สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 22 มีนาคม 2568

ปฏิบัติการทลายแก๊งคอลฯ ข้ามชาติ เปิดให้เหยื่อเฉลี่ยทรัพย์คืนผ่านเฟซบุ๊ก…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2ku61xlf23q3g


 กทม. เปิดตรวจสุขภาพฟรี 1 ล้านคน ใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียวเท่านั้น

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/11qysb35fykk3


  เล่นโทรศัพท์ก่อนนอนเกิน 4 ชม. เสี่ยงความดันสูงถึง 21 เท่า

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/vhw73syoyou9


 พบปลาหมอคางดำที่อ่าวแสมสาร

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/32wzsqnmyq50k


 แจ้งเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมประจำปี 2568 ได้ถึง 31 มี.ค. นี้

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/2sz3sofhud6uu


  เตรียมเปิดใช้พื้นที่ทางเข้าด่านฯ ดาวคะนอง ในวันที่ 20 มีนาคม 68

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/33k68zxwnlhak


  ลดวันพัก ‘ฟรีวีซ่า’ ไม่เกิน 30 วัน กรองนักท่องเที่ยว

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/1h9ki0f2e0orj


 น้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว มาขายต่อให้ ‘โครงการทอดไม่ทิ้ง’ โดยบางจาก

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/12hpzrb5d7pzs


ฝุ่น PM2.5 อันตรายต่อดวงตาจริงหรือ?

    สถานการณ์ ฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังแพร่กระจายอย่างมากในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและยังส่งผลต่อดวงตาทำให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบ ภูมิแพ้ตา ภาวะตาแห้ง และกระจกตาอักเสบได้มากขึ้น หากมีอาการระคายเคืองตา ตาแดง ขี้ตามาก ตาสู้แสงไม่ได้ ตามัวลง ควรพบจักษุแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสม

    แพทย์หญิงสุดาวดี สมบูรณ์ธนกิจ จักษุแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมและแนะนำวิธีป้องกันในสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่มีค่าสูงเกินมาตรฐานที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังกระทบต่อดวงตาอีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดอาการตาแดง ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ที่ตาจะมีอาการรุนแรงได้มาก และในผู้ใช้คอนแทคเลนส์ก็จะมีภาวะตาแห้ง ระคายเคืองตา และแสบตาได้มากขึ้น 

วิธีป้องกันดวงตาจากฝุ่น PM 2.5 สามารถทำได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณที่เกินมาตรฐาน 
  • หลีกเลี่ยงการขยี้ตา ถ้ามีอาการระคายเคืองตาจากฝุ่น PM 2.5 ให้ใช้วิธีการหยอดน้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและชำระล้างสารระคายเคืองออกไปบางส่วน 
  • หากเกิดอาการระคายเคืองตามากจากการแพ้ฝุ่นหรือตาแดงอักเสบมาก ควรมาพบจักษุแพทย์ทันที

ดังนั้น ฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบต่อดวงตาจึงควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือขยี้ตา และควรป้องกันโดยการใส่แว่นตาพร้อมกับหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่น PM2.5 

(ข้อมูลจาก : กรมการเเพทย์ / สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส. ) )

Banner :

ลิ้งค์กระทู้ Cofact  : https://cofact.org/article/1f7h1spq7tsvc

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 15 มีนาคม 2568

รีบยืนยันตัวตนรับเงินดิจิทัลวอลเล็ตเฟส 3 ก่อนโดนตัดสิทธิ์…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3anr4ap4wxdk7#_=_


สนามบินแม่สอดเปิดทาง แก๊งคอลเซ็นเตอร์จีน ตั้งสำนักงานกลางไทย…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/eek2of7jsnvo


 สงกรานต์นี้ วิ่งฟรี ”มอเตอร์เวย์-ทางด่วน” รวม7 วัน

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/1vzo386e4xolx


 5 เครื่องดื่มมีความเสี่ยงให้กระดูกพรุน

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/2behtvh9n0gln


 กินมะเขือเทศช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากได้

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/y21ueobhm4s5


 ประเทศไทยเตรียมรับลมหนาวหลงฤดูในวันที่ 16-20 มี.ค. นี้

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/2jai0uutir2x3


 กระทรวงคมนาคมเพิ่มเที่ยวบิน 124 เที่ยวบิน แก้ตั๋วเครื่องบินแพงช่วงสงกรานต์

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/f8vv7a85xfg2


 กลุ่มเป้าหมายเงินดิจิทัลเฟส 2 ที่โอนเงินไม่สำเร็จ อาจถูกตัดสิทธิ

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/ek167o88u9z4]


กินช็อคโกแลตทำให้เป็นสิวจริงหรือ

      หลายคนอาจเคยได้ยินว่า “การทานช็อกโกแลตสามารถกระตุ้นให้เกิดสิว” ไม่ว่าจะเป็นสิวอุดตัน
สิวอักเสบ หรือสิวหัวดำ เพราะช็อกโกแลตมีรสหวาน กลิ่นหอม และเนื้อสัมผัสที่นุ่ม ซึ่งอาจทำให้บางคนเกิดอาการแพ้หรือไวต่อส่วนประกอบบางอย่างในช็อกโกแลต แต่จริงแล้วกินช็อคโกแลตทำให้เป็นสิวจริงหรือ

       การรับประทานช็อกโกแลตอาจทำให้เกิดสิวในบางคนได้จริง แต่ไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดสิวในทุกคน การเกิดสิวขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ฮอร์โมน, พันธุกรรม, การดูแลผิว, ความเครียด และอาหารที่ทานซึ่ง ช็อกโกแลต อาจกระตุ้นให้เกิดสิว เนื่องจากน้ำตาลและไขมันอาจเพิ่มระดับอินซูลินในเลือด ซึ่งอาจกระตุ้นการผลิตซีบัม (น้ำมัน) ในผิวหนัง ทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขนและนำไปสู่การเกิดสิว

       ช็อกโกแลตมีไขมันอิ่มตัวสูงและอาจมีน้ำตาลมาก การกินช็อกโกแลตขึ้นอยู่กับอาหารโดยรวมและอาจขึ้นอยู่กับประเภทของช็อกโกแลตที่กินด้วย
ช็อกโกแลตมีหลายประเภท ได้แก่
ช็อกโกแลตมืด (Dark chocolate) – มีเปอร์เซ็นต์โกโก้สูงและน้ำตาลน้อยช็อกโกแลตนม (Milk chocolate) – มีนมผงหรือครีมเพิ่มเข้าไปเพื่อให้รสชาติหวานและเนียนขึ้น
และช็อกโกแลตขาว (White chocolate) – ไม่มีผงโกโก้ แต่ใช้เนยโกโก้และนมเป็นส่วนประกอบหลัก
      ซึ่งการกินช็อกโกแลตอาจทำให้เกิดสิวในบางคนได้ เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างที่อาจเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกาย ต่อไปนี้คือเหตุผลบางประการที่อาจทำให้การกินช็อกโกแลตกระตุ้นการเกิดสิว
1. น้ำตาลและอินซูลิน: ช็อกโกแลตส่วนใหญ่มีน้ำตาลสูง การทานน้ำตาลมากเกินไปอาจทำให้ระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น ซึ่งสามารถกระตุ้นการผลิตซีบัม (น้ำมัน) ในผิวหนังมากขึ้น เมื่อซีบัมอุดตันรูขุมขนก็อาจทำให้เกิดสิวได้
2. ไขมัน: ช็อกโกแลตบางประเภท (โดยเฉพาะช็อกโกแลตนมและช็อกโกแลตขาว) มีไขมันสูง ซึ่งอาจกระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันมากเกินไป ส่งผลให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิวได้
3. การแพ้หรือไวต่อส่วนผสมบางอย่าง: ในบางคน การแพ้หรือไวต่อส่วนผสมบางอย่างในช็อกโกแลต เช่น นม หรือสารเติมแต่งอาจกระตุ้นการเกิดสิว

       ดังนั้น ช็อกโกแลตไม่ได้ทำให้เกิดสิว แต่น้ำตาลที่อยู่ในช็อกโกแลตที่ทำให้เกิดสิว หากอยากกินช็อกโกแลตควรเลือกช็อกโกแลตที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย เพื่อดีต่อสุขภาพ

(ข้อมูลจากเว็บไซต์ : สำนักโภชนาการ กรมอนามัย / สถานีเทคโนโลยีดิจิทัลวิทยาศาสตร์บริการ / หมอชาวบ้าน )

อินโฟกราฟิก: 5 ไฮไลต์ประเด็นตรวจสอบข้อเท็จจริงทางการเมืองช่วงเลือกตั้ง อบจ.

