สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 19 เมษายน 2568

ช็อก! พบรอยเลื่อนแก่งคร้อพาดผ่านชัยภูมิ-ขอนแก่น เสี่ยงแผ่นดินไหว…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/18fn5meyfp5w5


ด่วน! รัฐบาลให้เวลา 1 สัปดาห์ ยกเลิกธนบัตร 1,000 บาท…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/37zep55a5ogdw


เตือนภัย! เสี่ยงสึนามิ 15, 17 และ 24 – 25 ก.ค. 68…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/7ovbbrzgn7m6


เตือน! พายุฤดูร้อนชุดใหญ่ 10-14 เม.ย. เสี่ยงฟ้าผ่า-ลูกเห็บ-ลมแรง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/5lv0owq8pp0f


ไม่มีข้อมูลธุรกรรมการเงินจากไปรษณีย์ไทยรั่วไหลบน Dark Web

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2s08mpio2l3a6


กทม. เปิดให้ยื่นขอรับการเยียวยาเหตุแผ่นดินไหว ถึง 27 เม.ย. 68

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3ko1v2x4fwk8o


กินลูกเนียงดิบ เสี่ยงไตวาย

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1zddrdqzzvubp


 ปรากฏการณ์ฝนดาวตกไลริดส์ จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 เม.ย. 68

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1wzkub8mirxfy


‘Cofact’เช็คก่อนแชร์ ประชาสังคมสู้ภัยข่าวลวง

Editors’ Picks

ปัจจุบันนี้งานของกองบรรณาธิการโคแฟค (Cofact) ที่ทำงานด้านตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact – Check) มีอยู่ด้วยกัน 4 ส่วนหลักๆ ส่วนแรกก็จะเป็นการจัดทำรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ก็คือการนำเนื้อหาออนไลน์มาตรวจสอบความถูกต้องและเผยแพร่รายงานของเราบนเว็บไซต์ ส่วนที่สองเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากภาคีเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นอีสานโคแฟค Deep South Cofact และโคแฟคแสงเหนือ  

ส่วนที่สาม เป็นคล้ายๆ Fact Check Webboard ซึ่งอยู่บนเว็บไซต์ของเราเหมือนกัน ที่เราเปิดให้ประชาชนสามารถส่งความต้องสงสัยมาให้กอง บก. ของเราตรวจสอบได้ ส่วนสุดท้ายคือส่วนที่สี่ ก็เป็น Line Open Chat โคแฟคเช็คข่าว ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เปิดให้ประชาชนส่งข้อความมาให้แอดมินของเราช่วยตรวจสอบความถูกต้อง

กุลธิดา สามะพุทธิ ตัวแทนภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) กล่าวบนเวที Lightning Talks ยกระดับ รับมือ ข้อมูลบิดเบือน 4.0” โดย ภาคี Fact Checkers ภายในงาน วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 (International Fact-Checking Day 2025)สงครามข้อมูล 2025: โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น The Battle for Truth: Reclaiming Information Integrity in the Age of Distrust” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2568 ที่ผ่านมา ถึงงานที่ดำเนินการอยู่ของโคแฟค เครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลที่ไหลเวียนบนโลกออนไลน์

ย้อนไปเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2563 ในงานเสวนานักคิดดิจิทัลครั้งที่ 11 เป็นครั้งแรกที่มีการเปิดตัวโคแฟค โดย สุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง กล่าวว่า โคแฟคเป็นนวัตกรรมทางสังคมในการนำแอพพลิเคชั่นไลน์ แชทบอท และฐานข้อมูลในเว็บไซต์ มาช่วยตรวจสอบข้อมูลว่าจริงหรือลวง 

แต่การจะขับเคลื่อนกลไกโคแฟคให้สำเร็จได้จริงนั้น จึงต้องขยายงานจากการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ ไปสู่การสร้างชุมชนเพื่อการตรวจสอบข้อเท็จจริง ถือเป็นภารกิจการปฏิรูปสื่อในยุคดิจิทัลที่หันกลับมาสร้างความเข้มแข็งในภาคพลเมือง ให้การแก้ไขข่าวลวงด้วยหลักวารสารศาสตร์ เช่น การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือก่อนเสมอ กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ของสังคม

ขณะที่ สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในขณะนั้น กล่าวว่า ประเทศไทยมีสถานการณ์การระบาดของข่าวลวง อาทิ การหลอกขายสินค้า ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาและหยุดยั้งการระบาดของข่าวลวงในยุคชีวิติวิถีใหม่ (New Normal) จึงจำเป็นต้องมีกลไกกลางเปิดพื้นที่ให้ทุกคนได้มาแสวงหาข้อเท็จจริงร่วมกัน 

โดยจุดประกายด้วยนวัตกรรม โคแฟค (Collaborative Fact Checking : Cofact) บนเว็บไซต์ cofact.org และไลน์ @cofact พร้อมสานพลังขับเคลื่อนสังคมขยายผู้ใช้ไปยังภาคีเครือข่ายเกิดเป็นชุมชนโคแฟค สร้างค่านิยมใหม่โดยใช้พลังพลเมืองในการร่วมตรวจสอบข่าวลวงที่ทุกคนสามารถเป็น fact checker เกิดพื้นที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงประเด็นสุขภาวะร่วมกัน

กลับมาที่งานวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568กุลธิดา เล่าว่า จากประสบการณ์ที่เข้ามาร่วมทำงานกับโคแฟคตั้งแต่เมื่อปี 2566 พบ ข้อสังเกตเกี่ยวกับข่าวลวงหรือข้อมูลบิดเบือน คือ แม้จะถูกหักล้างแล้วไปแต่ก็พร้อมจะกลับมาถูกแชร์ใหม่ได้เสมอ โดยอาจต่างกันไปบ้างที่บัญชีสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่นำเรื่องนั้นกลับมาแชร์ หรือช่องทางแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่ถูกนำเรื่องนั้นไปแชร์ นอกจากนั้นยังมีการทำปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร (IO) รวมถึงการแทรกแซงทางข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศ ซึ่งต้องยกระดับการรับมือใน 3 ส่วน

1.กองบรรณาธิการของ Cofact ซึ่งไม่ได้ทำงานแบบสำนักงานแต่เป็นแบบเครือข่าย ที่ผ่านมาอาจประสานกันได้ไม่ดีพอ แต่เชื่อว่าหากการทำงานของกอง บก. Cofact สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลและเผยแพร่รายงานการตรวจสอบได้ถี่ขึ้น ก็น่าจะเป็นส่วนช่วยในการยกระดับการรับมือข่าวลวงได้ 2.ภาคีเครือข่ายของ Cofact ซึ่งเปรียบเสมือน เพื่อนบ้าน เช่น สำนักข่าว องค์กรวิชาชีพสื่อ สิ่งที่อยากเห็นคือการแบ่งปันเนื้อหาการตรวจสอบข้อเท็จจริงระหว่างสื่อด้วยกันให้ได้มากที่สุด 

