บรรยากาศงานวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 (International Fact-Checking Day 2025)สงครามข้อมูล 2025: โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

กิจกรรม

The Battle for Truth: Reclaiming Information Integrity in the Age of Distrust

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 10.00 –18.00 น. 

ณ ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แยกปทุมวัน กทม.

ในสถานการณ์ที่ข้อมูลข่าวสารมากมายหลั่งไหลในยุคปัญญาประดิษฐ์ ภาคประชาชนและภาคสื่อมวลชนจะมีวิธีการอย่างไร เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง และรับมือกับข้อมูลบิดเบือน ฟังคำแนะนำจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ

📌 ชมย้อนหลังงานวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 ได้ที่เพจ Facebook CoFact

ช่วงที่ 1 https://www.facebook.com/share/v/1AtUj4kkjC/?mibextid=wwXIfr

ช่วงที่ 2 https://www.facebook.com/share/v/1A6XQwNoYB/?mibextid=wwXIfr

หรือ เฟซบุ๊กไทยพีบีเอส: 

• งานช่วงที่ 1: www.facebook.com/share/v/1Mt16EcyuG/

• งานช่วงที่ 2: www.facebook.com/share/v/12JcQCVcsFM/

#FactCheck #factchecking #Cofact #วันตรวจสอบข่าวลวงโลก2568 #InternationalFactCheckingDay2025 #FactFreeFair


บรรยากาศลงทะเบียนเข้าร่วมงาน

พิธีเปิดงาน

เริ่มเปิดงานด้วยการแสดงดนตรีพิณแก้ว โดย วีระพงศ์ ทวีศักดิ์ : นักดนตรีพิณแก้วคนแรกของประเทศไทยและเอเชีย

รศดร.ปรีดา อัครจันทโชติคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับ

เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดงาน

เปิดประเด็นและแนะนำองค์ปาฐกโดย วาเนสซ่า สไตน์เม็ทซ์ ผู้อำนวยการโครงการประจำประเทศไทยและเวียดนามมูลนิธิฟรีดริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ

ปาฐกถาพิเศษ ‘สงครามข้อมูล: การทวงคืนความเชื่อมั่นสื่อในยุควิกฤตศรัทธา’ โดย แดเนียล ฟุงค์ หัวหน้าฝ่ายสืบสวนดิจิทัลสำหรับเอเชียแปซิฟิก สำนักข่าว AFP ฮ่องกง

การประกาศความร่วมมือ ‘มอบรางวัลเพื่อส่งเสริมการตรวจสอบข้อมูลของสื่อ’      (Best Fact-Check and Digital Verification Award 2025)

กิจกรรม “โยคะ“ โดย เพชรี พรหมช่วย ครูสอนโยคะ

ช่วงเวทีเสวนาเรื่อง ‘สงครามข้อมูล 2025: สื่อจะช่วยสังคมเข้าถึงข้อเท็จจริงได้

Lightning Talks ‘ยกระดับ รับมือ ข้อมูลบิดเบือน 4.0’ โดย ภาคี Fact Checkers 

ช่วงนำเสนอ พัฒนาการจากยุคโทรเลขถึงยุคเอไอ รับมืออย่างไรให้เท่าทัน โดย วิจิตรา สุริยกุล  อยุธยา ผู้อำนวยการกองวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม  สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

เปิดตัว แคมเปญบริจาคข้อมูลลวงกับโคแฟค โดย ทีมโคแฟคครีเอเตอร์  และมูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ และ Scamtify

เดินแบบรณรงค์ Fact – Free – Fair โดย ภาคีเครือข่าย

พูดพร่ำฮัมเพลง ‘ตามหาความจริง โดย ศุ บุญเลี้ยง

สรุปงานและประกาศเจตนารมณ์ก้าวต่อไป โดย สุภิญญา กลางณรงค์และภาคี 

เซิ้งโคแฟค โดย พิชิตชัย สีจุลลาและหมอลำโคแฟค


ปี 67 คนไทยถูกมิจฉาชีพโทรศัพท์ สถิติพุ่งสูงสุดในรอบ 5 ปี สสส.-โคแฟค-ภาคีเครือข่าย 20 องค์กร เปิดเวทีสัมมนา “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก ปี 68” เดินหน้ายกระดับทักษะตรวจสอบข้อมูล-เพิ่มภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันสื่อ ชวนใช้แพลตฟอร์ม“Cofact” ร่วมสร้างพื้นที่สื่อออนไลน์ปลอดภัย-สังคมสุขภาวะดี

กิจกรรม

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 2 เม.ย. 2568 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับโคแฟค (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย 20 องค์กร จัดงาน “สัมมนาระดับชาติเนื่องในโอกาสวันตรวจสอบข่าวลวงโลก ปี2568 (International Fact-Checking Day 2025) ภายใต้หัวข้อ “สงครามข้อมูล 2025 : โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น (The Battle for Truth: Reclaiming Information Integrity in the Age of Distrust)” เนื่องจากเครือข่ายองค์กรตรวจสอบข่าวสากล กำหนดให้วันที่ 2 เม.ย. ของทุกปีเป็น “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” เพื่อติดอาวุธให้ประชาชนมีความรู้ พร้อมรับมือกับความท้าทายในยุคที่สถานการณ์ข่าวลวงและข่าวปลอมรุนแรงมากขึ้น

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า  ปัจจุบันข่าวลวง และข้อมูลที่บิดเบือน สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและไร้พรมแดน จากรายงานความเสี่ยงระดับโลกประจำปี 2567 โดยเว็บไซต์www.weforum.org เผยว่า ในอีก 2 ปี ข้างหน้า ข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือน จะเป็นสาเหตุความเสี่ยงอันดับ 1 ของโลก ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง สังคม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจ ในไทยปีที่ผ่านมา ฮูสคอลล์ (Whoscall) แพลตฟอร์มระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักและป้องกันสแปม ได้รายงานว่า ปี 2567 คนไทยถูกหลอกลวงจากการโทรศัพท์ 38 ล้านสาย เพิ่มขึ้นจากปี 2566 สูงถึง 85% และถูกส่ง SMS หลอกลวง 130 ล้านข้อความ เพิ่มขึ้นจากปี 2566 สูงถึง 123% เป็นสถิติที่สูงสุดในรอบ 5 ปี ในช่วงเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อไทย ในโลกออนไลน์ได้มีการแชร์ข่าวปลอมจำนวนมาก มิจฉาชีพอาศัยสถานการณ์ดังกล่าว ส่งลิงก์ผ่าน SMS และโพสต์ลิงก์ข่าวปลอม ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในทรัพย์สินและข้อมูลส่วนตัว

สสส. ร่วมกับโคแฟค (ประเทศไทย)และภาคีเครือข่าย จัดงานสัมมนาระดับชาติฯ ส่งเสริมให้ประชาชนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ การตรวจสอบข้อมูล การรู้เท่าทันสื่อ และสนับสนุนให้เกิดกลไกเฝ้าระวังตรวจสอบสื่อและข้อมูลสุขภาพ เกิดเป็นวิถีปฏิบัติของสังคมในการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ สำหรับผลการดำเนินงานของ โคแฟค ประเทศไทย ที่ สสส. ร่วมผลักดันสนับสนุนให้ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงบนสื่อออนไลน์ ตั้งแต่ปี 2563-2568 ขณะนี้มีข้อมูลข่าวลวงและข่าวจริงที่อยู่ในฐานข้อมูลมากกว่า 10,000 เรื่อง นับเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่อันดับ 2 รองจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย มีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มเพื่อสืบค้นข้อมูลมากกว่า 500,000 ครั้ง สะท้อนความสำเร็จในการร่วมมือกันของหน่วยงานทุกภาคส่วน ที่ร่วมกันสร้างสังคมแห่งความจริง ช่วยให้ประชาชนสามารถแยกแยะข้อมูลที่ถูกต้องจากข้อมูลที่บิดเบือน และมีภูมิคุ้มกันต่อภัยร้ายของข่าวลวง รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว

รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าเสรีภาพในการแสดงออก ต้องเดินไปพร้อมกับความรับผิดชอบ และข้อมูลที่ถูกต้อง คือรากฐานที่เข้มแข็งของสังคม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าสานพลังร่วมกับ สสส. โคแฟค ประเทศไทย และภาคีเครือข่าย มุ่งขับเคลื่อนหลักการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-checking) เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางข้อมูลให้ประชาชน ร่วมสร้างพื้นที่สื่อสารที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ เปิดรับความหลากหลาย ชวนคิด ถกเถียงอย่างมีเหตุผล และพัฒนาให้กลายเป็นพลังของการสื่อสารที่สร้างสรรค์และรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน 

Screenshot

..สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย) กล่าวว่า ผลสำรวจสถานการณ์การหลอกลวงทางออนไลน์ในประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พบว่ามีประชาชนถูกหลอกลวงทางออนไลน์และแจ้งความผ่านระบบออนไลน์กว่า 400,000 ราย เกิดมูลค่าความเสียหายสูงถึง 60,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ปีนี้        โคแฟค (ประเทศไทย) ร่วมกับ สสส. เดินหน้ายกระดับการรับมือข้อมูลลวงผ่านการทำงานร่วมกับองค์กรสื่อมวลชน 11 แห่ง มุ่งทำงานเชิงรุก เช่น การจัดทำแคมเปญ “บริจาคข่าวลวง” เพื่อนำมาวิเคราะห์ตรวจสอบข้อเท็จจริง และเผยแพร่ให้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องในวงกว้าง การส่งเสริมรางวัลให้กับองค์กรสื่อ นักข่าว อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ที่ร่วมเฝ้าระวังตรวจสอบสื่อและข้อมูลสุขภาพ เชื่อว่าทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่มีคุณภาพและสามารถรับมือกับข่าวลวงได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

“ในงานจัดงานสัมมนาระดับชาติฯ มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น การเสวนาเรื่อง ‘สงครามข้อมูล 2025 : สื่อจะช่วยสังคมเข้าถึงข้อเท็จจริงได้อย่างไร จากคนในวงการสื่อมวลชนระดับแถวหน้า วงเสวนา  Lightning Talks ‘ยกระดับ รับมือ ข้อมูลบิดเบือน 4.0’ โดยเหล่า fact-checkers เช่น โคแฟคไต้หวัน, สำนักข่าว AFP, ไทยพีบีเอส และชัวร์ก่อนแชร์ อสมท.นำเสนอพัฒนาการจากยุคโทรเลขถึงยุคเอไอ รับมืออย่างไรให้เท่าทัน โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)  นอกจากนี้ ยังมีไฮไลท์พิเศษ มินิคอนเสิร์ต “พูดพร่ำฮัมเพลง ตามหาความจริง” กับศิลปินชื่อดังศุ บุญเลี้ยง (จุ้ย) และวงทะโมน โดยทีมเยาวชนจากบุรีรัมย์อีกด้วย ทั้ง ขอชวนประชาชนทุกคนตรวจสอบข่าวให้แน่ใจก่อนแชร์ ป้องกันการถูกหลอกลวง สามารถเข้าใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่เว็บไซต์ cofact.org หรือ Line OA : @Cofact” น.ส.สุภิญญา กล่าว


‘วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568’ ภาคีเครือข่ายย้ำ‘ตรวจสอบข้อเท็จจริง’เรื่องของทุกคน

กิจกรรม

2 เม.ย. 2568 Cofact (ประเทศไทย) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

มูลนิธิฟรีดริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ  Change Fusion The Centre for Humanitarian Dialogue (HD) สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาองค์กรของผู้บริโภคสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย Thai PBS

AFP ประเทศไทย  สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP)  ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท  กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จัดงาน วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 (International Fact-Checking Day 2025) สงครามข้อมูล 2025: โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น The Battle for Truth: Reclaiming Information Integrity in the Age of Distrust” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครพร้อมถ่ายทอดสดทางเพจ Thai PBS และ Cofact โคแฟค 

รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยข้อมูลและคำถามต่างๆ มากมาย ไม่ใช่เพียงอะไรคือความจริง แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เชื่อหรือสิ่งที่ส่งต่อนั้นเป็นความจริง และใครมีอำนาจบอกได้ว่าอะไรจริงหรือเท็จ ซึ่งในยุคปัจจุบันที่ทุกคนเป็นทั้งผู้ส่งและรับสาร ความสามารถในการกลั่นกรองจึงไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นทักษะที่จำเป็นในการอยู่รอดของประชาธิปไตย สติปัญญาและสุขภาพจิตของสังคม 

“ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 ที่ผ่านมา เราจะเห็นว่ามีการส่งต่อข้อมูลผิดไม่ว่าจะเป็นเรื่องจุดศูนย์กลาง ความรุนแรงหรือผลกระทบของแผ่นดินไหว จนสร้างความตื่นตระหนกโดยไม่จำเป็น หรือแม้แต่ในช่วงอภิปรายไม่ไว้วางใจทางการเมืองที่ผ่านมาก็จะมีข้อเท็จจริงบางอย่างถูกตัดทอน บิดเบือนหรือแม้แต่ถูกปลอมแปลง จนกลายเป็นเครื่องมือชี้นำความคิดเห็นต่อสาธารณะ ทั้ง 2 กรณีนี้สะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลที่ผิดพลาดจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจ ต่อความมั่นคงทางอารมณ์ แม้แต่ความปลอดภัยของสาธารณชนได้โดยตรง” รศ.ดร.ปรีดา กล่าว

เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่นานนี้ การตรวจสอบข่าวและมีคนที่ถือโอกาสเสนอสิ่งต่างๆ การสื่อสารผ่านช่องทางที่เรากำลังอยากได้พอดี ทำให้เห็นว่าระบบข้อมูลสำคัญมาก ซึ่งไม่ใช่เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจหรือภาคใดๆ แต่ต้องทำงานร่วมกัน อย่างเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 มีการสื่อสารเกิดขึ้นมากแบบท่วมท้น อีกทั้งเห็นความแตกต่าง

ด้วย สสส. มีความมุ่งมั่นพัฒนาระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ การสร้างปัจจัยสิ่งแวดล้อม โคแฟคเป็นหนึ่งในนั้น เราจะทำอย่างไร เราไม่สามารถบอกว่าออกกฎหมาย 1 ฉบับ ส่งอันนี้ให้คนนี้มาทำงาน เราจะไมสามารถเกิดอันนั้นเลยถ้าเรายังไม่เห็นความสำคัญว่าสิ่งอะไรที่กำลังจะตามมา ทาง World Economic Forum บอกว่าข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือนยังเป็นสาเหตุสำคัญอันดับ 1 ติดต่อกันมาแล้ว 2 ปี แปลว่าเราก็ยังไม่สามารถแก้ไขเรื่องนี้ได้เบญจมาภรณ์ กล่าว

วาเนสซ่า สไตน์เม็ทซ์ ผู้อำนวยการโครงการประจำประเทศไทยและเวียดนาม มูลนิธิฟรีดริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ หนึ่งในองค์กรร่วมจัดงานครั้งนี้ แนะนำมูลนิธิฯ ว่า อยู่ภายใต้การสนับสนุนของภาคการเมืองฝ่ายเสรีนิยมในเยอรมนี โดยนอกจากการสนับสนุนงานตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูล (Fact Checking) แล้วยังส่งเสริมการเป็นประชาธิปไตย โดยทำงานใน 60 ประเทศทั่วโลก