Top Fact Checks Political

การเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่เสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2568 เป็นอีกหนึ่งวาระทางการเมืองที่พบการระบาดของข้อมูลเท็จและข่าวลวงการเมือง โคแฟครวบรวม 5 รายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางการเมืองที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง อบจ. มาไว้ในรูปแบบอินโฟกราฟิก

โคแฟคเริ่มปฏิบัติการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางการเมืองมาตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปปี 2566 ต่อด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภาปี 2567 จนมาถึงการเลือกตั้ง อบจ. 2568 เพราะเห็นว่าการใช้ข้อมูลเท็จมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองนั้นอาจส่งผลเสียต่อกระบวนการเลือกตั้งรุนแรงกว่าที่หลายคนคิด ดังเช่นที่ “รายงานความเสี่ยงของโลก” หรือ Global Risks Report 2024 ของ World Economic Forum ซึ่งจัดอันดับให้ข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือน (misinformation and disinformation) เป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบรุนแรงมากที่สุดในระยะสั้น ระบุว่า การใช้ข้อมูลเท็จเพื่อหวังผลทางการเมืองอาจนําไปสู่การไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และลุกลามบานปลายเป็นความไม่สงบและความรุนแรง ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อกระบวนการทางประชาธิปไตยในระยะยาว

ตัวเลขที่น่าสนใจในการเลือกตั้ง อบจ.

หลังการเลือกตั้ง อบจ. เสร็จสิ้นลง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ทยอยรับรองผลการเลือกตั้งจนครบทั้ง 76 ที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. และ 47 จังหวัดที่มีการเลือกตั้งนายก อบจ. โดยรับรองผลล็อตสุดท้ายไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568

ขณะที่หลายคนเริ่มมองไกลไปถึงการเลือกตั้งทั่วไปใน 2570 โคแฟคได้รวบรวมสถิติตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนี้ไว้ เช่น การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงในการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งพบว่าขณะนี้เรามีนายก อบจ. หญิงอยู่ทั้งหมด 16 คน

5 ไฮไลต์ตรวจสอบข่าวลวงช่วงเลือกตั้ง อบจ.

1. พบบัญชีผู้ใช้ TikTok เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งนายก อบจ.

ก่อนการเลือกตั้งนายก อบจ. อุบลราชธานี ในวันอาทิตย์ที่ 22 ธ.ค. 2567 โคแฟคตรวจสอบพบบัญชีผู้ใช้แอปพลิเคชัน TikTok เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งนายก อบจ. โดยเผยแพร่ข้อมูลเท็จว่าผู้สมัครจากพรรคประชาชนชนะการเลือกตั้งนายก อบจ. อุบลราชธานี “อย่างถล่มทลาย” ทั้งที่ในความเป็นจริงการเลือกตั้งนายก อบจ. อุบลราชธานียังไม่เกิดขึ้น

2. คนเวียดนามแห่กด “ติดตาม-ถูกใจ” โพสต์เฟซบุ๊กผู้สมัครนายก อบจ. พรรคประชาชน ?

โคแฟคตรวจสอบกรณีเพจเฟซบุ๊ก “วันนี้พรรคส้มโกหกอะไร” และ “ความจริงของระยอง” ตั้งข้อสังเกตว่าเฟซบุ๊กทางการของผู้สมัคร #นายกอบจ. เชียงใหม่และระยอง สังกัดพรรคประชาชน มีบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวเวียดนามเข้ามากด “ติดตาม” และ “ถูกใจ” จำนวนมาก ทำให้เกิดข้อกล่าวหาว่าผู้สมัครทั้งสองคน “ปั๊มยอดผู้ติดตาม”

โคแฟคพบว่าเพจเฟซบุ๊กของนายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้สมัคร นายก อบจ. เชียงใหม่ และนายทรงธรรม สุขสว่าง ผู้สมัครนายก อบจ. ระยอง ของพรรคประชาชนมีบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อภาษาเวียดนามเข้ามากดติดตามและกด “ถูกใจ” จำนวนมากจริง

เมื่อตรวจสอบโปรไฟล์ของผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อเวียดนามพบว่ามีลักษณะต้องสงสัยว่าสร้างขึ้นโดยบอต (bot) คือมีแค่ชื่อและรูปโปรไฟล์ ไม่มีข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับเจ้าของบัญชี ไม่มีโพสต์ย้อนหลัง ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับบัญชีอื่น รูปโปรไฟล์ไม่ใช่ภาพบุคคลจริงและนำมาจากแหล่งอื่นในอินเทอร์เน็ต

โคแฟคไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กต้องสงสัยว่าสร้างโดยบอตเหล่านี้ แต่ได้รับคำยืนยันจากนายพันธุ์อาจและทีมงานของนายทรงธรรมว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติที่เกิดขึ้น และไม่เคยใช้งบประมาณหาเสียงไปในการสร้างบัญชีเฟซบุ๊กปลอมเพื่อเพิ่มยอดผู้ติดตาม พร้อมทั้งแสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยการส่งเรื่องให้ Meta ตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นแล้ว

Meta ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเฟซบุ๊กประกาศว่า บริษัทมุ่งมั่นที่จะกำจัดบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กปลอม โดยรายงานว่าระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2567 ได้ลบบัญชีปลอมไปมากกว่า 3 พันล้านบัญชี โคแฟคเห็นว่าเมื่อแอดมินเพจของผู้สมัครนายก อบจ. ได้รายงานความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับ Meta แล้ว ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มควรดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง และหากพบว่าเป็นบัญชีปลอมที่สร้างโดยบอตจริง ก็ควรดำเนินการลบอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้มีการนำไปใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองต่อไป

3. เหตุเกิดที่เชียงใหม่ ไฟไหม้หญ้า หรือ เผาป้ายหาเสียงนายก อบจ.?

ผู้ใช้ TikTok โพสต์ภาพเหตุการณ์ไฟไหม้ริมถนนใน จ.เชียงใหม่ โดยระบุว่าเป็นการจงใจเผาทำลายป้ายหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ. ของพรรคประชาชน

โคแฟคตรวจสอบพบว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นริมถนนบ้านสร้าง-ดอยสะเก็ด ในเขตเทศบาลตำบลตลาดใหญ่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ วันที่ 7 มกราคม 2568 เวลาประมาณ 17.00 น. เจ้าหน้าที่เทศบาลยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของไฟไหม้หรือระบุตัวผู้ก่อเหตุได้ แต่จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุ สันนิษฐานว่าเป็นเหตุไฟไหม้หญ้าริมทางแล้วลุกลามทำให้ป้ายหาเสียงถูกไฟไหม้เสียหายบางส่วนจำนวน 1 ป้าย ไม่ใช่การจงใจเผาทำลายป้ายหาเสียง

ขณะที่ ผอ. กกต. เชียงใหม่ เปิดเผยว่าในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาได้รับแจ้งเหตุใช้ของแข็งทำลายป้ายหาเสียง 4 กรณี เป็นของพรรคเพื่อไทย 2 กรณี และพรรคประชาชน 2 กรณี แต่ยังไม่ได้รับแจ้งเหตุเผาทำลายป้ายหาเสียง

4. ข้อกังขาและคำชี้แจง “ทำไมเลือกตั้ง อบจ. วันเสาร์”

คำถาม “ทำไมเลือกตั้งวันเสาร์” กลับมาอีกครั้งในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง อบจ. ในวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568

