Five pieces of misleading information about COVID-19

Five pieces of misleading information about COVID-19

ที่มา Thai PBS World

“Don’t believe everything you read” is good advice for all netizens, as we are still seeing a large amount of fake news being published online. Recently, COFACT Thailand has identified a list of “fake news” stories related to the latest wave of COVID-19 infections.

The co-founder of COFACT Thailand, Supinya Klangnarong, revealed the top five misleading stories about COVID-19 being shared online.

CLAIM 1: “All Thais must enter lockdown” says Dr. Prasit Wattanapa
One item is a faked voice recording, claiming to be the voice of Professor Dr. Prasit Wattanapa, of the Faculty of Medicine at Siriraj Hospital, urging a lockdown of the entire country.

The Faculty has released a statement denying that it is the professor’s voice and urging the public not to share the recording.

CLAIM 2: Drinking lemonade can kill coronavirus
This item of nonsense first appeared in March last year. Former Director-General of the Disease Control Department, Pornthep Siriwanarangsan, has already explained that lemons cannot kill the virus, though they are rich in vitamin C. Similarly, misleading claims that lemon juice, mixed with soda and vinegar, can also kill the coronavirus is unproven and the Department of Thai Traditional and Alternative Medicine has asked the public not to share this false information.

CLAIM 3: Those who adopt an alkaline diet will lower their chance of becoming infected
In addition to this claim, there are others who say that COVID-19 will not attack vegetarians and vegans.

Medical experts have already debunked these claims, explaining that the pH levels (acidity) in human blood are usually between 7.35-7.45, regardless of whether the person is vegetarian. Another expert said that eating large amounts of fruits and vegetables cannot change the pH levels. Therefore, this claim is incorrect.

CLAIM 4: Mailing parcels can pass on the coronavirus
This false claim first appeared in April last year. Now it is doing the rounds again, Thailand Post has announced, on their official website, that they have imposed stringent sanitization measures to prevent the spread of COVID-19.

CLAIM 5: Standing in direct sunlight can kill the coronavirus
First appearing in March last year, this claim is debunked by the Disease Control Department, who explained that the coronavirus (SARS-CoV-2) can be resistant to heat up to 90 degrees celcius, but sunlight does not reach that temperature.

Supinya Klangnarong, Co-founder of COFACT Thailand
Supinya Klangnarong also stated that these urban myths are just some of many examples of how the coronavirus outbreak attracts a large amount of fake news and misinformation. Although these claims have already been debunked by experts, some have resurfaced.

COFACT is strongly advising people to double and triple checkinformation they receive before believing it and, especially, before sharing it with others.

COFACT also blames the Thai habit of not correcting one another when they encounter wrong information, leading to circulation of fake news over and over again.

Currently, Thailand has a number of organisations which deal with fake news and misinformation, such as COFACT, the Ministry of Digital Economy and Society and the Sure and Share Centre of the MCOT.

ขอบคุณที่มา Thai PBS World https://www.thaipbsworld.com/five-pieces-of-misleading-information-about-covid-19/

โคแฟค เผย 5 ข่าวลวงโควิดวนซ้ำระบาดรอบใหม่ แนะสังคมร่วมสกัดไวรัสข่าวสารด้วยความจริงร่วม

ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่นอกจากนำมาสู่โรคระบาดโควิด19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกแล้ว ยังนำมาสู่ภาวะการระบาดของข้อมูลข่าวสาร (Infodemic)  ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือที่เรียกกันติดปากว่าข่าวลวง (fake news) เพิ่มอย่างมากมายทั่วโลกด้วย

โคแฟค เผย 5 ข่าวลวงโควิดวนซ้ำระบาดรอบใหม่ แนะสังคมร่วมสกัดไวรัสข่าวสารด้วยความจริงร่วม

ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่นอกจากนำมาสู่โรคระบาดโควิด19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกแล้ว ยังนำมาสู่ภาวะการระบาดของข้อมูลข่าวสาร (Infodemic)  ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือที่เรียกกันติดปากว่าข่าวลวง (fake news) เพิ่มอย่างมากมายทั่วโลกด้วย

ทางองค์การยูเนสโกเคยกล่าวไว้ว่า นอกจากแพทย์ พยาบาล และ บุคลากรทางการแพทย์ ยังมีข้อเท็จจริง (Facts) ที่จะช่วยรักษาชีวิตเราไว้ได้  ดังนั้นการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนก่อนที่จะเชื่อหรือส่งต่อจึงจำเป็นในยุคโควิด และการแสวงหาความจริงร่วมจากทุกฝ่ายให้แน่ใจก่อนที่จะยอมรับในข้อมูลข่าวสารนั้นจะช่วยรักษาพลเมืองจากโรคระบาดข้อมูลข่าวสารได้ โดยเฉพาะข้อมูลที่วนซ้ำกลับไปกลับมาในแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นแบบวงปิด อีกทั้งวัฒนธรรมความเกรงใจที่ทำให้ไม่เกิดการแก้ไขท้วงติงข้อมูลที่ส่งต่อกันมาในกลุ่มเพื่อนร่วมงานหรือเครือญาติ จึงทำให้ข้อมูลลวงหรือไม่จริงเหล่านั้นวนไปมาไม่จบสิ้น เช่นในการระบาดรอบใหม่นี้ของประเทศไทย ได้มีปรากฎการณ์ข่าวลือข่าวลวงวนซ้ำไปมาอีกรอบทั้งที่มีการตรวจสอบแล้วว่าไม่เป็นความจริง

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้ง โคแฟค ประเทศไทย (COFACT Thailand) เปิดเผยว่า โครงการนี้ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของภาคประชาสังคมเพื่อเปิดพื้นที่การใช้นวัตกรรมตรวจสอบข่าวลือข่าวลวงผ่านสื่อออนไลน์ ได้รวบรวม 5 ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาดโควิดที่วนซ้ำกลับมาอีกรอบเพื่อการรู้เท่าทันของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ดังนี้

1. “คลิปเสียงปลอม” ความยาว 1.20 นาที อ้างว่าเป็นเสียงของ นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ โดยมีเนื้อหา ขอความร่วมมือให้ประชาชนคนไทยทุกท่าน ล็อคดาวน์ ที่มีการส่งต่อกันอย่างแพร่หลายข้ามปี จนทำให้ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องออกแถลงการชี้แจงว่า คลิปเสียงดังกล่าว ไม่ใช่เสียงของ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงขอความร่วมมือทุกท่านอย่าแชร์ อย่าโพสต์คลิปเสียงกันอีก เพราะไม่ใช่เสียงจริง

2. การดื่มน้ำมะนาวฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ : หลายคนอาจเคยได้ยินวลี “มะนาวโซดาฆ่ามะเร็ง” ที่หมายถึงยุคหนึ่งเคยมีการส่งต่อข้อมูลบนโลกออนไลน์ว่าการดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำโซดาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ซึ่งต่อมาได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง กระทั่งเมื่อเกิดวิกฤติไวรัสโควิด-19 มะนาวถูกยกมาเป็นยาวิเศษอีกครั้งหนึ่ง โดยช่วงเดือน มี.ค. 2563 มีการแชร์ข้อมูลว่าน้ำมะนาวสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ ซึ่ง นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อดีตอธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายผ่านสื่อมวลชน เมื่อ 28 มี.ค. 2563 ว่า มะนาวมีวิตามินซีสูง ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน เชื้อโรคไม่สามารถฝังเข้าไปในเซลล์ของทางเดินหายใจและปอดได้ง่ายเท่านั้น แต่ไม่สามารถฆ่าไวรัสได้
   ในช่วงไล่เลี่ยกันยังมีการแชร์ข้อมูลน้ำมะนาวผสมโซดา (อีกแล้ว) แต่คราวนี้ผสมน้ำส้มสายชูไปด้วยโดยอ้างว่าสูตรนี้ฆ่าไวรัสโควิด-19 ได้แน่นอน เพราะจะไปทำลายไวรัสที่พบในลำคอ ซึ่งทาง กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ออกมาเตือนประชาชนว่าอย่าหลงเชื่อ เพราะข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ใดๆ มารับรอง