แดเนียล ฟังเก้ หัวหน้าฝ่ายสืบสวนดิจิทัลสำหรับเอเชียแปซิฟิก สำนักข่าว AFP ฮ่องกง ปาฐกถาหัวข้อ สงครามข้อมูล: การทวงคืนความเชื่อมั่นสื่อในยุควิกฤตศรัทธา” กล่าวว่า AFP เป็นสำนักข่าวที่มีพนักงานตำแหน่งนักตรวจสอบข้อเท็จจริงอยู่ 150 คน ใน 26 ภาษาทั่วโลก รวมถึงส่งผู้สื่อข่าวไปทำข่าวในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลตั้งแต่เบื้องต้น ซึ่งยุคปัจจุบัน สงครามข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่หลีกหนีไม่พ้น มีข่าวปลอมแพร่หลาย ความเชื่อมั่นก็ลดลงเพราะไม่รู้จะเชื่อข่าวด้านไหน ไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวที่สนับสนุนหรือเห็นต่างจากรัฐบาลก็ตาม

ข้อเท็จจริงยังสำคัญ ความรู้เท่าทันสื่อเป็นสิ่งจำเป็นและไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ทุกท่านสามารถมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือว่ารู้เท่าทันสื่อได้เช่นกัน และในส่วนของความเชื่อมั่น ไม่ว่าจะเป็นข่าวปลอมข่าวลวงต่างๆ ที่เกิดขึ้น แน่นอนความเชื่อมั่นอาจไม่สามารถกลับมาได้ในทันทีทันใด แต่ว่าถ้ามีกระบวนการทำซ้ำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มความโปร่งใสและการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของความเชื่อมั่นข้อมูลก็จะกลับมา แดเนียล กล่าว

เจฟฟ์ กัว ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โกโกลุก จำกัด (Whoscall) ปาฐกภาหัวข้อ ความท้าทายระดับโลกและสงครามข้อมูล: การปฏิวัติ AI เป็นโอกาสหรือความเสี่ยง?” กล่าวว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายไปในตัว ด้านหนึ่ง AI ช่วยสร้างนวัตกรรมแต่อีกด้านหนึ่งก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพ เช่น Deepfake ซึ่งมักจะใช้คู่กับการส่งข้อความ (SMS) แนบ Link มาด้วย

ในปี 2566 มีมูลค่าความเสียหายถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ตีเป็นเงินไทย 34 ล้านล้านบาท มากขนาดไหน? เงินบัญชีงบประมาณของรัฐบาลเราอยู่ที่ไม่เกิน 4 ล้านล้านบาทต่อปี โดยเฉลี่ย 1 ใน 4 คนไทยถูกหลอก มูลค่าความเสียหายต่อ 1 ท่าน เฉลี่ยอยู่ที่ 36,000 บาท ปัญหาหลักของประเด็นนี้คือความเชื่อมั่นทางดิจิทัลถูกบั่นทอน แน่นอนอยู่แล้วว่าเทคโนโลยีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในการใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิด (Misuse หรือ Abuse) ก็ส่งผลเสียตามมา เจฟฟ์ กล่าว    

ในงานนี้ยังมีประกาศความร่วมมือ มอบรางวัลเพื่อส่งเสริมการตรวจสอบข้อมูลของสื่อ (Best Fact-Check and Digital Verification Award 2025)จากหลากหลายองค์กร อาทิ สุภิญญา กลางณรงค์  ผู้ร่วมก่อตั้งภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) กล่าวว่า งานวันตรวจสอบข่าวลวงโลกซึ่งจัดขึ้นทุกปี ต้องขอบคุณภาคี เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิฟรีดริช เนามันกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และพันธมิตรอีกหลายองค์กร

ซึ่งจากการที่โคแฟคทำงานตรวจสอบข้อมูลข่าวสารมา 5 – 6 ปี ได้ข้อสรุปบทเรียนว่าแม้พยายามรณรงค์อย่างไรก็ตามให้คนรู้เท่าทันข้อมูล ซึ่งก็สำคัญและจำเป็น แต่ก็ไม่เพียงพอกับการรับมือสงครามข้อมูลข่าวสารที่ถาโถม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ การเมือง สังคม หรือล่าสุดคือ เรื่องภัยพิบัติที่ทุกคนก็รู้สึกว่าไม่รู้จะเชื่อใครได้ อย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 ที่ผ่านมา ที่ทุกคนมีประสบการณ์ตรงว่าเป็นแผ่นดินไหวแน่ๆ แต่ก็อยากได้รับการยืนยันจากใครสักคนหนึ่ง เป็น SMS สั้นๆ ก็ยังดี จากหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้มาบอกเรา 

จริงๆ แล้วไม่ใช่เราไม่รู้ว่าเกิดแผ่นดินไหว แต่ทำไมทุกคนเรียกร้อง? เพราะเราอยากได้รับการยืนยันว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริงแล้วเราจะต้องทำอย่างไรต่อไป ฉะนั้นในการรับมือกับสงครามข้อมูลข่าวสารคงไม่ใช่แค่เน้นให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อเท่านั้น แต่จะต้องยกระดับการแก้ปัญหาทั้งระบบ ไฮไลท์ของปีนี้จึงมีในส่วนของการประกาศความร่วมมือสุภิญญา กล่าว

อรพิน เหตระกูล เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์มีการประกวดข่าวออนไลน์ยอดเยี่ยมทุกปี โดยปีนี้เข้าสู่ปีที่ 11 แล้ว มีความร่วมมือกับทางโคแฟค ช่วยเพิ่มรางวัลในสาขา Best Fact Checking & Verification News (รางวัลยอดเยี่ยมด้านการตรวจสอบข่าวและยืนยันข้อเท็จจริง) เป็นการสร้างพื้นฐานการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารให้กับคนทำงานสื่อมวลชน และเป็นกำลังใจให้คนทำงาน 

การประกวดข่าวก็จะเริ่มขึ้นภายในปลายปีนี้ ก็จะได้เรียนเชิญสื่อมวลชนต่างๆ ส่งชิ้นงานเข้าประกวด แล้วก็เชื่อว่ารางวัลนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น เป็นพื้นฐานสำคัญของคนทำงานด้านสื่อมวลชน ให้มีพื้นฐานการทำงานที่เน้นย้ำในเรื่องของการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหลายองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับด้านข่าว เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าว  

ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนฯ เป็นองค์กรมหาชนซึ่งมีภารกิจในการส่งเสริมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อ ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ และเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัย – ไม่สร้างสรรค์ โดยกองทุนฯ ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วนสนับสนุนมาตรฐานการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในประเทศไทย

เราทำงานร่วมกับ AFP ในการจัดอบรมในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และมีหลักสูตรทั้งระดับต้นแล้วก็ระดับสูงจัดทำทุกปี เราร่วมกับโคแฟคในหลายๆ ภูมิภาคในการทำงาน รวมถึงสมาคมวิชาชีพ สภาวิชาชีพสื่อมวลชนต่างๆ ก็ต้องเรียนว่ากองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เราพร้อมที่จะเป็นพันธมิตรและร่วมผลักดันการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศไทยต่อไป ดร.ชำนาญ กล่าว

นิภาวรรณ แก้วรากมุกข์ รองประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติมีสมาชิกสื่อวิชาชีพครบทุกแพลตฟอร์มทั้งสิ่งพิมพ์ ออนไลน์และโทรทัศน์ และจำนวนสมาชิกยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยงานของสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติคือการกำกับดูแลกันเอง แต่ก็อยากเชิญชวนไปยังสื่อบุคคล อินฟลูเอนเซอร์ ให้มาเป็นแนวร่วมและใช้แนวปฏิบัติเดียวกัน 

จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สิ่งที่ตนพยายามเสนออยู่ทุกปีคือนักข่าวนอกจากทำหน้าที่ในสนามแล้วยังต้องตรวจสอบข้อมูลทางออนไลน์ด้วย อย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาก็มีหลายข่าวที่นักข่าวรีบช่วยสถานการณ์ในทันที โดยสมาคมนักข่าวฯ ยินดีที่จะได้ทำงานกับทุกเครือข่าย เพราะมีการอบรมตั้งแต่นักศึกษาที่เรียนด้านข่าว มีเครือข่ายนักวิชาการ ทำงานร่วมกับองค์กรสื่อ เช่น สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ หรือล่าสุดคือ Whoscall ที่พูดคุยกันเรื่องแก้ปัญหาข่าวปลอม

ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย กล่าวว่า งานข้อมูลนิธิฯ เน้นไปที่การปกป้องเด็กและเยาวชน รวมถึงผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง เป็นการทำงานในเชิงป้องกัน แต่เมื่อตกเป็นเหยื่อแล้วก็ยังถูกกระทำซ้ำด้วยข้อมูลปลอมต่างๆ ดังนั้นเรื่องนี้จึงมีความสำคัญตั้งแต่การป้องกัน (Prevention) การปกป้อง (Protection) การดำเนินคดี (Prosecution) และการส่งเสริม (Promotion)

ในแง่ของเราคือสนับสนุนเต็มที่ในเรื่องนี้ และเน้น Participation (การมีส่วนร่วม) ของทุกฝ่าย และอยากให้มีรางวัลแบบแยกไปเลยแบบบุคคล เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง เพราะจริงๆ แล้วเชื่อว่าการสื่อสารในแต่ละกลุ่มเป้าหมายน่าจะมีภาษา มีคาแร็คเตอร์อะไรต่างๆ ที่แตกต่างกัน และอีกอย่างที่เราอยากเน้นส่งเสริมคือบริษัทเทคโนโลยี ควรจะมีบทบาทอย่างมากเลยในการที่จะช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ เพราะเทคโนโลยีเข้ามาแล้วถูกนำไปใช้ในการหลอกลวงเยอะมาก ดร.ศรีดากล่าว

สถาพร อารักษ์วทนะ หัวหน้าฝ่ายสื่อสารสาธารณะและประชาสัมพันธ์ สภาผู้บริโภค กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่มีเครือข่ายพันธมิตรที่เติบโตและเข้มแข็งแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ เราเชื่อว่าเรื่องของข่าวลวงจะต้องค่อยๆ ลดน้อยลงหรืออาจเปลี่ยนรูปแบบไป เพราะในเครือข่ายของโคแฟคจะเข้มแข็งขึ้นตลอดเวลา ซึ่งสภาองค์กรของผู้บริโภคจะเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนงานด้านนี้อยู่แล้ว

จริงๆ ตาม พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค เราสามารถที่จะช่วยขยายและทำงานต่อจากโคแฟคได้อีก เพราะใน พ.ร.บ. ได้กำหนดไว้ว่า สภาผู้บริโภคสามารถที่จะบอกชื่อสินค้า บริการและผู้ประกอบการใดๆ ที่ส่งผลอันตรายหรือเข้าข่ายที่จะทำร้ายผู้บริโภค ถ้าท่านใดหรือสำนักข่าวใดไม่กล้าที่จะบอกชื่อผู้ประกอบการ ไม่กล้าที่จะบอกชื่อสินค้า ส่งผ่านมาทางสภาฯ ก็ได้ ช่วยกันบอกว่าอะไรที่ไม่ดีและอะไรที่เป็นข่าวลวง สถาพร กล่าว         

-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 5 เมษายน 2568

29 มีค.แผ่นดินไหวทะเลอันดามัน เวลา 17.08 น. ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตราทำให้เกิดคลื่นสึนามิ…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/20qumnbx6vy6wu


อีก 50 ปี รอยเลื่อนสะกายอาจขยับ เสี่ยงแผ่นดินไหวใหญ่ในไทย….จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2qx2de9ae9p2b


พบเครื่องบินรบ F5E เหนือน่านฟ้า จ.สุรินทร์ มุ่งหน้าไปทางกัมพูชา….จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1uj6shqp9qlj2


หอเตือนภัยสึนามิ จ.ภูเก็ต หายสาบสูญ….จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/23k99gjt2l9s0


  31 มีค. สั่งอพยพคนออกจากอาคาร A ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/1puaug5g5eexr


 กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นชั้นดินอ่อน เมื่อเกิดแผ่นดินไหว จึงมีแรงสั่นสะเทือนมาก

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/1xv3o7zggfj3n


 ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยจากเหตุแผ่นดินไหว

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/1r6fatzrueted


 แจ้งเบาะแสบุหรี่ไฟฟ้าผ่านแอปทางรัฐ

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/2yfvf3e5zagv1


 แผ่นดินไหวเวียดนาม 4 ครั้งซ้อน! ไทยเฝ้าระวังแรงสั่นสะเทือน 4 เมย.68

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/38usxfbs8sms8


  16 กลุ่มรอยเลื่อนมีพลัง พาดผ่าน 23 จังหวัดในประเทศไทย

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/34pqc4fgsnysc


 กรมบัญชีกลาง ขยายวงเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/zc9sbdkoue6y


31 มีค. เกิดแผ่นดินไหวอีกระลอก ผู้คนอพยพออกจากตึกสูงหลายแห่งใน กทม….จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/g0vzrnrbums8


Live fact-check: อัพเดทรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงหลังเหตุแผ่นดินไหว 28 มี.ค.2568

โคแฟครวบรวมและอัพเดทรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงเนื้อหาที่มีการเผยแพร่ในโลกออนไลน์หลังเหตุการณ์ แผ่นดินไหว ที่ประเทศเมียนมาและส่งผลกระทบถึงประเทศไทยเมื่อเวลา 13.20 น. วันที่ 28 มีนาคม 2568 โดยกองบรรณาธิการโคแฟคและภาคีเครือข่าย

วันที่ 7 เมษายน 2568

เนื้อหาที่ตรวจสอบ: คลังสินค้าเครื่องเสียง Marshall เสียหายจากแผ่นดินไหว สินค้าลดราคา 80%

เนื้อหาโดยสรุป: เพจเฟซบุ๊ก “อีซ้อขยี้ข่าว: อีซ้อ” โพสต์ข้อความว่าคลังสินค้าหลักของเครื่องเสียง Marshall ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว พังทลายลงบางส่วน จึงต้องย้ายสินค้าเพื่อความปลอดภัยและ “เพื่อระบายสต๊อกก่อนที่จะย้ายคลังสินค้า Marshall จึงตัดสินใจลดราคาสินค้าในกลุ่มลำโพงและหูฟังจำนวน 1,000 ชิ้น…” พร้อมกับโพสต์ลิงก์สำหรับสั่งซื้อสินค้าและภาพอาคารที่พังเสียหาย มีป้ายชื่อเขียนว่า Marshall โพสต์นี้เผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2568 และยังคงเข้าถึงได้วันนี้ (7 เมษายน 2568)

ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง: **เนื้อหาเท็จ** โคแฟคสอบถามไปทางเพจเฟซบุ๊กของ ASH Asia Thailand บริษัทผู้นำเข้าลำโพงเเละหูฟัง Marshall ได้รับคำยืนยันว่าคลังสินค้าของบริษัทไม่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวและได้ตรวจสอบโพสต์ดังกล่าวแล้วพบว่าไม่ใช่โปรโมชันจริงจากบริษัทหรือร้านค้าทางการ พร้อมกับให้ข้อมูลว่าบริษัทไม่มีการขายสินค้าทางเฟซบุ๊ก

ก่อนหน้านี้บริษัท ASH Asia Thailand ได้แจ้งประชาชนว่ามีผู้ไม่หวังดีได้ทำเพจปลอมขึ้นมาโดยอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้า พร้อมกับย้ำช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ช่องทางผู้จัดจำหน่ายและคู่ค้าพันธมิตร รวมถึงร้านค้าออนไลน์อย่างเป็นทางการตามรายละเอียดในโพสต์นี้

โคแฟคตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเฟซบุ๊ก “อีซ้อขยี้ข่าว: อีซ้อ” พบว่ามีผู้ติดตามเพียง 29 ราย ข้อมูลเกี่ยวกับเพจระบุว่าเปิดใช้งานเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2567 โดยเพิ่งเปลี่ยนชื่อเป็น “อีซ้อขยี้ข่าว: อีซ้อ” เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่โพสต์ข้อมูลเท็จเรื่องคลังสินค้าเสียหายจากแผ่นดินไหว เพจนี้จึงเป็นเพจที่สร้างเลียนแบบเพจ “อีซ้อขยี้ข่าว : อีซ้อ” ซึ่งมีผู้ติดตาม 1.9 ล้านบัญชีผู้ใช้

สำหรับภาพอาคารร้าวที่มีป้าย Marshall ที่นำมาประกอบโพสต์นั้น โคแฟคได้ค้นหาที่มาของภาพด้วยเครื่องมือ reverse image search แต่ยังไม่พบภาพที่คล้ายกัน จึงยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของภาพ

วันที่ 3 เมษายน 2568

เนื้อหาที่ตรวจสอบ: “ปาฏิหารย์มีจริง” พบผู้รอดชีวิตใต้ซากตึก สตง. ในวันที่ 6 ของปฏิบัติการค้นหา  

เนื้อหาโดยสรุป: วันนี้ (3 เมษายน) เป็นวันที่ 6 ของการค้นหาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่ติดอยู่ใต้ซากตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ถล่มลงมา มีผู้โพสต์คลิปวิดีโอใน TikTok เมื่อเวลาประมาณ 9.50 น. อ้างว่าเจ้าหน้าที่กู้ภัยพบผู้รอดชีวิตที่ติดอยู่ใต้ซากตึกระบุข้อความว่า “ปาฏิหาริย์มีจริง!! ผู้รอดชีวิตคนล่าสุด” วิดีโอเดียวกันนี้ยังถูกนำไปโพสต์ในยูทูบในเวลาใกล้เคียงกัน พร้อมคำบรรยายว่า “ด่วน!! ปาฏิหาริย์กลางซากตึก สตง ถล่มจากแผ่นดินไหว ช่วยได้อีก 1 ชีวิต!”

ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง: **คลิปเก่าตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2568** คลิปนี้เป็นคลิปการพบผู้รอดชีวิตจากเหตุตึก สตง.ถล่ม ตั้งแต่ช่วงค่ำของวันที่ 28 มีนาคมซึ่งเป็นวันที่เกิดเหตุ เพจเฟซบุ๊ก “Fire & Rescue Thailand” โพสต์คลิปนี้เมื่อเวลา 20.13 น. โดยระบุว่า “เวลา 20.00 น. วินาทีนำร่างผู้ได้รับบาดเจ็บ ออกจากซากตึกถล่ม เหตุอาคารถล่มจากแผ่นดินไหว” และอ้างที่มาของคลิปว่า “แอล เหนือ43-11ดอนเมือง” ขณะที่สำนักข่าว “คมชัดลึก” โพสต์คลิปเดียวกันนี้ในบัญชี TikTok เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. วันเดียวกัน โคแฟคตรวจสอบด้วยการเปรียบเทียบองค์ประกอบของภาพในคลิปวิดีโอ พบว่าเป็นภาพเหตุการณ์เดียวกันกับคลิปที่มีผู้อ้างเท็จว่าเป็นการพบผู้รอดชีวิตรายล่าสุดเมื่อวันที่ 3 เมษายน แต่ถ่ายจากคนละมุม

นอกจากนี้ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รายงานผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในพื้นที่กรุงเทพฯ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว 28 มีนาคม รายงานเมื่อเวลา 7.00 น. วันที่ 4 เมษายน 2568 ว่า จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บที่ตึก สตง. คือ 19 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่คงที่มาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ยังไม่มีรายงานการพบผู้รอดชีวิตเพิ่มเติม

ข้อมูลเพิ่มเติม: ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นมา ซึ่งพ้นช่วงเวลา “72 ชั่วโมงของการช่วยชีวิต” และหลังจากที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ได้ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 2 เมษายนว่าเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้ยินเสียงขอความช่วยเหลือจากผู้ติดอยู่ใต้ซากอาคาร ได้มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียเผยแพร่คลิปการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตโดยอ้างเท็จหรือให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือจงใจสร้างความเข้าใจผิดว่ามีการพบผู้รอดชีวิตจากซากตึก สตง. เพิ่มเติม โดยใช้ภาพเก่าตั้งแต่วันแรก ๆ ของปฏิบัติการช่วยเหลือ หรือใช้ภาพจากปฏิบัติการค้นหาในประเทศเมียนมา

ทั้งนี้ ในทางการแพทย์และภัยพิบัติ ช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ผู้ประสบภัยจะมีโอกาสในการรอดชีวิตสูงเนื่องจากอยู่ในเวลาที่ร่างกายจะสามารถทนได้

วันที่ 31 มีนาคม 2568

เนื้อหาที่ตรวจสอบ: เกิดแผ่นดินไหวอีกระลอก ผู้คนอพยพออกจากตึกสูงหลายแห่งใน กทม.

เนื้อหาโดยสรุป: เวลาประมาณ 9.30 น. มีรายงานว่าคนที่อยู่ในตึกสูงรู้สึกถึงแรงสั่นไหวจึงได้พากันออกมาจากตึก เช่น ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก สำนักงานใหญ่ธนาคารอาคาสงเคราะห์ ถ.พระราม 9 สำนักงานประกันสังคม ถ.มิตรไมตรี กรมสรรพากร ซ.อารีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า “เกิดแผ่นดินไหวอีกระลอก”

ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง: **เนื้อหาจริงบางส่วน** คนที่อยู่บนอาคารสูงเกิดความหวาดกลัวและอพยพออกจากอาคารหลายแห่งจริง แต่ข้อความที่ระบุว่า “เกิดแผ่นดินไหวอีกระลอก” นั้นเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนและสร้างความตื่นตระหนกในสถานการณ์ที่อ่อนไหวหลังภัยพิบัติ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาและกรมทรัพยากรธรณียืนยันว่าไม่มีแผ่นดินไหวในไทยแต่มีอาฟเตอร์ช็อกขนาดเล็กในเมียนมา และไม่ส่งผลกระทบต่อไทย

เวลา 11.08 น. เพจเฟซบุ๊กกรมอุตุนิยมวิทยาชี้แจงว่าวันนี้ (31 มีนาคม) เกิดอาฟเตอร์ช็อกจากแผ่นดินไหวในเมียนมาจริง แต่มีขนาดเล็กและไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

เวลา 11.14 น. เพจเฟซบุ๊กกรมทรัพยากรธรณีชี้แจง จากการตรวจสอบข้อมูลแผ่นดินไหวจากเครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวของกรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี และเครือข่ายสถานีตรวจวัดจากต่างประเทศ  “ไม่มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่พบเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 3.7 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก บริเวณทิศตะวันออกของเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา” และจากสถิติที่ผ่านมาแผ่นดินไหวขนาดเล็กในประเทศเมียนมา จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

เนื้อหาที่ตรวจสอบ: สั่งอพยพคนออกจากอาคาร A ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ

เนื้อหาโดยสรุป: เวลาประมาณ 10.00 น. มีการส่งข้อความทางแอปพลิเคชันไลน์และโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่ามีประกาศอพยพคนออกจากอาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคาร A) ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เนื่องจากมีผู้ที่อยู่ในอาคารได้ยินเสียงคล้ายตึกร้าวและมีเศษปูนร่วงหล่าน

ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง: **เนื้อหาเป็นจริง** เหตุการณ์นี้มีสื่อมวลชนรายงานตรงกันหลายสำนึก เช่น เวลา 10.05 น. เว็บไซต์มติชนรายงานว่า “ด่วน! อพยพเจ้าหน้าที่จากศูนย์ราชการ ตึก A หลังมีเสียงลั่น พบรอยแยกตึก” ขณะที่ ch7hd_news โพสต์คลิป ในอินสตาแกรมระบุข้อความว่า “นาทีเร่งอพยพเจ้าหน้าที่ออกจากตึก A และ B ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ เจ้าหน้าที่บางคนบอกได้ยินเสียงลั่น ขณะที่กองบัญชาการกองทัพไทย รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน สั่งอพยพคนเช่นกัน”

เวลา 10.03 น. พิชญ์ธรา แก้วก่อ ผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงยุติธรรม หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โพสต์เฟซบุ๊กรายงานเหตุการณ์จากศูนย์ราชการฯ ว่าเธอและเจ้าหน้าที่ได้รับคำสั่งให้อพยพออกจากตึกเพื่อความปลอดภัย เพราะได้รับแจ้งว่าอาคารฝั่งที่เป็นที่ตั้งของศาลรัฐธรรมนูญและศาลล้มละลายกลางเกิดการสั่น แต่เธอซึ่งนั่งอยู่ในห้องสื่อมวลชน บริเวณชั้น 2 ประตู 3 ไม่รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนใด ๆ

เวลา 11.04 น. พิชญ์ธราให้ข้อมูลกับโคแฟคทางโทรศัพท์ว่าได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบว่าจุดที่เกิดเหตุอาคารสั่นสะเทือนและมีความเสียหายคือศาลล้มละลายกลาง และขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่อนุญาตให้กลับเข้าอาคาร

วันที่ 29 มีนาคม 2568

เนื้อหาที่ตรวจสอบ: แผ่นดินไหวทะเลอันดามันขนาด 4.6 เวลา 17.08 น. ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา   

เนื้อหาโดยสรุป: ช่วงเย็นถึงกลางดึกของวันที่ 29 มีนาคม มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายโพสต์ข้อความเตือนภัยการเกิดแผ่นดินไหวในทะเลอันดามัน เช่น ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ สื่อมวลชนอิสระ โพสต์ข้อความในบัญชี X @sirotek ว่า “ด่วน! มีรายงานแผ่นดินไหวทะเลอันดามันขนาด 4.6 เวลา 17:08 น. ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ลึก 140 ก.ม. ห่างจากภูเก็ต 400 กม.” ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ข้อความเมื่อเวลา 18.40 น. คล้ายกันว่า “ด่วน วันนี้ 29 มี.ค.68 เวลาประมาณ 17.08 น. เกิดเหตุแผ่นดินไหวในทะเล ที่บริเวณ จ.บันดาอาเจะห์ ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ขนาด 4.6 แมกนิจูด ความลึก 140 กม.”

ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง: **ข้อมูลจริง แต่อาจสร้างความตื่นตระหนกในช่วงสถานการณ์อ่อนไหว** กรมอุตุนิยมวิทยาชี้แจงผ่านเพจเฟซบุ๊กเมื่อเวลา 21.01 น. ว่ามีแผ่นดินไหวในตำแหน่งและเวลาดังกล่าวจริง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวในเมียนมาและไม่เกิดสึนามิ กรมอุตุฯ ระบุว่า “เนื่องจากมีประชาชนสอบถามเข้ามาจำนวนมาก จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวนี้  กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว จึงขอเรียนชี้แจงว่า แผ่นดินไหว วันที่ 29 มีนาคม 2568 เวลา 17.08 น. บริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย ขนาด 4.1 ลึก 148 กม. ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา และไม่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ”

เนื้อหาที่ตรวจสอบ: ภาพที่อ้างว่าเป็น “รอยเลื่อนสะกาย”

เนื้อหาโดยสรุป: เวลาประมาณ 00.22 น. ผู้ใช้ TikTok เผยแพร่ภาพที่อ้างว่าเป็น “รอยเลื่อนสะกาย” พร้อมกับให้ข้อมูลเกี่ยวกับรอยเลื่อนที่เป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูดในประเทศเมียนมาที่ส่งแรงแรงสั่นสะเทือนถึงไทย ภาพดังกล่าวเป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ที่ปริแยกออกจากกันเป็นทางยาว ต่อมาภาพและข้อความเดียวกันนี้ถูกนำมาเผยแพร่ต่อในเพจเฟซบุ๊ก “อาสาปทุม”  

ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง: **คาดว่าเป็นภาพ AI** Thai PBS Verify ตรวจสอบภาพจากเฟซบุ๊ก “อาสาปทุม” โดยใช้ “Is It AI?” ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจสอบภาพจาก AI ผลการตรวจสอบพบว่าร้อยละ 99 ถูกสร้างจาก AI ของ Midjourney บริษัทพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับการสร้างภาพศิลปะ

โคแฟคตรวจสอบเพิ่มเติมโดยใช้ RevEye Reverse Image Search พบภาพที่คล้ายกันเป็นภาพรอยแยกที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ซึ่ง AFP Fact Check เคยตรวจสอบภาพนี้มาแล้วเมื่อปี 2566 เมื่อมีผู้ใช้ TikTok นำมาอ้างเท็จว่าเป็นภาพของเปลือกโลกที่แตกหลังเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศตุรกีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566

วันที่ 28 มีนาคม 2568

เนื้อหาที่ตรวจสอบ: เขื่อนวชิราลงกรณ์ได้รับความเสียหายมาก

เนื้อหาโดยสรุป: ผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์ในกลุ่มสาธารณะ “แจ้งเตือนอากาศ” ว่าเขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) ซึ่งกั้นแม่น้ำแควน้อย อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี “ได้รับความเสียหายมาก” ทำให้ต้องเร่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่

ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง: **เนื้อหาเท็จ** Thai PBS Verify  ตรวจสอบกับนายธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน ยืนยันว่า เขื่อนวชิราลงกรณ์ไม่ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว ต่อมาวันที่ 29 มีนาคม 2568 เพจเฟซบุ๊กทางการของกรมชลประทานยืนยันอีกครั้งว่า ได้ดำเนินการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศอย่างละเอียดแล้ว พบว่าเขื่อนและอ่างเก็บน้ำทุกแห่งยังคงมีสภาพมั่นคง แข็งแรงและไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

เนื้อหาที่ตรวจสอบ: SMS แจ้งเตือนแผ่นดินไหวให้กดลิงก์

เนื้อหาโดยสรุป: หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวประมาณ 1-2 ชั่วโมง มีผู้ได้รับ SMS ข้อความว่า “แจ้งสถานการณ์ฉุกเฉิน” พร้อมกับแนบลิงก์ให้ผู้รับกดเข้าไปอ่านเนื้อหาเพิ่มเติม

ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง: **SMS ปลอม อย่ากดลิงก์** กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางแจ้งเตือนทางเฟซบุ๊กตำรวจสอบสวนกลางเมื่อเวลา 19.03 น. ว่าให้ประชาชนระวัง SMS ปลอมที่ส่งข้อความแจ้งเตือนแผ่นดินไหวและแปะลิงก์ดูดข้อมูล

“ขณะนี้พบว่ามีมิจฉาชีพอาศัยสถานการณ์ดังกล่าว ส่ง SMS ปลอมมายังโทรศัพท์มือถือของประชาชน โดยอ้างว่าเป็น SMS แจ้งเตือนเหตุเเผ่นดินไหว แต่ความจริงเเล้วมีการแปะลิงก์ดูดข้อมูลมาด้วย ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยให้ประชาชนระมัดระวัง อย่าหลงเชื่อ และกดลิงก์ดังกล่าวโดยเด็ดขาด”  

ขณะที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ย้ำว่าข้อความแจ้งเตือนภัยจะส่งในชื่อ “DDPM” เท่านั้นและไม่มีการแนบลิงก์ให้ประชาชนกดอ่านเพิ่มเติมหรือลงทะเบียน หากได้รับข้อความ SMS ที่แนบลิงก์ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นข้อความจากมิจฉาชีพ

