‘AI’คือเครื่องมือ อยู่ที่มนุษย์จะใช้อย่างไร ‘จริยธรรม’จำเป็น ‘งานสื่อ’ผู้สื่อข่าว-ช่างภาพลงพื้นที่ยังสำคัญ

กิจกรรม

27 ก.พ. 2568 ภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) ร่วมจัดเสวนาหัวข้อ “ปัญญาประดิษฐ์กับมิติความเป็นมนุษย์ โจทย์สู่ความจริงและสันติภาพ” โดยมี สุภิญญา กลางณรงค์  ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย) เป็นผู้ดำเนินรายการ การเสวนานี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน “Soul Connect Fest 2025 มหกรรมพบเพื่อนใจ” จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาวะทางปัญญา ระหว่างวันที่ 27 ก.พ. – 2 มี.ค. 2568 ที่สามย่านมิตรทาวน์

รณพงศ์ คำนวณทิพย์ กรรมการผู้จัดการ บจก.มายด์ เอไอ เซาท์อีสเอเชีย กล่าวว่า ณ วันนี้ สามารถพูดได้เต็มปากว่าเราเข้าสู่ยุคของปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ – AI) เพราะไม่ว่าจะเป็นใคร – อาชีพไหนต่างก็ใช้ AI ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ตัวก็ตาม อย่างไรก็ตาม ปัญญาประดิษฐ์คือการใช้เทคโนโลยีสร้างหรือเลียนแบบความฉลาดของมนุษย์ขึ้น ดังนั้นย่อมมีบางอย่างที่ไม่เหมือนมนุษย์ กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต..เมื่อไม่มีชีวิตก็เท่ากับไม่มีจิตวิญญาณ ไม่มีมโนสำนึกหรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเป็นของตนเอง

ขณะที่ความฉลาดของมนุษย์ หากดูการทำงานของสมองจะมีทั้ง ซีกซ้าย คือตรรกะ เรียนรู้จากภาษา อย่างวิชาแรกๆ ที่มนุษย์เรียนก็คือวิชาด้านภาษา หากไม่รู้ภาษาก่อนก็ไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้กับ ซีกขวา คืออารมณ์ความรู้สึก เรียนรู้จากประสบการณ์ เช่น จับอะไรแล้วรู้สึกร้อนก็ต้องปล่อยมือออก ส่วนการเรียนรู้ของ AI คือเรียนรู้จากข้อมูล(Data) ขนาดมหาศาล ทำให้ AI คาดเดาได้ว่าเราต้องการอะไร “AI เรียนรู้จากพฤติกรรมของเราและคาดเดาไปเรื่อยๆ และสิ่งนี้เป็นที่มาของปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (Generative AI)   

ถึงกระนั้น สมองซีกซ้ายหรือการเรียนรู้เชิงตรรกะก็สำคัญไม่แพ้กันและอยู่กับ AI มาตั้งแต่ต้น เพียงแต่ที่ผ่านมาถูกกลบกระแสด้วยการเรียนรู้แบบสมองซีกขวา ในขณะที่คนเราจะตัดสินใจโดยไม่ใช้ตรรกะได้หรือไม่ ก็อาจได้บางเรื่องแต่จะไม่สมบูรณ์ อาจผิดพลาดได้ จึงต้องใช้ตรรกะมาช่วย ทั้งนี้ เมื่อมองดูสถานการณ์ในประเทศไทย หากเป็นการนำ AI มาใช้ (Adoption) มองว่าเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนไทยชอบลองอะไรใหม่ๆ  

ส่วนการพัฒนา AI ในประเทศไทยก็มีบริษัทที่ทำเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย มีการพัฒนาโมเดล AI ภาษาไทย ในลักษณะเดียวกับ AI เจ้าดังอย่าง ChatGPT ซึ่งการพัฒนา AI ของไทยเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการไปพึ่งพาข้อมูลหรืออัลกอริทึมของต่างประเทศเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ตามมาคือความลำเอียง (Bias) ที่บอกกันว่ามนุษย์ลำเอียงแต่เทคโนโลยีไม่ลำเอียง ในความเป็นจริงคือมนุษย์ใส่ความลำเอียงให้เทคโนโลยีตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ข้อมูลที่ใช้ วิธีการคิดนโยบาย

ไทยเองก็เป็นประเทศที่มีนักพัฒนาเก่งๆ อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน แล้วเราก็พัฒนา AI ขึ้นมาได้ค่อนข้างจะดี แต่อันนั้นเป็นการพัฒนาที่เหมือนตามแบบของคนอื่น ยังไมใหม่เสียทีเดียว แต่ก็ยังมี AI อีกหลายประเภท ยังมีอีกหลายสาขามากๆ ที่เรียกว่าเราพัฒนาได้ดี แต่สิ่งที่สำคัญ คือ เราขาดทิศทางว่าประเทศเราควรจะสร้างจุดแข็งเรื่องเทคโนโลยีในด้านไหน ถ้าเราแค่พัฒนาเอาไปใช้งาน อันนี้ไม่ยาก แต่ถ้าเราจะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ให้เกิดขึ้น ให้สร้างความแตกต่างจริงๆ อันนี้ต้องใช้พละกำลังมหาศาล ทั้งในเรื่องของเงินทุน ระยะเวลา ความมุ่งมั่ ไปให้สุดทาง กัดไม่ปล่อย บางทีต้องใช้เวลา 10  20 ปี รณพงศ์ กล่าว

บาทหลวงอนุชา ไชยเดช ผู้อำนวยการสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย กล่าวว่า หากมองตามความเห็นส่วนตัวแล้ว AI หรือปัญญาประดิษฐ์ไม่ได้ช่วยอะไรทั้งเรื่องจิตวิญญาณ ความเป็นเพื่อนร่วมทุกข์และความหวัง เพราะ AI ไม่มีวิญญาณ คุยกับ AI มากๆ อาจเป็นทุกข์ก็ได้ และมีคำถามว่า AI สร้างความหวังอะไรให้กับเรา? การคุยกันเรื่อง AI จึงเป็นการคุยกันในเรื่องเทคโนโลยี และไม่ได้เป็นเครื่องมือที่เรามีอำนาจเหนือเสมอไป บางครั้งเราก็ถูกควบคุมเช่นกัน

ทั้งนี้ AI จะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ใช้งาน อย่างตนเป็นบาทหลวง เป็นคนของศาสนา ก็ต้องมองในมุมศาสนา ซึ่งก็คือคุณธรรม (Ethics) และศักดิ์ศรีของมนุษย์ ก็ต้องพยายามใช้ AI เพื่อส่งเสริมคุณธรรมและสร้างศักดิ์ศรีให้กับมนุษย์ แต่หากเป็นนักธุรกิจก็จะมองว่า AI จะช่วยธุรกิจได้อย่างไร หรือเป็นนักการศึกษาก็ใช้ AI ในเรื่องการศึกษา ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในมุมของศาสนา คือต้องช่วยแนะนำการใช้ AI ในเรื่องจริยศาสตร์ ทำอย่างไรที่ใช้ AI แล้วจะเป็นคนที่ดีขึ้น

เราสนใจเรื่องจริย เรื่องคุณค่าของมนุษย์ ดังนั้นในศาสนาคริสต์จะเริ่มมีคำใหม่ นั่นก็คือคำว่าดิจิทัล มิชชันนารี คือแต่ก่อนเวลาเราได้ยินได้ฟังโรงเรียนของคาทอลิก เราจะเป็นคุณพ่อ (นักบวช) มาจากต่างประเทศแล้วมาแพร่ธรรมในประเทศไทยโดยมีความคิดว่าเขาได้เอาสิ่งดีๆ มาให้ แต่การแพร่ธรรมสมัยใหม่ มิชชันนารีไม่ต้องเดินทางมา แต่ทำ Social Media (สื่อสังคมออนไลน์ให้น่าสนใจ เขาสามารถอยู่ที่ประเทศของเขา แต่เขาสามารถร่วมกันเผยแพร่เรื่องราวของสิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง น่าสนใจและมีคุณค่า แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ จะทำอย่างไรให้มีความน่าสนใจ ทำอย่างไรให้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ บาทหลวงอนุชา กล่าว

สุวิตา จรัญวงศ์  CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Tellscoreกล่าวว่า Tellscore มีอินฟลูเอนเซอร์ลงทะเบียนอยู่ประมาณ 8 หมื่นคน ซึ่งจะมีบริษัทต่างๆ มาจ้างให้อินฟลูเอนเซอร์ประชาสัมพันธ์แบรนด์สินค้า แต่ก่อนจะร่วมงานกันลูกค้าจะขอให้ตรวจสอบประวัติอินฟลูเอนเซอร์ เช่น ย้อนหลัง 3 ปี ไม่ปลุกปั่นรุนแรง หยาบคาย วับๆ แวมๆ แม้ต้องการยอดการรับชมเยอะๆ แต่ต้องผ่านเกณฑ์ดังกล่าว

ทั้งนี้ ระยะหลังๆ สังคมไทยตื่นตัวขึ้นมาก เนื่องมาจากความระมัดระวังมิจฉาชีพ เช่น ในอินเตอร์เน็ต มีคนแต่งตัวดี เรียกตนเองเป็นอินฟลูเอนเซอร์แต่อาจไปชักชวนคนให้เล่นการพนัน ลักษณะนี้ยังแยกออกว่าใครขาว เทาหรือดำ การขับเคลื่อนเรื่องจริยธรรมนั้นสำคัญ เพราะสื่อสังคมออนไลน์มีพื้นที่ใหญ่มาก ลองนึกถึงคนไทย 70 ล้านคน ใช้สื่อสังคมออนไลน์กว่า 60 ล้านคน และทุกคนก็มีโอกาสผลิตเนื้อหาหรือเป็นอินฟลูเอนเซอร์ เพราะสื่อสังคมออนไลน์ใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 

อย่างไรก็ตาม ผู้จ้างงานรีวิวสินค้าก็ต้องการทราบว่ามีการใช้ AI ช่วยเล่าเรื่องหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่เพียงเรื่องจริยธรรมแต่เป็นเรื่องเสมือนหรือไม่เสมือน ยิ่งทุกวันนี้การใช้ AI ถูกกว่าใช้มนุษย์ ดังนั้นผู้ให้บริการก็ต้องระบุให้ชัดเจน เช่น Live สินค้าแบบ 24 ชั่วโมง แต่ใช้ AI รันไปเรื่อยๆ ใช้สคริปต์เป็นสารตั้งต้นสัก 1 ย่อหน้า ไล่เรียงสินค้าไปว่ามีอะไรบ้าง แต่สิ่งที่ AI ทำไม่ได้คือ การให้ความหวัง

ทางเศรษฐกิจเราให้ความหวังคน ส่วนใหญ่ก็ต้องยอมรับว่าทุนนิยม ความหวังทางด้านเศรษฐกิจก็คือ เงิน พอมีเงินเขามีความหวัง แต่เป็นความหวังทางโลก อีกความหวังหนึ่งที่เราสังเกต ถ้าเกิดสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตมันปลอดภัยคนเราก็จะมีความหวัง เราจะสิ้นหวังเมื่อสภาพแวดล้อมบางอย่างพร่องไป เศรษฐกิจไม่ดี ภัยคุกคาม มีสงครามเข้ามา เราก็เลยรู้สึกว่ามีสิ่งเร้าในฐานะมนุษย์เดียวกัน ในฐานะคนที่บอกต่อเรื่องราว ต้องให้ความสำคัญในการผลิตเยาวชนหรือคนรุ่นใหม่ที่สร้างเนื้อหาน้ำดีที่เป็นเรื่องของความหวังด้วย สุวิตา กล่าว

ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งสำนักข่าว The Reporters และผู้สื่อข่าวรายการข่าวสามมิติ ช่อง 33HD กล่าวว่า AI อาจใช้ช่วยงานได้ในบางกรณีที่ต้องใช้เทคนิคของเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น การทำอินโฟกราฟิก การอธิบายข้อมูล แต่สำหรับผู้สื่อข่าวที่ต้องไปหาข่าวจากสถานที่จริงก็อาจไม่ได้ใช้ AI ซึ่งแม้ผู้สื่อข่าวจะต้องรู้เท่าทัน AI หรือเทคโนโลยี แต่การลงพื้นที่ไปเห็นสถานที่ด้วยตาและได้สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องด้วยตนเองเพื่อนำมารายงาน สิ่งนี้คือความน่าเชื่อถือ คนที่ติดตามก็จะเชื่อว่าเราทำข่าวจริงไม่ใช่ตกแต่งขึ้น

เพราะการไปลงพื้นที่คือได้เห็น ได้ตั้งคำถาม ได้เขียนข่าวและรายงานทุกอย่างด้วยตนเองจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นทั้งหมด และแม้จะมีการอ่านข่าวโดยผู้ประกาศข่าวที่เป็น AI ก็เป็นการอ่านในสิ่งที่ผู้อื่นเขียนมาให้ นี่คือความแตกต่าง ถามว่าคนจะเชื่อใครระหว่าง AI ที่อ่านข่าวในสตูดิโอ หรือผู้สื่อข่าวที่ไปลงพื้นที่ การได้เข้าไปในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของฐานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ได้สัมภาษณ์ชาวต่างชาติที่ถูกหลอกมาเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ แต่การส่งผู้สื่อข่าวและช่างภาพลงพื้นที่ย่อมต้องมีค่าใช้จ่าย ทำให้สื่อในปัจจุบันไม่ค่อยลงทุนในส่วนนี้ 

Content Creator (ผู้ผลิตเนื้อหา) เป็นอีกงานหนึ่งที่สำคัญในการใช้ข้อมูลมาแล้วก็คิดสร้างเนื้อหา แต่จะแตกต่างจากความเป็นนักข่าว (Reporter หรือ Journalist) ยังอยากที่จะให้ย้ำความสำคัญของนักข่าวและคนที่มาทำข่าวในพื้นที่ภาคสนาม หรือไปหาข่าวด้วยตัวเอง เพราะนี่คือคนที่เป็นต้นทุนสำคัญในการหาข้อมูล หาแหล่งเนื้อหาต่างๆ และอยากให้พวกเขาเหล่านี้ได้รับการสนับสนุน เพราะสุดท้ายเราต่างก็ย่อมได้ข้อมูลจากนักข่าวซึ่งเป็นคนแรกที่ลงพื้นที่ไปทำข่าว สัมภาษณ์และรายงานมา แล้วถึงจะเอาไปสร้างเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ ออกมา ฐปณีย์ กล่าว

หมายเหตุ : เนื่องจาก ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งสำนักข่าว The Reporters และผู้สื่อข่าวรายการข่าวสามมิติ ช่อง 33HD ติดภารกิจลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์แก๊งคอลเซ็นเตอร์ บริเวณชายแดนไทย – เมียนมา จึงได้บันทึกความเห็นของตนเป็นคลิปวีดีโอให้ทีมงานนำมาเปิดในวงเสวนาครั้งนี้ 

-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-


มองโลกแล้วดูไทย! ‘ปั่นกระแสเกลียดชัง’ขาดกลไกรับมือ จี้แพลตฟอร์มต้องรับผิดชอบกว่าที่เป็นอยู่

กิจกรรม

1 มี.ค. 2568 ภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) ร่วมจัดเสวนาหัวข้อ “รับมือความเกลียดชัง ข้อมูลลวงออนไลน์ยุค 4.0 ด้วยปัญญารวมหมู่ Collective wisdom vs. Digital Hate 4.0: Navigating the DeepTech Era” ดำเนินรายการโดยจัดการโครงการมูลนิธิ ฟรีดริช เนามัน (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน “Soul Connect Fest 2025 มหกรรมพบเพื่อนใจ” จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาวะทางปัญญา ระหว่างวันที่ 27 ก.พ. – 2 มี.ค. 2568 ที่สามย่านมิตรทาวน์

สุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน ChangeFusion เปิดเผยผลการสำรวจข้อมูลความเกลียดชังออนไลน์ โดยกล่าวว่า หากเป็นสถานการณ์ในระดับโลก ปัญหานี้ขยายวงมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างในอินเดีย หรือสหรัฐอเมริกาที่พบถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) พุ่งเป้าไปที่การต่อต้านชาวเอเชีย ขณะที่ความคาดหวังต่อแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ดูจะคาดหวังได้น้อยลงเพราะลดมาตรฐานลง ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact Check) โดยให้ผู้ใช้งานมาให้ข้อมูล (Community Notes)  หรือประเทศอย่างเยอรมนี แม้จะมีนโยบายควบคุมเนื้อหาสร้างความเกลียดชังที่เข้มแข็งมากแห่งหนึ่งในโลก แต่ผลเลือกตั้งที่เพิ่งออกมาน่าวิตกไม่น้อย ซึ่งในสังคมเยอรมัน Hate Speech จะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองและความกังวลการสูญเสียอัตลักษณ์จากการมาของผู้อพยพจำนวนมาก โดยในปี 2560 เยอรมนีออกกฎหมาย NetzDG กำหนดให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต้องมีช่องทางรับแจ้งและหากผิดจริงต้องนำออกภายใน 24 ชั่วโมง หากฝ่าฝืนอาจถูกปรับสูงถึง 50 ล้านยูโร มีการนำข้อความออกจากระบบไปร้อยละ 15 ส่วนใหญ่เป็นความเกลียดชังและความรุนแรง 

แต่ด้วยความที่ต้องใช้เวลารวดเร็วและมีบทลงโทษที่รุนแรง ผลข้างเคียงคือเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Hate Speech อาจถูกลบไปด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก แต่กฎหมาย NetzDG กำลังจะถูกทดแทนด้วยกฎหมายที่ครอบคลุมทั้งยุโรปที่เรียกว่า EU Digital ServiceAct ขณะที่อังกฤษ มีการปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ที่มีอยู่ มีการทำงานกับสำนักงานอัยการสูงสุด ติดตามข้อมูลเป็นรายเดือนว่ามีเรื่องร้องเรียนและการดำเนินคดีมาก–น้อยเพียงใด มีการทำงานกับภาคประชาสังคมทั้งการแจ้งเหตุและการช่วยเหลือ โดยบริบทของอังกฤษจะเป็นความเกลียดชังเรื่องเชื้อชาติ ศาสนาหรืออัตลักษณ์ทางเพศ

ที่ประเทศญี่ปุ่น มีกฎหมาย Hate Speech Elimination Act ซึ่งมาจากปัญหาความเกลียดชังต่อชนชาติอื่นที่เข้ามาอยู่ในญี่ปุ่น (โดยเฉพาะชาวจีนและเกาหลี) กลุ่มขวาจัดนิยมจักรวรรดิกลับมามีบทบาทอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้ไม่ได้มีบทลงโทษเป็นการเฉพาะ เป็นเพียงการอธิบายหลักการว่าอะไรเข้าข่ายผิด และหน่วยงานราชการทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่อย่างไรบ้าง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถใช้กฎหมายนี้ในการไม่อนุญาตให้จัดกิจกรรมเดินขบวนได้ หรือศาลใช้กฎหมายนี้สั่งให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ลบเนื้อหาได้

ขณะที่ประเทศไทย ในปี 2564 มีการทำข้อมูล Hate Speech ในบริบท 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศึกษาเพจเฟซบุ๊กที่กล่าวถึงประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง มีการจัดระดับ Hate Speech ตั้งแต่ระดับน้อย เช่น การด่าทอ จนถึงระดับมากคือ ชวนกันออกไปใช้ความรุนแรงในโลกจริง ซึ่งแม้อย่างหลังนี้จะมีน้อยแต่ก็มีอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับช่วงเวลานั้นที่มีการชุมนุมแล้วมีการใช้ Hate Speech สร้างความชอบธรรมให้ฝ่ายรัฐในการใช้กำลังจัดการกับผู้เห็นต่าง โดยพบทั้งคนทั่วไปและสื่อมวลชนที่ใช้ Hate Speech 

ล่าสุดเรื่อง พ.ร.บ. ชาติพันธุ์ ก็มีการสร้างความเข้าใจผิด มีการพยายามที่จะกล่าวหา –กล่าวโทษที่ไม่จริง ทำให้สุดท้ายที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรคว่ำหลายมาตรา เช่น มาตรา 27 ที่จะจัดการพื้นที่ตนเอง หรือคว่ำเรื่องชนเผ่าพื้นเมือง โดยอ้างว่าชนเผ่าเหล่านี้จะตั้งสภาพื้นเมือง มีเพลงชาติ – ธงชาติของตนเองและนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน ซึ่งล้วนเป็นเรื่องไม่จริงแต่ก็พูดกันทั่วไป

บทเรียนใหญ่ๆ แต่ละที่จะแตกต่างกัน ทำอย่างไรที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายที่มีอยู่แล้ว จะรักษาความสมดุลระหว่างการกำกับดูแลและสิทธิเสรีภาพการแสดงออกได้อย่างไร แต่ถ้าดูภาพรวมจะเห็นว่าสถานการณ์ไม่ค่อยสู้ดี และกฎหมาย ระเบียบต่างๆ มีข้อจำกัดมาก ดังนั้นกระดุมเม็ดแรกหรือขั้นแรกจะต้องกลับมาเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน สร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญาให้กับชุมชนและชาวเน็ต สุนิตย์ กล่าว

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ประธานกรรมการวิสาหกิจเพื่อสังคมจิตวิทยาสต กล่าวว่า การสร้างความเกลียดชังเป็นกระบวนการที่มีมาในวิถีชีวิต ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ซึ่งในทางจิตวิทยา การสร้างความเกลียดชังมีนัยยะ2 ประการคือ 1.นำไปสู่ความรุนแรง จากการแสดงออกทางคำพูดหรือการสื่อสารในโลกออนไลน์ จะนำไปสู่ความรุนแรงในโลกจริง ซึ่งหากย้อนมองประวัติศาสตร์ ก่อนจะเกิดความรุนแรงจะมีการโหมถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในเยอรมนีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเหตุการณ์ 6 ตุลาคม2519 ในไทย   2.การสร้างความเกลียดชังมีลำดับขั้น และเกิดขึ้นได้ทั้งที่รู้และไม่รู้ตัว เริ่มจาก 2.1 มองความต่างเป็นเรื่องถูก – ผิด 2.2 เมื่อแบ่งความต่างเป็นถูก – ผิด ได้แล้วก็จะตัดสินว่าดี –เลว และ 2.3 สิ่งใดที่ถูกตัดสินว่าเลว สิ่งนั้นไม่สมควรมีอยู่ เมื่อมาถึงขั้นนี้ก็เตรียมยกระดับกลายเป็นความรุนแรง เช่น กีดกันออกไปจากการทำงาน หรือหนักที่สุดคือมองว่าสามารถเข่นฆ่าให้ตายได้ 

กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ทำลายสังคมอย่างมาก คือทำให้เกิดความรุนแรง ดังนั้นสังคมที่มีวุฒิภาวะทั้งหลายจะต้องสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่จะต้องจัดการกับสิ่งนี้ ต้องไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิด อย่างกฎหมายที่เยอรมันก็เป็นตัวอย่างที่คลาสสิก ซึ่งตอนนี้ใช้ทั่วยุโรป ก่อนหน้านี้ในปี 2017 (2560) เยอรมันมีกฎหมายมานานแล้วว่าถ้าจะบอกว่าความเห็นนี้ด้วยเหตุผลไม่ดีอย่างไรพูดได้เต็มที่ แต่เมื่อใดที่พูดเนื้อหา Hate Speech ตอนนั้นยังไม่มีอินเตอร์เน็ต ถือว่าผิดกฎหมายนพ.ยงยุทธ กล่าว

ณภัทร ชุ่มจิตตรี (คิง ก่อนบ่าย) นักแสดงรายการ สภาทอล์คช่องไทยรัฐทีวี กล่าวว่า เคยมีประสบการณ์ลงสนามการเมือง จากในตอนแรกที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล เช่น เรื่องโควิด-19 ได้รับเสียงชื่นชม บอกเป็นดาราต้องอยู่ข้างประชาชน เรียกร้องให้มาเล่นการเมือง แต่เมื่อตัดสินใจไปลงสมัครรับเลือกตั้งในอีกพรรคการเมืองหนึ่งที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงในพรรคชอบบอกว่า ไม่รู้ ไม่รู้ จากแฟนคลับที่เคยชื่นชมกลายเป็นเจอทัวร์ลงแทน ถูกถามว่า เป็นตลกดีอยู่แล้วจะมาลงการเมืองทำไม? เป็นต้น 

โดยสรุปก็คือ หากเราเป็นที่ถูกใจเขาก็ว่าดีได้เป็นปากเป็นเสียงให้ประชาชน แต่หากเราไม่เป็นที่ถูกใจจะเจอทัวร์ลง จะขยับอะไรก็เป็นประเด็นตลอด มีการใช้ถ้อยคำเหยียด (Bully) ว่าเอาความรู้ความสามารถอะไรมาเป็นนักการเมือง ซึ่งย้อนคิดว่า ในขณะที่ผู้คนมองนักแสดงตลกเป็นตัวตลก แต่ไม่เคยถามเลยว่านักแสดงตลกคนนั้นเรียนจบอะไรมา อย่างตนจบ ป.ตรี การบริหารจัดการ และ ป.โท ด้านการจัดการฟุตบอลอาชีพ แต่ไม่เคยมีใครตั้งคำถามนี้ มีแต่มองว่าเป็นตัวตลก

พอคนเราเสพโซเชียลเยอะในสิ่งที่เราเจอ อย่างที่บอกว่าก็จิตตกไปพักหนึ่ง แต่ตอนหลังเรารู้เลยว่าวิธีการจะแก้ปัญหาในเรื่องการถูกเหยียดในสังคมออนไลน์ทำอย่างไร? 1.ไม่เติมเน็ต พอไม่เติมเน็ตเราก็เปิดหัวข้อนั้นไม่ได้ 2.เปิดเน็ตไปแล้วอ่านผ่านๆ เลือกอ่านความเห็นที่ดี ที่ส่งเสริมให้กำลังใจเรา และ 3.เรียนรู้ว่าโซเชียลคือที่ระบายออกทางความคิดของคนที่เล่นโซเชียล แต่คนที่มีความรู้ มีสติมีปัญญา เขาจะไม่มาคอมเมนต์ในทางลบ เพราะเขารู้สึกว่าจะเสียเวลาในเรื่องพวกนั้น เราก็รู้แล้วว่าคนที่เข้ามาเขาไม่มีที่ระบาย ก็เลยกลายเป็นว่าถ้าระบายแล้วมีความสุขก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่เราสร้างความสุขให้เขา ด้วยการสร้างเรื่องให้เขาด่านั่นเอง ณภัทร กล่าว

ซิสเตอร์ศรีพิมพ์ ซาเวียร์, OSU ผู้อำนวยการศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรมระดับชาติ กล่าวว่า ในทางศาสนาเห็นว่าเมื่อเกิดความเกลียดแล้วเราไปเกลียดตอบจะมีแต่ความเจ็บช้ำน้ำใจ อย่างในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งคนหนุ่ม – สาวมีวันวาเลนไทน์ ในพระคัมภีร์มีถ้อยคำที่อัครสาวกเปาโล กล่าวถึงความรักว่า ความรักอดทนนานและมีใจปราณี ความรักไม่อิจฉา ไม่อวดตัว ไม่หยิ่งผยอง ไม่หยาบคาย ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ฉุนเฉียว ไม่จดจำความผิด ไม่ชื่นชมยินดีในอธรรม แต่ชื่นชมยินดีในความจริง ความรักกล้าทนได้ทุกอย่าง เชื่ออยู่เสมอ มีความหวังและความทรหดอดทนอยู่เสมอ 

ข้อความนี้เป็นเครื่องเตือนใจทำให้คิดว่าเราต้องไม่ตอบโต้คนในทางออนไลน์ว่าเขามาว่า ถ้าเรายิ่งไปเขียนต่อว่าเขากลับยิ่งเพิ่มความเกลียดต่อไป เราไม่ต้องไปตอบโต้ ให้อภัยเขาไปว่าสิ่งที่เขาทำนี้เพราะไม่รู้ ถ้าเรายิ่งแชร์ ยิ่งมีเรื่องแชร์ต่อๆ ไป ยิ่งเกลียด ถ้ามีความรักทนได้ทุกอย่างแม้ความผิดของคนอื่น แม้แต่คนที่เรารักที่ทำผิดเราก็ยังต้องทน ยิ่งคนอื่นก็น่าจะทนง่ายเพราะเขาไม่ได้อยู่ใกล้ๆ เรา คิดว่าการมีขันติ มีความอดทนในเรื่องแบบนี้ เราก็สู้กับความเกลียดด้วยความรัก ที่จะไม่ทำร้ายคนต่อๆ ไป ซิสเตอร์ศรีพิมพ์กล่าว

อังคณา  นีละไพจิตร  สมาชิกวุฒิสภา (สว.)กล่าวว่า Hate Speech มีจุดเริ่มต้นมาจากความพยายามด้อยค่าเหยื่อและด้อยค่าคนทำงานเพื่อคนอื่น และในประเทศไทยไม่มีกลไกปกป้อง อย่างสมัยทำงานเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตนเองน่าจะเป็น กสม. ที่เจอ Hate Speech มากที่สุด ต่อมาเมื่อเปลี่ยนบทบาทไปทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ ซึ่งไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับประเทศไทย ก็เห็นว่ามี Hate Speech เข้ามาน้อยลง แต่เมื่อกลับมาเป็น สว. ก็ต้องมาเผชิญกับ Hate Speech อีกครั้ง 

อนึ่ง เมื่อมีการใช้ Hate Speech หนึ่งในสิ่งที่พบคือ เพศถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสร้างความเกลียดชัง เช่น เมื่อพูดถึงประเด็นโทษประหารชีวิตหรือผู้ลี้ภัย ผู้พูดที่เป็นผู้หญิงมักถูกโจมตีว่าในข้อความที่หยาบคาย แต่เมื่อไปแจ้งความก็จะถูกถามว่าตรงไหนสร้างความเกลียดชังหรือลดทอนคุณค่า และการต้องใช้ปากกาขีดเส้นเน้นสีถ้อยคำนั้นก็เหมือนถูกกระทำซ้ำ ซึ่งตนก็ตั้งคำถามกับสังคมมาตลอดว่าอะไรคือเส้นแบ่งระหว่างเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นกับการใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง

วันนี้มีนักกิจกรรมทางการเมืองผู้หญิงหลายคนที่ออกไปเลยจากวงการ ไม่มาพูดเรื่องการเมือง ไม่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนอีก เพราะทนไม่ได้กับการที่รูปของตัวเองถูกเอาไปตัดต่อแปะกับภาพที่ไม่ใช่ตัวเอง เป็นภาพเปลือยบ้างอะไรบ้าง คิดว่าตรงนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่สังคมควรตั้งคำถามโดยเฉพาะกับบริษัทที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม หรือบริษัทเทคโนโลยี สว. อังคณา กล่าว

ชมพูนุท เฉลียวบุญ ผู้จัดการโครงการภูมิภาค Westminster Foundation for Democracy (WFD) กล่าวว่า สื่อสังคมออนไลน์ถูกใช้ในทางการเมืองมากขึ้น อย่างนักการเมืองรุ่นใหม่ๆ ก็หันมาใช้เพราะเป็นช่องทางสื่อสารกับประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่คนไทยก็มีความลื่นไหลทางภาษา หาวิธีเลี่ยงระบบตรวจจับของแพลตฟอร์ม เช่น ใช้การสะกดคำผิด ใช้สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ (Emoji) ใช้การบิดคำแต่อ่านแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นการสร้างความเกลียดชัง และการรายงานแพลตฟอร์มก็ใช้เวลานานกว่าจะมีการดำเนินการ ทำให้หลายคนเลือกปล่อยผ่าน

โดยรูปแบบ Hate Speech ที่พบได้บ่อยๆ คือการด้อยค่า แทนที่จะพูดคุยกันเรื่องนโยบายที่นำเสนอก็เบี่ยงให้ไปเป็นเรื่องอื่นแทน ส่วนการข่มขู่พบไม่มากแต่มีความรุนแรง เช่น บอกว่าจะเอาชีวิต ซึ่งสร้างความกังวลให้กับคนที่ต้องลงพื้นที่ อีกรูปแบบหนึ่งคือการนำข้อมูลส่วนบุคคลมาเปิดเผย อาทิ หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่พักอาศัย สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้หญิงที่ปกติก็มีจำนวนน้อยในทางการเมืองอยู่แล้ว ยิ่งเจอความเสี่ยงเหล่านี้ก็ทำให้เกิดความกลัวและไม่อยากอยู่ต่อไปในพื้นที่ทางการเมือง แม้จะเป็นข้อมูลเท็จหรือภาพตัดต่อก็ต้องมาแก้ข่าวแทนที่จะไปมุ่งเน้นการทำงาน

ผลกระทบทางจิตใจมันไม่ได้อยู่แค่ระยะเวลาสั้นๆ มันกระทบต่อยาว หลายคนเจอภาวะทางจิตใจต่อเนื่อง รวมถึงครอบครัวก็มีผลกระทบด้วย ทำให้กระบวนการเหล่านี้ถูกรับมือโดยส่วนตัว พรรคการเมือง รัฐสภา หน่วยงานแวดล้อมก็ไม่ได้มีกลไกรับมือ ซึ่งปัญหาเหล่านี้แพลตฟอร์มควรจะมีความรับผิดรับชอบที่มากกว่านี้ อย่างเช่นการเก็บข้อมูลให้ชัดเจนเลยว่ามีกรณีที่เข้าข่ายประเด็นเหล่านี้ การสร้างความเกลียดชัง การให้ข้อมูลที่ผิดในระยะเวลาต่อเนื่องมีเท่าไร แล้วแพลตฟอร์มดูแลอย่างไร เพื่อที่จะให้ภาพความรุนแรงเหล่านี้มันเห็นชัดเจนร่วมกันมากขึ้นว่าสังคมเราในแต่ละรอบช่วงเวลา ในแต่ละปีเจอกันเยอะแค่ไหน ชมพูนุท กล่าว

วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.กล่าวว่า Hate Speech นำไปสู่ความโกรธ ความเกลียดและความรุนแรง หากคนเราส่งต่อความรักโลกก็จะมีแต่รอยยิ้มและสันติสุข แต่หากเต็มไปด้วยความเกลียดชังก็อยู่กันไม่ได้ มีความอึดอัดคับข้องใจ เห็นหน้ากันไม่อยากอยู่ด้วยกัน ถ้าเดินหนีไม่ได้บางทีก็ถึงขั้นใช้ความรุนแรงทำร้ายกันซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม แต่โลกปัจจุบันที่เป็นยุคออนไลน์ มีการสร้างความเกลียดชังทางออนไลน์เป็นจำนวนมากทั้งเรื่องเพศ เชื้อชาติ ศาสนาและอื่นๆ ซึ่งขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนเรื่องการไม่เลือกปฏิบัติ

เราไม่ได้อยู่คนเดียว เราอยู่กันเป็นสังคม สังคมไทยก็เป็นพหุวัฒนธรรม จริงๆ ต้องเคารพความแตกต่างหลากหลายและอยู่ด้วยกันอย่างสันติ เข้าใจและให้อภัย ถ้าเต็มไปด้วยความโกรธ ความโลภ ความหลง ความเกลียด ชีวิตนี้ก็มีแต่ทุกข์ ประการหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญคือเราจะ Handle (รับมือเรื่องพวกนี้อย่างไร ที่สำคัญคือต้องมีสติ จริงๆ แล้วในโลกออนไลน์ทุกอย่างมันเคลื่อนไหวเร็วมาก ข่าวสารถาโถมเข้ามาจากทุกสารทิศ เราเองต้องมีสติและค่อยๆ คิดว่าเรื่องนี้จริง  ไม่จริง” วสันต์ กล่าว  

ในช่วงท้าย พระมหานภันต์ สนฺติภทฺโท ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ผอ.สถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (สกพ.) กล่าวว่า ปัญญารวมหมู่ (Collective Wisdom) ในแง่ของสังคม จะเป็นในลักษณะที่แก้ไขสิ่งเลวร้ายให้กลับมาดีก็ได้ หรือหากสถานการณ์ดีอยู่แล้วแต่ไม่ทำอะไร ปล่อยให้อวิชชามหาชนเกิดขึ้น สังคมและบ้านเมืองก็จะไปอีกทางได้เช่นกัน

ถามว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร? ขอทิ้งไว้ด้วยคำง่ายๆ คำว่าแคร์ แต่ไม่ใช่แคร์บางคน ต้องแคร์ทุกคน แคร์สิทธิมนุษยชน และแคร์ไปทั้งมนุษยชาติ นั่นคือสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ พระมหานภันต์กล่าว   

-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-


สำรวจข้อดี-ข้อเสียของระบบ Community Notes ที่เมตาจะเริ่มใช้เร็ว ๆ นี้

บทความ

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2568 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอบริษัทเมตา เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และเธรดส์ ได้ออกมาแถลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายของบริษัทกลับสู่ “รากเหง้า” ของแพลตฟอร์มในการเป็นพื้นที่เสรีภาพด้านการแสดงความคิดเห็น ด้วยการยกเลิกโครงการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยบุคคลที่สามและเตรียมหันมาใช้ฟีเจอร์ Community Notes คล้ายกับที่ใช้บน X แทน

ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้มาจากการที่ซักเคอร์เบิร์กมองว่าผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระใช้อำนาจและอคติจนข้ามเส้นจากการตรวจสอบไปสู่การเซนเซอร์เนื้อหา แต่นักวิเคราะห์หลายรายมองว่านี่เป็นกลยุทธ์ทางการเมืองที่เมตาใช้เพื่อเอาใจรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

Community Notes คืออะไร?

Community Notes หรือโน้ตชุมชน คือระบบที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาที่ถูกแชร์บนแพลตฟอร์ม โดยผู้ใช้งานที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ให้ข้อมูล (contributor) จะสามารถเขียนโน้ตเพิ่มเติมเพื่ออธิบายหรือให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโพสต์ที่อาจมีเนื้อหาเป็นเท็จ บิดเบือน หรือทำให้เข้าใจผิดได้ หากโน้ตได้รับการโหวตจากผู้ให้ข้อมูลอื่น ๆ ว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพียงพอ โน้ตเหล่านี้ก็จะปรากฏควบคู่ไปกับโพสต์ต้นฉบับเพื่อให้ผู้ใช้งานรายอื่น ๆ ได้พิจารณาข้อมูลทั้งสองด้านด้วยตัวเอง

หน้าตาของ Community Note ที่แพลตฟอร์ม X ทำขึ้นเป็นตัวอย่าง
(Credit @CommunityNotes via X)
เมื่อผู้ใช้งานเพิ่มโน้ตเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม ระบบจะให้ผู้ใช้งานคนอื่น ๆ โหวตว่าข้อมูลนั้นมีประโยชน์หรือไม่ ถ้าได้รับการโหวตเพียงพอ โน้ตนั้นก็จะปรากฏควบคู่ไปกับโพสต์ต้นฉบับ (Credit @CommunityNotes via X)

จากประสบการณ์การใช้งานจริงของผู้เขียน ทั้งในฐานะผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียและผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ร่วมกับการเก็บข้อมูลจากงานวิจัยและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โคแฟคจะพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจข้อดี-ข้อเสียของระบบ Community Notes ของ X ซึ่งน่าจะเป็นแม่แบบให้กับระบบใหม่ของเมตาเร็ว ๆ นี้

ข้อดีของ Community Notes

● ทุกคนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูลต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นเป็นผู้ใช้งานที่สร้างบัญชี X มาไม่ต่ำกว่าหกเดือน มีเบอร์โทรศัพท์สำหรับยืนยันตัวตน และไม่เคยละเมิดกฎการใช้งาน X ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ทำให้ใคร ๆ ก็สามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลได้ เท่ากับว่าผู้ใช้งานจะมีบทบาทในการสร้างสรรค์ชุมชนและกำหนดลักษณะของเนื้อหาบนแพลตฟอร์มด้วยตัวเอง

● ไม่จำกัดแค่การตรวจสอบข่าวปลอม

ผู้ให้ข้อมูลไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่ว่าจะต้องเพิ่มโน้ตเกี่ยวกับข่าวปลอมหรือข้อมูลบิดเบือนเท่านั้น แต่ยังสามารถเพิ่มบริบทใด ๆ ก็ได้เกี่ยวกับโพสต์ ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลว่าโพสต์ดังกล่าวอาจจะเป็นการแฝงโฆษณาหรือการโปรโมตสินค้าปลอมก็ย่อมทำได้ โน้ตชุมชนจึงทำหน้าที่เสมือนบริบทหรือเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโพสต์ ทำให้ผู้ใช้งานมีโอกาสได้รับข้อมูลที่หลากหลายรอบด้านมากกว่าเดิม

ตัวอย่างเช่น โพสต์ที่นำรูปของลูกฮิปโปของสวนสัตว์ซินซินนาติในสหรัฐอเมริกามาใช้และอ้างว่าเป็นลูกฮิปโปของสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยโน้ตชุมชนของผู้ให้ข้อมูลรายหนึ่งได้รับการโหวตและปรากฏขึ้นใต้โพสต์ดังกล่าวภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง และมียอดชมมากกว่า 18,000 ครั้ง ถือว่าเป็นความร่วมมือของผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มที่ช่วยกันตรวจสอบข้อมูลอย่างรวดเร็ว และไม่จำกัดเพียงแค่ประเด็นข่าวปลอมร้ายแรง อย่างเช่น ประเด็นการเมืองหรือภัยธรรมชาติเท่านั้น

● โปร่งใส-ตรวจสอบได้

โน้ตชุมชนถูกออกแบบมาให้เป็นระบบ crowdsourcing หรือระบบที่อาศัยความร่วมมือของกลุ่มคนที่หลากหลายโดยไม่มีการแทรกแซงจากตัวแพลตฟอร์มเอง ดังนั้น ข้อมูลของโน้ตที่ได้รับคะแนนโหวตให้ปรากฏใต้โพสต์ต่าง ๆ รวมถึงอัลกอริธึมการจัดลำดับโน้ตที่เป็นประโยชน์จึงสามารถเข้าถึงได้จากสาธารณะ

ข้อเสียของ Community Notes

● ขาดการตรวจสอบจากมืออาชีพ

เนื่องจากแนวคิดของโน้ตชุมชนคือการให้ผู้ใช้งานช่วยกันตรวจสอบข้อเท็จจริงของเนื้อหาในแพลตฟอร์มกันเอง เราจึงไม่อาจวางใจได้อย่างเต็มที่ว่าผู้ให้ข้อมูลมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ตัวเองเขียนโน้ตอย่างรอบด้านและปราศจากอคติ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการเขียนโน้ตชุมชนคือการอ้างอิงเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้น สุดท้ายแล้วผู้ให้ข้อมูลก็ยังจำเป็นต้องใช้แหล่งอ้างอิงจากบุคคลที่สาม เช่น รายงานข่าว หรือรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเว็บที่เชื่อถือได้ ซึ่งถือเป็นเครื่องยืนยันหนึ่งว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาพันธมิตรหรือองค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของข่าวปลอม

● ใช้อัลกอริธึมตัดสิน

แม้ว่าจะมีโน้ตที่ได้รับการโหวตจากผู้ให้ข้อมูลรายอื่น ๆ ว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ก็ไม่ได้แปลว่าโน้ตเหล่านั้นจะปรากฏในโพสต์ที่เป็นปัญหา ที่ผ่านมามีโน้ตชุมชนที่ได้รับคะแนนโหวตว่าเป็นประโยชน์มากถึงร้อยละ 60 ที่ไม่ได้รับการเผยแพร่ เนื่องจากอัลกอริธึมของ X จะทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินว่าจะให้ระบบแสดงโน้ตดังกล่าวใต้โพสต์หรือไม่ ซึ่งนั่นหมายความว่าข้อมูลที่เป็นประโยชน์อาจไม่ได้ถูกเผยแพร่หรือไม่มีใครเห็นเลยหากอัลกอริธึมมองว่าคะแนนโหวตนั้นยังไม่ได้มาจากกลุ่มคนที่หลากหลายเพียงพอ

ภาพข้างบนเป็นตัวอย่างของโพสต์ที่อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นภาพรูปปั้นเทพออปติมัสไพรม์ของจริงในไทย ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลบางส่วนเขียนโน้ตชุมชนไว้แล้วว่านี่เป็นรูปที่สร้างจากเอไอ แต่โน้ตเหล่านั้นกลับไม่ปรากฏใต้โพสต์ดังกล่าวเพราะอัลกอริธึมมองว่ายังไม่ได้รับการโหวตจากกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลายพอ การโพสต์เนื้อหาที่ถูกต้องไว้ใต้โพสต์นั้น ๆ จึงสามารถถูกมองเห็นและแชร์ไปยังผู้ใช้งานรายอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้โน้ตชุมชน

เราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ามนุษย์ทุกคนย่อมมีอคติหรือความเชื่อส่วนตัวของตัวเอง และโซเชียลมีเดียก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นของตัวเองได้ ดังนั้น ความพยายามของแพลตฟอร์มที่จะเป็นพื้นที่ของอิสรภาพในการแสดงออก ก็อาจจะไม่สามารถส่งเสริมให้แพลตฟอร์มนั้น ๆ เป็นพื้นที่ของข้อเท็จจริงได้ในเวลาเดียวกันหากปราศจากการควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม เมตายังไม่ได้ระบุเกี่ยวกับกรอบเวลาหรือระบบ Community Notes อย่างชัดเจน โดยกล่าวเบื้องต้นเพียงว่ามีแผนเริ่มใช้งานระบบดังกล่าวในสหรัฐอเมริกาภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และจะขยายการใช้งานไปยังประเทศอื่น ๆ ในอนาคต

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

‘ข่าวลวง-ข้อมูลบิดเบือน’ภัยคุกคามโลก ยุค ‘AI’ยิ่งเนียนแยกยาก ‘รู้เท่าทัน’ยิ่งจำเป็น ‘ตรวจสอบ’หน้าที่ทุกคน

กิจกรรม

11 ก.พ. 2568 ภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท. ThaiPBS และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมจัดงานวันอินเทอร์เน็ตปลอดภัยสากล (Safer Internet Day 2025) ยกระดับรับมือข้อมูลลวง 4.0 เพื่อลดภัยคุกคามโลก

สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) กล่าวว่า สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum หรือ WEF) กำหนดให้ข่าวลวงเป็นวาระแห่งโลก โดยระบุว่า ในห้วงเวลา 2 – 3 ปีนี้ เรื่องของข้อมูลบิดเบือน – คลาดเคลื่อน (Disinformation , Misinformation) คือภัยคุกคามอันดับ 1 ของโลก โดยเฉพาะผลกระทบจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) 

งานที่เราทุกคนทำ นอกจากจะลดปัญหาในเมืองไทยแล้ว เราก็น่าจะช่วยลดภัยคุกคามโลกได้ด้วยเพราะเป็นปัญหาที่ใหญ่จริงๆ เป็นที่มาของการที่เรารับมือร่วมกัน สุภิญญา กล่าว

กุลธิดา สามะพุทธิ บรรณาธิการภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) กล่าวว่า รายงาน WEF Global Risk Report 2024 ระดมนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเกือบ1,500 คน ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม จัดลำดับความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโลก และลงความเห็นว่า ข้อมูลบิดเบือน – คลาดเคลื่อน จะเป็นความเสี่ยงอันดับ 1 ในช่วงเวลาอันสั้นนี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่หลายประเทศมีการเลือกตั้ง จึงคาดการณ์ว่าจะมีการใช้เนื้อหาเท็จเป็นเครื่องมือเอาชนะกันทางการเมืองจำนวนมาก

ซึ่งผลกระทบจากข้อมูลเท็จหวังผลในทางการเมือง เช่น อาจนำไปสู่การไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ลุกลามสู่สถานการณ์ความรุนแรง ทำให้การรับรู้ความจริงของแต่ละคนแตกต่างกันอย่างสุดขั้วจนแทบจะคุยกันไม่ได้ในทุกเรื่อง และอีกด้านหนึ่งก็อาจเป็นข้ออ้างเรื่องการต่อต้านข่าวปลอมให้รัฐบาลควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน โดยยอมให้เผยแพร่เฉพาะสิ่งที่รัฐบาลเห็นว่าถูกต้องเท่านั้น เป็นต้น

ขณะที่งาน Fact Checker หรือ นักตรวจสอบข้อเท็จจริง นั้นใช้เวลาไม่น้อยในการหาหลักฐานจากหลายแหล่งมาหักล้างข้อมูลเท็จอีกทั้งยังต้องเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายและน่าเชื่อถือ และแม้จะทำออกมาแล้วคนก็ยังไม่ค่อยช่วยกันแชร์ ตรงข้ามกับข่าวลวงหรือเนื้อหาเท็จที่มีจำนวนมหาศาลอีกทั้งผลิตและเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงยังดูหวือหวาน่าสนใจตื่นเต้นจนเห็นแล้วก็อยากแชร์ในทันที

อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นสิ่งจำเป็นและมีพลัง และเชื่ออย่างสนิทใจว่างานที่พวกเราทำจะช่วยลดความเสี่ยงหรือภัยคุกคามของข่าวลวงได้ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นข่าวลวง 1.0 ที่กุเรื่องโกหกขึ้นมาอย่างง่ายๆ หรือว่าเนื้อหาเท็จที่แนบเนียนเหมือนจริงมากด้วยเทคโนโลยีของ AIกุลธิดา กล่าว

ธนภณ เรามานะชัย Lead Trainer ของโคแฟคและ Certified Trainer ของ Google News Initiative เปิดประเด็นชวนคิดเรื่องการใช้ ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (Generative AI)” เช่น ChatGPT โดยตั้งคำถาม รู้หรือไม่ว่า Generative AI นำข้อมูลจากไหนมาตอบ? และอยากให้ทำความเข้าใจว่า “Generative AI ไม่ใช่เครื่องมือสืบค้นข้อมูล แต่เป็นเครื่องมือสำหรับสร้างสรรค์เนื้อหาและคิดไอเดียใหม่ๆ 

ทั้งนี้ AI จะได้คำตอบมาก – น้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ AI ได้เรียนรู้ (Training Model) ดังนั้นหากถามในสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือถามในสิ่งที่เป็นการตีความทางสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งข้อมูลประเภทนี้สามารถตีความได้อย่างหลากหลาย รวมถึงการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายกำกวมไม่ชัดเจน ลักษณะนี้ Generative AIอาจให้คำตอบอย่างไม่ครบถ้วนรอบด้าน หรือแม้แต่สมมติข้อมูลขึ้นมา ทำให้ไม่ได้ข้อมูลตรงกับที่ต้องการ

ในฐานะที่ทำเรื่องการปลูกฝังความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเครื่องมือ AI อย่างสร้างสรรค์ ผมอาจสรุปมาเป็น 4 ข้อด้วยกัน 1.เราต้องใช้ Generative AI เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์ผลงาน เราต้องคิดว่า AI เสมือนว่าเป็นผู้ช่วยส่วนบุคคล เหมือนกับเราสั่งงานกับมัน 2.เราต้องไม่ใช่ Generative AI เป็นแหล่งอ้างอิงหลัก ควรตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งที่มาต้นฉบับ และค้นหาร่วมกับ Search Engine (เครื่องมือสืบค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ตด้วย 3.การเขียนคำสั่ง หรือ Prompt ต้องเน้นการออกคำสั่ง Prompt คือคำสั่งไม่ใช่คำถาม 

ดังนั้นการใช้ Generative AI ที่ดีคือสั่งงานให้มันทำ เราถึงจะเป็นผู้ใช้งาน Generative AI ที่มีประสิทธิภาพ ใช้งานแล้วได้คำตอบ สั่งให้ทำงานแทนที่จะถามคำถาม และสุดท้าย 4.ผมก็อยากจะส่งเสริมการเรียนการสอนในปัจจุบันนี้ แน่นอนเราหลีกเลี่ยงการใช้ Generative AI ในการเรียนการสอนไม่ได้ จึงอยากให้หลายๆ ครั้งกลับมามองว่าเราจะส่งเสริมการสอบแบบ Generative AI เน้นกระบวนการทำเป็นลำดับขั้น โดยเฉพาะทักษะการเขียนคำสั่ง Prompt อาจต้องเริ่มจากการลำดับประโยคและพื้นฐานไวยากรณ์ที่จำเป็นต่อการออกคำสั่ง ธนภณกล่าว

พีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท กล่าวถึงประสบการณ์ 10 ปี ของการทำงานตรวจสอบข้อมูลของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ นับจากรายการโทรทัศน์ในปี 2558 ซึ่งพบความท้าทาย เช่น คนเลือกจะเชื่อในสิ่งที่อยากเชื่อ ข้อมูลลวงสามารถผลิตและส่งต่อได้ง่ายและเร็ว บวกกับกลไกตลาดยังกระตุ้นให้ข้อมูลเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยเห็นว่ายิ่งทำให้แปลก รุนแรงหรือตื่นเต้นเพียงใด ก็จะยิ่งมีคนสนใจจำนวนมาก นำมาซึ่งรายได้ของคนที่ทำ แต่ข้อมูลที่ไม่จริงเหล่านี้เมื่อเข้าระบบไปแล้วการแก้ไขกลับทำได้ยาก

ทั้งนี้ บทบาทของชัวร์ก่อนแชร์ ที่ผ่านมาทำหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยจากเดิมที่สื่อมวลชนจะไม่รายงานเรื่องที่ไม่จริง แต่ปัจจุบันเรื่องไม่จริงสื่อมวลชนก็ต้องรายงานว่าไม่จริงด้วย เพราะปัจจุบันสื่อตัวเล็กลงแต่มวลชนตัวใหญ่ขึ้น สามารถส่งสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น มวลชนทั้งสร้าง ส่งและเสพ ขณะที่สื่อทำหน้าที่สร้างและส่ง ดังนั้นสิ่งที่ชัวร์ก่อนแชร์พยายามทำคือการส่งต่อความรู้และประสบการณ์ไปยังมวลชนให้มีแนวคิดที่ปลอดภัยกับสังคม 

ที่ผ่านมาพยายามหักล้างข้อมูล เราอยากทำ 3 อย่าง คือปกปัก หักล้างและสร้างภูมิ จริงๆ หักล้างเริ่มก่อน แล้วก็การทำให้คนมีภูมิคุ้มกันเราก็อยากทำมากขึ้น แล้วระยะยาวเราก็พยายามทำเรื่อง Literacy Education (การศึกษาเพื่อรู้เท่าทัน) พีรพล กล่าว

พรวุฒิ พิพัฒนเดชศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม สภาผู้บริโภค กล่าวว่า สภาผู้บริโภคดูข้อมูลบิดเบือนแบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1.ภัยคุกคามทางออนไลน์ เช่น มิจฉาชีพ การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล 2.เมืองที่เป็นธรรม เช่น โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ นานา  และ 3.ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค เช่น โฆษณาอาหารและยาที่เกินจริง

ขณะที่งานนวัตกรรมที่ตนดูแลอยู่ เป็นการรับข้อมูลทั้งจากเรื่องร้องเรียน ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ จากภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม โดยการประมวลผลมีทั้งการประชุมกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) พูดคุยกับกลุ่มผู้เสียหายว่าปัญหาคืออะไร ส่วนที่เป็นข้อมูลเชิงเทคนิคก็ให้นักวิชาการมาทำวิจัย หรือขอความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ เชิญมาร่วมประชุมระดมสมอง

เราสนับสนุนให้มีการร้องทุกข์ เพราะว่ายิ่งเรามีเรื่องร้องเรียนมากเท่าไร เราก็จะยิ่งมีข้อมูลต่างๆ ที่จะนำไปสู่กระบวนการจัดการและกรองออกมาเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น หัวหน้าฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม สภาผู้บริโภค กล่าว

กนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสื่อสำนักดิจิทัลThaiPBS กล่าวว่า ข้อมูลล่าสุดในเดือน ก.พ. 2568 โดย We Are Social พบว่า ค่าเฉลี่ยการใช้เวลากับอินเตอร์เน็ตต่อวันของคนไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก และหากเป็นการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือจะอยู่ในอันดับ 5 ของโลก อีกทั้งไทยยังมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก 