เข้าใจดีว่าองค์กรสื่อมันมีการแข่งขันกันในระดับหนึ่ง แล้วก็การเอาเนื้อหาของเพื่อนมาเผยแพร่ต่อก็เป็นสิ่งที่ไม่โอเคเลย อันนี้เข้าใจดี แต่เป็นไปได้ไหมว่ายกเว้นสำหรับการทำรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นไปได้ไหมว่าเราจะทำงานกันในลักษณะเหมือนกับเป็นกองบรรณาธิการร่วม หรือมีถังกลางที่ทุกคนทุกสื่อทุกสำนัก สามารถที่จะเอารายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงไปนำเสนอในแพลตฟอร์ม ในช่องทางของตัวเองได้โดยมีการอ้างอิงที่เหมาะสม 

คือในส่วนการทำข่าวอื่นๆ ก็แข่งกันไปตามปกติเลย แต่พอเป็นตรวจสอบข้อเท็จจริงเราใช้ของกันและกันได้ อันนี้เป็นความฝัน เป็นสิ่งที่อยากเห็นมากๆ เลย เพราะถ้าเราทำได้มันก็จะทุ่นเวลา ประหยัดแรง แล้วก็ทำให้ประชาชนเข้าถึงรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเราได้มากที่สุดกุลธิดา กล่าว

กุลธิดา ยังกล่าวถึงอีกภาคส่วนที่สำคัญคือ 3.ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยความที่เป็นช่องทางเผยแพร่รายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลไปสู่สาธารณชน จึงอยากให้เอื้อต่อการมองเห็นเนื้อหาดังกล่าวให้ได้มากที่สุด รวมถึงพัฒนาระบบคัดกรองเพื่อไม่ให้แพลตฟอร์มกลายเป็นช่องทางระบาดของข้อมูลเท็จ ก็จะช่วยยกระดับการรับมือข้อมูลบิดเบือนในยุคนี้

ในการกล่าวเปิดงานวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุน สสส. ยกตัวอย่างเหตุการณ์สดๆ ร้อนๆ อย่างแผ่นดินไหวขนาด 7.7 เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 ซึ่งแม้ศูนย์กลางจะอยู่ที่เมียนมา แต่ส่งผลมาไกลถึงกรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทย ว่า  ในวันดังกล่าวจะเห็นการสื่อสารอย่างมากแบบท่วมท้น ขณะที่ สสส. โดยแผนระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา มุ่งมั่นให้เกิดการสร้างปัจจัยแวดล้อมของระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ ทั้งนี้ World Economic Forum ชี้ว่า ข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือนยังเป็นสาเหตุสำคัญอันดับ 1 ติดต่อกันมาแล้ว 2 ปี นั่นหมายความว่ายังไม่สามารถแก้ไขได้ดีมากนัก

Cofact ไม่ได้เป็นของ สสส. คนเดียว เราร่วมกันทำงาน แล้วเราเห็นการเติบโตที่บอกว่าไม่ใช่ว่าพอโคแฟคเกิดขึ้นแล้วไม่ใช่ทุกคนไม่ต้องทำอะไร แต่ยิ่งโคแฟคเกิดขึ้นเท่าไรการทำงานภาคประชาชนเยอะขึ้นมากๆ เรามีฐานข้อมูลที่เป็นฐานข้อมูลองค์กรประมาณเป็นหมื่นข้อมูลที่เข้ามา ตอนนี้นับยอดเข้ามาสะสม เรามีคนที่เข้าดู 5 แสนคน/ครั้ง เป็นอันดับ 2  ต่อจากศูนย์ที่เป็นของภาครัฐจริงๆเบญจมาภรณ์ กล่าว

-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-

ขอบคุณที่มาสำนักข่าวแนวหน้า

ภาพ พล.อ. ประยุทธ์เปิดการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ถูกบิดเบือนว่าเป็นภาพเปิดตึก สตง.

Top Fact Checks Political

กองบรรณาธิการโคแฟค

ภาพ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร่วมพิธีเปิดการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเมื่อปี 2560 ถูกผู้ใช้เฟซบุ๊กนำมาบิดเบือนว่า อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ทำพิธีเปิดโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ที่ถล่มลงมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 จากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาและส่งผลกระทบถึงประเทศไทย ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายจำนวนมาก

เนื้อหาที่ตรวจสอบ

วันที่ 31 มีนาคม 2568 หรือ 3 วันหลังเหตุแผ่นดินไหวและตึก สตง. ถล่ม ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้แชร์ภาพ พล.อ. ประยุทธ์ถ่ายภาพร่วมกับชายสวมสูทอีก 4 คน ทุกคนสวมหมวกนิรภัย สวมถุงมือสีขาว และด้านหน้ามีพลั่ววางไว้ ลักษณะเป็นการถ่ายภาพในพิธีเปิดโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่ง (ลิงก์บันทึก)

ผู้โพสต์เขียนข้อความว่า “[พล.อ.ประยุทธ์] ไปเปิดตึกเองกับมือ..” ส่วนข้อความที่ฝังในภาพระบุว่า “ทุกความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ทั้งการเซ็นสัญญาก่อสร้างตึกของ สตง. ทั้งการเซ็นสัญญาสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ล้วนเกิดขึ้นในรัฐบาลรัฐประหารทั้งสิ้น”

โพสต์ดังกล่าว ซึ่งถูกแชร์ไปมากกว่า 300 ครั้ง ทำให้เกิดความเข้าใจว่า พล.อ.ประยุทธ์เคยร่วมพิธีเปิดโครงการก่อสร้างตึก  สตง. ในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ที่ถล่มลงมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย บาดเจ็บ 9 ราย และสูญหาย 67 ราย (ข้อมูลจากศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร วันที่ 11 เมษายน 2568)   

โคแฟคตรวจสอบ

โคแฟคตรวจสอบภาพดังกล่าวโดยใช้เครื่องมือค้นหาภาพย้อนกลับของกูเกิล (Reverse Image Search) ประกอบกับการอ้างอิงรายงานข่าวของสื่อมวลชนหลายสำนัก ผลการตรวจสอบพบว่านี่เป็นภาพถ่ายเก่าตั้งแต่ 7 ปีที่แล้ว ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ร่วมพิธีเปิดโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560 โดยมีตัวแทนจากรัฐบาลจีนเข้าร่วมในพิธีด้วย ไม่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานของ สตง. ตามที่ถูกกล่าวอ้าง