3. เลือดเป็นด่างมีโอกาสติดไวรัสโควิด-19 ได้น้อยลง : เป็นอีกเรื่องที่แชร์กันมากตั้งแต่ช่วงที่ไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาดใหม่ๆ และมักถูกนำไปโยงกับความเชื่อทางศาสนา ที่อ้างว่าบุคคลใดกินเจไม่แตะต้องเนื้อสัตว์ ไวรัสโควิด-19 จะไม่สามารถทำอันตรายใดๆ ได้ หรือถึงได้ก็มีอาการไม่รุนแรง เพราะอาหารเจทำให้เลือดเป็นด่าง (วัดจากค่า pH ซึ่งมีระดับตั้งแต่ 1-14 โดย 1 หมายถึงเป็นกรดรุนแรงที่สุด และ 14 หมายถึงเป็นด่างรุนแรงที่สุด) โดยอ้างชื่อแพทย์บางท่านที่หันไปทำงานด้านส่งเสริมการกินเจ
เรื่องนี้ถูกตรวจสอบและถูกนำกลับมาแชร์ต่อวนไป-มาครั้งเล่าครั้งเล่า ไล่ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน มี.ค.-กลางเดือน เม.ย. 2563 มีทั้งผู้เชียวชาญที่ชี้แจงว่า ค่า pH ของเลือดมนุษย์โดยทั่วไปไม่ว่าจะกินเจ กินมังสวิรัติ หรือกินเนื้อสัตว์ จะอยู่ที่ 7.35-7.45 และเป็นค่าที่ค่อนข้างคงที่ด้วยเพราะร่างกายมีกลไกปรับสมดุลอยู่ เช่นเดียวกับ พ.ต.ต.นพ.ธนิต จิรนันท์ธวัช อายุรแพทย์ และโฆษกโรงพยาบาลตำรวจ ที่อธิบายผ่านสื่อมวลชน ยืนยันอีกเสียงเรื่องค่า pH ของเลือดมนุษย์ที่จะอยู่ที่ 7.35-7.45 และการบริโภคผักและผลไม้ก็ไม่สามารถเปลี่ยนค่านี้ได้ ส่วนที่บอกว่าด่างฆ่าเชื้อไวรัสได้นั้นเป็นปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์เป็นด่างรุนแรงเช็ดถูสิ่งของต่างๆ เป็นต้น
กรณีชวนเชื่อเรื่องสุขภาพที่ระบุถึงวิธีฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ด้วยการกินผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ทางกรมควบคุมโรค ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลเกินจริงและไม่ถูกต้อง ถูกนำมาส่งต่อซ้ำๆ โดยขณะนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่ยืนยันว่าการรับประทานผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นด่าง มีผลในการช่วยฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

4. พัสดุไปรษณีย์เป็นแหล่งแพร่เชื้อโควิด-19 : เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ชี้แจงผ่านเว็บไซต์ของบริษัท กรณีมีการส่งข้อความผ่านสื่อออนไลน์ ระบุว่า สำนักงานไปรษณีย์แจ้งเตือนเมื่อได้รับจดหมายหรือพัสดุให้แยกไว้ก่อน 24 ชั่วโมง หรือฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนนำเข้าบ้าน เพราะมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากพัสดุไปรษณีย์แล้ว ว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง พร้อมกับย้ำว่า บ.ไปรษณีย์ไทย มีมาตรการป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งการทำความสะอาดรถขนพัสดุ ไปรษณียภัณฑ์ ตลอดจนสำนักงานที่มีประชาชนมาใช้บริการ เป็นต้น

แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ข่าวลือเรื่องมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากจดหมายหรือพัสดุไปรษณีย์และให้ระมัดระวังการรับจดหมายหรือพัสดุที่มาส่ง เกิดขึ้นมาก่อนแล้วในช่วงที่มีสถานการณ์ระบาดรอบแรก ย้อนไปเมื่อ 8 เม.ย. 2563 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมฯ เคยแจ้งเตือนเรื่องนี้ไปแล้วหนหนึ่ง ที่น่าสนใจคือข่าวปลอมทั้ง 2 ครั้ง ข้อความที่แชร์ยังเหมือนกันทุกถ้อยคำ ทั้งที่ระยะเวลาห่างกันถึง 9 เดือน

5. ยืนตากแดดฆ่าเชื้อโควิด-19 ในร่างกายได้ : เรื่องนี้ปรากฏเป็นข่าวครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2563 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมฯ แจ้งเตือนโดยอ้างข้อความที่แชร์บนโลกออนไลน์ เสนอให้รณรงค์ชักชวนผู้คนมายืนตากแดดออกกำลังกายยามเช้าเพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรค เพราะเชื้อโรคชอบความเย็น ซึ่งเวลานั้น กรมควบคุมโรค ก็ฝากเตือนมาว่า เชื้อไวรัสตระกูลโคโรนา (ซึ่งไวรัสโควิด-19 ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า SARS-CoV-2 ก็เป็นเชื้อตระกูลนี้) สามารถทนทานต่อความร้อนได้ถึง 90 องศาเซลเซียส แต่ความร้อนของแสงแดดนั้นไม่ถึงระดับดังกล่าว

อีกเกือบ 9 เดือนต่อมา..วันที่ 13 ธ.ค. 2563 หรือเพียงไม่กี่วันก่อนเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ จ.สมุทรสาคร ทางกรมควบคุมโรค ได้ฝากผ่านศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมฯ ให้แจ้งเตือนประชาชนอีกครั้ง กรณีมีการแชร์ข้อความผ่านสื่อออนไลน์ ระบุว่า การยืนตากแดด 20 นาทีหรือนานกว่านั้น สามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ในร่างกายได้ (แถมครั้งนี้อ้างว่าเป็นข้อมูลจากพยาบาลในประเทศอังกฤษอีกต่างหาก) เรื่องดังกล่าวยังไม่เคยมีผลวิจัยใดๆ ทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ที่สำคัญคือเชื้อไวรัสตระกูลโคโรนาทนความร้อนได้ถึง 90 องศาเซลเซียส แสงแดดที่มนุษย์ได้รับนั้นไม่ร้อนถึงระดับดังกล่าวแน่นอน ทั้งนี้การป้องกันตัวเองด้วยวิธีสวมหน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนตัวเอง ล้างมือบ่อยๆคงดีที่สุดแล้วแม้ว่าต่อไปจะมีวัคซีนก็ตาม

สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้ง cofact.org

นางสาวสุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวอย่างทั้ง 5 เรื่องนี้เป็นตัวอย่างของข่าวลือข่าวลวงที่เป็นปรากฎการณ์โรคระบาดข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 แม้จะมีการพิสูจน์กันไปแล้วว่าไม่เป็นความจริง แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งก็ถูกนำกลับมาแชร์กันบนโลกออนไลณ์อีกครั้ง ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมข่าวลวงอีกเป็นจำนวนมากทั้งที่เกี่ยวกับประเด็นสุขภาพและประเด็นอื่นๆ

สำหรับประเทศไทย นอกจาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐ ทำหน้าที่ตรวสอบจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องหรือสื่อมวลชนอย่างศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แล้ว  ยังมีแพลตฟอร์ม “โคแฟค” CoFact (Collaborative Fact Checking) ที่ดำเนินการโดยภาคีภาคประชาสังคมเปิดพื้นที่ให้ทุกคนร่วมเป็นผู้ตรวจสอบข่าวหรือ Fact checkers ด้วยอีกทาง

“โคแฟคเป็นการใช้เทคโนโลยีภาคพลเมือง (Civic Tech) เชื่อมกับงานเชิงข่าวด้านวารสารศาสตร์ (Journalism) โดยมีกองบรรณาธิการร่วมกับอาสาสมัครคัดกรองข่าว นอกจากเว็บไซต์หลักแล้ว ยังมี Line Chatbot ( @cofact) หรือโปรแกรมการพูดคุยอัตโนมัติที่เปิดให้ทุกคนส่งข่าวให้ทีมงานกลั่นกรองได้ ผ่านช่องทางหลักคือเว็บไซต์ “cofact.org” ทำหน้าที่เป็นคลังข้อมูลเก็บข่าวที่เคยมีการแชร์และได้รับการตรวจสอบแล้ว (ทั้งเป็นข่าวจริง ข่าวปลอม และยังไม่ได้ข้อสรุป) รวมถึงมีเพจเฟซบุ๊ก “Cofact โคแฟค” สำหรับแจ้งข่าวที่ได้รับการตรวจสอบแล้วในแต่ละวัน

ภาคีโคแฟค ประเทศไทยเชื่อว่า เพื่อหยุดยั้งการระบาดของไวรัสข้อมูลข่าวสารลวง นอกจากการต้องตรวจสอบแหล่งที่มาให้แน่ใจก่อนส่งต่อแล้ว พลเมืองผู้ใช้สื่อออนไลน์ทุกคนจะต้องช่วยกันสกัดกั้นการระบาดด้วยการตรวจสอบและช่วยโต้แย้งแก้ไขเมื่อเห็นการแชร์ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในกลุ่มต่างๆด้วย ดีกว่าการปล่อยผ่านไป เพราะบางครั้งความเข้าใจผิดอาจนำไปสู่ผลกระทบด้านลบทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นได้” สุภิญญากล่าว

พลเมืองยุคดิจิทัลกับการรับมือโรคระบาดข้อมูลข่าวสาร (Infodemic)

ดาวน์โหลดสไลด์ “พลเมืองยุคดิจิทัลกับการรับมือโรคระบาดข้อมูลข่าวสาร (Infodemic)”
โดย คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท


จากเวทีสัมมนานักคิดดิจิทัลครั้งที่ 14 ส่งท้ายปี 2020
สรุปบทเรียนชวนคิดรับปี 2021 ว่าด้วยเรื่อง “พลเมืองดิจิทัลในการรับมือยุคนิวนอร์มอล” ในการรับมือข้อมูล​ข่าวสาร​อย่างเท่าทัน

Year-end Digital Thinkers Forum #14
Think Pieces on Digital Citizens & New Normal.