แม้ว่า กกต. จะชี้แจงเหตุผลที่จัดการเลือกตั้งวันเสาร์แทนที่จะเป็นวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดของคนส่วนใหญ่เหมือนการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา แต่ประเด็นนี้ยังคงถูกตั้งคำถามจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ช่วยหาเสียง นักสังเกตการณ์ทางการเมือง และประชาชนทั่วไปมาอย่างต่อเนื่อง ในแอปพลิเคชัน TikTok มีผู้กล่าวหาว่า การกำหนดให้เลือกตั้งวันเสาร์นั้น “มีเลศนัย” และเป็น “แผนสกัด/ตัดคะแนน” พรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนวัยทำงาน

ข้อสงสัย คำถาม และเนื้อหาที่วิจารณ์การจัดการเลือกตั้งวันเสาร์ที่ปรากฏในโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะขาดบริบทและไม่มีคำชี้แจงจาก กกต. ประกอบ ทำให้เกิดข้อกังขาต่อความเที่ยงธรรมของการเลือกตั้งนายก อบจ. และ ส.อบจ. ซึ่งอาจส่งผลต่อการยอมรับผลการเลือกตั้งในภายหลังได้

โคแฟคสรุปข้อกังขาและคำชี้แจงจาก กกต. เรื่องเลือกตั้งวันเสาร์เพื่อให้การวิพากษ์วิจารณ์การจัดการเลือกตั้งของ กกต. อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน รอบด้าน นำไปสู่การปรับปรุงการจัดการเลือกตั้งที่มีประสิทธิภาพและสะดวกต่อการออกมาใช้สิทธิของประชาชน

5.  พรรคประชาชนกับข้อกล่าวหา “บังคับนักเรียนฟังหาเสียงท่ามกลางฝุ่น PM2.5”

แม้ว่าการเลือกตั้ง อบจ. จะผ่านพ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 แต่โคแฟคยังคงตรวจสอบเนื้อหาทางการเมืองเกี่ยวกับการเลือกตั้ง อบจ. ในสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อป้องกันการใช้ข่าวลวงมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองโดยเฉพาะช่วงการเลือกตั้งในทุกระดับ

ล่าสุด โคแฟคตรวจสอบกรณีผู้ใช้บัญชี X โพสต์ภาพผู้สมัครนายก อบจ. พรรคประชาชนแจกโบรชัวร์หาเสียงในโรงเรียน และเขียนข้อความกล่าวหาว่าพรรคประชาชนบังคับให้เด็กนักเรียนมานั่งฟังการหาเสียงท่ามกลางฝุ่น PM2.5 ที่สูงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

จากการตรวจสอบของโคแฟคพบว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 ที่โรงเรียนศรัทธาสมุทร อ.เมืองสมุทรสงคราม จ.สมุทรสงคราม ซึ่งทีมงานผู้สมัครนายก อบจ. พรรคประชาชนได้ขออนุญาตผู้บริหารโรงเรียนเพื่อเข้าไปประชาสัมพันธ์นโยบายในช่วงหลังการเข้าแถวเคารพธงชาติ ใช้เวลาประมาณ 5 นาที โดยผู้สมัครนายก อบจ. พรรคประชาชนยืนพูดกลางแจ้ง ส่วนเด็กนักเรียนนั่งอยู่ในบริเวณสนามกีฬาที่มีโครงหลังคาขนาดใหญ่

สำหรับข้อกล่าวหาที่ผู้โพสต์ระบุว่า “บังคับให้นักเรียนต้องมานั่งฟังท่ามกลางภาวะ PM2.5 ที่สูง” นั้น จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังพบว่า ค่าฝุ่น PM2.5 ในเวลา 8.00 น. ของวันที่ 23 มกราคม อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งโคแฟคเห็นว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ ทางโรงเรียนและทางทีมงานผู้สมัครควรตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างใกล้ชิด หากค่าฝุ่นสูง การจัดกิจกรรมใด ๆ ควรพิจารณาให้รอบคอบโดยคำนึงถึงสุขภาพของนักเรียนเป็นหลัก

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Collective Wisdom vs Digital Hate: Navigating the DeepTech Era” 

กิจกรรม

งาน Soul Connect Fest เสวนาหัวข้อรับมือความเกลียดชัง ข้อมูลลวงออนไลน์ยุค 4.0 ด้วยปัญญารวมหมู่ Collective Wisdom vs. Digital Hate: Navigating the DeepTech Era”   จัดโดยโคแฟค ประเทศไทย วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2568 ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์

#SoulConnectFest2025 #HUMANICE

#SoulConnectFest #มหกรรมพบเพื่อนใจ #สุขภาวะทางปัญญา #จิตวิญญาณ #การร่วมทุกข์ #ความหวัง #สสส #Cofact #cofactthailand #เช็กให้ชัวร์ที่โคแฟค

Soul Connect Festival “รับมือความเกลียดชังข้อมูลลวงออนไลน์ยุค 4.0 ด้วยปัญญารวมหมู่ Collective Wisdom vs Digital Hate: Navigating the DeepTech Era” 

กิจกรรม

บันทึกเนื้อหาวงเสวนา “รับมือความเกลียดชังข้อมูลลวงออนไลน์ยุค 4.0 ด้วยปัญญารวมหมู่ Collective Wisdom vs Digital Hate: Navigating the DeepTech Era” จัดโดยโคแฟค ประเทศไทย วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2568 ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์

คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค ประเทศไทย กล่าวต้อนรับและทักทายผู้ร่วมงานพร้อมกับเกริ่นนำเข้าสู่เวทีเสวนาซึ่งจัดขึ้นในวันที่สามของงาน Soul Connect Fest การเสวนาแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกคุณสุนิตย์ เชรษฐา กรรมการผู้จัดการ ChangeFusion ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรภาคีผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค บรรยายนำในประเด็นสำรวจสถานการณ์การสร้างความเกลียดชังในโลกออนไลน์และมาตรการรับมือของประเทศต่าง ๆ ช่วงที่สองเป็นการเสวนา ดำเนินรายการโดย ดร.พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล ผู้จัดการโครงการมูลนิธิ ฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย

ช่วงที่ 1: สำรวจสถานการณ์การสร้างความเกลียดชังในโลกออนไลน์และมาตรการรับมือ

คุณสุนิตย์ เชรษฐา กรรมการผู้จัดการ ChangeFusion เริ่มต้นด้วยการหยิบยกงานวิจัยเรื่อง “การกำกับดูแลสื่อที่เผยแพร่เนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง” โดย ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันนท์ และคณะ (2556) ที่ระบุว่า “ในพื้นที่ออนไลน์ของไทย…พบว่าฐานความเกลียดชังอันดับแรกคืออุดมการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนเสื้อเหลือง-เสื้อแดง และพบมากที่สุดในยูทูบ ส่วนความเกลียดชังรองลงมาคือศาสนาและชาติพันธุ์” ซึ่งแม้ว่างานวิจัยนี้จะจัดทำขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่ประเด็นความเห็นต่างทางการเมือง ศาสนา และชาติพันธุ์ก็ยังคงเป็นประเด็นหลักของการสร้างความเกลียดชัง (hate speech) ในปัจจุบัน 

บทเรียนการรับมือกับ hate speech ของประเทศต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น

เยอรมนี มีการบังคับใช้กฎหมายชื่อ “NetzDG” ตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งกำหนดให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต้องมีช่องทางการรับแจ้งจากผู้ใช้ หากพบว่าเนื้อหาผิดกฎหมายอย่างชัดเจนจะต้องนำออกจากระบบภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่ดำเนินการจะเสี่ยงต่อการถูกปรับมากถึง 50 ล้านยูโร แต่ก็มีข้อถกเถียงเรื่องเส้นแบ่งระหว่างสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกกับการจัดการ hate speech อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้กำลังจะถูกทดแทนด้วยกฎหมาย EU Digital Service Act ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในสหภาพยุโรปเร็ว ๆ นี้

สหราชอาณาจักร ปรับปรุงกฎหมายเดิมเพื่อให้ครอบคลุมการรับมือกับ hate speech ที่น่าสนใจคือภาครัฐทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น พัฒนาแอปพลิเคชันรายงาน hate speech, การเยียวยาจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบ และจัดกิจกรรมในโรงเรียน

ญี่ปุ่น มีกฎหมายที่ชื่อ Hate Speech Elimination Act ที่วางหลักการ นิยาม หลักปฏิบัติและฐานความผิดเกี่ยวกับ hate speech