ไทยรัฐออนไลน์ เผยแพร่ภาพนี้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560 (ลิงก์บันทึก) เป็นภาพประกอบรายงานข่าวพิธีเปิดโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ซึ่ง พล.อ. ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เดินทางไปเป็นประธานในพิธี ณ มอหลักหินรัชกาลที่ 5 ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

โคแฟคเปรียบเทียบภาพที่ปรากฏในโพสต์บนเฟซบุ๊กกับภาพจากรายงานข่าวของไทยรัฐ พบว่าเป็นภาพเดียวกัน

การค้นหาภาพเพิ่มเติมยังพบว่า ไฟแนนเชียลไทมส์ (Financial Times) รายงานข่าวเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงผ่านช่องทางยูทูบ ในวิดีโอมีภาพของ พล.อ.ประยุทธ์ร่วมพิธีเปิดกับตัวแทนรัฐบาลจีนเช่นเดียวกัน แม้จะเป็นภาพจากมุมกล้องที่แตกต่างกัน แต่ก็ยืนยันได้ว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกันกับภาพที่ถูกแชร์ในโลกออนไลน์ (ลิงก์บันทึก)

รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย โดยเฉพาะเส้นทางสายกรุงเทพฯ-หนองคาย เป็นโครงการเชิงยุทธศาสตร์ที่มุ่งเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนเข้ากับเครือข่ายการคมนาคมของจีน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative หรือ BRI) ที่รัฐบาลจีนผลักดัน

คณะรัฐมนตรีของไทยมีมติเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้ดำเนินการในระยะที่ 1 ครอบคลุมเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ภายใต้รูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ โดยฝ่ายไทยรับผิดชอบการลงทุนทั้งหมดและดำเนินงานก่อสร้างโยธา ขณะที่ฝ่ายจีนให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี การออกแบบระบบ และวิศวกรรม

โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย–จีน ระยะที่ 1 เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560  ภายใต้การดูแลของกระทรวงคมนาคม และ รฟท. ฝ่ายจีนมีบทบาทในด้านการออกแบบระบบและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผ่านบริษัท China Railway International Group (CRIC) และ China Railway Design Corporation (CRDC) ขณะที่ฝ่ายไทยรับผิดชอบด้านการลงทุนและก่อสร้างโยธา ขณะนี้โครงการยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยใช้งบประมาณราว 179,000 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2570

เซ็นสัญญาสร้างตึก สตง. สมัย “รัฐบาลรัฐประหาร”?

โคแฟคตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อความในภาพที่ระบุว่า การเซ็นสัญญาก่อสร้างตึก สตง. “เกิดขึ้นรัฐบาลรัฐประหาร” ซึ่งเข้าใจได้ว่าหมายถึงรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่เข้ามาบริหารประเทศหลังการรัฐประหารปี 2557 และเป็นนายกฯ ต่อหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562

เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ของ สตง. ลงวันที่ 30 มีนาคม 2568 หรือ 2 วันหลังเหตุการณ์ตึกถล่ม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการก่อสร้างอาคารหลังนี้ว่า สตง. ได้เสนอขออนุมัติงบประมาณรายการค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 2,560 ล้านบาท และได้รับการอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ต่อมาได้ดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และได้ผู้ชนะการประกวดราคา ได้แก่ กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด) ซึ่งเป็นผู้เสนอราคารายต่ำสุด ด้วยวงเงิน 2,136 ล้านบาท

สำหรับพิธีลงนามทำสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารสำนักงาน สตง. กับกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี นั้น ไทยพีบีเอสรายงานว่ามีขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563

โคแฟคตรวจสอบสรุปผลการประชุม ครม. พบว่า พล.อ.ประยุทธ์เป็นประธานการประชุมวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่ง ครม. มีมติอนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารสำนักงาน สตง. และเขายังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ สตง. จัดพิธีลงนามทำสัญญาก่อสร้างกับกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี

ข้อสรุปโคแฟค: ภาพจริงแต่ข้อความบิดเบือน

  1. ภาพ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กนำมาโพสต์บิดเบือนนั้น เป็นภาพเหตุการณ์เก่าเมื่อ 7 ปีที่แล้วขณะที่ พล.อ. ประยุทธ์ร่วมพิธีเปิดโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560 ณ มอหลักหินรัชกาลที่ 5 ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ไม่ใช่พิธีเปิดการก่อสร้างอาคารสำนักงาน สตง. แห่งใหม่
  2. การอนุมัติวงเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารสำนักงาน สตง. แห่งใหม่ และพิธีเซ็นสัญญาจ้างก่อสร้างระหว่าง สตง. กับ ครม. กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี เกิดขึ้นในรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จริง กล่าวคือที่ประชุม ครม. ซึ่งมี พล.อ. ประยุทธ์เป็นประธานมีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณกว่า 2 พันล้านบาทเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ส่วนพิธีเซ็นสัญญาจ้างก่อสร้างมีขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563  

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาที่อนุมัติงบประมาณหรือเซ็นสัญญาจ้างก่อสร้างกับเอกชนยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าบุคคลใดหรือรัฐบาลใดมีความผิด การสอบสวนกรณีอาคาร สตง. ถล่ม ต้องอาศัยข้อมูลหลักฐานอื่น ๆ อีกมาก ไม่ใช่เพียงแค่โครงการนี้เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดใด  

เรื่องแนะนำ

  

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 12 เมษายน 2568

วันที่ 11 เม.ย. 68 อสม. อสส. เตรียมรับเงินเพิ่มคนละ 2,000 บาท…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2f3gu3zn5i4v3


กฟภ. เปิดช่องทางการติดต่อผ่านไลน์ ฝ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2ppnhf5qoexsx


รถไฟฟ้า BTS และ MRT เปิดให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยสารฟรีในช่วงเทศกาลสงกรานต์

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2mu65wdu9fktpu


สงกรานต์นี้ จอดรถฟรีที่ 4 สนามบินทั่วไทย

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1fixwel31zjuy


ศาลสั่งห้าม “เนสท์เล่” ผลิต และ จ้างผลิต ขาย “เนสกาแฟ” ในไทยเป็นการชั่วคราว

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/uiqxks4vsx88


 วันที่ 30 มี.ค. 68 รพ. ศิริราช ประกาศปิดบางพื้นที่ชั่วคราว เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3f08fdf5lo7j


รวบรวมมุมมองผ่านงานวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568 (International Fact-Checking Day)สงครามข้อมูล 2025: โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

กิจกรรม

The Battle for Truth: Reclaiming Information Integrity in the Age of Distrust

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568 

ณ ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แยกปทุมวัน กทม.