ดาวน์โหลดสไลด์ คลิก

https://drive.google.com/file/d/1pcTaGx41qlsp4ejy94joE8lolzcRv2_e/view?usp=drivesdk


รับชมงานเสวนาย้อนหลัง​ได้ที่นี่


‘พลเมืองดิจิทัลในการรับมือยุคนิวนอร์มอล’ ถอดบทเรียนวิกฤติ‘โควิด’จากมุมนักคิดหลากวงการ

บทความ

สัมมนา‘พลเมืองดิจิทัลในการรับมือยุคนิวนอร์มอล’
ถอดบทเรียนวิกฤติ‘โควิด’จากมุมนักคิดหลากวงการ

“การระบาดของไวรัสโควิด-19” ถือเป็นหายนะร้ายแรงครั้งล่าสุดของมนุษยชาติ ส่งผลกระทบไม่เพียงด้านสุขภาพที่มีผู้ป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากเท่านั้น ยังรวมถึงด้านเศรษฐกิจที่เมื่อรัฐบาลหลายประเทศใช้มาตรการล็อกดาวน์ ปิดประเทศ ปิดเมืองและปิดบ้าน ทำให้สถานประกอบการมากมายไม่สามารถแบกรับภาระต่อไปได้ ต้องปลดพนักงานหรือแม้แต่ปิดกิจการ กลายเป็นปัญหาคนว่างงานตามมา รวมถึง “การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ “โควิด-19 เข้ามาเร่งปฏิกิริยาให้รวดเร็วขึ้น” ซึ่งสามารถมองได้ทั้งเป็นวิกฤติและโอกาส

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2563 มีการจัดสัมมนานักคิดดิจิทัลครั้งที่ 14 ส่งท้ายปี 2020 สรุปบทเรียนชวนคิดว่าด้วยเรื่อง “พลเมืองดิจิทัลในการรับมือยุคนิวนอร์มอล” ที่ห้องประชุมชั้น 22 โรงแรมเดอะควอเตอร์ อารีย์ ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) , สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ TIJ , Centre for Humanitarian Dialogue (“hd) , ภาคีโคแฟค (COFACT) ประเทศไทย , สถาบัน Change Fusion และมูลนิธิฟรีดริช เนามัน

อณูวรรณ วงศ์พิเชษฐ์ รองผู้อำนวยการ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ TIJ กล่าวว่า ในฐานะที่ TIJ เป็นองค์กรเจ้าภาพร่วมจัดงาน รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความร่วมมือจากทั้งนักคิดด้านดิจิทัล รวมถึงภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และภาควิชาการ ที่สนับสนุนให้กิจกรรมนี้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตลอด 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา และแม้จะเป็นช่วงที่มีสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ก็ยังมีการดำเนินการจัดงานต่อไป ซึ่งหากนับถึงงานครั้งนี้ที่เป็นการจัดงานส่งท้ายปี 2563 ก็นับเป็นครั้งที่ 14 แล้ว นับเป็นความพิเศษแรก

“ความพิเศษอันที่ 2 คือยิ่งจัดยิ่งมีการขยายวงขึ้น อันนี้ถือว่าเป็น Indicator (ตัวชี้วัด) ที่น่าประทับใจแล้วก็ถือว่าเราประสบความสำเร็จ ในการที่มีกลุ่มเครือข่ายที่มาด้วยความสมัครใจในการรวมตัวกัน เราเห็นความสำคัญร่วมกันในการศึกษาว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยุคต่อไปนั้น ภาคประชาสังคมหรือภาคพลเมือง จะมีส่วนช่วยในการตอบรับกับสถานการณ์นี้อย่างไร” อณูวรรณ กล่าว

รอง ผอ.TIJ กล่าวต่อไปว่า TIJ มีภารกิจด้านหนึ่งเกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา พบเห็นรูปแบบการก่ออาชญากรรมที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่ดำเนินการโดยองค์กรเครือข่ายขนาดใหญ่หรือมีลักษณะข้ามชาติ (Transnational) เช่น ค้ามนุษย์ ค้ายาเสพติด แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้อาชญากรรมสามารถดำเนินการได้ในบ้านและขยายวงกว้างด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
ขณะเดียวกัน หน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายยังมีข้อจำกัดในการปราบปรามอาชญากรรมทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ดังนั้นหากภาคประชาสังคมหรือประชาชนรู้สิทธิและมีความเท่าทันในการใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัล สามารถดูแลตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อตั้งแต่ชั้นแรก จะเป็นตัวช่วยในการทำให้หน่วยงานของภาครัฐทำงานได้ง่ายขึ้น

มัทนา ถนอมพันธุ์ หอมลออ

มัทนา ถนอมพันธุ์ หอมลออ ประธานกรรมการกำกับทิศทาง แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สิ่งที่อยากเห็นคือนิยามคำว่าพลเมืองดิจิทัลมีความเหลื่อมกับคำว่าพลเมืองมนุษย์ทั่วไปอย่างไร เพื่อที่จะได้วิเคราะห์ต่อไปว่าในภาวะวิกฤติที่ไม่เฉพาะโรคระบาดโควิด-19 แต่ยังมีอีกหลายวิกฤติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งการรับมือวิกฤติจะเป็นเพียงการปรับตัวอย่างยืดหยุ่น (Resilience) หรือจะนำไปสู่การสร้างฝันสร้างอนาคต ลงหลักปักฐานในโลกที่ยั่งยืนได้ ตนคาดหวังว่าบทเรียนจากเวทีสัมมนาครั้งนี้จะทำให้ภาพต่างๆ มีความชัดเจน ทั้งนี้ สสส. ชื่อนั้นบอกอยู่แล้วว่าทำงานด้านสุขภาพ ดังนั้นการสร้างพลเมืองให้มีขีดความสามารถในการสร้างวิถีสุขภาวะ จึงเป็นหนึ่งในภารกิจด้วย

ในช่วงเช้าเป็นการนำเสนอ 2 หัวข้อ โดย พณชิต กิตติปัญญางาม ซีอีโอ ZTRUS กล่าวถึง “การส่งเสริมเทคโนโลยีภาคพลเมือง (Civic Tech) ในการรับมือโรคระบาด” ว่า มีโอกาสได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดระบบสนับสนุนบริการสาธารณสุขช่วงโควิด-19 ระบาดใหม่ๆ ทั้งที่ยังไม่มีความรู้ด้านการแพทย์ แต่สิ่งที่ได้คิดคือ “คนทำงานด้านดิจิทัลไม่ใช่แพทย์ ไม่สามารถรักษาคนได้ แต่ถนัดเรื่องบริหารจัดการข้อมูล” คนทำงานด้านดิจิทัลสามารถมีบทบาทเชื่อมต่อระหว่างผู้มีความต้องการ (Demand) กับผู้ที่พร้อมจัดบริการ (Supply) เข้าหากันได้

“ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องพบแพทย์แบบต่อหน้า นั่นหมายถึงทรัพยากรทางการแพทย์เราอาจจะเพียงพอที่จะรับมือกันผู้ป่วย แต่ไม่เพียงพอกับการรับมือความตระหนกของประชาชนเหล่านั้น เพราะทุกคนจะเปลี่ยนโปรไฟล์เฟซบุ๊กตัวเองว่า..กูคิดหรือยังวะ..ก็จะเห็นโปรไฟล์นี้ เพราะทุกคนตระหนกว่าตัวเองติดหรือยัง แล้วทุกคนก็จะวิ่งเข้าไปหาโรงพยาบาลทันทีที่มีไข้ แล้วแพทย์ก็ต้องมารองรับ ผมก็ไปดูโรงพยาบาล ก็จะมีแพทย์อื่นๆ มานั่งสัมภาษณ์ก่อน ซึ่งแพทย์กลุ่มนั้นควรจะ Stand By (เตรียมพร้อม) รักษาโรคอื่นๆ ผู้ป่วยอื่นๆ” พณชิต กล่าว

เพื่อแก้ปัญหาการระดมแพทย์ทุกสาขามารับมือโรคอุบัติใหม่จนส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่ต้องการรับการรักษาเช่นกัน พณชิต เล่าว่า ต้องขอบคุณกรมควบคุมโรคที่ให้โอกาสได้เข้าไปร่วมทำงาน ซึ่งเมื่อทีมงานได้รับความรู้เรื่องการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง จึงทำแบบคัดกรองผ่านช่องทางออนไลน์ขึ้น แต่ก็ต้องปรับแก้แบบกันเป็นระยะๆ กว่าจะลงตัว จากนั้นจัดให้ผู้ที่พบว่ามีความเสี่ยงสูง ได้พบแพทย์ผ่านเทคโนโลยีสื่อสารทางไกลแบบเห็นหน้า (Teleconsult) เพื่อให้แพทย์ได้สอบถามในเบื้องต้นว่ากลุ่มเสี่ยงสูงแต่ละรายนั้นเสี่ยงจริงหรือวิตกกังวลไปเอง เมื่อได้ระบบคัดกรองแล้ว สิ่งที่ต้องคิดต่อมาคือ “แล้วจะให้เดินทางไปอย่างไร” จะให้ขับรถไปเองบางรายก็ไม่มี จะให้ใช้บริการขนส่งมวลชนก็เสี่ยงทำให้การระบาดขยายออกไปอีก แต่ระบบรถพยาบาลของภาครัฐก็มีข้อจำกัดเนื่องจากระเบียบกำหนดให้ต้องได้รับการยืนยันจากโรงพยาบาลก่อนเท่านั้นจึงจะไปรับได้ ทำให้ต้องประสานกับผู้ประกอบการภาคขนส่ง เพื่อดัดแปลงรถที่ใช้ในงานปกติให้เหมาะสมกับการขนย้ายผู้ป่วย นำมาใช้ในการรับกลุ่มเสี่ยงมายังโรงพยาบาล รวมถึงให้ช่วยจัดส่งยาให้กับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่ไม่กล้ามาโรงพยาบาลในช่วงดังกล่าว