​คุณสุนิตย์ได้ประมวล “สาเหตุร่วม” การแพร่กระจายของ hate speech ว่ามาจากความกลัว การไม่ยอมรับความแตกต่าง ความขัดแย้งาทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำ การขาดความรู้ความเข้าใจและความเห็นใจของคนที่แตกต่างกัน สาเหตุร่วมอีกประการหนึ่งคือธรรมชาติของดิจิทัลเแพลตฟอร์มที่ผูกขาดและขาดระบบกำกับดูแลที่ดี 

ในประเทศไทย เคยมีการศึกษา hate speech ในบริบทของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อปี 2564 พบว่าเนื้อหาส่วนมากเป็นการโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและองค์กรสาธารณะประโยชน์ และมีที่มาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษา hate speech ช่วงการชุมนุมทางการเมืองปี 2563-2564 พบว่ามีการใช้ hate speech เพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงของรัฐของรัฐต่อกลุ่มผู้เห็นต่างทางการเมือง

คุณสุนิตย์สรุปว่า การรับมือกับ hate speechนั้น ความท้าทายสำคัญคือการสร้างความสมดุลระหว่างสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกกับการยุติการสร้างความเกลียดชังออนไลน์ และในขณะที่มาตรการทางการกฎหมายมีความยุ่งยากและข้อจำกัดหลายอย่าง กระดุมเม็ดแรกจึงควรจะเป็นการสร้างความรู้ความเช้าใจ สร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญาให้ชุมชนและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 

ช่วงที่ 2วงเสวนา ดำเนินรายการโดย ดร. พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล ผู้จัดการโครงการมูลนิธิฟรีดริชเนามันฯ 

ผู้ร่วมเสวนา 6 ท่านประกอบด้วย นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ประธานกรรมการวิสาหกิจเพื่อสังคม จิตวิทยา สติ, คุณณภัทร ชุ่มจิตตรี นักแสดงและอดีตผู้สมัคร สส., ซิสเตอร์ศรีพิมพ์ ซาเวียร์ ผู้อำนวยการศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรมระดับชาติ, คุณอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา, ชมพูนุท เฉลียวบุญ ผู้จัดการโครงการภูมิภาค Westminster Foundation for Democracy (WFD) และคุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กล่าวถึงการสร้างความเกลียดชังใน 2 ประเด็น คือ hate speech กับความรุนแรง และจิตวิทยาของกระบวนการสร้างความเกลียดชัง

ประเด็นแรก นพ.ยงยุทธอธิบายว่าการสร้างความเกลียดชังจะนำไปสู่ความรุนแรง เห็นได้จากเหตุการณ์รุนแรงในประวัติศาสตร์ เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว และเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516และ 6 ตุลา 2519 ในไทย ที่ล้วนแต่มีการกระหน่ำ hate speech เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรง

ประเด็นที่ 2 ในทางจิตวิทยา กระบวนการสร้างความเกลียดชังมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การทำให้ความแตกต่างเป็นเรื่องถูกหรือผิด 2) ทำให้ความแตกต่างนั้นเป็นเรื่องดีหรือเลว 3) เมื่อความแตกต่างนั้นเป็นเรื่องผิดและเลว คนกลุ่มนั้นจึงไม่สมควรอยู่คือฆ่าได้ 

สาเหตุหนึ่งที่ hate speech ถูกส่งต่อกันเยอะเพราะโดยพื้นฐานสภาพจิตของคนเรามีแนวโน้มที่ถูกกระตุ้นอารมณ์ได้ง่าย hate speech จึงมักมีลักษณะที่ปลุกเร้าอารมณ์ แต่คนที่มีสติและความสงบจะเร้าอารมณ์ไม่ขึ้น ดังนั้นหากสังคมไทยมีประชาชนที่มีสติรู้จักใคร่ครวญให้มากขึ้น คนกลุ่มนี้จะมีบทบาทในการลด hate speechด้วยการรวมตัวกันเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรณรงค์ในประเด็นที่เป็น “คานงัด” ของสังคม เช่น จริยธรรมนักการเมือง การออกกฎหมายบังคับให้ผู้บริการแพลตฟอร์มต้องรับผิดชอบ และระบบการศึกษา

อีกหนึ่งแนวทางคือ โครงการของกรมสุขภาพจิตในการสร้างทักษะการใช้อินเทอร์เน็ตที่ดีประกอบด้วย “2 ไม่ 1 เตือน” “2 ไม่” คือไม่ผลิตและไม่ส่งต่อเนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง “1เตือน” คือการเตือนด้วยความสุภาพเพราะคนส่วนใหญ่ทำไปโดยไม่รู้ถึงผลกระทบว่าทำให้เกิดความรุนแรง

ณภัทร ชุ่มจิตตรี หรือ “คิง ก่อนบ่าย” มาถ่ายทอดประสบการณ์ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบจากความเห็นของ “ชาวเน็ต” ทั้งชื่นชมและเกลียดชัง เขาเล่าว่าเมื่อครั้งที่ออกมาวิจารณ์รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคนมาชื่นชมล้นหลามในฐานะดาราที่ออกมา “call out” ต่อรัฐบาล แต่เมื่อเขาตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส. สังกัดพรรคพลังประชารัฐ กลับถูก “ทัวร์ลง” อย่างหนักเพียงเพราะเลือกสังกัดพรรคที่ไม่ถูกใจชาวเน็ต แต่คอมเมนต์ที่ทำให้เขาเสียความรู้สึกมากที่สุดคือการดูถูกอาชีพนักแสดงตลกของเขาว่าเป็นอาชีพที่ไม่มีความรู้ความสามารถพอจะเป็นนักการเมือง โดยไม่สนใจว่าเขาเรียนจบอะไรมาหรือมีความสามารถอะไรบ้าง

“ผมเป็นดารา ช่วงหนึ่งสังคมออกมาเรียกร้องให้ดาราออกมาพูดการเมือง แต่พอเราลงการเมืองก็ถูกถามว่าเป็นดารามายุ่งการเมืองทำไม” 

คุณณภัทรยอมรับว่าการถูกโจมตีทางออนไลน์ทำให้เขา “จิตตก” อย่างมาก จึงใช้วิธีการดูแลตัวเองด้วยการใช้โซเชียลมีเดียให้น้อยลง หากใช้ก็จะเลือกอ่านเนื้อหาที่ให้กำลังใจ ต่อมาจึงมองเห็นว่าโซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่ที่คนมาระบายอารมณ์โดยไม่สนใจข้อมูลหรือเนื้อหาสาระ จึงไม่ควรเก็บมาคิดมากจนไม่เป็นสุข

ซิสเตอร์ศรีพิมพ์ ซาเวียร์ กล่าวถึงเนื้อหาเท็จออนไลน์ที่สร้างความสะเทือนใจให้คริสตศาสนิกชนเป็นอย่างมาก คือการเผยแพร่ข่าวเท็จว่าสมเด็จพระสันตะปาปาสิ้นพระชนม์ ขณะที่พระองค์ทรงพระประชวรหนักและต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล “เราเสียใจที่มีคนแช่งหรือแสดงความเกลียดชังท่าน แต่ศาสนาเราสอนให้ต่อสู้ความเกลียดด้วยความรัก ถ้าเราเกลียดตอบ” 

ซิสเตอร์อ้างข้อความจากพระคัมภีร์ที่เขียนถึงความรักว่า “ความรักอดทนนาน มีใจปราณี ความรักต้องไม่อิจฉา ไม่อวดตัว ไม่หยิ่งผยอง ไม่หยาบคาย ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ฉุนเฉียว ไม่จดจำความผิด ไม่ชื่นชมยินดีในอธรรม แต่ชื่นชมยินดีในความจริง ความรักทนได้ทุกอย่าง เชื่ออยู่เสมอและมีความทรหดอดทนอยู่เสมอ” ข้อความนี้เป็นเครื่องเตือนใจให้เราไม่ตอบโต้คนที่สร้างความเกลียดชัง เพราะถ้าต่อว่าก็จะยิ่งเพิ่มความเกลียดต่อไป “เราไม่ชื่นชมในสิ่งที่เขาทำแต่เราก็ไม่ไปตอบโต้เขา เราสู้กับความเกลียดด้วยความรักและขันติ”