☀️รวมมิตรมุมมอง เวที Lightning Talks: “ยกระดับ รับมือ ข้อมูลบิดเบือน 4.0” โดย ภาคี Fact Checkers


‘ยุคดิจิทัล’ข้อมูลล้นทะลัก ยิ่งเกิดภัยพิบัติสื่อยิ่งต้องมี‘ความน่าเชื่อถือ’ แนะรัฐเปิดข้อมูลที่ใช้ประโยชน์ให้เข้าถึงได้

กิจกรรม

2 เม.ย. 2568 – Cofact (ประเทศไทย) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีจัดเสวนาหัวข้อ “สงครามข้อมูล 2025 : สื่อจะช่วยสังคมเข้าถึงข้อเท็จจริงได้อย่างไร” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2568(International Fact-Checking Day 2025) สงครามข้อมูล 2025: โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น The Battle for Truth: Reclaiming Information Integrity in the Age of Distrust” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร พร้อมถ่ายทอดสดทางเพจ Thai PBS และ Cofact โคแฟค

รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(Thai PBS) กล่าวว่า Thai PBS มีพันธกิจที่มากกว่าการเป็นสถานีผลิตและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อ โดยถูกวางบทบาทการส่งเสริมสังคมที่ใช้ปัญญา มีคุณภาพและคุณธรรม ในขณะที่สถานการณ์ข่าวลวงเชื่อว่าทุกคนทราบกันดีว่าปัจจุบันหนักหนาสาหัสขึ้นทุกที 

ล่าสุด คือ เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 ซึ่งมีข้อมูลทะลักเข้ามาเต็มไปหมดโดยเฉพาะในพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หากรู้ไม่เท่าทันก็จะไปไกลมาก ยิ่งในภาวะที่ตกใจกับสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สิ่งที่ทุกคนต้องการทราบคือความจริงคืออะไร? ข้อเท็จจริงคืออะไร? เกิดขึ้นจริงหรือเปล่า? และเราต้องทำตัวอย่างไร? มีความเสี่ยงหรือไม่? สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นเครื่องทดลองชั้นดีว่าเครื่องมือที่ ThaiPBS เปิดตัวไปอย่าง Thai PBS Verifyสามารถใช้ได้จริงหรือไม่?

ตอนที่เกิดเหตุการณ์นี้ สิ่งที่ ThaiPBS ทำงานเลยคือนอกจากเช็คตัวเองแล้ว นอกจากทำกระบวนการตรวจสอบข้างในกองบรรณาธิการแล้ว สิ่งหนึ่งเลยก็คือการ Service Verify (บริการตรวจสอบขึ้นทันที และต้องขอบคุณที่มีนักวิชาการหลายท่าน แม้แต่โคแฟคเองที่เป็นภาคีกันอยู่ก็ช่วยกันในการตรวจสอบเครื่องมือนี้ อันนี้ก็คือสิ่งที่อยากบอกว่าเป็นพันธกิจที่บอกว่าทำไมเราต้องทำมากกว่าการนำเสนอข่าว รศ.ดร.วิลาสินีกล่าว

กิตติ สิงหาปัด ผู้สื่อข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าว 3 มิติ เปิดประเด็นด้วยการตั้งคำถามว่า คิดว่าเราจะเห็นข่าวลวงในหนังสือพิมพ์หน้า 1 หรือไม่?” ซึ่งไม่ว่าจะฉบับไหนตนก็คิดว่าไม่มี ดังนั้นต้องถามตนเองว่าข่าวลือหรือข้อมูลบิดเบือนที่มาถึงตัวนั้นมาจากแหล่งไหน? เพราะในกระบวนการของสื่ออาชีพ มีองคาพยพ มีห่วงโซ่ของการทำงานเยอะ  ตั้งแต่นักข่าวเขียนข่าวส่งเข้ามา หัวหน้าข่าวตรวจสอบและเรียบเรียง (Rewrite) มีกองบรรณาธิการหน้า 1 มาเลือกข่าว มีพิสูจน์อักษร (Proof Reader) ขนาดที่พิมพ์ผิดแม้แต่ตัวอักษรเดียวก็ไม่ได้ 

ทั้งนี้ คำว่า นักข่าวอาชีพ มี 2 ความหมาย 1.ความเป็นมืออาชีพ (Professional) หมายถึงคนที่ทำงานภายใต้จริยธรรมของวิชาชีพนั้นๆ เช่น วิศวกร นักกีฬา ฯลฯ 2.การเลี้ยงชีพ หมายถึงมีรายได้เลี้ยงตนเองจากสิ่งที่ทำ ไม่ใช่ทำแบบสมัครเล่น (Amateur) เอาสนุก ดังนั้นความเข้มข้นย่อมต่างกัน อย่างวิศวกรหากหลุดจากวิชาชีพนั่นหมายถึงอาคารพังถล่ม ซึ่งคนแบบพวกตนที่เป็นสื่อแบบดั้งเดิม แม้จะเผยแพร่ในทุกแพลตฟอร์มก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ผิดพลาด และมีกำหนดในจรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคมนักข่าว ว่าประชาชนต้องได้รับข่าวที่เป็นจริงเท่านั้น

มีตัวอย่างจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เพิ่งเกิดขึ้น ซึ่งตนยึดหลัก ข้อมูลปฐมภูมิ ในการทำงาน เช่น กรณีผู้คนอพยพออกจากอาคาร A ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ สิ่งแรกที่ตนทำหลังเห็นข้อมูลนี้คือพยายามนึกว่ามีคนรู้จักอยู่ในอาคารดังกล่าวกี่คนแล้วก็โทรศัพท์ไปสอบถามคนเหล่านั้นก่อน เมื่อรับรู้ข้อเท็จจริงด้วยตนเองแล้วว่ามีการอพยพจริงหรือไม่จึงค่อยรายงานออกไป และนี่คือหลักการทำงานของทีมงานข่าว 3 มิติ ด้วยที่ต้องลงพื้นที่ไปให้เห็นด้วยสายตาของตนเองและได้สัมภาษณ์ด้วยตนเอง หรือไม่ก็ติดตามจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น เรื่องแผ่นดินไหว หากไม่เชื่อข้อมูลจาก สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) แล้วจะเชื่อใคร?   

