่มประเทศสีเขียว (Test & Go), กลุ่ม Sandbox และกลุ่มที่ต้องกักตัว 14 วันจะต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR และต้องทราบผลเป็นลบก่อนจึงจะสามารถออกจากที่พักได้ ส่วนผู้ที่เดินทางมาจากประเทศในทวีปแอฟริกาใต้ทั้งหมดจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไทยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมนี้เป็นต้นไป ยกเว้นชาวไทยหรือผู้ที่มีใบอนุญาตพำนักในประเทศไทยที่เดินทางด้วยเที่ยวบินพิเศษที่ได้รับอนุญาตจากทางรัฐบาลเท่านั้น โดยผู้ที่เดินทางเข้าไทยจะต้องเข้ารับการกักตัวในโรงแรม AQ เป็นเวลา 14 วันทุกคน 

นอกจากการเข้มงวดเรื่องการเดินทางเข้าประเทศแล้ว ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุข และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการปรับระยะเวลาการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) ให้กับผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกาครบ 2 เข็มมาแล้วตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป (จากเดิม 6 เดือน) ตามคำแนะนำของผู้ผลิตวัคซีน และกระทรวงสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร รวมทั้งผู้ที่เคยได้รับวัคซีนสูตรไขว้ เช่น: ซิโนแวก หรือ ซิโนฟาร์ม + แอสตราเซเนกา มาแล้วตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ก็สามารถเข้ารับการฉีดเข็มกระตุ้นได้เช่นกัน โดยประชาชนกลุ่มนี้จะได้รับเข็มกระตุ้นเป็นวัคซีน mRNA ได้แก่ ไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา ส่วนประชาชนที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวก หรือ ซิโนฟาร์มครบ 2 เข็มมาแล้วตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไปสามารถเลือกวัคซีนเข็มกระตุ้นได้ 3 ชนิด ได้แก่ แอสตราเซเนกา, ไฟเซอร์, หรือโมเดอร์นา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดสรรวัคซีนของแต่ละจังหวัด

ที่มา:

https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/variants/omicron-variant.html

https://www.nytimes.com/article/omicron-coronavirus-variant.html
https://www.nytimes.com/2021/12/15/health/omicron-vaccine-severe-disease.html

https://www.nbcnews.com/science/science-news/omicron-covid-variant-what-to-know-rcna8752

https://www.pfizer.com/news/press-release/press-release-detail/pfizer-and-biontech-provide-update-omicron-variant

https://www.bbc.com/news/health-59696499

https://www.bangkokbiznews.com/social/976984


เกี่ยวกับผู้เขียน

ธนภณ เรามานะชัย (ไมค์) Fact-checker และ คอลัมนิสต์ประจำ Cofact Thailand

ปัจจุบันทำหน้าที่วิทยากรด้านการตรวจสอบข้อมูลข่าวและเครื่องมือดิจิทัลด้านข่าวให้กับ Google News Initiative ก่อนหน้านี้เขาเป็นผู้ประกาศข่าวเทคโนโลยีให้กับสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (Voice TV) และอดีตกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) https://www.damikemedia.com

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2564

จริงหรือไม่…? จริงหรือไม่? ติดเชื้อไวรัส #Omicron เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

ไม่จริง

เพราะ…ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ยังไม่มีรายงานที่พิสูจน์ได้ว่าไวรัสโอไมครอนเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/gup3cqaxox5v


จริงหรือไม่…? มีลูกแล้วดึงแคลเซียมจากฟันแม่ ทำให้ฟันผุฟันหลุด

ไม่จริง

เพราะ…แคลเซียมคงอยู่แบบถาวรไม่สามารถถูกดึงออกไปได้เหมือนกระดูก ส่วนสาเหตุของฟันผุระหว่างตั้งครรภ์ คือการขาดการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/x731a6c18apw


จริงหรือไม่…? วิกฤตเริ่มขาดแคลนเลือด เนื่องจากเลือดของผู้บริจาคที่ฉีดวัคซีนดำ

ไม่จริง

เพราะ…แพทย์ ชี้ เลือดมีสีแดงเสมอ หรือแดงเข้ม ไม่เคยพบว่ามีสีดำ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/28gtoae671z7p


จริงหรือไม่…? มะนาวโซดารักษามะเร็งได้

ไม่จริง

เพราะ…น้ำมะนาวและน้ำโซดา ไม่มีข้อบ่งใช้ในการรักษามะเร็ง แต่การดื่มน้ำมะนาวในปริมาณที่เหมาะสมมีประโยชน์ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการเจ็บคออุดมด้วยวิตามินซี

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3nlwd7iflx4j7


จริงหรือไม่…? ยืมเงินด่วนฉุกเฉิน 5,000 บาท ผ่านแอป #เป๋าตัง อนุมัติไว 3 นาที

ไม่จริง

เพราะ…ธนาคารไม่มีนโยบายให้สินเชื่อ หรือยืมเงินสดผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังแต่อย่างใด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1zu40accyhkbj


จริงหรือไม่…?  เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารสามารถขอถ่ายรูปบัตรประชาชนได้

ไม่จริง

เพราะ…กฎหมายไม่ให้อำนาจเจัาหน้าที่ถ่ายรูป เพราะบัตรประชาชนถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของเราทั้งใบ ซึ่งการใช้สำเนาบัตรประชาชนยังต้องมีการเซ็นต์รับรองสำเนา

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/5fp7y5uopz1n


จริงหรือไม่…? Shopee รับสมัครพนักงานทำยอดซื้อพาร์ทไทม์จำนวนมาก รายได้ 1,500 บาททุกวันง่าย ๆ

ไม่จริง

เพราะ…Shopee ชี้แจง กิจกรรมต่างๆ จะอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทฯ ทางเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน shopee.co.th เท่านั้น

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2ofc256k9jh6l


จริงหรือไม่…? กระทรวงสาธารณสุขปรับระยะเวลาการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้เร็วขึ้น เหลือ 4 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน

จริง

เพราะ…ปรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในกลุ่มที่ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม และสูตรไขว้ ซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ให้เร็วขึ้นจากเดิมเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ประชาชน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1or79z90g84lr


จริงหรือไม่…? โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ลงทะเบียนรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 Moderna เข็มกระตุ้น

จริง

เพราะ…สำหรับผู้ฉีดวัคซีนครบ 2เข็มแล้ว ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/146rcaq7zvpjy


จริงหรือไม่…? “โนรา” ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นมรดกวัฒนธรรม

จริง

เพราะ…ลำดับที่ 3 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ต่อจาก โขนในปี 61 และนวดไทยในปี 62

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3kiloxgwhdjv4


จริงหรือไม่…? 15 ธ.ค. นี้ ปรับขึ้นค่าผ่านทางพิเศษ สายศรีธัช – วงแหวนรอบนอก

จริง

เพราะ…การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ยืนยันว่าเป็นการปรับขึ้นทุกๆ 5 ปี ตามสัญญาสัมปทาน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/379qgt2947shr