แต่ในทางกลับกัน ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ณ ปี 2567 พบว่า คนไทยเจอภัยออนไลน์ เช่น แก๊งคอลเซ็นตอร์ ถูกหลอกขายสินค้า หลอกลงทุน – กู้เงิน ทุกอย่างเหมือนเหรียญที่มีสองด้านเทคโนโลยีไม่ได้มีแต่เรื่องที่ดี ยังมีมิจฉาชีพอยู่ด้วยเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้านหนึ่งถูกใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แต่อีกด้านก็มีมิจฉาชีพนำไปใช้ อย่างประสบการณ์ที่เคยนำภาพและคลิปวีดีโอที่ AI ทำขึ้นไปให้บุคคลหลากหลายช่วงอายุและระดับการศึกษาดู พบว่ามีคนทุกช่วงวัยและการศึกษาที่ตอบผิด ดังนั้นความเนียนของ AI ก็เป็นภัยได้เช่นกัน

และแม้ข่าวลวงมีมานานแล้ว แต่มีปัจจัยที่ทำให้แพร่กระจายได้มากขึ้น 1.การมาของสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่ทำให้ข้อมูลถูกส่งต่อได้ง่าย เช่น แสดงความคิดเห็น (Comment) ปุ่มส่งต่อ (Share) 2.การพัฒนาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เมื่อ AI สามารถผลิตข้อมูลที่เนียนมากขึ้น สวนทางกับแพลตฟอร์มที่ไม่มีเทคโนโลยีควบคุมได้ทัน 3.ขาดทักษะ คนยังขาดความรู้เท่าทัน ยิ่งยุค AI ที่ทำให้แยกแยะได้ยาก ประกอบกับพฤติกรรมคนเปลี่ยนไปตามการใช้สื่อสังคมออนไลน์ อ่านน้อยลง สมาธิสั้น 4.ข่าวลวงสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างรายได้ และ 5.ช่องโหว่การกำกับดูแล ทั้งจากภาครัฐและแพลตฟอร์ม

ThaiPBS ที่เป็นสื่อสาธารณะทำอะไร? ได้เกิด ThaiPBS Verify ขึ้นมา วัตถุประสงค์ตอนนี้ ช่วยตรวจสอบ ช่วยเสริมทักษะ สร้างชุมชนหรือรวบรวมเนื้อหาให้คนเข้าไปตรวจสอบได้ พยายามให้เข้ากับมาตรฐาน IFCN (International Fact Checking Network) สร้างบรรทัดฐานอุตสาหกรรมสื่อ จะตรวจสอบคนอื่นได้ตัวเองก็ต้องไม่ผิดด้วย เพราะถ้าผิดคือมหันตภัยหนักกว่าอีก ก็ต้องยกระดับทั้งข้างนอกและข้างในด้วย กนกพร กล่าว

ชนิดา จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) กล่าวว่า SONP ทำโครงการ Cyber Booster ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รายการสถานีประชาชน ทาง ThaiPBS  และ Tellscore แพลตฟอร์มรวมอินฟลูเอนเซอร์ ร่วมกันผลิตสื่อที่ต้องการบอกกับประชาชนว่าให้เท่าทันกับภัยออนไลน์

“Cyber Booster ก็คือการรวมตัวของตำรวจ โครงการนี้จะมีความแตกต่าง วิทยากรแต่ละท่านจะเตือนเราเรื่องข้อมูลลวง ดังนั้นในการทำโครงการเราก็เลยคิดว่าคนที่จะให้ข้อมูล คนที่จะเตือนภัยได้ดีที่สุดก็คือเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นตำรวจ การที่เขาคลุกคลีและมีข้อมูลอยู่ในมือ เขาจะต้องเป็นคนที่ให้ข้อมูล ผลิตและสร้างสรรค์คลิปจำนวน 16 คลิป รวบรวมภัยทุกรูปแบบในการเตือน ไม่ว่าจะเป็นลวงให้รัก หลอกลงทุน ชนิดา กล่าว

ตรี บุญเจือ ผู้อำนวยการสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. กล่าวว่า เมื่อพูดถึงการรู้เท่าทันสื่อ เราพูดถึงประสบการณ์ ความรู้ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร จะสามารถทำให้เราคิด วิเคราะห์ ประเมินผลและตรวจสอบข้อมูลที่จริงและลวงได้ แต่ความท้าทายคือสื่อในรูปแบบความคิดเห็นมากกว่าข้อเท็จจริง ซึ่งบางครั้งก็ไม่ใช่ข้อมูลที่สามารถเชื่อถือได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์มากขึ้น ประเมินค่าที่เกิดขึ้นกับตัวเราและสังคมมากขึ้น

ปัจจุบันเราทำอะไรอยู่บ้าง เรามีองค์ประกอบอยู่หลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีเครื่องมือเป็นกฎหมาย เป็นนโยบายต่างๆ เราสามารถขับเคลื่อนได้ ภาครัฐเราอาจมีทุน มีทรัพยากรบางอย่างที่ส่งต่อให้หน่วยงานต่างๆ มีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มี กสทช. มีกองทุน กทปส. ด้วย เรามีทุนที่จะสามารถขับเคลื่อนได้ ภาคส่วนที่เป็นสื่อเองเราพูดถึงความรับผิดชอบกันอยู่แล้วในการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงแต่สามารถทำได้มากกว่านั้น เราสามารถร่วมรณรงค์และใช้พื้นที่ของเราในการณรงค์ได้ 

ตัวแพลตฟอร์ม เจ้าของพื้นที่ มีทั้งผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและแพลตฟอร์มต่างๆ แล้วก็ภาคประชาสังคมเองร่วมขับเคลื่อน หลายๆ องค์กร อย่างโคแฟคที่พูดถึงการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราก็คงจะสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน  สร้างความร่วมมือ บูรณาการระหว่างหน่วยงานในมิติต่างๆและหลังจากเทคโนโลยีพัฒนาไป เราก็อาจต้องพัฒนาเทคโนโลยีเข้ามาตรวจสอบเฝ้าะรังด้วยผอ.สำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช.กล่าว

ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวถึงแนวคิดการกำกับดูแลเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น Principles for Trustworthy AI โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ขณะที่สหภาพยุโรป (EU) มี AI Convention ส่วนกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) มีหลักการและจริยธรรมในการพัฒนา AI (Principles และ Ethics) 

หลักการของการพัฒนา AI ที่ดี หลักการสำคัญอันหนึ่งคือ Transparency (ความโปร่งใส) เรื่องเกี่ยวกับความโปร่งใสของข้อมูล ฉะนั้นจะต้องแสดงให้เห็นว่าในมิติของการพัฒนา ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพ เสียง มันถูก AI เข้าไปแก้ไขตรงไหนได้บ้าง แต่ต้องยอมรับว่าถ้าเกิดมีมิจฉาชีพที่ตั้งใจ รู้อยู่แล้วว่าเราใช้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ทำ แต่ก็ตั้งใจเอามาหลอกคนอื่น ที่เราเรียกว่า Impersonation (การปลอมตัวเป็นบุคคลอื่นนี่คือสิ่งที่เป็นปัญหา รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าว 

-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-


รับประทานไก่เป็นเกาต์ จริงหรือ     

“รับประทานไก่เยอะระวังเป็นเกาต์” ประโยคที่หลาย ๆ คนได้ยินกันจนชิน ทำให้ผู้คนคิดมากทุกครั้งเวลารับประทานไก่ เนื่องจากโรคเกาต์เป็นโรคที่น่ากลัว ปวดตามข้อบนร่างกายไปจนถึงความพิการ หรือการเกิดโรคอื่นตามมา แต่การกินไก่ทำให้เป็นเกาต์จริงหรือ

       โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบซึ่งเกิดจากกรดยูริคในเลือดสูง โดยทั่วไปเป็นผลจากพันธุกรรมและภาวะแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการสะสมภายในข้อต่าง ๆ ของร่างกาย ก่อให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน
              ซึ่งเกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเกินไป กรดยูริก เป็นสารชนิดหนึ่งในร่างกายที่สร้าง ขึ้นที่ตับ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของสารชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า “พิวรีน” โดยสาเหตุของกรดยูริกในเลือดสูง 70% เกิดจากการสร้างขึ้นเองของร่างกายตามธรรมชาติ ส่วนอีก 30% เกิดจากการทานอาหารที่มีกรดยูริคสูงเข้าไป การบริโภคอาหารที่มีกรดยูริกสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเกาต์ ซึ่งเกิดจากการมีกรดยูริกในเลือดสูงและตกผลึกในข้อต่อ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบและปวดข้อต่อ
      ในกรณีการกินไก่ ซึ่งไก่มีกรดยูริกในปริมาณปานกลางเมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่นที่มีพิวรีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ, เครื่องในสัตว์, หรืออาหารทะเล แต่การกินไก่ในปริมาณมากหรือการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูงเกินไปอาจเพิ่มโอกาสเกิดโรคเกาต์ในคนที่มีความเสี่ยงหรือมีปัญหาเกี่ยวกับกรดยูริกสูงอยู่แล้ว

ดังนั้น การทานไก่ “ไม่ใช่” สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกาต์ เพราะร่างกายรับกรดยูริคมาจากอาหารอื่น ๆ ได้อีกมากมาย โดยอาหารที่มีกรดยูริคสูง ทำให้สะสมในร่างกายมากเกินไป

(ข้อมูลจากเว็บไซต์ : สำนักข่าววันนิวส์ ช่องวัน 31 / กรมอนามัย / โรงพยาบาลรามคำแหง นพ. เกียรติ ภาสภิญโญ อายุรศาสตร์โรคข้อ และรูมาติสซั่ม )

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 1 มีนาคม 2568

ใบกระเจี๊ยบแดง มีสรรพคุณช่วยทำให้ตับแข็งแรง และลดความเสี่ยงโรคตับ…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/3q8rkenjgj1bq


 ยืนปัสสาวะบ่อย เสี่ยงต่อมลูกหมากโตและมะเร็ง!…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/3ll7uxk6dz2ko


พบเฮลิคอปเตอร์ยกรถบรรทุกขนส่งน้ำมันจากฝั่งไทยข้ามไปยังเมียวดี …จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/3t5os0lp4be3


ไทยสร้างรั้วกั้นชายแดนไทยและกัมพูชา ระยะทางความยาว 55 กิโลเมตร…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/12pil23eka1d4


  เตือนห้ามดื่มนมดิบ หลังพบไข้หวัดนกในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/19n7rk40c2m2


อุตุฯเตือน ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน มีฝนฟ้าคะนอง เหนือ-อีสานมีลูกเห็บตกบางพื้นที่

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/36gl4efxlluc5


แอปออนไลน์ ชุดผีเสื้อ AI แต่งตัว อาจโดนเรียกเก็บเงิน ดูวิธียกเลิก

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/2o3el3bvb35xd


 กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจับมือเอกชน พัฒนาเทคโนโลยี AI สร้าง Smart Farmer

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/27p4kfhnathvi


เตรียมย้าย บขส. หมอชิต 2 เอกมัย สายใต้ ไปสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/3u2iuzprytpo8


 กทม. เปิดปฏิบัติการทำความสะอาดเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางและทางข้าม