“ผู้ชมถ้าอยากแยกแยะว่าอะไรคือจริง – ไม่จริง ต้องหัดเบื้องต้นก่อนว่าอันไหนเป็นข้อเท็จจริง? อันไหนเป็นความเห็น? หนังสือพิมพ์ดั้งเดิมเขาจะแยกชัดเจน ถ้าเป็นความเห็นก็อยู่ในคอลัมน์ ในบทบรรณาธิการ อันที่เป็นข่าวก็อยู่ในข่าว แต่บางทีพอเรามาทำเป็นแพลตฟอร์ม มีโทรศัพท์เครื่องเดียวก็นั่งพูดกันไป ไม่รู้ว่าเรื่องไหนเป็นความจริง เรื่องไหนเป็นความเห็นตัวเอง ผสมกันไปหมด ชาวบ้านที่ไม่รู้จักแยกแยะ บางทีถ้าเกิดผมใส่ความเห็นไปมันก็ไม่ใช่ข่าว แล้วที่สำคัญคือคนที่เป็นตัวเผยแพร่ข่าวลือมักจะพูดโดยไม่มีแหล่งที่มาอ้างอิง พวกผมเป็นนักข่างเวลาเขียนข่าวต้องบอกว่าเอามาจากไหน” กิตติ กล่าว

ธนกร วงษ์ปัญญา บรรณาธิการข่าวไทย สำนักข่าว The Standard กล่าวว่า จุดตั้งต้นจริงๆ ในยุคนี้ที่มีความรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ถาโถมเข้ามาจนล้น (Overload) ทั้งเรื่องการใช้ชีวิตและเรื่องข้อมูล อย่างไรก็เป็นข้อเท็จจริง แต่สิ่งที่เหนื่อยและกำลังจะแพ้คือความน่าเชื่อถือ หมายถึง คนในสังคมเลือกที่จะเชื่อ แม้แต่สิ่งที่สำนักข่าวนำเสนอไปก็ไม่เชื่อ ในขณะที่อินฟลูเอนเซอร์พูดด้วยคำพูดที่ให้ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับคนที่รู้สึกแบบนั้น คนที่ทำงานสื่อเป็นอาชีพต้องใช้เวลาตรวจสอบ

ดังนั้นแล้ว เมื่อเกิดอะไรขึ้นขอให้สงสัยไว้ก่อน ว่าเรื่องนั้นเป็นความจริงหรือไม่? ในขณะที่การทำงานของสื่อก็ต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างความน่าเชื่อถือก่อน ให้ผู้รับสารรู้สึกว่าเมื่อตั้งต้นที่สำนักข่าวของเราแล้วหลังจากนี้คือสามารถเชื่อถือได้ ทุกข้อมูลข่าวสารที่ไหลผ่านแพลตฟอร์มของเราคือผ่านการตรวจสอบกลั่นกรองมาแล้ว และเมื่อออกไปสู่การรับรู้ของประชาชนจะสามารถใช้อ้างอิงได้ด้วย

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ อดีตผู้อำนวยการ DGA สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) กล่าวว่า งานของ DGA คือการเปลี่ยนภาครัฐให้เป็นดิจิทัล ซึ่งเป็นงานใหญ่เพราะภาครัฐของไทยมีมากกว่า 7 พันหน่วยงาน ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นอย่าว่าแต่ประชาชน แม้แต่หน่วยงานรัฐด้วยกันเองบางครั้งก็ยังไม่รู้ว่าข้อมูลที่น่าเชื่อถืออยู่กับหน่วยงานใด จึงพยายามผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการเรื่องธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ดูว่าหน่วยงานมีข้อมูลอะไรบ้าง มาจากแหล่งใดแล้วทำเป็นข้อมูลเปิด (Open Data) ให้ประชาชนเข้าถึงได้

ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าภาครัฐมีแนวโน้มไม่ค่อยชอบเปิดเผยข้อมูล สื่อกว่าจะหาข้อมูลได้ในแต่ละเรื่องก็คงเหนื่อย ดังนั้นสมัยที่ทำงานกับ DGA จึงใช้กลไกการให้คะแนน เพราะหน่วยงานภาครัฐต้องถูกประเมิน KPI โดย ก.พ.ร. อยู่แล้ว โดยช่วงแรกๆ หน่วยงานภาครัฐเริ่มต้นจากการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่สำคัญมากนัก จากนั้น DGA ได้เพิ่มความเข้มข้นด้วยการกำหนดว่าต้องเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับประชาชน สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีประชาชนนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ 

และล่าสุดคือพยายามให้นำข้อมูลที่เคยให้หน่วยงานอื่นๆ ของรัฐใช้มาขึ้นบัญชีไว้ โดยหวังว่าหากในอนาคตข้อมูลนั้นไม่เป็นความลับอีกต่อไปก็จะได้เปิดเผยกับประชาชนได้ ซึ่งคาดหวังว่าต่อไปเมื่อเริ่มกำหนดชุดข้อมูลสำคัญ ที่เรียกว่าข้อมูลหลัก (Master Data) เช่น ข้อมูลของบริษัทต่างๆ ว่ามีใครเป็นผู้ถือหุ้น? ทำธุรกิจอะไร? ก่อตั้งมานานเท่าใด? ได้รับใบอนุญาตอะไรบ้าง? ซึ่งเป็นข้อมูลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าควรเปิดเผยให้สื่อมวลชนได้เข้าไปตรวจสอบได้โดยง่าย

“อันนี้เป็นส่วนสำคัญที่เราไปผลักดันให้ทุกหน่วยงานภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับใบอนุญาตสิ่งที่ภาครัฐทำไปเป็นข้อมูลพื้นฐาน แล้วผมคิดว่าถ้าสื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้แล้วก็เอามาใช้ในการอ้างอิงเพื่อจะไปรายงานเหตุการณ์หรือให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องหรือว่าข้อเท็จจริงกับประชาชน ก็น่าจะทำให้การเข้าถึงข้อเท็จจริงดีขึ้น” ดร.สุพจน์ กล่าว


 

                                         

Visual notes : งาน The Battle for Truth: Reclaiming Information Integrity in the Age of DistrustVisual notes สงครามข้อมูล 2025 : โจทย์แห่งความจริงในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

กิจกรรม

สรุปเนื้อหาเป็นภาพวาด หรือ Visual notes โดย SuperMommam

จากกิจกรรมงานวันตรวจสอบข่าวลวงโลก (International Fact Checking Day 2025)
ในวันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ.2568 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โดยภาคีโคแฟค (ประเทศไทย)

เพจ “วันนี้พรรคส้มโกหกอะไร” บิดเบือนข้อเท็จจริงเรื่องการเลื่อนพิจารณาร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรฯ  