ซิสเตอร์ยังตั้งข้อสังเกตถึงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนว่าบางสื่อเสนอข่าวไม่เที่ยงธรรม ใส่ความคิดเห็นส่วนตัว ชักจูงให้คนเกลียดชังกันแทนที่จะส่งเสริมให้มีความรักต่อคนต่างเชื้อชาติ 

คุณอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งทำงานด้านสิทธิมนุษยชนมานานกว่า 20 ปี ก่อนจะมาเป็น สว. กล่าวว่าในไทยมีการใส่ร้ายป้ายสีสร้างความเกลียดชังคนที่ทำงานเพื่อสังคม ช่วงที่เธอดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนเป็นช่วงที่โดน hate speech มากที่สุด และกลับมาโดนมากอีกครั้งนับตั้งแต่เข้ามาเป็น สว. หญิง ซึ่งเนื้อหาที่สร้างความเกลียดชังมักจะใช้ประเด็นเรื่องเพศเป็น “อาวุธในการทำลายล้าง” เช่น เมื่อเธอออกมาปกป้องสิทธิของผู้ลี้ภัยหรือคัดค้านโทษประหารชีวิต ก็จะมีคนมาเขียนคอมเมนต์ว่า“ก็เอามันมาเป็นผัวสิ”

คุณอังคณาเล่าว่าเธอใช้ทุกกลไกทุกช่องทางเพื่อปกป้องสิทธิตนเองจากการถูกโจมตีด้วยเนื้อหาเท็จ เช่น ไปแจ้งความที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ซึ่งที่นั่นเธอพบว่ามีผู้หญิงหลายคนไปแจ้งความเพราะถูกนำคลิปส่วนตัวไปเผยแพร่ แต่พบว่าเจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ขณะที่ผู้เสียหายจากการทำลายชื่อเสียงต้องเสียสุขภาพจิตแต่กลับไม่มีระบบหรือกลไกเยียวยาผู้ตกเป็นเหยื่อเลย ทั้งที่เรื่องนี้ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งและยาวนาน 

การตกถูกใส่ร้ายป้ายสีเพื่อสร้างความเกลียดชังทำให้นักกิจกรรมทางการเมืองและนักสิทธิมนุษยชนหลายต้องเลิกทำงานไปเลย 

สำหรับการรับมือนั้น คุณอังคณาเสนอว่านอกจากผู้เสียหายควรรวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดกลไกการป้องกันและเยียวยาแล้ว ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียควรจะมีความรับผิดชอบในการจัดการเนื้อหามากกว่านี้ 

คุณชมพูนุท เฉลียวบุญ ผู้จัดการโครงการภูมิภาค Westminster Foundation for Democracy (WFD) กล่าวว่า WFD ทำงานด้านการสนับสนุนผู้หญิงให้เข้าสู่พื้นที่ทางการเมืองมากขึ้น และผลักดันให้สื่อมวลชนและโซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงที่เข้ามาทำงานการเมือง

WFD ได้ทำการเก็บข้อมูลการคุกคามทางออนไลน์ต่อนักการเมืองหญิง พบว่ามี “เกรียนคีย์บอร์ด” สร้างความเกลียดชัง ดูหมิ่นดูแคลนนักการเมืองหญิงอย่างต่อเนื่อง การแจ้งผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดำเนินการ (report) ก็ใช้เวลานานกว่าที่เนื้อหานั้นจะถูกนำออกจากระบบเนื้อหาเหล่านี้จึงถูกปล่อยให้อยู่ในโลกออนไลน์เป็นเวลานาน

การเข้ามาโพสต์เนื้อหาที่สร้างความเกลียดชังและลดทอนคุณค่าเช่นนี้ นอกจากจะลดทอนคุณค่า ทำลายชื่อเสียงของนักการเมืองแล้ว ยังเป็นการเปลี่ยนประเด็นไปเรื่องอื่น ทำให้คนไม่สนใจนโยบายที่นักการเมืองนำเสนอ

การเก็บข้อมูลยังพบว่ามีเนื้อหาเชิงข่มขู่ แม้จะมีไม่มากแต่มีความรุนแรง เช่น ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายหรือถึงขั้นเอาชีวิต ซึ่งสร้างความกังวลอย่างมากให้นักการเมืองหญิงที่ต้องลงพื้นที่และปรากฏตัวในที่สาธารณะ นอกจากนี้ยังมีการเอาข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่พักอาศัย มาเปิดเผย

“ด้วยความที่ผู้หญิงอยู่ในงานการเมืองน้อยอยู่แล้ว พอเจอความเสี่ยง ความกลัวแบบนี้หลายคนจึงไม่อยากจะทำงานการเมืองต่อ แม้จะเป็นเนื้อหาเท็จ แต่มันก็สร้างความอับอายและต้องใช้เวลามาแก้ไขความเข้าใจผิดนั้น หลายคนได้รับผลกระทบทางจิตใจต่อเนื่องยาวนาน และกระทบกับครอบครัวด้วย”

คุณชมพูนุทกล่าวว่า พรรคการเมืองต้นสังกัดหรือรัฐสภาไม่มีกลไกปกป้องหรือเยียวยาผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการสร้างความเกลียดชัง และเห็นด้วยกับคุณอังคณาว่า ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มควรมีความรับผิดชอบมากกว่านี้ เช่น พัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจจับเนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง ไม่ควรผลักความรับผิดชอบให้ผู้ใช้งานในการตรวจสอบ และประเทศไทยควรมีกฎหมายที่ชัดเจนเพื่อกำกับให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มมีรับผิดชอบต่อผู้ใช้

คุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่าโลกออนไลน์มีประโยชน์ในการสื่อสารและเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน แต่ก็มีพิษภัยอยู่ไม่น้อย ปัญหาข่าวลวงข่าวปลอมมีมากขึ้น เทคโนโลยีเอไอทำให้แยกแยะความลวงความจริงยากขึ้น มีปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ การสร้างความเกลียดชัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมและต่อปัจเจกบุคคล ในอดีตการปลุกเร้าความเกลียดชังเคยนำมาสู่เหตุการณ์เผาสถานทูตไทยในกัมพูชาเมื่อปี 2546

คุณวสันต์กล่าวว่า hate speech มีทั้งประเด็นเกี่ยวกับศาสนา เชื้อชาติ เพศ ซึ่งขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน กติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศเน้นย้ำเรื่องการไม่เลือกปฏิบัติ สังคมไทยเป็นพหุวัฒนธรรมต้องเคารพความแตกต่างหลากหลายอยู่ด้วยกันอย่างสันติ เข้าใจและให้อภัย

ดร.พิมพ์รภัช ผู้ดำเนินรายการเปิดให้ผู้ฟังซักถาม ซึ่งคุณแฟรงค์ สมิธ ได้สอบถามว่ากรณีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มักใช้ถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชังชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพและสื่อมวลชน วิทยากรมองว่ามันส่งกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร 

นพ.ยงยุทธให้ความเห็นว่า ผู้นำไม่ควรแสดง hate speech นายกรัฐมนตรีของไทยคนหนึ่งในยุค คสช. ก็เคยแสดงความเห็นทำนองว่า ถ้าใครที่คิดแบบนี้ก็ไม่ต้องอยู่เมืองไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไม่ควรจะยอมรับได้ สังคมควรมีบรรดทัดฐานในเรื่องการไม่ยอมรับผู้นำ สส. หรือ สว. ที่เผยแพร่ hate speech มาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมืองควรระบุให้ชัดเจนว่าการสร้างความเกลียดชังเป็นการผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรง

คุณวสันต์ให้ความเห็นว่า ผู้นำประเทศต้องระมัดระวังคำพูด เพราะคำพูดของผู้นำประเทศย่อมส่งผลกระทบในวงกว้าง ถ้าผู้นำมีทัศนคติไม่ดีหรือใช้คำพูดที่ไม่ดีอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายต่าง ๆ และหากคำพูดที่สร้างความเกลียดชัง เกิดขึ้นในช่วงที่สังคมมีความเห็นต่างและมีความขัดแย้งก็มีโอกาสที่จะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อกันได้