อีกคำถามคือ “แล้วจะให้อยู่ที่ไหน” กลุ่มเสี่ยงสูงที่ได้รับการวินิจฉัยจากโรงพยาบาลแล้ว หากปล่อยให้กลับไปพักอาศัยร่วมกับคนอื่นๆ ย่อมมีความเสี่ยงแพร่เชื้อได้ จึงประสานกับผู้ประกอบการโรงแรมที่มีความพร้อมให้ใช้ห้องพักเป็นสถานที่กักกันโรค ประสานงานร่วมกับแพทย์ในการวางมาตรฐาน นอกจากนี้ยังมีการระดมทุนผ่าน “เทใจ (taejai.com)” เว็บไซต์สื่อกลางบริจาคเพื่อผู้ประสบภัยต่างๆ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับทางโรงแรม ซึ่งเมื่อนำทุกขั้นตอนมาร้อยเรียงกัน พบว่าได้ระบบการรับมือโรคระบาดครั้งนี้อย่างครบวงจร
“จากวันที่ 7 มี.ค. 2563 ผ่านไป 44 วัน เรารองรับคนแล้วประมาณ 1 แสนกว่าคน ซึ่งพอพ้นในช่วง 2 เดือนเรารองรับเป็นหลัก 2-3 แสนคน จินตนาการว่า 2-3 แสนคนที่มีความตระหนกทุกคนเทไปยังโรงพยาบาลจะเกิดอะไรขึ้น มันคือความวุ่นวาย เราก็เลยมองว่าสิ่งที่เราคิดในเบื้องต้นน่าจะตอบโจทย์ คือเรากรองคนที่ใช่ให้ไปรับ แต่มันมีอยู่ไม่กี่คนที่ให้ไปรับ แล้วความเสี่ยงสูงประมาณ 2 หมื่นกว่าคน แล้วส่งไปให้ รพ.จุฬาฯ กับ รพ.ราชวิถี วันละ 50 ราย เราก็บริหารจัดการมา
แล้วเราก็เอาข้อมูลจากโรงแรมที่เป็นพันธมิตรกับเรา ที่จัดเตรียมแล้วขึ้นมาออนไลน์เหมือน Agoda (เว็บไซต์จองห้องพักโรงแรมทั่วโลก) เพื่อให้คนที่อยากกลับจากต่างประเทศ อาจจะมีความเสี่ยง ตรวจเช็คแล้วผลเป็นบวก (ติดโควิด-19) แต่ไม่รู้จะไปที่ไหนไปหาที่พักตรงนี้ แล้วเราก็ระดมทุนบางก้อนจากเทใจมา Support (สนับสนุน) ที่พักของคนกลุ่มนี้ เพราะหลายคนเราค้นพบว่าเขาไม่มีเงินจ่าย โรงแรมที่มี Quality (คุณภาพ) ขนาดนี้ เราก็เลยต้องระดมทุนมาช่วยในเรื่องของค่าขนส่งคน ค่าที่พัก เพราะพื้นที่ตรงนี้สวัสดิการรัฐยังลงไปไม่ถึง” พณชิต ระบุ

หลังมาตรการล็อกดาวน์ผ่านไปสักระยะหนึ่ง ทั้งไทยและประเทศอื่นๆ เริ่มเตรียมการผ่อนคลายมาตรการโดยให้กิจการแต่ละประเภททยอยกลับมาเปิดได้เรียงจากความเสี่ยงต่ำ ปานกลางและสูงตามลำดับ สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลหลายประเทศต้องการให้มีคือ “ระบบติดตามเพื่อสืบสวนโรค (Contact Tracing)” เช่น ในประเทศไทยมีแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ให้ประชาชนใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) เมื่อเข้า-ออกสถานที่ต่างๆ โดยหากพบผู้ติดเชื้อก็จะได้จำกัดวงในการค้นหากลุ่มเสี่ยงเฉพาะที่อยู่ในสถานที่และเวลาเดียวกัน

แต่ระบบนี้ก็ถูกตั้งคำถามทั้งในไทยและต่างประเทศในเรื่อง “ข้อมูลส่วนบุคคล” เพราะรัฐหรือแม้แต่เอกชนที่รัฐมอบหมายให้บริหารจัดการข้อมูล จะรู้หมดว่าคนคนหนึ่งเดินทางไปที่ไหนบ้างหรือพบปะกับใคร ซึ่ง ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้นำเสนอหัวข้อที่ 2 ในช่วงเช้า “บทเรียนของประเทศไทยในการสร้างความเชื่อมั่นต่อการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวเพื่อป้องกันการยับยั้งโรคระบาด” ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีจะถูกใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นต่อเทคโนโลยีนั้นด้วย

“ความเชื่อมั่น (Trust) ต่อเทคโนโลยีมันจะนำไปสู่การที่ข้อมูลไหลเวียนได้อย่างอิสระ นำไปสู่ขั้นต่อไปคือทำให้เกิด Competition (การแข่งขัน) หรือ Operation (ปฏิบัติการ) Competition ในสภาวะการแข่งขันทางเทคโนโลยี ส่วน Operation ก็ในภาวะโรคระบาดแบบนี้ ที่มันจะทำให้แต่ละองค์กรแต่ละหน่วยงานสามารถเอาข้อมูลมา Share (แบ่งปัน) กันเพื่อสร้างความร่วมมือกันได้ แต่ทีนี้มันจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีความเชื่อมั่นต่อกัน ซึ่งมีทั้งในมุมที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลและไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเรื่องนี้มันชัดเจนมากในช่วงที่ผ่านมา ว่าเราก็มี Contact Tracing Application (แอพพลิเคชั่นติดตามเพื่อสืบสวนโรค) มีการให้ข้อมูลกับสถานที่ต่างๆ ที่เราไป แล้วเราก็จะรู้สึกว่าถ้าเราไม่ไว้ใจพื้นที่นั้นเราก็จะไม่ค่อยอยากไปเท่าไร เราก็จะไม่ค่อยอยากใช้แอพพลิเคชั่นหรืออยากให้ข้อมูลเหล่านั้นเท่าไร” ฐิติรัตน์ อธิบาย

ฐิติรัตน์ กล่าวต่อไปว่า หลักการจัดเก็บและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มี 3 ประการคือ 1.จำเป็น ต้องมีเหตุผลเพียงพอว่าจะนำข้อมูลไปใช้ทำอะไร 2.โปร่งใสและเป็นธรรม ใครจะมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลได้บ้าง และ 3.ปลอดภัย ข้อมูลต้องถูกจัดเก็บโดยป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับข้อมูลนั้น ทั้งนี้ “ตามมาตรฐานของ สหภาพยุโรป (EU) กำหนดให้เฉพาะหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมโรคเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลของแอพพลิเคชั่นติดตามเพื่อสืบสวนโรค” หน่วยงานอื่นๆ เช่น หน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ หรือบริษัทเอกชน ไม่มิสิทธิ์เข้าถึง

ส่วนในช่วงบ่าย เริ่มต้นด้วย สุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน ChangeFusion นำเสนอหัวข้อที่ 3 “โควิด-19 คิดแต่ไม่ถึง กับความเหลื่อมล้ำยุคดิจิทัล” โดยกล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลสามารถแบ่งได้ 1.การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิต ได้แก่ 1.1 ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที เช่น เมื่อรัฐบาลไทยตั้ง ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร พบว่าข้อมูลเชิงรายละเอียดมักถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์และเพจเฟซบุ๊กเป็นหลัก
กับ 1.2 เข้าไม่ถึงสิทธิตามมาตรการช่วยเหลือของรัฐ เช่น โครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ที่รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาทติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือนให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ ร้านค้าถูกปิดหรือกลายเป็นคนว่างงานขาดรายได้ แต่การลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยาต้องทำผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากย้อนไปดูช่วงเดือน เม.ย. 2563 ที่รัฐบาลเปิดรับลงทะเบียน มีการสำรวจพบผู้เข้าไม่ถึงความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก

สุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน ChangeFusion

ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อมูลของ สำนักงานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อปี 2562 พบว่า มีคนไทย 50.1 ล้านคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต จากประชากรทั้งหมด 66.5 ล้านคน หรือข้อมูลจาก โครงการอินเตอร์เน็ตประชารัฐ ในปี 2561 มีผู้ลงทะเบียนเข้าใช้ประมาณ 6 ล้านคน ขณะที่ข้อมูลจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2561 พบว่า มีประชากรราวร้อยละ 40 ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต เท่ากับว่ายังมีคนบางส่วนหลุดหายไป และการเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ตในยุคนี้ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยฉุดรั้งผู้คนไม่ให้หลุดพ้นจากความยากจน 2.การมีทักษะในการอยู่กับโลกดิจิทัล ซึ่งมีหลายเรื่อง อาทิ 2.1 การตรวจสอบข่าวปลอม ผู้ที่ขาดทักษะดังกล่าวย่อมสุ่มเสี่ยงตกเป็นเหยื่อ โดยในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาดใหม่ๆ มีการส่งต่อข่าวที่ไม่มีที่มาที่ไป เช่น การรักษาความชุ่มชื้นของลำคอช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ การใส่หน้ากากอนามัยทำให้เลือดเป็นกรด การทดสอบว่าติดเชื้อหรือไม่ด้วยการกลั้นหายใจ ฯลฯ แต่เคราะห์ดีที่ในไทยยังไม่มีใครเสียชีวิตจากการทำตามข่าวปลอมอย่างในต่างประเทศ แต่ก็มีความเสี่ยงโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ หากไม่มีทักษะนี้มักมีแนวโน้มเชื่อและส่งต่อได้ง่าย