Top Fact Checks Political

กองบรรณาธิการโคแฟค

เพจเฟซบุ๊ก “วันนี้พรรคส้มโกหกอะไร” โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 เวลา 19.13 น. พาดพิงพรรคประชาชนหรือที่ทางเพจเรียกว่า “พรรคส้ม” ระบุว่า “#ทุกคนคะ พรรคส้มการละคร พรรคส้มปั่นว่าพรรครัฐบาลเห็นความสำคัญของคาสิโนมากกว่าผู้ประสบภัยตึกถล่ม แต่ถ้าดูผลโหวต รัฐบาลโหวตให้เลื่อน 249 เสียง ส่วนฝ่ายค้านต้องการให้คุยเรื่องคาสิโน 132 เสียง สรุปฝ่ายค้านเห็นคาสิโนสำคัญกว่าผู้ประสบภัยค่ะ” พร้อมภาพประกอบสรุปมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่ได้ให้คำอธิบายชัดเจนถึงเรื่องที่มีการลงมติ

ข้อความดังกล่าวมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้กดถูกใจเกือบ 5,000 ครั้ง คอมเมนต์กว่า 1,300 ข้อความ และแชร์ไปกว่า 430 ครั้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 4 เมษายน) เนื่องจากการประชุมสภาเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่พิจารณาเรื่องมาตรการจัดการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและการเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร หรือที่บางคนเรียกสั้น ๆ ว่า “พ.ร.บ.กาสิโน” มีการถกเถียงและประท้วงกันวุ่นวายจนประธานการประชุมเกือบควบคุมการประชุมไม่อยู่

โคแฟคตรวจสอบข้อความดังกล่าวโดยอ้างอิงรายงานข่าวของสำนักข่าวหลายแห่งและจากวีดีโอบันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 ปีที่ 2 ครั้งที่ 29 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 ในช่วงที่นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชนและผู้นำฝ่ายค้าน เสนอญัตติด่วนด้วยวาจาให้ที่ประชุมสภาพิจารณาเรื่องมาตรการจัดการผลกระทบจากแผ่นดินไหว จากนั้นนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส. เพื่อไทย ได้ลุกขึ้นเสนอญัตติเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมโดยขอให้นำร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรฯ และร่างกฎหมายอื่นอีก 4 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ. สร้างเสริมสังคมสันติสุข 2 ฉบับ และ ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมประชาชน 2 ฉบับ มาพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 9 เมษายน โดยให้พิจารณาร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรฯ เป็นลำดับแรก

โคแฟคพบว่าข้อความดังกล่าวของเพจฯ มีการบิดเบือนข้อเท็จจริง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าพรรคประชาชนไม่เห็นด้วยกับการเลื่อนพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 5 ฉบับไปในการประชุมครั้งต่อไป เพราะต้องการให้ที่ประชุมสภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรฯ ในวันที่ 3 เมษายนเลย แสดงว่าไม่ให้ความสำคัญกับญัตติเร่งด่วนเรื่องพิจารณามาตรการจัดการผลกระทบจากแผ่นดินไหวอย่างเป็นระบบ ซึ่งโดยข้อเท็จจริง นายณัฐพงษ์ ผู้นำฝ่ายค้านเป็นผู้เสนอญัตติเร่งด่วนด้วยวาจาเรื่องแผ่นดินไหวและมีผู้รับรองถูกต้อง ก่อนที่นายอนุสรณ์ พรรคเพื่อไทยจะเสนอญัตติซ้อนขึ้นมาเรื่องขอเลื่อนวาระการประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ. 5 ฉบับ ในการประชุมครั้งต่อไป

ข้อเท็จจริง

1. ในการประชุมสภาช่วงบ่ายวันที่ 3 เมษายน 2568 ก่อนที่จะมีการลงมติเลื่อนการพิจารณร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 5 ฉบับออกไปเป็นวันที่ 9 เมษายน สส.พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านได้ถกเถียงกันนานเกือบ 3 ชั่วโมง เนื่องจากตกลงกันไม่ได้ว่าจะนำญัตติใดมาพิจารณาก่อน ระหว่างญัตติเรื่องแผ่นดินไหวและญัตติเรื่องการเปลี่ยนระเบียบวาระพิจารณา 5 ร่างกฎหมาย ซึ่งทั้งสองญัตติต่างเป็นการเสนอตามข้อบังคับที่ 54 (1) และ (2) ของระเบียบการประชุม  

2. สส. พรรคประชาชนยืนยันว่าต้องพิจารณาญัตติเร่งด่วนเรื่องแผ่นดินไหวก่อนตามลำดับของการเสนอเพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกพรรคการเมืองเห็นพ้องและต้องใช้เวลานานในการพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปเสนอต่อรัฐบาล  ส่วนญัตติการเลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรฯ ยังไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบพิจารณาก่อนเพราะยังมีความเห็นต่างและข้อถกเถียงอีกมาก และเป็นการเสนอญัตติซ้อนขึ้นมาซึ่งไม่ใช่เรื่องต่อเนื่องหรือเรื่องเดียวกันกับญัตติแรก จึงควรพิจารณาทีหลังฝ่ายค้านมีความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า ไม่มีความจำเป็นต้องเลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรฯขึ้นมาเป็นลำดับแรกของการประชุมวันที่ 9 เมษายน จนต้องแซงคิวร่าง พ.ร.บ. ฉบับอื่นที่อยู่ลำดับก่อน เพราะร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรฯ ยังมีความเห็นต่างและข้อท้วงติงจากภาคประชาสังคมเกี่ยวกับผลกระทบของธุรกิจกาสิโน นอกจากนี้ พรรคประชาชนยังไม่ได้ลงมติเห็นชอบผลการศึกษาที่นำเสนอโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เมื่อปี 2567 แต่ผลการศึกษาได้ผ่านความเห็นชอบไปโดยเสียงข้างมาก

นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชนและผู้นำฝ่ายค้าน

3. สส. พรรคเพื่อไทยอ้างว่าพรรคประชาชนชิงเสนอวาระเร่งด่วนเรื่องแผ่นดินไหวก่อน ทั้งที่ทราบดีว่าพรรคเพื่อไทยเตรียมเสนอญัตติเลื่อนวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรฯ และยืนยันว่าต้องการให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องการเลื่อนวาระการประชุมก่อนซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที และจะได้ถกวาระแผ่นดินไหวต่อไปได้อย่างเต็มที่ เพราะเป็นเรื่องที่ สส. ทุกพรรคเตรียมการอภิปรายมา แต่หากไม่สามารถลงมติเห็นชอบการเลื่อนวาระการประชุมได้ ก็จะเสียเวลาไปอีก เพราะตามข้อบังคับ หลังจากลงมติเลื่อนระเบียบวาระพิจารณาแล้วจะยังไม่สามารถพิจารณาวาระนั้นในทันที ส่งผลให้พิจารณาร่างพ.ร.บ. สำคัญไม่ทันในสมัยประชุมนี้

4. นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาฯ ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม ขอให้พักการประชุม10 นาที เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายไปตกลงกันนอกห้องประชุม แต่ภายหลังกลับเข้ามาประชุมเมื่อเวลา 14.45 น ต่างฝ่ายก็ยังไม่ยอมลงให้กัน

5. ต่อมา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ได้สั่งให้ยุติการถกเถียงและหาข้อสรุปในการลงมติทั้งสองญัตติ โดยให้ที่ประชุมสภาฯ โหวตว่าจะให้พิจารณาญัตติใดก่อนระหว่างเรื่องแผ่นดินไหวและเรื่องการเลื่อนพิจารณา พ.ร.บ.กาสิโนและร่างกฎหมายอื่นรวม 5 ฉบับ ผลโหวตปรากฏว่ามีผู้เห็นด้วยให้พิจารณาเรื่องแผ่นดินไหวก่อน 144 ไม่เห็นด้วย 252 งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 3 จากผู้ลงมติ 401 คน เป็นอันว่าที่ประชุมเห็นชอบให้มีการพิจารณาญัตติเลื่อนพิจารณา พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรฯของพรรคเพื่อไทยก่อน

6. นายรังสิมันต์ โรม สส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน อภิปรายคัดค้านการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรฯเป็นลำดับแรกในการประชุมวันที่ 9 เมษายน และเสนอญัตติให้เลื่อนร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม 2 ฉบับและร่าง พ.ร.บ. สร้างสันติสุข 2 ฉบับ รวม 4 ฉบับ ขึ้นมาพิจารณาก่อน แต่นายวันมูหะมัดนอร์ ประธานที่ประชุม วินิจฉัยว่านายรังสิมันต์จะเสนอญัตติซ้อนญัตติไม่ได้ ที่ประชุมต้องลงมติว่าเห็นด้วยกับญัตติของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ก่อน ถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยจึงจะให้พิจารณาญัตติของนายรังสิมันต์ได้

7. เวลา 16.14 น ที่ประชุมได้ลงมติเลื่อนวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. 5 ฉบับไปพิจารณาในวันที่ 9 เมษายน โดยเลื่อนร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรฯ มาพิจารณาเป็นลำดับแรก ผลการลงคะแนน มีผู้เห็นด้วย 249 เสียง ไม่เห็นด้วย 136 งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 1 จากผู้ลงมติทั้งหมด 388 คน หลังจากนั้นที่ประชุมจึงเข้าสู่วาระการพิจารณาญัตติเรื่องแผ่นดินไหว ตามที่พรรคประชาชนเสนอ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส. เพื่อไทย ได้ลุกขึ้นเสนอญัตติเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม

ข้อสรุปโคแฟค

  1. โพสต์ดังกล่าวของเพจ “วันนี้พรรคส้มโกหกอะไร” เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยมีเจตนาให้เกิดความเข้าใจผิดต่อภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองที่เพจนี้พยายามตรวจสอบ โพสต์ดังกล่าวไม่ได้ให้บริบทของการอภิปรายถกเถียงในสภาฯ ถึงเหตุผลที่ทั้งพรรคประชาชนและพรรคเพื่อไทยต่างยืนยันที่จะผลักดันให้ญัตติของพรรคตนได้รับการพิจารณาก่อน
  2. พรรคประชาชนเป็นฝ่ายเสนอญัตติเรื่องมาตรการจัดการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและต้องการให้ อภิปรายเรื่องนี้จบก่อนจึงจะไปพิจารณาเรื่องการเลื่อนระเบียบวาระการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. 5 ฉบับ
  3. พรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายเสนอญัตติเร่งด่วนซ้อนเรื่องการเลื่อนการพิจารณาระเบียบวาระการประชุม ร่างพ.ร.บ. 5 ฉบับ ไปพิจารณาสัปดาห์หน้า โดยต้องการให้สภาฯลงมติเรื่องนี้ก่อนที่จะไปอภิปรายเรื่องแผ่นดินไหว

โคแฟคมีข้อสังเกตเพิ่มเติมดังนี้

  • ประชาชนที่ได้อ่านข้อความที่เพจเฟซบุ๊ก “วันนี้พรรคส้มโกหกอะไร” โดยไม่ได้ติดตามข่าวสารจากสื่อมวลชนหรือรับชมการถ่ายทอดสดการประชุมสภาในวาระดังกล่าว อาจเข้าใจผิดว่าพรรคประชาชนให้ความสำคัญกับการพิจารณาเรื่องกาสิโนมากกว่าเรื่องแผ่นดินไหว
  • สื่อบางสำนักรายงานข่าวนี้โดยเรียงลำดับเรื่องราว ชูประเด็นและตัดตอนนำข้ออภิปรายส่วนใดส่วนหนึ่งมาสรุป อาจทำให้เกิดความสับสนได้ ดังนั้นผู้อ่าน/ผู้ชมควรตรวจสอบข้อมูลที่เชื่อถือได้จากสื่อหลาย ๆ แหล่ง

อ้างอิง:
https://www.youtube.com/watch?v=B0oOfXHeUIU
https://www.youtube.com/watch?v=hjs7kkI38jg
https://www.youtube.com/watch?v=b2yYDqgd8R8
https://www.thaipbs.or.th/news/content/350918
https://isranews.org/article/isranews-news/136975-isra-412.html
https://www.bangkokbiznews.com/politics/1174355
https://www.matichon.co.th/politics/news_5124301
https://www.infoquest.co.th/news/2025-IR320IQ6QHERSTV1Q172R8X60UGH7I8H
https://mgronline.com/politics/detail/9680000031946
https://www.prachachat.net/politics/news-1787344

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ

​คลิปชุมนุมที่แยกอโศกปี 66 ถูกนำมาสร้างความเข้าใจผิดว่าเป็นการชุมนุมต้านกาสิโนปี 68

Top Fact Checks Political

กองบรรณาธิการโคแฟค

ผู้ใช้เฟซบุ๊กนำวิดีโอเก่าที่บันทึกเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่แยกอโศกมนตรีเมื่อปี 2566 มาโพสต์ใหม่ โดยไม่อธิบายว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสองปีก่อน ทำให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมากเข้าใจผิดว่าเป็นการชุมนุมต่อต้านธุรกิจกาสิโนและร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ที่ผลักดันโดยรัฐบาล น.ส.แพรทองธาร ชินวัตร และกำลังถูกคัดค้านจากประชาชนหลายกลุ่ม