ด้านคุณอังคณามองว่า ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีที่ประชาชนอเมริกันเลือกเข้ามา และนโยบายต่าง ๆ ที่เขาทำอยู่ในขณะนี้ก็เป็นนโยบายที่เขาหาเสียงไว้ แต่ที่น่าสนใจคือสหรัฐอเมริกามีกลไกที่จะคานอำนาจฝ่ายบริหาร ความเป็นประชาธิปไตยในอเมริกาก็ทำให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้ 

ช่วงสุดท้ายของเวทีเสวนา โคแฟคในฐานะผู้จัดได้นิมนต์พระมหานภันต์ สนฺติภทฺโท ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (สกพ.) ซึ่งปฏิบัติภารกิจอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซียกล่าวปิดการเสวนาผ่านทางระบบประชุมออนไลน์

พระมหานภันต์เสนอว่า ภูมิปัญญารวมหมู่เพื่อแก้ปัญหา hate speech ด้วยคำว่า CARE 

C คือ Connect เชื่อมโยงมนุษย์เข้าด้วยกันในทางที่ดี

A คือ Aware ตระหนักรู้ถึงเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างเหมาะสม 

R คือ Responsibility การป้องกันและรับมือกับการสร้างความเกลียดชังเป็นความรับผิดชอบของทุกคน

E คือ Energize ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเสริมพลังซึ่งกันและกัน อย่าให้คนที่ทำงานต่อสู้เพื่อสิ่งที่ดีงามและสิทธิมนุษยชนต้องโดดเดี่ยว

​“อาตมาเชื่อว่า CARE นี้จะช่วยให้เรารับมือกับความเกลียดชังและเนื้อหาเท็จออนไลน์ที่กำลังเกิดขึ้นได้” พระมหานภันต์กล่าวปิดท้ายเวทีเสวนา.  

*********************

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 8 มีนาคม 2568

ประกันสังคม เพิ่มค่าทำฟันจาก 900 บาท เป็น 1,200 บาท…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2fd2x9npiqynd


อดอาหารป้องกันโรค …จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/177ejo51bt0ee


แจกเงิน 10,000 บาท ให้ทายาทผู้สูงอายุที่เสียชีวิต…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3eta0cmt94k1s


ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อีซี่, ไอ-โคพอต, ไทร่า, บอนนี่ และวิตตี้ บรรเทาอาการป่วยยอดฮิตของวัยทำงาน…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2z156lrc9lap5


  นักโภชนาการเตือนอาหารเก็บไว้ข้ามคืน อันตราย เสี่ยงต่อโรคร้าย

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/2ytkfz2csn1pg


 ฝุ่น PM 2.5 ทำให้ผิวหนังเหี่ยวชราก่อนวัย

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/ydo6xzm45ya3


  รัฐบาล ย้ำ ข่าวไวรัสโคโรนาตัวใหม่ เป็นข้อมูลในแล็บ ยังไม่ติดสู่คน

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/2kj1g0o84zqvg


  ปิดพื้นที่ห้ามเข้าป่าเชียงดาว 1 มี.ค.-15 พ.ค. 68

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/12ozxxr6zztoe


  กทม. เตรียมจัดทำหลังคาคลุมทางเท้า นำร่องถนนสาทรใต้

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/12ozxxr6zztoe


การไม่รับประทานไขมันดีต่อสุขภาพ…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3lj99zzgji6of


การทำ IF ทำให้เกิดเอฟเฟ็คต์น้ำหนักโยโย่…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3m2pl8xku686n


Soul Connect Festival : AI & Humanity: Towards Truth & Peace resolution”“ปัญญาประดิษฐ์กับมิติความเป็นมนุษย์ โจทย์สู่ความจริงและสันติภาพ

กิจกรรม

บันทึกเนื้อหาวงเสวนา “ปัญญาประดิษฐ์กับมิติความเป็นมนุษย์ โจทย์สู่ความจริงและสันติภาพ AI & Humanity: Towards Truth & Peace resolution” จัดโดยโคแฟค ประเทศไทย วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ 

คุณรณพงษ์ คำนวณทิพย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท Mind AI Southeast Asia ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เลียนแบบความฉลาดของมนุษย์ซึ่งมีพัฒนาการมานาน 50-60 ปีแล้วก่อนที่โลกจะเข้าสู่ “ยุค AI” เต็มตัวในวันนี้ แต่ AI ที่ผู้คนใช้งานกันในปัจจุบันเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์และจากข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ทำให้ AI คาดเดาได้ว่าผู้ใช้งานต้องการอะไรเป็นการคาดเดาและเรียนรู้จากพฤติกรรมของเราไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นที่มาของ generative AI อย่าง GPT, Gemini, Deep seek และ Glock

สำหรับสถานการณ์ AI ในประเทศไทย ในส่วนของการใช้งาน คนไทยตอบรับ AI ค่อนข้างเร็วมาก องค์กรที่นำ AI ไปใช้ก็มีไม่น้อย ในส่วนของการพัฒนา AI ในไทยก็มีบริษัทพัฒนา AI อยู่นับร้อยแห่งและทำงานได้ค่อนข้างดี เห็นได้ว่าเรามี AI โมเดลภาษาไทยแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะถ้าเราพึ่งพาข้อมูลและอัลกอริทึมของต่างประเทศอย่างเดียว ก็จะทำให้เกิดความลำเอียง (bias)หรือความลำเอียง

คุณรณพงษ์กล่าวว่า ในแง่ของความรู้และการใช้งาน AI ประเทศไทยน่าจะติดอันดับ Top 20 ของโลก แต่ประเด็นสำคัญคือประเทศไทยยังทิศทางว่าจะสร้างจุดแข็งเรื่องเทคโนโลยีในด้านไหน ถ้าเพียงแค่พัฒนาเพื่อเอาไปใช้งานนั้นไม่ยาก แต่ถ้าจะพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ที่สร้างความแตกต่างจริง ๆ ต้องใช้ทั้งเงินทุน ความทุ่มเท เอาจริงเอาจังและระยะเวลานาน

บาทหลวงอนุชา ไชยเดช ผู้อำนวยการสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย กล่าวว่าจากวิดีทัศน์ที่เปิดก่อนเข้าสู่การเสวนา พบว่ามีคำสำคัญ 3 คำ คือ จิตวิญญาณ เพื่อนร่วมทุกข์และความหวัง ซึ่งทั้งสามอย่างนี้เป็นสิ่งที่ AI ไม่มี แต่ศาสนจักรก็เห็นประโยชน์ของ AI เมื่อเร็ว ๆ นี้สมเด็จพระสันตะปาปาก็ทรงแนะนำว่าบรรดาผู้นำศาสนาต้องเห็นความสำคัญของ AI และหาทางใช้มันในทางที่ดี 

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงลงนามเอกสารเรื่อง “ความเก่าและความใหม่” ซึ่งนี่เนื้อหาเกี่ยวกับ AIเช่น AI คืออะไร และ AI ในมิติต่าง ๆ เช่น AI กับความสัมพันธ์ของมนุษย์เศรษฐกิจ การรักษาพยาบาล การศึกษา ข่าวลวงและเนื้อหาอันเป็นเท็จ การปกป้องสภาพแวดล้อมสวัสดิการ รวมทั้ง AI กับความสัมพันธ์กับพระเจ้าโดยสรุป เอกสารฉบับนี้ย้ำว่าเราสามารถใช้ AI ได้ แต่ต้องเข้าใจบริบทและยังคงต้องมีการพัฒนาต่อไป เอกสารที่พระสันตะปาปาทรงลงนามนี้ ร่วมจัดทำขึ้นอย่างรอบคอบโดยแผนกที่ดูแลด้านความเชื่อและแผนกที่ดูแลด้านการศึกษาและวัฒนธรรม

ในฐานะคนที่ทำงานด้านศาสนา บาทหลวงอนุชาจึงให้ความสนใจกับคุณธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้นจึงพยายามใช้ AI เพื่อส่งเสริมคุณธรรมและสร้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แนะนำการใช้ AI ในด้านจริยศาสตร์ คือทำอย่างไรให้คนใช้ AI แล้วเป็นคนที่ดีขึ้น