กับ 2.2 การใช้เครื่องมือดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้คนตกงานสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก และแต่ละคนก็ต้องดิ้นรนหารายได้ ซึ่งมีปรากฏการณ์ทั้งด้านบวก เช่น มีเพจหรือกลุ่มเฟซบุ๊กระดับท้องถิ่นที่ตั้งเป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์ว่าพื้นที่นั้นมีบริษัทห้างร้านใดเปิดรับสมัครงานบ้าง หรือช่องยูทูปที่สอนเทคนิคการขายของออนไลน์ และด้านลบ เช่น การขายบริการทางเพศในหลายรูปแบบที่เพิ่มขึ้น ซึ่งน่าห่วงโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อาจจะทำตามเพื่อน หรือการถูกล่อลวงให้ไปเล่นหรือไปทำงานเป็นเครือข่ายเว็บไซต์การพนันออนไลน์
และ 3.การเป็นพลเมืองดิจิทัล ประเด็นสำคัญคือ “การสร้างการมีส่วนร่วม” ด้านหนึ่งประเทศไทยยังขาดการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ แต่อีกด้านเห็นความร่วมมือจากภาคประชาชน เช่น ในช่วงแรกๆ ที่มีข่าวหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต่อการรับมือการระบาดของไวรัสโควิด-19 ขาดแคลนในโรงพยาบาลหลายแห่ง พบประชาชนหลากหลายกลุ่มใช้ช่องทางออนไลน์ระดมจัดหาสิ่งของเหล่านั้นเพื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลดังกล่าว ในขณะที่ภาครัฐไม่อยากให้โรงพยาบาลเปิดเผยข้อมูลเรื่องการขาดแคลน ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา

หรือการทำแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ต่างคนต่างทำกันเองอย่างสะเปะสะปะ กรณีของไทยนั้นมีคนพยายามทำแอพฯ ระบุพิกัดว่าร้านไหนมีหน้ากากอนามัยจำหน่ายบ้างในช่วงที่หน้ากากขาดแคลน แต่เพราะไม่มีรัฐช่วยจึงไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูล ปล่อยให้ประชาชนใส่ข้อมูลกันเอง ต่างจากไต้หวันที่มีแอพฯ อย่างเดียวกัน แต่มีรัฐเป็นผู้สนับสนุนเชื่อมฐานข้อมูลร้านจำหน่ายหน้ากากอนามัยกับแอพฯ ดังกล่าวให้
“ไทยไม่ได้ขาดเรื่องเทคโนโลยีหรือนักเทคโนโลยี มีพอสมควร มีดีด้วย และทำงานกับภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ดีพอสมควร แต่พอมันจะขึ้นไปถึงระดับนโยบายที่เราต้องใช้เป็นเรื่องเป็นราวจริงๆ มันมักจะไม่สำเร็จ แล้วก็อาจจะสุดท้ายไปทำเอง หรือไม่ยอมให้ทำ หรือไม่อยากเปิดเผยข้อมูล ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจว่าจะพัฒนาหรือเรียนรู้จากบทเรียนเหล่านี้ แล้วค่อยๆ เปิดการพูดคุยว่าความกังวลของทั้ง 2-3 ฝ่ายมันคืออะไร แล้วจะแก้ปัญหาในอนาคตอย่างไรขณะเดียวกันก็มีหน่วยงานที่ทำงานในลักษณะเปิด หรือสร้างการมีส่วนร่วมอยู่แล้ว เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สสส. ก็ออกมาหนุนเรื่องนี้พอสมควร” สุนิตย์ กล่าว

และหัวข้อที่ 4 ของการสัมมนาครั้งนี้ “พลเมืองยุคดิจิทัลกับการรับมือโรคระบาดของข้อมูลข่าวสาร” นำเสนอโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์  ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท. กล่าวว่า พลเมืองดิจิทัลหมายถึง ผู้ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตแล้วสามารถใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อมีส่วนร่วมในสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ และมีความปลอดภัย ซึ่งการเป็นพลเมืองดิจิทัลต้องมี 8 ทักษะ คือ 1.การรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง 2.การรักษาข้อมูลส่วนตัว 3.การคิดวิเคราะห์และมีวิจารณญาณที่ดี 4.จัดสรรเวลาหน้าจอได้ 5.รับมือกับการคุกคามทางออนไลน์ 6.บริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานทิ้งไว้ (Digital Footprint) จะโพสต์อะไรต้องตระหนักว่าเป็นร่องรอยทิ้งไว้ 7.รักษาความปลอดภัยของตนเองทางออนไลน์ และ 8.ใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม คำถามคือ “ทักษะเหล่านี้รับมือโรคระบาดของข้อมูลข่าวสาร (Infodemic) ได้เพียงใด” กระทั่งการมาของไวรัสโควิด-19 จึงเป็นบททดสอบครั้งสำคัญ

โดยหากย้อนไปในปี 2558  บิลล์ เกตส์ มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ ได้กล่าวสุนทรพจน์ไว้ตอนหนึ่งว่า “โลกยังไม่พร้อมรับมือสถานการณ์โรคระบาด” แล้วอีก 5 ปีให้หลังเมื่อโควิด-19 มาเยือน การจัดการอะไรหลายๆ อย่างก็พบว่ายังห่างไกลจากคำว่าความพร้อมจริงๆ เพราะเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง ต่างจากภัยออนไลน์ต่างๆ เช่น การถูกเจาะระบบ (Hack) หรือถูกหลอกลวง เป็นสิ่งที่คาดเดาได้และเตือนให้ระวังตัวได้ และยิ่งกับผู้ที่ขาดทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลด้วยแล้วอาจทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลง เช่น กลายเป็นผู้เผยแพร่ข่าวปลอม

“มีคุณหมอคนจีนที่เขาบอกว่าเป็นตำนาน ที่เป็นคนรู้คนแรกแล้วก็ไปแจ้งตำรวจแล้วพยายามจะเตือน แต่สุดท้ายตำรวจที่จีนมาล็อกเขาแล้วก็ไม่ยอมให้เขาเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผมคิดว่าการเปิดโครงสร้างความเสรีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะมันเกิดที่จีน มันอาจจะส่งผลหรือเกี่ยวข้องกับสถานการณ์กลับมาด้วยเหมือนกัน หลังจากนั้นก็จะมีข้อมูลข่าวสารหลายๆ อย่างซึ่งหลายคนคงจะเคยเห็นภาพพวกนี้อยู่แล้ว มี Conspiracy Theory (ทฤษฎีสมคบคิด) มันกำเนิดมาจากแล็บตรงนั้นตรงนี้ มีข้อมูลชิ้นนั้นชิ้นนี้เพื่อสนับสนุนทฤษฎีสมคบคิดเหล่านั้น  มีการโยงกับเรื่องที่เป็นส่วนตัว มีการเอาภาพจากต่างประเทศมาทำให้สถานการณ์ที่มีอยู่แล้วก็รู้สึกแย่ลง ซึ่ง Loop (วงจร) แบบนี้มันไม่ได้เกิดที่แค่ที่ประเทศไทย แต่ในช่วงต้นๆ พอประเทศไหนมีการระบาด มันจะมี Set (ชุด) ของข้อมูล ที่มาใกล้เคียงกัน คือมีภาพคนล้ม คนตาย ภาพอะไรออกมาที่มันทำให้เกิดความตื่นตระหนก เหมือนกับที่เราเจอในประเทศไทยช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. 2563 พอพม่า (เมียนมา) ระบาดหนัก ภาพเหล่านี้ก็เกิดขึ้นที่พม่าเหมือนกัน” พีรพล ยกตัวอย่าง

พีรพล กล่าวสรุปว่า ในมุมหนึ่งการมีข้อมูลข่าวสารและเกิดความตระหนักเป็นเรื่องดี แต่ในบางกรณีเมื่อไปบวกกับความบกพร่องในวงจรการสื่อสาร หรือความไม่สมบูรณ์ของวงจรการสื่อสารในปัจจุบัน เช่น การที่มีผู้ปล่อยข่าวปลอมแล้วยังมีรายได้จากการปล่อยข่าวปลอมนั้นอยู่ หรือการสร้างข้อมูลเท็จที่ทำขึ้นได้ง่าย หรือมีข้อมูลเท็จไว้ใช้เพื่อวัตภุประสงค์อื่น ทำให้สถานการณ์ในโลกจริงเลวร้ายลงไปด้วย เพราะโลกจริงกับโลกอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงกัน

ปิดท้ายด้วยการระดมความคิดเห็นในหัวข้อ “การส่งเสริม Digital Intelligence ให้พลเมืองดิจิทัลรับมือด้านมืดไชเบอร์ยุคนิวนอร์มอล” โดยเริ่มจาก สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งภาคีโคแฟค (COFACT) ประเทศไทย ยกตัวอย่างด้านมืดที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเรื่องเพศสำหรับผู้ใหญ่มีผู้คนเข้าชมมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 คำถามคือคลิปวีดีโอในเว็บไซต์เหล่านั้นมาจากความยินยอมของบุคคลที่ปรากฏในคลิปนั้นเอง หรือมาจากการละเมิดที่มีผู้หญิงตกเป็นเหยื่อ
รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ อดีตคณบดี คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยกตัวอย่างปรากฏการณ์ Echo Chamber (ห้องเสียงสะท้อน) หรือ Filter Bubble (ฟองสบู่ตัวกรอง) เนื่องจากระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งนำมาใช้บริหารจัดการสื่อออนไลน์ต่างๆ จะคัดเลือกแต่ข้อมูลที่ผู้ใช้งานแต่ละคนชอบหรือสนใจมาให้ และกันข้อมูลด้านอื่นๆ ออกไปจากความรับรู้ นานวันเข้าแต่ละคนก็จะเคยชินกับการรับข้อมูลด้านเดียวโดยไม่รู้ตัว และนำไปสู่การแบ่งแยกในสังคมอันเป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก


สายใจ เลี้ยงพันธุ์สกุล ผู้อำนวยการองค์กร Phandeeyar กล่าวถึงภาวะที่ผู้คนใช้ชีวิตกับโลกออนไลน์จนหลงลืมชีวิตในโลกจริง ทำให้สูญเสียสิ่งสำคัญไป 2 เรื่องคือ 1.การย้อนดูตนเอง (Self-Reflection) มนุษย์จำเป็นต้องมีเวลาอยู่กับตนเองบ้าง เพราะมีความสำคัญกับการทำงานของสมองซึ่งมีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ แต่ทุกวันนี้แทบไม่มีเวลาให้กับตนเองเพราะว่างเมื่อใดก็มองหน้าจอโทรศัพท์มือถือตลอด กับ 2.มนุษย์สัมพันธ์ (Relationship) เช่น แม้จะมานัดรวมตัวกันในร้านกาแฟ แต่ละคนก็จะนั่งดูหน้าจอโทรศัพท์มือถือแทนที่จะพูดคุยกับคนตรงหน้า เป็นต้น…

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร “เราจะเข้าถึงข้อมูลรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างไร”

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร
“เราจะเข้าถึงข้อมูลรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างไร”
โดย ดร.สุพจน์  เธียรวุฒิ  Dr. Supot Tiarawut
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) DGA Thailand  DGA Thailand

จากงานเสวนานักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 12
“เมื่อต้องรับมือข่าวสารจริง-ลวงด้วยข้อมูลเปิด เราจะเข้าถึงรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างไร”
Digital Thinkers Forum #12
Fighting Fake News & Opacity with Open Data:
How to enable fact-checking by digital government?
เปิดประเด็น​โดย ดร.สุพจน์​ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการ​สำนัก​งานพัฒนา​รัฐบาล​ดิจิทัล​ (องค์การมหาชน- DGA)

ณ ห้องประชุมชั้น 15 สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย อาคาร GPF ถนนวิทยุ

คลิกลิงก์ เพื่อดาวน์โหลดเอกสาร
https://drive.google.com/file/d/1wmvrTqdPjrqgFWXai7JERxzn24aHthR4/view?usp=sharing

“Cofact” Innovation Creates a New Culture of “Fact Checker” Fostering Thai society as Fact Checker for Collaborative Fact Checking

The key intent of the innovation of “CoFact”, or Collaborative Fact Checking, the newest online platform, is to help Thai people from being victimized by all forms of “fake news”, which was officially launched at the Digital Thinkers Forum#11 on “In digital age, why CoFact is important?” The launch was co-organized last week by the fact-checking and fake news preventing network such as Thai Health Promotion Foundation, Thailsnd Media Fund, ThaiPBS, Foundation for Consumers, The National Press Council of Thailand, Thai Institute of Justice (TIJ), JitArsa Bank, 77 Kaoded, ChangeFusion, Opendream, UbonConnect, Friedrich Naumann Foundation, and Centre for Humanitarian Dialogue (HD). It is no less interesting for this new dimension of screening before forwarding the upcoming news.


Because nowadays Thai people are facing the problem of “fake news”, spreading like a pandemic in the society, especially the online one. For instance, misinformation on health, sales fraud, Ponzi scheme, online gambling, disaster news, as well as political issues. This causes confusion, and misunderstanding, making it difficult to believe. If the people in the society are not aware, they might fall victims or unconsciously become fake news spreaders. Based on the data of the Foundation for Consumer, it found that in early 2020, only between January and March, there were 1,055 complaints about health and related products filed to the Foundation.

Thus, the solution to enhance the quality of Thai society, particularly in terms of receiving and forwarding any information, Mr. Supreda Adulyanon, the CEO of Thai Health Promotion Foundation, a partner of the network, stated that there is necessity to create space for everyone to conduct collaborative fact checking. And that this CoFact community, either on www.CoFact.org or Line @CoFact, will become the mechanism in lighting up, and uniting the citizens to work together in driving the fact-checking process of the civic sector.

Similar to the representatives of Friedrich Naumann Foundation (FNF), Mr.Frederic Spohr and Centre for Humanitarian Dialogue (HD), Ms.Theerada Suphaphong, partners from Germany and Switzerland, who also agreed that CoFact Community will help Thailand in tackling fake news, and political hate speech. It is because the concept that allows everyone to be part of collaborative fact checking on the constructive and safe space is not contrary to the principles of Democracy, Rights and Liberties. It responds to the need more than fighting fake news with the use of state power.

But this is a very new topic, to achieve the goal is not an easy task. Therefore, CoFact Thailand was adapted for Thailand by using the inspiration from the CoFacts project in Republic of China, where the civil society of Taiwan believes in the civic power in tackling the fake news through the establishment of the common open space for every sectors to fact check as fact could change over time and factors.

Ms. Supinya Klangnarong, Co-founder of CoFact.org, said that to drive CoFact mechanism to be successful, it is necessary to expand the work from creating online platform to creating community of fact checking where everyone can help awaken fact checker-ness in themselves.


“This is considered as the media form in the digital era by strengthening the civic sector, and fighting fake news with journalism principles such as verifying the credibility of the source, and creating and turning this new value to the new culture of society.” She again emphasized on the next step of CoFact Thailand.

There is, however, a theory on fake news. It explains that fake news can be compared as a virus. The person who leaks/spreads it is called ‘Spreader’, whereas some fake news could spread quickly and widely because of ‘Super Spreader’, who could be celebrity, media influencer, or social influencer on other aspects. The solution is, therefore, using ‘Super Corrector’, who has the same level of influence to provide the correct information and to do so immediately.

However, if it is fake news at the community level which is spread on social media, Ms. Supinya says this needs ‘Many Correctors’—a lot of ordinary people to fact check, while also replacing with correct information—in order to stop such fake news. Hence, CoFact.org is a platform specifically for this purpose.

“We want to go beyond the Sure and Share approach. It means that in addition to fact checking any mis/disinformation, there must also correct it with the most updated fact into the database so that others could also fact check again whether it is fake or true. The press could too use this platform to verify its content before publishing it to the public.

Currently, there are 1,500 sets of data in the database of CoFact.org. Most of them are about health, COVID-19, and related propaganda. Whereas, there is not much data yet on social and politics as it is a complicated matter. Ms. Supinya announced that in the future, this topic will be made into in-depth news, by compiling a dataset then accompanying comments rather than deciding whether it is true or not because politics is a sensitive issue with many different aspects.


As for Ms. Kanokporn Prasitpol, the Director of New Media of ThaiPBS, she stated that as the press representative before publishing any news, the press must focus on multi-step fact checking on its content, coupled with the speed in presentation for the highest benefit of the audience. Because for the general public, including those living in Bangkok, the recognition of sharing information without fact checking is still a far-away matter for them.

While for Mr. Wannasingh Prasertkul, the documentary producer and social influencer, believed that, as a media consumer himself, if CoFact is practical and lives up to its expected effectiveness, it could be a great tool for the society, causing improvement on the discussion atmosphere in the society. Because at one point whether it is true, most of the people are going to still be in the state of willingness to consume information that matches with their belief, now they all could just send to CoFact, a reference point accepted and understood by everyone, in order to resolve the matter. This is all up to the credibility of the project, and a very broad and comprehensive database.

Same as Mr. Jikhaideel Chelaeh, the famous Youtuber of Deen Vlog from Narathiwas, who also agrees that this creative space of CoFact.Org will help alleviate the Southern Thailand conflict from fake news.

“I could remember that fake news in Southern Thailand has occurred since I was just a kid. It spread on MSN, then Hi5, and now on Line. The fake news situation is constantly escalating. For example, The Muslim burned out a temple in Malaysia, or A Muslim shot Thai Buddhist or the other way around. Such thing occurs almost every month, causing hatred not only within the Southern Border provinces but it became feud between the Thai Buddhists and Thai Muslim in the area. Even if neither of them do so, there is an attempt from some groups who try to create and benefit from this fear. This impacts the way of living and the economy. I can assured that having grown up in this area, there is no such thing, we all live harmoniously—Buddhism, Islam, and Christian. Therefore, if fake news is still circulated, the economy and revenue of villagers from the Southern Border provinces would never be better.”