เนื้อหาที่ตรวจสอบ: ตึกใบหยกร้าวและเอียง

เนื้อหาโดยสรุป: ผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์ข้อความว่า “ตึกใบหยกร้าวและเอียง” จากเหตุแผ่นดินไหวและเตือนให้ทุกคนออกจากบริเวณดังกล่าว ตึกใบหยกสกายหรือตึกใบหยก 2 เป็นตึกระฟ้าความสูง 88 ชั้น ตั้งอยู่ในเขตราชเทวี กรุงเทพฯ

ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง: **เนื้อหาเท็จ** เพจเฟซบุ๊ก Baiyoke Sky รายงานการตรวจสอบ เมื่อเวลา 15.20 น. ว่า ไม่พบร่องรอยความเสียหายที่กระจกของอาคาร ซึ่งเป็นส่วนที่บอบบางที่สุด และยืนยันว่าตึกใบหยก 2 ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับแผ่นดินไหว ขณะที่เฟซบุ๊กของนายปิยะเลิศ ใบหยก โพสต์ ระบุว่าข้อมูลที่ว่าตึกร้าวและเอียงนั้นไม่เป็นความจริง แต่รอยที่เห็นเกิดจากสีแตกซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เคยเกิดขึ้นแล้ว

นอกจากนี้ Thai PBS Verify ได้ตรวจสอบภาพตึกใบหยกในอดีตที่มีการบันทึกใน Google Map พบว่าภาพที่บันทึกในปี 2554 มีรอยคล้ายสีแตกจริง จึงเป็นไปได้ว่ารอยดังกล่าวไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้

เนื้อหาที่ตรวจสอบ: สะพานภูมิพลสลิงขาด

เนื้อหาโดยสรุป: ผู้ใช้เฟซบุ๊กอ้างว่าสายสลิงสะพานภูมิพล ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างเขตยานนาวา กรุงเทพฯ และ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ชำรุดเสียหายและกำลังจะขาด เจ้าหน้าที่สั่งปิดการจราจร

ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง: **เนื้อหาเท็จ** กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ชี้แจงในเพจเฟซบุ๊กเมื่อเวลา 16.49 น. ว่าเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้วยืนยันว่า “สลิงบนสะพานภูมิพลยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ประชาชนสามารถใช้สะพานในการสัญจรได้ตามปกติ” ต่อมาเวลา 19.07 น. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทช. ตรวจสอบทุกสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว พบว่าใช้งานได้ตามปกติทุกแห่ง ได้แก่ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า, สะพานกรุงธน, สะพานพระราม 7, สะพานพระราม 5, สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์, สะพานพระราม 4, สะพานพระราม 3, สะพานพระพุทธยอดฟ้า, สะพานพระปกเกล้า, สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน, สะพานกรุงเทพ, สะพานภูมิพล 1, สะพานภูมิพล 2, สะพานยกระดับข้ามคลองและข้ามแยกในสายทาง, อุโมงค์ทางลอด

ข้อมูลเพิ่มเติม: ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับทางหลวงชนบทได้ที่ Facebook “กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม” หรือโทรสายด่วน ทช. 1146

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 29 มีนาคม 2568

SMS แจ้งเตือนแผ่นดินไหวให้กดลิงก์…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1b7vz4ymszhwb


ตึกใบหยกร้าวและเอียง จากเหตุแผ่นดินไหว…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2eaucrchmmzfo


เขื่อนวชิราลงกรณ์ได้รับความเสียหายมาก…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1x0xeet01x7fd


สะพานภูมิพลสลิงขาด…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/dg30d6y0jbvi


 กลุ่มเป้าหมายเงินดิจิทัลเฟส 2 ที่โอนเงินไม่สำเร็จ อาจถูกตัดสิทธิ

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/ek167o88u9z4


 กรมศุลกากร ขยายระยะเวลาเปิด-ปิดด่านทางบกเพื่อส่งออกทุเรียน

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/37ynf3v11ejzh


 การบินไทยเปิดรับนักบินฝึกหัด ถึง 21 มีนาคม 2568

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/3ojeq8a4ucxot


 น้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว มาขายต่อให้ ‘โครงการทอดไม่ทิ้ง’ โดยบางจาก

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/12hpzrb5d7pzs


  เกิดอาฟเตอร์ช็อก เหตุแผ่นดินไหวรอยเลื่อนสะกายในเมียนมา

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/352zy7u7ukwvw


2เมษา : หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง กับงาน “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” The Battle for Truth 2025 🔥

กิจกรรม

ปีนี้จัดในธีม สงครามข้อมูล 😱
เราไม่รู้ว่าจะเชื่อใครหรืออะไรได้ จนกลายเป็นวิกฤตความเชื่อมั่นทั้งในไทยและระดับสากลที่ปัญหาข้อมูลลวงในยุคปัญญาประดิษฐ์กลายเป็นความเสี่ยงของโลก 🌏 จึงต้องมาเสวนาหาทางออกกัน

🌐 ชวนรับฟัง บก.ใหญ่แห่ง AFP เล่าทิศทางการเมืองโลกที่ส่งผลกระทบต่อสื่อมวลชนในสหรัฐฯ ยุโรป และ เอเชีย🗽 AFP Fact Check

🌏 รับฟัง CEO และ ผู้ร่วมก่อตั้งแอพ Whoscall ปาฐกถาเรื่อง “ปฏิวัติ AI โอกาสหรือความเสี่ยงด้านข้อมูลข่าวสาร”

🎁 การประกาศความร่วมมือกับองค์กรสื่อในการมอบรางวัล Fact Checking & Digital Verification 2025 ร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์และภาคี

🕊 ทีมสื่อไทย นำเสวนาเรื่องการค้นหาความจริงโดย คุณกิตติ สิงหาปัด ข่าวสามมิติ คุณธนกร วงษ์ปัญญา The Standard รศ.ดร.วิลาสินี ไทยพีบีเอส และ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ

😎 การรวมพลังเหล่า Avengers ทีมภาคี Fact-Checkers จากทีม Cofacts 真的假的 AFP Fact-Check ประเทศไทย ชัวร์ก่อนแชร์ น้องใหม่ ทีมThai PBS Verify และ ทีมภาคีโคแฟค ประเทศไทย

🎊 งานวัฒนธรรม ดนตรีพิณแก้ว โดยวีระพงศ์ ทวีศักดิ์ หมอลำโคแฟค อีสานโคแฟค – ESAN Cofact และ เดินแบบรณรงค์ Fact-Free-Fair

🧭 ฟังเกร็ดความรู้จาก อพวช. จากยุคโทรเลขถึงยุคเอไอ

🎗 เปิดตัวแคมเปญบริจาคข้อมูลลวงให้โคแฟค Chatbot และ Scamtify

🌈 และไฮไลท์ “พูดพร่ำฮัมเพลง ตามหาความจริง” กับพี่จุ้ย ศุ บุญเลี้ยง

มาแจมกัน ในวันพุธที่ 2 เมษายน 2568
ตั้งแต่เวลา 10:00-19:00 ณ หอศิลป์วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BAAC)


ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeBomuMJUHTudZprIjLbokPS0DyMEy-BtbtOpDJD5p3-M-LPg/viewform?usp=sharing



กำหนดการวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 (International Fact-Checking Day 2025)

สงครามข้อมูล 2025: โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

The Battle for Truth: Reclaiming Information Integrity in the Age of Distrust

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 10.00 – 18.00 น.

ณ ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แยกปทุมวัน กทม.