ศาสนาคริสต์มีศัพท์ใหม่คือ “ดิจิทัลมิชชันนารี” หมายถึงการเผยแผ่ธรรมสมัยใหม่ผ่านสื่อดิจิทัลโดยที่มิชชันนารีไม่ต้องเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ แต่เผยแผ่เรื่องราวที่ดีงามและมีคุณค่าผ่านโซเชียลมีเดียในรูปแบบที่น่าสนใจเพื่อให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ รวมถึงการสนับสนุนให้คาทอลิกทุกคนเป็น “อินฟลูเอนเซอร์” ที่บอกเล่าสิ่งดี ๆ ทางโซเชียลมีเดีย อินฟลูเอนเซอร์ทางศาสนาอาจจะไม่มียอดรับชมหรือผู้ติดตามมากมาย แต่สิ่งสำคัญต้องมีความน่าเชื่อถือ

นอกจากนี้พระสันตะปาปายังทรงออกสาส์นเนื่องในวันสื่อมวลชนในหัวข้อ “Share with Gentleness” คือเมื่อเราจะส่งต่อเนื้อหาใด ๆ ให้แชร์ด้วยจิตใจที่สุภาพอ่อนโยน และมีความหวังในหัวใจของเรา

ศาสนาคริสต์มีคำว่า wisdom แปลว่าปรีชาญาณ ซึ่งไม่ใช่ปัญญาความรู้ (knowledge/ intellectual) ปรีชาญาณคือความรู้ที่พาเราไปสู่สรวงสวรรค์และชีวิตนิรันดร ผู้ที่มีปรีชาญาณย่อมใช้ชีวิตได้อย่างดี เข้าใจ มีความสุข รู้จักใช้ AI เพื่อเข้าใจความจริงและไม่ปล่อยให้เทคโนโลยีมาลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเรา

คุณสุวิตา จรัญวงศ์ CEO และผู้ร่วมก่อตั้งTellscore แนะนำ Tellscore ว่าเป็นบริษัทด้านการตลาดที่ถ่ายทอดเรื่องราว (storytelling) เกี่ยวกับสินค้าต่าง ๆ ผ่าน content creator ซึ่งปัจจุบันมี content creator คนไทยที่เป็นเครือข่ายอยู่ประมาณ 8 หมื่นคน ซึ่งแนวทางการนำเสนอของบริษัทจะให้ความสำคัญกับเรื่องจริยธรรมในการนำเสนอ ไม่ปลุกปั่น ไม่ใช้เนื้อหาที่มีความรุนแรง ไม่หยาบคาย สุภาพ และนำเสนอเนื้อหาอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายวงการอินฟลูเอนเซอร์ ทั้งยังต้องเผชิญกับเนื้อหาที่สร้างโดย AI ซึ่งบางครั้งก็ยากที่จะแยกแยะว่าเป็นคนจริงหรือเป็น AI

“ในฐานะคนที่บอกต่อเรื่องราว เราต้องให้ความสำคัญในการผลิตเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สร้างคอนเทนต์น้ำดี ที่ให้ความหวัง เพราะตอนนี้เราเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจไม่ดี มีปัญหารอบตัว…เทคโนโลยี AI อาจจะพาเราไปสุขหรือทุกข์ก็ได้” 

คุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งสำนักข่าว The Reporters ร่วมเสวนาผ่านทางวิดีโดคอลเนื่องจากลงพื้นที่ทำข่าวอยู่ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก เธอกล่าวว่าเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียช่วยให้สื่อมวลชนทำงานง่ายขึ้น เช่น สัมภาษณ์ออนไลน์ สื่อสารกับคนในพื้นที่ทำให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน รายงานข่าวได้แม่นยำและเหมือนรายงานอยู่ในสถานที่จริง สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นประโยชน์ของเทคโนโลยี

สำหรับบทบาทของ AI นั้น ในฐานะที่เป็นนักข่าวมองว่านำมาใช้ประโยชน์ได้ในบางกรณี เช่น การผลิตอินโฟกราฟิก หรือการอธิบายข้อมูลที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน แต่โดยส่วนตัวแล้ว คุณฐปณีย์บอกว่า “แทบไม่ได้ใช้ AI” ในกระบวนการทำข่าว เพราะนักข่าวต้องเป็นคนไปหาข่าว ไปทำข่าวจากสถานที่จริง สัมภาษณ์จริง

“เรายังต้องลงพื้นที่จริง ลงมาหาข่าวจริง มาเฝ้าที่ชายแดนเอง ข้ามไปเมียวดีเอง เพราะว่าการที่เราเป็นนักข่าว เราต้องไปเห็นด้วยตา ไปถ่ายภาพ ไปรายงานสิ่งที่เราเห็น สัมภาษณ์ผู้เสียหายสัมภาษณ์เหยื่อด้วยตัวเอง…มันคือความน่าเชื่อถือ คนที่ติดตามข่าวเราก็จะเชื่อถือว่าเราทำข่าวจริง เราไม่ได้ปั้นแต่งขึ้นหรือใช้เทคโนโลยี”

“ต่อให้ใช้ผู้ประกาศข่าว AI มาอ่านข่าว แต่ถามว่าคนดูจะเชื่อใคร เชื่อ AI ที่อ่านข่าวในสตูดิโอหรือเชื่อฐปนีย์ที่ยืนอยู่ริมน้ำเมย ในเมืองชเวกกโกหรือเคเคปาร์คที่เป็นเมืองสแกมเมอร์ คนจะเชื่อฐปนีย์ที่ยืนคุยอยู่กับเหยื่อการค้ามนุษย์” คุณฐปนีย์ตั้งคำถาม 

แม้จะไม่ได้ใช้ AI ในงานข่าวมากนัก แต่คุณฐปณีย์บอกว่านักข่าวต้องศึกษาและเข้าใจ AI ให้มาก เพราะข่าวที่เกิดขึ้นทุกวันนี้มักเกี่ยวข้องกับ AI อย่างเช่นกรณีแกงค์คอลเซ็นเตอร์หรือมิจฉาชีพที่หลอกลวงทางออนไลน์ที่ใช้ AI ในการดัดแปลงเสียง ดัดแปลงใบหน้า และใช้มัลแวร์เพื่อหลอกลวงคนอื่น

​เธอเรียกร้องให้สังคมเห็นคุณค่าของคนที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้สื่อข่าว ช่างภาพ ผู้ช่วยช่างภาพและทีมงานเบื้องหลังทุกคนที่ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเป็นจริง 

​หลังจากผู้ร่วมเสวนาทุกท่านพูดจบในรอบแรก มีคำถามจากผู้ฟังว่า ทำอย่างไรไม่ให้ AI เข้ามาแย่งงานมนุษย์?

ณรณพงศ์ ตอบว่าขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของคนนำเทคโนโลยีไปใช้ AI เป็นเพียงเครื่องมือที่สามารถช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ดีขึ้นเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง AI และมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่เรียกว่า AI & Human Collaboration หรือพัฒนาระบบ hybrid systemคือให้ AI ทำงานบางอย่างเช่น ติดต่อนัดหมาย แจ้งซ่อม ปิดการขาย แต่ถ้าลูกค้าต้องการคุยกับพนักงานก็ต้องเข้ามาตอบทันที

“ปฏิเสธไม่ได้ว่างานบางอย่างจะถูกแทนที่ด้วย AI  AI ไม่ได้แทนที่คน แต่แทนที่งาน เพราะฉะนั้นคนต้องพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ต้องทำอะไรที่สร้างคุณค่า โดยเฉพาะเรื่องที่ดีต่อจิตใจและจิตวิญญาณ”

คุณสุวิตากล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการ ได้สัมผัสความกังวลของพนักงานว่าจะถูก AI มาแทนที่ แต่ Tellscore ให้ความสำคัญกับพนักงาน เช่น ตำแหน่งโปรแกรมเมอร์มีการปรับjob description ให้เป็นผู้ควบคุมและตรวจสอบการทำงานที่ใช้ AI เพราะ AI อาจมีความลำเอียง (bias) ส่วนตำแหน่งอื่นเช่นพนักงานขาย AI ทำงาแทนได้ยากเพราะต้องสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า  