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/3d8svynuwhi5t


ใส่ผ้าอนามัยระยะเวลานาน ทำให้เสี่ยง “มะเร็งปากมดลูก”

มะเร็งปากมดลูก นับว่าเป็นภัยคุกคามสุขภาพของผู้หญิงไทยอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงอายุ 35-50 ปี แต่ในปัจจุบันก็พบผู้ป่วยในช่วงวัยรุ่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สังคมเกิดการตั้งคำถามถึงประเด็นที่ว่า  การไม่เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ นั้นมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกจริงหรือไม่

การเกิดมะเร็งปากมดลูกนั้น เกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human papilloma virus) ซึ่งปกติมัก มาจากการมีเพศสัมพันธ์ ผ่านการสัมผัสผิวหรือเยื่อบุอวัยวะเพศ หรือการที่ปากมดลูกมีรอยถลอกหรือแผลทำให้ติดเชื้อ รวมไปถึงการสูบบุหรี่ที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง

แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้ดังนี้

  • 1. หมั่นตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่มซึ่งสามารถตรวจคัดกรองได้โดย แพปสเมียร์ (Pap Smear) และการตรวจหาเชื้อ HPV 
  • 2. ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV
  • 3. คุมกำเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัย
  • 4. งดสูบบุหรี่
  • 5.หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย 
  • 6. หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน

ทั้งนี้การใส่ผ้าอนามัยแผ่นเดิมเป็นระยะเวลานาน  ก็สามารถส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ที่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง อาการคัน หรือเชื้อเหล่านี้อาจแพร่ไปยังทางเดินปัสสาวะทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 4-6 ชั่วโมง หรือตามปริมาณประจำเดือนที่มีในแต่ละวันให้เหมาะสม

(ข้อจาก คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี / คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล / สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข )

Cofact

https://cofact.org/article/3pw67a6ue2mem

คุยกับ 2 ผู้สมัคร ส.อบจ. เชียงใหม่-ลำพูน ว่าด้วยข่าวลวงช่วงหาเสียงเลือกตั้ง

กองบรรณาธิการ Lanner

การเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ผู้สมัครรับเลือกตั้งหลายคนผ่านประสบการณ์ถูกใส่ร้ายป้ายสี ปล่อยข่าวลวงเพื่อทำลายชื่อเสียงหรือสร้างความสับสน ผู้สมัครสมาชิกสภา อบจ. จังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ มาย้อนเหตุการณ์ให้ฟังว่าเขาและเธอพบเจออะไรกันมาบ้าง

ลำพูน: ความรุนแรงทางการเมืองหรือกลยุทธ์เรียกคะแนนเสียง?

19 มกราคม 2568 หรือก่อนวันเลือกตั้งราว 2 สัปดาห์ นายวีระเดช ภู่พิสิฐ ผู้สมัครนายก อบจ. ลำพูน พรรคประชาชน ได้โพสต์เฟซบุ๊กเล่าเหตุการณ์ว่ามีชายคนหนึ่งทำลายป้ายหาเสียงของ นนท์ณัฎฐ์ สุริยะจักร์ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.อบจ. เขต 7 อำเภอเมืองลำพูน พรรคประชาชน ซึ่งเป็นป้ายที่ติดอยู่กับรถหาเสียง พร้อมทั้งกระทืบรถ เมื่อผู้สมัครเข้าไปห้ามปรามชายคนดังกล่าวก็ปาหินใส่กระจกหน้ารถยนต์ส่วนตัวของผู้สมัคร กรณีนี้ผู้สมัครได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุแล้วแต่คดียังไม่มีความคืบหน้า

นอกจากภาพป้ายหาเสียงที่ถูกทำลายและรถยนต์ที่เสียหายจากการถูกปาหิน ที่นายวีระเดชนำมาเผยแพร่ในเฟซบุ๊กแล้ว ยังมีผู้ใช้ TikTok โพสต์คลิปวิดีโอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมข้อความว่า รถผู้สมัคร ส.อบจ. พรรคประชาชนลำพูน โดนหินปากระจกและฉีกป้ายหาเสียง

แม้จะมีภาพเหตุการณ์ยืนยันและการแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจ แต่นนท์ณัฎฐ์และทีมงานผู้สมัครพรรคประชาชน กลับถูกกล่าวหาว่า “ปล่อยข่าวเท็จ” เพื่อสร้างกระแส โดยมีผู้เข้ามาให้ความเห็นและแชร์เนื้อหาไปในลักษณะที่ว่าพรรคประชาชนรู้เห็นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เหตุทำลายป้ายหาเสียงและทำลายรถยนต์เป็นการ “เล่นละคร” หรือ “สร้างคอนเทนต์” ให้คนสนใจเพื่อเรียกคะแนนสงสาร

ภาพป้ายหาเสียงของผู้สมัคร ส.อบจ. และนายก อบจ. ลำพูน พรรคประชาชนที่ถูกทำลาย
รถยนต์ส่วนตัวของผู้สมัคร ส.อบจ. ที่ถูกปาหินใส่กระจกหน้า

นอกจากในโลกออนไลน์แล้ว ในชุมชนก็ยังพูดกันลักษณะปากต่อปากว่านี่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอีกด้วย

นนท์ณัฎฐ์ ซึ่งชนะการเลือกตั้งเป็นว่าที่ ส.อบจ. เขต 7 อ.เมืองลำพูน ยืนยันว่าเหตุการณ์ทำลายป้ายหาเสียงและปาหินใส่รถยนต์ผู้สมัครพรรคประชาชนนั้นเกิดขึ้นจริง และเขาไม่รู้จักกับผู้ก่อเหตุ แต่ในโลกออนไลน์กลับมีการกล่าวหาว่าเขาสร้างกระแสหรือปล่อยข่าวเท็จเพื่อหวังคะแนนเสียง ซึ่งไม่เป็นความจริง

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า ไม่เคยมีความขัดแย้งส่วนตัวกับใครและเหตุการณ์นี้เพียงเหตุการณ์เดียวไม่ได้มีผลกระทบต่อคะแนนเสียง เพราะเขาลงพื้นที่หาเสียงมานานนับปีก่อนจะมีการเลือกตั้ง

กรณีนี้สะท้อนให้เห็นรูปแบบหนึ่งของการบิดเบือนข้อมูลทางการเมืองด้วยการกล่าวหาว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งปั้นแต่งเรื่องขึ้นเพื่อสร้างกระแสหรือเรียกคะแนนความเห็นใจ ข้อกล่าวหาเช่นนี้ ทำให้เหตุการณ์การทำลายป้ายหาเสียงและการปาหินใส่รถยนต์ ซึ่งนับเป็นการใช้ความรุนแรงในช่วงเลือกตั้ง ถูกมองข้ามไป

เชียงใหม่: ประชาชนสับสนหมายเลขผู้สมัคร จงใจหรือสุดวิสัย?

สงครามข้อมูลข่าวสารที่ กรรณิการ์ ลือชา ผู้สมัคร ส.อบจ.เชียงใหม่ พรรคประชาชน อ.สารภี เขต 1 เผชิญในช่วงหาเสียงเลือกตั้งคือ ความสับสนเรื่องหมายเลขและสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัคร ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าความสับสนนี้เกิดขึ้นโดยจงใจเพื่อหวังผลทางการเมืองหรือไม่

ผู้สมัคร ส.อบจ. อ.สารภี เขต 1 มีทั้งหมด 4 หมายเลข กรรณิการ์เป็นผู้สมัครเบอร์ 1 ราวหนึ่งสัปดาห์ก่อนถึงวันเลือกตั้ง ผู้สมัครเบอร์ 2 คือ นุชรี  อุตสุภา ผู้สมัครอิสระ ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถอนชื่อจากการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 50 ของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ออกประกาศถอนชื่อนุชรีจากการเป็นผู้สมัครลงวันที่ 25 มกราคม 2568  

กรรณิการ์เล่าว่า ก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่ข้อมูลว่านุชรี ผู้สมัครเบอร์ 2 เป็นผู้สมัครสังกัดพรรคประชาชน ซึ่งไม่เป็นความจริง ทำให้เธอและทีมงานต้องแก้ไขความเข้าใจผิดว่าผู้สมัครสังกัดพรรคประชาชนคือเบอร์ 1 ไม่ใช่เบอร์ 2 และหลังจากมีการถอนชื่อผู้สมัครเบอร์ 2 ก็ยังมีการเผยแพร่ข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดว่า ผู้สมัครที่ถูกตัดสิทธิเป็นผู้สมัครสังกัดพรรคประชาชน 

กรรณิการ์ซึ่งชนะการเลือกตั้งและได้เป็นว่าที่ ส.อบจ. อ.สารภี เขต 1 ระบุว่า เธอรับรู้ถึงความเข้าใจผิดของประชาชนจากการลงพื้นที่หาเสียงในตลาดและชุมชน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการหาเสียงของเธอมาก เพราะประชาชนเกิดความสับสน ทั้งในเรื่องหมายเลขและสังกัดของผู้สมัคร

“ต้องคอยแก้ไขข่าวลือที่บิดเบือน เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง” กรรณิการ์ระบุ

หลังการเลือกตั้ง นุชรี หรือ “เปีย” ผู้สมัครเบอร์ 2 ที่ถูกถอนชื่อได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า “บัตรเสีย กว่า 2000 ใบที่มอบให้ด้วยใจ เปียขอขอบคุณ ทุกคะแนนเสียง จากความรัก” ซึ่งสื่อความหมายว่า ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ มีประชาชนที่ลงคะแนนให้ผู้สมัครเบอร์ 2 มากกว่า 2,000 คน จึงถือเป็นบัตรเสียเพราะผู้สมัครเบอร์ 2 ถูกถอนชื่อออกจากการเป็นผู้สมัครแล้ว

จากการตรวจสอบรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง ส.อบจ. อ.สารภี เขต 1 ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ กกต. ระบุว่าเขตเลือกตั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด 23,738 คน จำนวนบัตรดี 17,502 บัตร และบัตรเสีย 3,762 บัตร ซึ่ง กกต. ไม่ได้ระบุว่าบัตรเสียนั้นเกิดจากการลงคะแนนให้ผู้สมัครเบอร์ 2 ที่ถูกถอนชื่อหรือไม่ ข้อความที่นุชรีโพสต์ในเฟซบุ๊กให้เกิดความเข้าใจว่า บัตรเสียกว่า 2,000 ใบ เป็นบัตรที่ลงคะแนนให้เบอร์ 2 นั้น จึงยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริง

เหตุการณ์ที่ผู้สมัคร ส.อบจ. ในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ บอกเล่าให้ฟังข้างต้น เป็นตัวอย่างของเนื้อหาที่สร้างความเข้าใจผิดและความสับสนในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งพบได้ทั้งในพื้นที่ออนไลน์และออฟไลน์ คือ การพูดกันแบบปากต่อปากในตลาดหรือชุมชน เนื้อหาที่บิดเบือนหรือสร้างความสับสนนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และบั่นทอนบรรยากาศประชาธิปไตยได้ในระยะยาว

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ปี’67 คนไทยเจอมิจฯโทร-ส่งSMSถึง168ล้านครั้ง มุ่งโจมตีอารมณ์ความรู้สึก ชี้คนรอบข้างดึงสติก่อนตกเป็นเหยื่อได้