This Youtuber from Deen Vlog also said that one thing that his friends and himself could do is to feed more positive information, and more facts about the three Southern Border provinces through creating this Youtube channel for the Thais and everyone in the World to see. As for the content of Deen Vlog is not touching upon estrangement, but instead by using positive framing of facts, which is really helpful. As for CoFact.org, it uses similar methodology but on the bigger and more credible platform, it could be another tool to, more or less, help solve Southern Thailand conflict. Therefore, this is a call for everyone to volunteer with CoFact Network in order to help with fact checking before sharing information.

Even Mr. Peerapon Anutarasoat, manager of Sure and Share of MCOT, also emphasized that CoFact is another channel in fact checking, which could be dependable for the people and by the people. It could also adjust behaviors of the people in the society to have more critical thinking, to look at any information with a fair heart, and to judge on rationality. CoFact could additionally be a space for experts and specialists to share the correct information on the online society. This is another good point. And, some information from the Sure and Share is re-published on this new platform too.

The CoFact project of Taiwan, the initial inspiration of Thailand’s CoFact.org, took eight months to be successful. It is supervised by four hundred editors while there are 20,000 citizen fact checkers who monitor and feed information. And, there are 150 issues per week being fact-checked and corrected. Therefore, CoFact Thailand will grow strongly in no time. The people in the country need to join hands in creating a new culture of fact checker so as to fact checking together with correcting before sharing to intercepting fake news from spreading.

Goodwill messages from Taiwan’s Digital Minister, Audrey Tang, to congratulate Cofact Thailand’s launching event in August 28, 2020

For Cofact annual event in August 28, 2020, Taiwanese’s Digital Minister, Audrey Tang who virtually appeared as a special guest to deliver a good will messages to Cofact Thailand and elaborated that: “In this era the explosion of information, disinformation has also become like a wildfire which causes social panic. It is an issue that we cannot ignore. To counter the tough challenges, we firmly believed that it is only cross- sector of partnership, we can reconsolidate to protect the value that we share which is a liberal democracy.”

นวัตกรรม “Cofact” สร้างวัฒนธรรมใหม่ “Fact Checker” ปั้นสังคมไทยนักเช็คข่าวลวง เปิดพื้นที่ร่วมหาข้อเท็จจริง

นวัตกรรม “Cofact” สร้างวัฒนธรรมใหม่ “Fact Checker”
ปั้นสังคมไทยนักเช็คข่าวลวง เปิดพื้นที่ร่วมหาข้อเท็จจริง

“ทำให้ทุกคนกลายเป็นคนตรวจสอบข่าว หรือ Fact Checker และสร้างพื้นที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงร่วมกันให้เกิดขึ้นในประเทศไทย”




เจตนาสำคัญของนวัตกรรม “โคแฟค” (COFACT.ORG) หรือ Collaborative Fact Checking แพลตฟอร์มออนไลน์น้องใหม่ ที่จะช่วยให้คนไทยไม่ตกเป็นเหยื่อของ “ข่าวลวง” (Fake News) ทุกรูปแบบ ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน เสวนานักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 11 “ยุคดิจิทัล ทำไมความจริงร่วมจึงสำคัญ” โดยกลุ่ม ภาคีเครือข่ายป้องกันและตรวจสอบข่าวลวง อาทิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ (สสส.) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ThaiPBS มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สภาการหนังสือพิมพ์ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์กรมหาชน) หรือ TIJ ธนาคารจิตอาสา 77 ข่าวเด็ด Opendream มูลนิธิฟรีดิชเนามัน – Friedrich Naumann Foundation และ The Centre for Humanitarian Dialogue (HD) เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นับว่าน่าสนใจไม่น้อยกับมิติใหม่แห่งการคัดกรองและส่งต่อข่าวสารที่กำลังจะเกิดขึ้น

เพราะปัจจุบันคนไทยกำลังเผชิญปัญหา “ข่าวลวง” ที่ระบาดหนักในสังคม โดยเฉพาะในสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ผิดๆ ด้านสุขภาพ การหลอกขายสินค้า แชร์ลูกโซ่ การพนันออนไลน์ ข่าวภัยพิบัติ รวมถึงประเด็นทางการเมือง ที่สร้างความสับสน ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนยากที่จะเชื่อถือในข่าวสารนั้นๆ ซึ่งถ้าหากคนในสังคมไม่รู้เท่าทันอาจตกเป็นเหยื่อ หรือเผยแพร่ส่งต่อโดยไม่รู้ตัว โดยข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพบว่า แค่ช่วงต้นปี 2563 ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม มีเรื่องร้องเรียนด้านสุขภาพและผลิตภัณฑ์เข้ามาที่มูลนิธิสูงถึง 1,055 รายการ



ดังนั้นหนทางแก้ไขและน่าจะเป็นอีกตัวช่วยยกระดับสังคมไทยให้มีคุณภาพ ในเรื่องการรับและส่งต่อข้อมูลข่าวสาร สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. หนึ่งในภาคีเครือข่ายป้องกันและตรวจสอบข่าวลวง ระบุชัดว่า จำเป็นต้องเปิดพื้นที่ให้ทุกคนได้มาแสวงหาความจริงร่วมกัน และเครือข่ายชุมชนโคแฟคทั้งบนเว็บไซต์ Cofact.org และไลน์ @Cofact นี้เอง จะกลายเป็นกลไกสำคัญในการจุดประกาย สานพลังใจพลเมือง ให้หันมาจับมือช่วยกันขับเคลื่อนกระบวนการตรวจสอบข่าวสารโดยภาคประชาชน

ไม่ต่างจากตัวแทนของ มูลนิธิฟรีดิชเนามัน – Friedrich Naumann Foundation และ The Centre for Humanitarian Dialogue (HD) ภาคีต่างประเทศจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสมาพันธรัฐสวิส ที่เห็นด้วยว่าเครือข่ายชุมชนโคแฟคจะช่วยให้ประเทศไทยรับมือข่าวลวงต่างๆ และ Hate Speech ทางการเมืองได้ เพราะแนวคิดที่ให้ทุกคนมาหาความจริงร่วมกันบนพื้นที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไม่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ ตอบโจทย์มากกว่าการใช้อำนาจรัฐเข้าไปแก้ไข



แต่เพราะเป็นเรื่องใหม่ การจะเดินให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย กับการนำแรงบันดาลใจจาก โครงการโคแฟคในสาธารณรัฐจีน ที่ภาคประชาสังคมไต้หวันมีความเชื่อมั่นในพลังของพลเมืองต่อการรับมือกับด้านมืดของข้อมูลข่าวสาร ผ่านการมีพื้นที่กลางให้ทุกฝ่ายมาช่วยกันค้นหาข้อเท็จจริง เพราะข้อเท็จจริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาและเหตุปัจจัย มาปรับประยุกต์ใช้ในสังคมไทย


สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้ง COFACT.ORG กล่าวว่า การจะขับเคลื่อนให้กลไกโคแฟคสำเร็จได้จริงนั้น ต้องขยายงานจากการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ ไปสู่การสร้างชุมชนเพื่อการตรวจสอบข้อเท็จจริง และทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน ปลุกความเป็น Fact Checker ในตัวเอง
“นับว่าเป็นการปฏิรูปสื่อในยุคดิจิทัล ด้วยการหันกลับมาสร้างความเข้มแข็งในภาคพลเมือง และแก้ไขข่าวลวงด้วยหลักวารสารศาสตร์ เช่น การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือก่อนเสมอ และสร้างค่านิยมใหม่นี้ให้กลายเป็นวัฒนธรรมของสังคม” เธอย้ำอีกครั้งถึงแนวทางที่โคแฟคไทยจะเดินต่อไปจากนี้

อย่างไรก็ดี หลักการของข่าวลวงหรือ Fake News นั้นมีทฤษฎี โดยข่าวลวงนั้นเปรียบได้กับไวรัส คนที่ปล่อยข่าวลวงคือ Spreader แต่บางข่าวลวงที่ไปเร็วและขยายวงกว้างเพราะมี Super Spreader ที่เป็นเซเลบริตี อินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้มีอิทธิพลทางสังคมในมิติต่างๆ เป็นผู้ปล่อยสาร แนวทางแก้ไขจึงต้องใช้ Super Corrector ที่มีอิทธิพลในระดับเดียวกันมาให้ข้อมูลด้านที่ถูกต้องและต้องทำทันที หากเป็นข่าวลวงในระดับพื้นที่ชุมชนที่แพร่กระจายตามโซเชียลมีเดียต่างๆ สุภิญญา บอกว่า ต้องอาศัย Many Correctors หรือประชาชนทั่วไปจำนวนมากมาช่วยกันตรวจสอบแก้ไข พร้อมใส่ข้อมูลที่ถูกต้องแทนลงไป จึงจะสามารถหยุดยั้งข่าวลวงนั้นได้ และ COFACT.ORG คือกลไกพื้นที่ที่สอดรับกับวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว


“เราอยากไปไกลกว่าการชัวร์ก่อนแชร์ คือถ้าเห็นอะไรผิดนอกจากจะช่วยตรวจสอบแล้ว อยากให้เกิดการ Correct เอาข้อมูลที่ถูกต้องที่เป็นปัจจุบันที่สุดมาใส่ไว้เป็น Data Base ด้วย เพื่อให้คนอื่นมาเช็คได้ว่าข่าวนี้ลวงหรือจริง โดยสื่อมวลชนเองก็สามารถใช้แพลตฟอร์มนี้ตรวจสอบเนื้อหา ก่อนเผยแพร่ข่าวสารออกสู่สาธารณะได้เช่นกัน”
ขณะนี้ COFACT.ORG มีฐานข้อมูลอยู่ประมาณ 1,500 เรื่อง ส่วนมากเป็นประเด็นด้านสุขภาพเน้นไวรัสก่อโรคโควิด-19 และกลุ่มโฆษณาชวนเชื่อ ส่วนด้านสังคมและการเมืองที่มีความซับซ้อน ยังไม่มีฐานข้อมูลมากนัก ซึ่ง สุภิญญา แจ้งว่า ในอนาคตจะทำเป็นข่าวเจาะเชิงลึก นำชุดข้อมูลมาเรียบเรียง แล้วค่อยนำความเห็นมาประกอบ มากกว่าการฟันธงว่าอะไรจริงไม่จริง เพราะการเมืองเป็นประเด็นละเอียดอ่อนมีหลากหลายแง่มุม



ด้าน กนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อใหม่ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนสื่อมวลชนก่อนปล่อยข่าวใดๆ ออกไป อยากให้สื่อมุ่งเน้นกระบวนการตรวจสอบเนื้อหาหลายขั้นตอน ควบคู่ไปกับความรวดเร็วในการนำเสนอ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับข่าวสาร เพราะปัจจุบันสำหรับชาวบ้านทั่วไป ไม่เว้นแม้แต่คนในกรุงเทพฯ การตระหนักถึงการแชร์ข้อมูลโดยไม่ตรวจสอบ ประชาชนยังมองเป็นเรื่องไกลตัว



ขณะที่ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ผู้ผลิตรายการสารคดีและนักพัฒนาสังคม กล่าวในฐานะผู้เสพสื่อว่า หากแพลตฟอร์มโคแฟคใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพสูงสุดตามที่ตั้งเป้าไว้ ก็จะกลายเป็นเครื่องมือที่ดีของสังคม ทำให้บรรยากาศการถกกันในสังคมอาจจะดีขึ้น เพราะถึงจุดหนึ่งไม่รู้ว่าอะไรจริงไม่จริง และคนส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะที่ยินดีเสพข้อมูลต่างๆ หากว่าตรงกับความเชื่อของตนเอง แค่ส่งไปถามโคแฟคที่เป็นจุดอ้างอิงที่ทุกคนยอมรับและเข้าใจตรงกันก็ได้ข้อยุติแล้ว แต่ทั้งหมดทั้งมวลต้องทำให้โปรเจ็กต์นี้น่าเชื่อถือ และมีฐานข้อมูลวงกว้างมากๆ


จิคัยดีล เจะและ Deen Vlog จ.นราธิวาส


เช่นเดียวกับ จิคัยดีล เจะและ ยูทูปเบอร์คนดัง Deen Vlog จาก จ.นราธิวาส ที่เห็นด้วยว่า พื้นที่สร้างสรรค์ COFACT.ORG จะช่วยบรรเทาปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จากข่าวลวงได้


“จำได้ว่า Fake News ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีตั้งแต่ตอนที่ผมยังเล็กๆ จากสมัย MSN มา Hi5 จนปัจจุบันก็เป็น LINE ที่สถานการณ์ก็หนักมากขึ้นเรื่อยๆ มักมีการปล่อยข่าวลวงต่างๆ ว่าคนอิสลามไปเผาวัดที่มาเลเซีย หรือคนอิสลามไปยิงคนไทยพุทธ คนไทยพุทธยิงคนอิสลาม อะไรแบบนี้ใน LINE แทบจะทุกเดือน ซึ่งก่อให้เกิดความเกลียดชังที่ไม่ใช่แค่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่กลายเป็นความบาดหมางระหว่างคนไทยพุทธและไทยมุสลิมที่อยู่ในพื้นที่ ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ทำอะไรเลย แต่มีคนบางกลุ่มพยายามทำให้เราหวาดกลัวซึ่งกัน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินวิถีชีวิตและเศรษฐกิจ ซึ่งผมยืนยันว่าเราโตมาในพื้นที่มันไม่มีอะไร เราอยู่กันแบบปกติสุขทั้ง 3 ศาสนา พุทธ อิสลาม คริสเตียน ดังนั้น ถ้า Fake News ยังไม่หมด เศรษฐกิจรายได้ของชาวบ้านใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ก็จะไม่ดีขึ้น”



ยูทูปเบอร์จาก Deen Vlog บอกด้วยว่า สิ่งหนึ่งที่เขาและเพื่อนๆ ทำได้ คือการป้อนข้อมูลด้านดี ด้านที่เป็นจริงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ผ่านการทำช่อง YouTube ให้คนไทยคนทั่วโลกได้เห็น โดยเนื้อหาของ Deen Vlog ไม่ได้แตะเรื่องความบาดหมาง แต่กลับอาศัยการใส่ข้อมูลน้ำดีลงไปซึ่งช่วยได้มาก ส่วน COFACT.ORG ที่ใช้หลักการทำงานคล้ายๆ กัน แต่เป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่กว่า มีความน่าเชื่อถือมากกว่า น่าจะเป็นอีกเครื่องมือช่วยแก้ไขปัญหาความาขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ได้ไม่น้อย จึงอยากให้ทุกคนเข้าร่วมเป็นจิตอาสาเครือข่ายโคแฟค และช่วยกันตรวจเช็คข้อเท็จจริงก่อนแชร์ข้อมูล


แม้แต่ พีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท ก็ย้ำชัดว่าโคแฟคคืออีกหนึ่งช่องทางในการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เป็นที่พึ่งของประชาชนโดยตัวประชาชนเอง ช่วยปรับพฤติกรรมให้คนในสังคมมีความคิดเชิงวิพากษ์มากขึ้น มองข้อมูลด้วยใจเป็นธรรม ตัดสินบนความเป็นเหตุเป็นผล ยังเป็นพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือถนัดในด้านต่างๆ ได้นำข้อมูลที่ถูกต้องมาแชร์กันบนโลกออนไลน์ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และข้อมูลจากชัวร์ก่อนแชร์บางส่วนก็ถูกนำมาเผยแพร่ซ้ำบนแพลตฟอร์มใหม่นี้ด้วย

สารแห่งมิตรไมตรีจากคุณออเดรย์ ถัง Audrey Tang รมต.ดิจิทัล #ไต้หวัน ในงานเปิดตัวนวัตกรรมและชุมชน #โคแฟคเมืองไทย #Cofact

โครงการโคแฟคของไต้หวัน แรงบันดาลใจตั้งต้น COFACT.ORG ไทย ใช้เวลา 8 เดือน ก็ประสบผล มีกองบรรณาธิการดูแลถึง 400 คน มีประชาชนที่เป็น Fact Checker คอยเฝ้าระวังและป้อนข้อมูลมากถึง 20,000 คน ข่าวสารที่ถูกตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องมีถึง 150 ประเด็นต่อสัปดาห์ ฉะนั้น โคแฟคไทยจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งได้ในเร็ววัน ประชาชนในประเทศต้องจับมือกัน สร้างวัฒนธรรมใหม่ Fact Checker ตรวจสอบข้อมูลก่อนแชร์ พร้อมแก้ไขให้ถูกต้อง เพื่อสะกัดกั้นข่าวลวง

Talk Show – Politics of fake news around the globe

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการ Talk Show – Politics of fake news around the globe.
โดย อาจารย์วศิน ปั้นทอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากงานเสวนานักคิดดิจิทัลครั้งที่ 11 เปิดตัวโคแฟค “ทำไมความจริงร่วมจึงสำคัญ” วันที่ 28 สิงหาคม 2563


คลิก เพื่อดาวน์โหลดเอกสาร

https://drive.google.com/file/d/1ePzL-HwGk4cl4Qu4414dzZw2dZooX4Qz/view?usp=sharin

โคแฟคชวนอ่านบทสรุป “โครงการสำรวจองค์ความรู้ด้านข่าวลวง ข้อมูลบิดเบือน และข้อมูลผิดพลาด และกรณีศึกษาด้านสุขภาพของไทย”

บทความ

ชวนอ่านบทสรุป งานวิจัยเรื่อง “โครงการสำรวจองค์ความรู้ด้านข่าวลวง(fake news) ข้อมูลบิดเบือน(disinformation) ข้อมูลผิดพลาด(misinformation) และกรณีศึกษาด้านสุขภาพของไทย” แบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือการสำรวจองค์ความรู้ด้านข่าวลวง ข้อมูลบิดเบือน และข้อมูลผิดพลาดในต่างประเทศ และส่วนที่สองคือกรณีศึกษาข่าวลวง ข้อมูลบิดเบือน และข้อมูลผิดพลาดด้านสุขภาพของประเทศไทย

โดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และพรรษาสิริ กุหลาบ

ร่วมสนับสนุนและจัดทำโดย โครงการโคแฟค Cofact.org และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)

ดาวน์โหลดที่นี่

https://docs.google.com/document/d/1GcLW2cNVK0zaaXlb3dhjy1Jsi68W9tsWGI-M_wdEg9E/edit?usp=sharing