10.00 – 10.30 น.​ลงทะเบียน

10.30 – 11.10 น.​พิธีเปิด

• การแสดงดนตรีพิณแก้ว โดย วีระพงศ์ ทวีศักดิ์

นักดนตรีพิณแก้วคนแรกของประเทศไทยและเอเชีย

• กล่าวต้อนรับ โดย รศ. ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

• กล่าวเปิดงาน โดย เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร

รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

• เปิดประเด็นและแนะนำองค์ปาฐก โดย วาเนสซ่า สไตน์เม็ทซ์

ผู้อำนวยการโครงการประจำประเทศไทยและเวียดนาม มูลนิธิฟรีดริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ

11.10 – 11.35 น.​ปาฐกถาพิเศษ ‘สงครามข้อมูล: การทวงคืนความเชื่อมั่นสื่อในยุควิกฤตศรัทธา’ โดย แดเนียล ฟุงค์ หัวหน้าฝ่ายสืบสวนดิจิทัลสำหรับเอเชียแปซิฟิก สำนักข่าว AFP ฮ่องกง

11.35 – 12.00 น.​ปาฐกถาพิเศษ ‘ความท้าทายระดับโลกและสงครามข้อมูล: การปฏิวัติ AI เป็นโอกาสหรือความเสี่ยง?’  โดย เจฟฟ์ กัว ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โกโกลุก จำกัด(Whoscall)

12.00 – 12.25 น.​ประกาศความร่วมมือ ‘มอบรางวัลเพื่อส่งเสริมการตรวจสอบข้อมูลของสื่อ’ ​    (Best Fact-Check and Digital Verification Award 2025)

• สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์​     Ÿ  Cofact และภาคี Cofact ชุมชน

• สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)​​    

• คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

• AFP Thailand​​     Ÿ  สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ

• สภาองค์กรของผู้บริโภค​     Ÿ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

• สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

• มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

• มูลนิธิฟรีดริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ ประจำประเทศไทย (FNF)

พิธีกร :   ผศ. ดร.รดี ธนารักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และ ไชยวัฒน์ อัศวเบ็ญจาง  สภาองค์กรของผู้บริโภค 

12.25 – 13.30 น.​พัก

13.30 – 14.30 น.​เวทีเสวนาเรื่อง ‘สงครามข้อมูล 2025: สื่อจะช่วยสังคมเข้าถึงข้อเท็จจริงได้อย่างไร’ โดย

• รศ. ดร.วิลาสินี พิพิธกุล

ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

• ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ

อดีตผู้อำนวยการ DGA สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

• กิตติ สิงหาปัด

ผู้สื่อข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าว 3 มิติ

• ธนกร วงษ์ปัญญา

บรรณาธิการข่าวไทย สำนักข่าว The Standard

ผู้ดำเนินรายการ โดย ผศ. ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล

คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

14:30 – 14:45 น.​พักโยคะ โดย เพชรี พรหมช่วย ครูสอนโยคะ

14:45 – 16.15 น.​Lightning Talks ‘ยกระดับ รับมือ ข้อมูลบิดเบือน 4.0’ โดย ภาคี Fact Checkers

• บิลเลียน ลี ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟคไต้หวัน (Cofacts)

• ณัฐกร ปลอดดี และทีม AFP Thailand

• พีรพล อนุตรโสตถิ์ และทีมชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

• กนกพร ประสิทธิ์ผล และทีม Thai PBS Verify

• กุลธิดา สามะพุทธิ และภาคี Cofact Thailand

ดำเนินรายการโดย ผศ. ดร.เจษฎา ศาลาทอง คณะนิเทศศาสตร์​​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

16.15 – 16.30 น.​นำเสนอ พัฒนาการจากยุคโทรเลขถึงยุคเอไอ รับมืออย่างไรให้เท่าทัน โดย

ผศ. ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) 

16.30 – 16.45 น.​เปิดตัว แคมเปญบริจาคข้อมูลลวงกับโคแฟค โดย ทีมโคแฟคครีเอเตอร์ ​ มูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ และ Scamtify

16.45 – 17.00 น.​เดินแบบรณรงค์ Fact – Free – Fair โดย ภาคีเครือข่าย

17.00 – 17.45 น.​พูดพร่ำฮัมเพลง ‘ตามหาความจริง’ โดย ศุ บุญเลี้ยง

17.45 – 18.00 น. ​- กล่าวสรุปและประกาศเจตนารมณ์ก้าวต่อไป โดย สุภิญญา กลางณรงค์ และภาคี

– เซิ้งโคแฟค โดย พิชิตชัย สีจุลลา และหมอลำโคแฟค

พิธีกร : ​อาจารย์ ดร.คันธิรา ฉายาวงศ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกมล หอมกลิ่น อีสานโคแฟค

หมายเหตุ : ถ่ายทอดสดโดย Thai PBS และผ่านเพจเฟซบุ๊ก Cofact โคแฟค

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeBomuMJUHTudZprIjLbokPS0DyMEy-BtbtOpDJD5p3-M-LPg/viewform?usp=sharing


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 22 มีนาคม 2568

ปฏิบัติการทลายแก๊งคอลฯ ข้ามชาติ เปิดให้เหยื่อเฉลี่ยทรัพย์คืนผ่านเฟซบุ๊ก…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2ku61xlf23q3g


 กทม. เปิดตรวจสุขภาพฟรี 1 ล้านคน ใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียวเท่านั้น

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/11qysb35fykk3


  เล่นโทรศัพท์ก่อนนอนเกิน 4 ชม. เสี่ยงความดันสูงถึง 21 เท่า

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/vhw73syoyou9


 พบปลาหมอคางดำที่อ่าวแสมสาร

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/32wzsqnmyq50k


 แจ้งเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมประจำปี 2568 ได้ถึง 31 มี.ค. นี้

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/2sz3sofhud6uu


  เตรียมเปิดใช้พื้นที่ทางเข้าด่านฯ ดาวคะนอง ในวันที่ 20 มีนาคม 68

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/33k68zxwnlhak


  ลดวันพัก ‘ฟรีวีซ่า’ ไม่เกิน 30 วัน กรองนักท่องเที่ยว

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/1h9ki0f2e0orj


 น้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว มาขายต่อให้ ‘โครงการทอดไม่ทิ้ง’ โดยบางจาก

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/12hpzrb5d7pzs


ฝุ่น PM2.5 อันตรายต่อดวงตาจริงหรือ?

    สถานการณ์ ฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังแพร่กระจายอย่างมากในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและยังส่งผลต่อดวงตาทำให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบ ภูมิแพ้ตา ภาวะตาแห้ง และกระจกตาอักเสบได้มากขึ้น หากมีอาการระคายเคืองตา ตาแดง ขี้ตามาก ตาสู้แสงไม่ได้ ตามัวลง ควรพบจักษุแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสม

    แพทย์หญิงสุดาวดี สมบูรณ์ธนกิจ จักษุแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมและแนะนำวิธีป้องกันในสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่มีค่าสูงเกินมาตรฐานที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังกระทบต่อดวงตาอีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดอาการตาแดง ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ที่ตาจะมีอาการรุนแรงได้มาก และในผู้ใช้คอนแทคเลนส์ก็จะมีภาวะตาแห้ง ระคายเคืองตา และแสบตาได้มากขึ้น 

วิธีป้องกันดวงตาจากฝุ่น PM 2.5 สามารถทำได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณที่เกินมาตรฐาน 
  • หลีกเลี่ยงการขยี้ตา ถ้ามีอาการระคายเคืองตาจากฝุ่น PM 2.5 ให้ใช้วิธีการหยอดน้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและชำระล้างสารระคายเคืองออกไปบางส่วน 
  • หากเกิดอาการระคายเคืองตามากจากการแพ้ฝุ่นหรือตาแดงอักเสบมาก ควรมาพบจักษุแพทย์ทันที

ดังนั้น ฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบต่อดวงตาจึงควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือขยี้ตา และควรป้องกันโดยการใส่แว่นตาพร้อมกับหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่น PM2.5 

(ข้อมูลจาก : กรมการเเพทย์ / สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส. ) )

Banner :

ลิ้งค์กระทู้ Cofact  : https://cofact.org/article/1f7h1spq7tsvc