เนื้อหาวิดีโอที่ตรวจสอบ

ช่วงสายวันที่ 7 เมษายน 2568 บัญชีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กชื่อ Phoorithat Thongchoi ได้โพสต์คลิปวิดีโอความยาวประมาณ 1 นาที มีข้อความฝังไว้ว่า “การชุมนุมวันนี้ที่อโศก” (ดูลิงก์บันทึก) เป็นภาพประชาชนจำนวนมากชุมนุมบริเวณแยกอโศกมนตรี เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ท่ามกลางสายฝน คลิปดังกล่าวไม่มีเสียงบรรยาย มีเพียงเสียงคนพูดผ่านเครื่องขยายเสียงและเสียงผู้ชุมนุมตะโกนว่า “สว.ออกไป” โพสต์นี้มีผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมากกว่า 1 พันครั้งและแชร์วิดีโอนี้อย่างน้อย 5.6 พันครั้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน 2568 เวลา 09.15 น.)

ผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมากเข้าใจว่าภาพในวิดีโอนี้เป็นการชุมนุมคัดค้านกาสิโนในวันที่ 7 เมษายน 2568 เห็นได้จากข้อความที่ร่วมคัดค้นร่างกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งข้อความขับไล่รัฐบาลชุดปัจจุบัน เช่น “ไม่เอากาสิโน” “เพื่อลูกหลานในอนาคต จะเอาบ่อนมาทำลายประเทศ มามอมเมาลูกหลานเรา..” และ “น่าจะจุดติดแล้วนะ ลำพังคน กทม.ออกมาซัก 20% ก็เหลือแหล่ให้พวกมันหวั่นไหวได้แล้ว”

วิดิโอนี้ถูกเผยแพร่ในช่วงเวลาที่มีการชุมนุมและเคลื่อนไหวรณรงค์คัดค้านการผลักดัน ร่าง พ.รบ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรหรือที่รู้จักกันในชื่อ พ.ร.บ. “Entertainment Complex” ที่รัฐบาลนำโดยพรรคเพื่อไทยเสนอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจารณารับหลักการในสมัยการประชุมสภาครั้งนี้ โดยสภามีกำหนดจะพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ในวันที่ 9 เมษายน 2568

โคแฟคตรวจสอบ

การรวมตัวคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถานเทิงครบวงจรฯ เกิดขึ้นเป็นระยะมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2568 แต่เข้มข้นขึ้นหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 โดยมีกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) และแนวร่วมได้ปักหลักชุมนุมที่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ใกล้กับทำเนียบรัฐบาล

โคแฟคตรวจสอบจากการรายงานของสื่อมวลชนหลายสำนักพบว่าวันที่ 7 เมษายน 2568 ผู้ชุมนุมยังคงรวมตัวใกล้ทำเนียบรัฐบาล ไม่มีรายงานการชุมนุมที่แยกอโศก ขณะที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ หนึ่งในแกนนำผู้ชุมนุมประกาศว่าจะนัดรวมตัวกันในวันที่ 8 และ 9 เมษายน

โคแฟคนำคลิปวิดีโอการชุมนุมที่แยกอโศกไปตรวจสอบโดยใช้ InVID-WeVerify ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ร่วมพัฒนาโดยสำนักข่าวเอเอฟพีเพื่อตรวจสอบเนื้อหาและที่มาของวิดีโอ ระบบแยกเฟรมภาพในวิดีโอเป็นภาพนิ่งและนำไปค้นหารูปภาพด้วยเครื่องมือ reverse image search พบภาพที่ใกล้เคียงกันเป็นวิดีโอที่โพสต์ใน TikTok เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2568 โดยบัญชีผู้ใช้ชื่อ jj108shops

เมื่อนำภาพและเสียงมาเปรียบเทียบพบว่าน่าจะเป็นวิดีโอเดียวกัน และมีความยาวเท่ากันคือ 1 นาที แต่โคแฟคยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าใครคือผู้ถ่ายคลิปวิดีโอนี้และนำมาเผยแพร่เป็นคนแรก   

โคแฟคตรวจสอบเพิ่มเติมโดยค้นหารายงานข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการชุมนุมที่แยกอโศกในวันที่ 23 กรกฎาคม 2566 พบว่าในวันนั้นมีการชุมนุมทางการเมืองที่นำโดยนายสมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาทั้ง สว. และ สส. โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ในการชุมนุมครั้งนี้ ผู้ชุมนุมได้เดินขบวนแปรอักษรเป็นรูปตัว “ค”

สื่อมวลชนและสื่อออนไลน์หลายแห่งถ่ายทอดสดการชุมนุมครั้งนี้ มีทั้งไลฟ์สตรีม ข่าวออนไลน์และข่าวโทรทัศน์ มีภาพข่าวหลายภาพที่ใกล้เคียงกับคลิปวิดีโอ “การชุมนุมวันนี้ที่อโศก” ที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กนำมาเผยแพร่และทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น

วิดีโอการชุมนุมที่แยกอโศก โพสต์โดยเพจเฟซบุ๊ก The Enquirer เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2568
ภาพจากเว็ปไซต์ The Standard เผยแพร่เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2568 ‘ม็อบพร้อม’ ชุมนุมกลางฝน แยกอโศก เรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชน

ข้อสรุปโคแฟค: วิดีโอเก่านำมาโพสต์ใหม่เพื่อสร้างความเข้าใจผิด หยุดแชร์

วิดีโอ “การชุมนุมวันนี้ที่อโศก” ที่บัญชีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กชื่อ Phoorithat Thongchoi นำมาโพสต์เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2568 เป็นวิดีโอบันทึกภาพการชุมนุมทางการเมืองที่แยกอโศกมนตรี เขตวัฒนา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2566 ไม่ใช่การชุมนุมคัดค้านกาสิโนและร่าง พ.ร.บ. ธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรฯ หรือ Entertainment Complex

แม้ว่าวิดีโอดังกล่าวจะเป็นภาพเหตุการณ์จริง แต่เป็นวิดีโอเก่าตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว การนำมาเผยแพร่ซ้ำในช่วงที่มีการเคลื่อนไหวคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรฯ โดยที่ผู้โพสต์ไม่ให้ข้อมูลอย่างชัดเจนว่าเป็นวิดีโอเก่า แสดงถึงเจตนาที่จะสร้างความเข้าใจผิดว่าเป็นการชุมนุมคัดค้านร่างกฎหมายและรัฐบาลของ น.ส.แพรทองธาร ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