กิจกรรม

24 ก.พ. 2568 ที่อาคารฟอรั่ม ชั้น 2 วัน แบงค็อก (One Bangkok) บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น Whoscall เปิดเผยรายงานวิเคราะห์สถานการณ์กลโกงของมิจฉาชีพในประเทศไทยตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา โดย มนประภา รัตนกนกพร หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย กล่าวว่า ในปี 2567 Whoscallพบสายโทรศัพท์และข้อความ SMS หลอกลวง 168 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นถึง 112% จากปี 2566 ซึ่งพบ 79 ล้านครั้ง และยังถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 5 ปี

เมื่อจำแนกระหว่างสายโทรศัพท์กับข้อความหลอกลวง พบว่า ในส่วนของสายโทรศัพท์ ปี 2567 อยู่ที่ 38 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นถึง 85% เมื่อเทียบกับปี 2566 ซึ่งพบ 20.8  ล้านครั้ง ขณะที่ในส่วนของ SMS ปี 2567 อยู่ที่ 130 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นถึง 123% เมื่อเทียบกับปี 2566 ซึ่งพบ 58  ล้านครั้ง และเป็นที่น่าสังเกตว่ามิจฉาชีพใช้การหลอหลวงด้วย SMS ในปริมาณสูง เนื่องจากมีต้นทุนในการดำเนินการต่ำ อีกทั้งมิจฉาชีพยังนำเทคโนโลยีมาใช้ประดิษฐ์ข้อความ (Script) และใช้ส่ง SMS ได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก

เมื่อจำแนกพฤติกรรมการหลอกลวง ในส่วนของสายโทรศัพท์ ปี 2567 อยู่ที่ 38 ล้านครั้ง ยังคงเป็นวิธีการเดิมๆ เช่น หลอกขายสินค้า แอบอ้างเป็นองค์กรหรือบริษัทต่างๆ หลอกว่าเป็นหนี้หรือหลอกทวงเงิน หลอกว่ามีแหล่งเงินกู้อนุมัติง่าย โดยมิจฉาชีพจะเล่นกับอารมณ์ของเหยื่อ เช่น ความโลภ ความกลัว เพื่อให้เหยื่อโอนเงินอย่างรวดเร็ว ขณะที่ ขณะที่ในส่วนของ SMS ปี 2567 อยู่ที่ 130 ล้านครั้ง สิ่งที่พบ เช่น เว็บพนัน (ให้เครดิตเล่นฟรี) หลอกส่งพัสดุ (อ้างพัสดุตกค้าง) หลอกว่ามีแหล่งเงินกู้อนุมัติง่าย แอบอ้างหน่วยงาน (เช่น การไฟฟ้า) หลอกลงทุน (อ้างผลตอบแทนสูง)

ทั้งนี้ จากการเก็บข้อมูล Link ที่มีความเสี่ยง ตามที่ Whoscall พัฒนาฟีเจอร์ Web Checker ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบเว็บไซต์น่าสงสัย พบว่า 40% พาไปยังหน้าเว็บไซต์ที่มีลักษณะ Phishing หรือการหลอกให้ส่งข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนอีก 60% แบ่งเป็นอย่างละ 30% เท่ากัน คือพาไปยังหน้าเว็บพนัน กับพาไปยังหน้าดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นอันตราย (มัลแวร์ – Malware) เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

นอกจากนั้นยังพบว่า ในฟีเจอร์ ID Security ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง ยังพบว่า 41% ของผู้เข้ามาใช้ฟีเจอร์นี้ พบการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลไปที่ Darkweb หมายถึงส่วนของอินเตอร์เน็ตที่ถูกซ่อน ต้องใช้โปรแกรมพิเศษในการเข้า และมักเกี่ยวกับความลับ ความเป็นส่วนตัวหรือสิ่งผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มิจฉาชีพเข้าไปใช้ซื้อ – ขายข้อมูล และ Deepweb หมายถึงส่วนของอินเตอร์เน็ตที่ Search Engine ค้นหาไม่เจอ เช่น อิเมล บัญชีธนาคารหรือข้อมูลที่ต้องใช้รหัสผ่าน ซึ่งผู้ที่รู้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล แนะนำให้รีบเปลี่ยนรหัสผ่านโดยเร็ว เช่น แอปพลิเคชั่นทำธุรกรรมการเงิน บัญชีอีเมลและสื่อสังคมออนไลน์

เวลาที่มิจฉาชีพเข้าไปเอาข้อมูล จริงๆ ข้อมูลมันไม่ได้แพง เขาก็สามารถซื้อข้อมูลเพื่อเอามาหลอกเราได้แบบที่สามารถระบุตัวตนได้ถูกต้อง ทำให้การหลอกแนบเนียนมากยิ่งขึ้น ทีนี้ข้อมูลที่เราเปิดให้เช็คใน ID Security จะมีข้อมูลที่เป็นเบอร์โทรศัพท์และอีเมล ถ้าดูจากตัวเลขจะเห็นข้อมูลที่เป็นเบอร์โทรศัพท์ จาก 41มันรั่วไหลไป 97% จากโทรศัพท์ และ 88% เป็นอีเมล ทีนี้ข้อมูลโทรศัพท์กับอีเมล ที่เราให้เช็คเพราะเป็นข้อมูลที่มิจฉาชีพใช้ติดต่อเราได้ แต่จริงๆ แล้วเวลามันหลุดไป จะหลุดไปพร้อมชื่อวันเดือนปีเกิด ที่อยู่และรหัสผ่าน มนประภา กล่าว

แมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย กล่าวว่า นับตั้งแต่ที่บริษัทเริ่มเผยแพร่รายงานประจำปีตั้งแต่ปี 2563 ได้ติดตามสถานการณ์การหลอกลวงของมิจฉาชีพที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเกือบทุกๆ ตลาดหลักที่ Whoscall ให้บริการอย่างใกล้ชิด สำหรับประเทศไทย ในปี 2567 สามารถระบุสายโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงได้สูงสุดในรอบ 5 ปี ถึง 168 ล้านครั้ง เพราะปัจจุบันมิจฉาชีพได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการหลอกลวงอย่างแพร่หลาย ทำให้กลโกงมีความซับซ้อนมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

โดยแนวโน้มการหลอกลวงที่ต้องจับตามอง ได้แก่ การแอบอ้างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การฉ้อโกงทางการเงินในหลากหลายรูปแบบ ทั้งผ่านการโทรศัพท์ ข้อความ SMS Link อันตราย รวมถึง การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวล แมนวู จู กล่าว

พ.ต.อ.เกรียงไกร พุทไธสง ผู้กำกับการกลุ่มงานสนับสนุนทางไซเบอร์ กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.สอท.)กล่าวว่า ธรรมชาติของสมองคนเราทำงานบนพื้นฐานการกลั่นกรองข้อมูลที่เราเชื่ออยู่แล้ว (Confirmation Bias) เช่น เมื่อเราชอบใคร ข้อมูลด้านดีของคนคนนั้นจะมาหาเราเสมอ หรือบนพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ เรามักจะเชื่อข้อมูลจากผู้ที่มียอดผู้ติดตามหรือยอดกด Like จำนวนมาก เป็นคนที่มีหน้ามีตาในสังคม (Social Proof) หรือเราสนใจเรื่องอะไร เทคโนโลยีก็จะป้อนโฆษณาสิ่งนั้นให้ เช่น การลงทุน ซึ่งคนร้ายก็จะแทรกสิ่งที่เป็นเหยื่อล่อเข้ามา

อย่างไรก็ตาม คนเราก็จะยังมีสติ เป็นอีกด้านไว้ถ่วงดุลกับธรรมชาติของสมอง เมื่อมีสติก็จะเกิดการคิดเชิงวิเคราะห์ เช่น คนมีชื่อเสียง มีรายได้มาก มาสอนเราลงทุนเพื่ออะไร? หรือเวลาโอนเงิน ทำไมต้องโอนไปที่บัญชีส่วนบุคคล? ถึงกระนั้นเมื่อเหยื่อกำลังถูกหลอก การคิดเชิงวิเคราะห์มักไม่ได้มีส่วนในการตัดสินใจ เพราะคนร้ายจะโจมตีที่ความรู้สึกของเหยื่อ เช่น ความอยากรวย ความกลัว ความหลง เพื่อทำลายสติของเหยื่อและเชื่อแต่ข้อมูลด้านเดียวที่คนร้ายป้อนให้

หรือการสร้างตัวตนปลอมขึ้นมา มีตัวอย่างกรณีคนร้ายนำบุคลิกของคนประเทศหนึ่งมาใช้สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์เป็นคนอีกประเทศหนึ่ง ทำตัวเป็นนักธุรกิจแล้วมาชวนเหยื่อพูดคุยจนหลงเชื่อแล้วเป็นฝ่ายขอเข้าไปศึกษาการลงทุนกับคนร้ายเอง และแม้จะให้ความรู้กับประชาชนว่ามิจฉาชีพมีวิธีการหลอกลวงอย่างไรบ้าง แต่เมื่อถึงเวลาเผชิญกับมิจฉาชีพจริงๆ มักจะตัดสินใจจากข้อมูลด้านเดียวเสมอ

ดังนั้นอีกปัจจัยที่จะลดหรือตัดความเสี่ยงก่อนตกเป็นเหยื่อ คือ Social Safety Net (เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม) เช่น ขณะที่เรากำลังถูกมิจฉาชีพชักชวนโน้มน้าวให้ลงทุน มีคนอื่นเข้ามาได้ยินเรากำลังคุยกับมิจฉาชีพ ฟังแล้วรู้ได้ทันทีว่าเป็นการหลอหลวง ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่มิจฉาชีพมักพยายามกำชับกับเหยื่อเสมอ คือ ห้ามติดต่อกับบุคคลอื่นโดยเด็ดขาด

วิธีรข่มขู่ ้ามพูดคุยกับคนอื่น ต้องอยู่เงียบๆ คนเดียว ต้องคุยกับผม (มิจฉาชีพ) เท่านั้น บางกรณีคนร้ายใช้เทคนิคในการควบคุมไม่ให้เหยื่อพบกับคนนอก เช่น ใช้วิธีหลอกให้ผู้เสียหายกดโอนสาย ดังนั้นระหว่างที่คนร้ายคุยกับเหยื่อ เหยื่อจะไม่มีโอกาสรับสายจากข้างนอกเพราะเหยื่อถูกหลอกให้โอนสายออกไปข้างนอก 3-4 ชั่วโมงคุยกับคนร้ายอย่างเดียว พ.ต.อ.เกรียงไกร กล่าว

พ.ต.อ.เกรียงไกร กล่าวย้ำว่า Social Safety Netเป็นเรื่องสำคัญ หากมีโอกาสอยากจะให้ทุกคนสื่อสารกับคนรอบข้างให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้เราสื่อสารกับคนที่อยู่ที่ใดก็ได้ เราคุยกับญาติพี่น้อง คุยกันบ่อยๆ บางทีผู้ใหญ่กำลังไปลงทุนอะไรอยู่ เมื่อเราได้ฟังเรื่องราวแล้วรู้ทันทีว่าหลอกลวง ซึ่งทุกวันนี้เมื่อเราฟังข่าวเรามักสงสัยว่าเหตุใดเหยื่อจึงถูกหลอกด้วยเรื่องราวที่ฟังแล้วน่าจะรู้ แต่ต้องไม่ลืมว่า ณ เวลานั้น เหยื่อตัดสินใจจากข้อมูลด้านเดียว นี่คือข้อเท็จจริงในเชิงจิตวิทยา 

-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-