​คุณสุภิญญาปิดท้ายวงเสวนาด้วยประเด็นคำถามว่า ปัจเจกบุคคลและสังคมจะรับมือกับความจริงความลวงในโลกที่เทคโนโลยีไปไกลแบบนี้ได้อย่างไร ซึ่งวิทยากรผู้เข้าร่วมเสวนาให้ความเห็นตามลำดับ ดังนี้

คุณรณพงศ์ กล่าวว่ามนุษย์จะต้องพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญที่ลึกกว่า AI เพื่อที่จะสามารถตรวจสอบได้ว่า AI ทำงานนั้นถูกหรือผิดอย่างไร ส่วนเรื่องการแยกแยะความเท็จ-ความจริงในยุค AI นั้น เราทุกคนจะต้องมีวิจารณญาณการรู้เท่าทัน ฝึกตั้งคำถามว่าเนื้อหานั้นมันจริงหรือไม่ หาความจริงร่วมเพราะแต่ละเรื่องมีหลายมุมมอง เราต้องหาข้อมูลประกอบให้เยอะที่สุดแล้วก็มาตัดสินด้วยวิจารณญาณของตัวเอง อย่าเพิ่งเชื่ออะไรง่าย ๆ

คุณรณพงศ์ฝากประเด็นให้คิดในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ AI ที่คาดว่าจะซับซ้อนลึกซึ้งขึ้นแต่ขณะนี้ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่เป็นไปได้สูงว่ามนุษย์จะต้องกลับมาหาที่พึ่งทางจิตใจมากขึ้น ซึ่งเป็นโจทย์เรื่องสุขภาวะ ความสงบสุขในจิตใจเพราะผู้คนอาจจะเหนื่อยหนักกับการใช้เทคโนโลยี เมื่อถึงตอนนั้น AI จะช่วยให้เรามีสันติภาพทั้งภายในและสร้างสันติภาพโลกได้หรือไม่ อย่างไร

เมื่อ AI ถูกสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์ เพราะฉะนั้นมนุษย์จะต้องมีมนุษยธรรมก่อนถึงจะสร้าง AI ที่มีมนุษยธรรมหรือจริยธรรม หรือเลียนแบบความดีได้ ทุกอย่างอยู่ที่วัตถุประสงค์ในการใช้งานและจุดมุ่งหมายของคนสร้าง AI ซึ่งถ้ามีการนำไปใช้ผิดทาง ก็เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยคือการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และมนุษยธรรมในใจของผู้คนให้ได้ก่อน

บาทหลวงอนุชา แนะนำให้ทุกคนรับข้อมูลข่าวสารด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ และใช่หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วเราไปให้ค่าให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเอง เช่น เวลาสมาชิกในครอบครัวกินอาหารด้วยกัน ทุกคนก็หยิบสมาร์ตโฟนหรือไอแพดมาดู ทำให้ไม่ได้พูดคุยกัน ความสัมพันธ์ในครอบครัวจึงหายไป

บาทหลวงอนุชาตั้งข้อสังเกตว่าจริง ๆ แล้วในปัจจุบันนี้ คนที่เข้าถึง AI อาจจะเป็นคนในเมืองเป็นส่วนใหญ่ แต่โลกใบนี้ยังมีผู้คนอีกหลายกลุ่ม ทั้งที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล หรือคนกลุ่มน้อยที่เข้าไม่ถึงข้อมูล คนที่ถูกกีดกัน ดังนั้นจึงไม่ควรมองแต่เฉพาะเรื่อง AI แต่ควรมองทุกเรื่องที่ทำลายศักดิ์ศรีของมนุษย์ และปกป้องช่วยเหลือคนที่อ่อนแอ

เพราะฉะนั้นใด ๆ ก็ตามครับที่มันเกิดขึ้นบนโลกใบนี้จะให้มันทำลายศักดิ์ศรีของมนุษย์ ต้องช่วยส่งเสริมศักดิ์ศรี ต้องดึงคนที่เขาอ่อนแอขึ้นมาเพราะมนุษยชาติบนโลกใบเดียวกันต้องดูแลกัน

คุณสุวิตา ย้ำว่าหากนำ AI มาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ก็ย่อมเป็นเรื่องดี ทั้งในเรื่องของการพัฒนาผลิตภาพหรือการนำ AI มาช่วยในการทำงานด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเชื่อมั่นว่าหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI ไม่ได้นิ่งดูดายถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งในอนาคตผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึง AI จะมีมากกว่านี้ เพราะขณะนี้ AI ส่วนหนึ่งยังให้ใช้งานได้ฟรีหรือราคาไม่แพง แต่ถ้าวันหนึ่งที่บริษัทพัฒนา AI เหล่านี้คิดค่าบริการในราคาแพง โลกเราจะเกิดความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในประวัติการณ์ ระหว่างคนที่เข้าถึง AI กับคนที่เข้าไม่ถึง ซึ่งเป็นประเด็นที่ฝากไว้ให้คิด

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยกล่าวเป็นคนสุดท้ายโดยเล่าประสบการณ์ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทที่พัฒนา AI เพื่อมาทำงานแทนนักบัญชีและการบริหารจัดการเอกสารบัญชีก่อนเข้าระบบบัญชี

ดร.พณชิตตอบคำถามผู้ฟังก่อนหน้านี้ว่า “AI ทดแทนการทำงานของคนได้และทดแทนได้เยอะด้วย” แต่อย่างไรก็ตาม AI คือสถิติ ไม่ใช่ความฉลาด ข้อมูลทุกอย่างที่ AI บอกมาล้วนมาจากการสถิติ ซึ่งไม่มีอะไรแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่สมบูรณ์แบบ

“ผมพูดได้ว่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของคนที่ทำงาน จะต้องเปลี่ยนไปทำงานอื่น นี่คือความจริงที่ AI ส่งผลอยู่ในปัจจุบัน”

ดร.พณชิตกล่าวว่า เขาศึกษาและทำงานด้าน AI มาเป็นเวลานาน ในช่วงแรก ๆ มีตำราเรียนที่ตั้งคำถามว่านักพัฒนา AI กำลังสร้างสัตว์ประหลาดกันอยู่หรือเปล่า ซึ่งเป็นคำถามที่น่าขบคิดแม้ว่าในเวลานั้น AI จะยังไม่มีพลังมากเท่านี้

เขายอมรับว่าเทคโนโลยี AI “มาไวกว่าที่คิด” และจากการทำวิจัยเรื่องอนาคตของ AI เขาคาดการณ์ในปี 2030 AI จะเก่งเท่ามนุษย์ และมนุษย์จะต้องทำงานร่วมกับ AI แต่ถึงอย่างนั้นมนุษย์ก็จะต้องใช้ชุดทักษะ (skill set) บางอย่างในการทำงานที่ AI ไม่มี เช่น ความคิดและความรู้ ซึ่งความคิดเป็นเสมือนเครื่องมือในการปรุงความรู้ออกมาซึ่งแต่ละคนย่อมปรุงออกมาได้ไม่เหมือนกัน อีกอย่างหนึ่งที่ AI ไม่มีเหมือนมนุษย์คือทักษระในการดูแลจิตใจหรือความเห็นอกเห็นใจต่อกัน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่มนุษย์พึงมีต่อกัน และมนุษย์ควรจะมีเพื่อดูแลตัวเอง

“ในฐานะคนที่ทำ AI อยากจะฝากไว้ว่า AI มันทำให้คุณได้ทุกอย่างแหละครับ  มันเป็นเครื่องมือที่คุณใช้ในการค้นคว้าข้อมูลหรือขอความคิดเห็น แต่คนที่จะดูแลจิตใจและชีวิตของคุณได้คือตัวคุณเอง…ไม่ว่า AI จะพัฒนาไปไกลถึงไหน มันก็เป็นเครื่องมือหนึ่ง และมันจะสร้างความท้าทายในเรื่องของการดูแลจิตใจมากขึ้น”

********************

ขอบคุณรูปจาก จากงานประชุมวิชาการสุขภาวะทางปัญญา’ 68  #SoulConnectFest2025 #Humanicec