ทำไมสื่อต้องฟื้นฟูความเชื่อมั่น(Trust in Media)ในหลักวารสารศาสตร์

บทความ

บทความนักคิดดิจิทัล 

ทำไมสื่อต้องฟื้นฟูความเชื่อมั่น(Trust in Media)ในหลักวารสารศาสตร์ 

ผู้เขียน กุลชาดา ชัยพิพัฒน์  อดีตสื่อมวลชน ที่ปรึกษาโคแฟค (ประเทศไทย) 

  • รายงานขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติว่าหรือUNESCOเกี่ยวกับแนวโน้มของเสรีภาพในการแสดงออกเมื่อเดือนมีนาคมปี 2565 ได้ออกมาระบุว่าสื่อสังคมออนไลน์กำลังเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่รายงานข่าวหรือสำนักข่าวในปัจจุบัน โดยได้ถูกสื่อสังคมออนไลน์ และอัลกอริทึมช่วงชิงบทบาทในการเป็นผู้คัดกรองข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้สถิติรายได้ของสำนักข่าวต่าง ๆ ทั่วโลกได้ลดลงกว่าครึ่งในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่กูเกิ้ล (Google) และเมตา (ชื่อใหม่ของFACEBOOK) ได้รับสัดส่วนงบโฆษณาสื่อดิจิตอลไปเกือบครึ่ง ทาง UNESCO ยังได้ออกมาเตือนด้วยว่าโมเดลทางธุรกิจของสำนักข่าวในปัจจุบันทำให้สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนโดยได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะจากการที่สำนักข่าวต่าง ๆ มุ่งสร้างรายได้โฆษณาจากยอดคลิกหรือยอดคนอ่านจำนวนมากกว่าคุณภาพ
  • รายงาน Edelman Trust Barometer 2022 ก็ได้ระบุแนวโน้มที่สอดคล้องกัน โดยจากการสำรวจความเห็นของประชาชนผ่านการสัมภาษณ์ออนไลน์ ใน 28 ประเทศ กว่า 36,000 คน พบว่า ความน่าเชื่อถือต่อรัฐบาลและสื่อมวลชนที่ลดลงเป็นปัจจัยสำคัญพอๆกันที่ทำให้สังคมแตกแยกและติดอยู่ในวังวนของความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยที่ทั้งรัฐบาลและสื่อได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนและความแตกแยกที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อประโยชน์ทางการเมืองและธุรกิจ
  • สงครามข้อมูลข่าวสารที่ปะทุขึ้นและเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน และการบิดกั้นข้อมูลข่าวสารจากคู่กรณีในสงครามรัสเซียยูเครนที่ผ่านมากว่า 2 เดือน ถือเป็นแนวรบที่ 4 นอกเหนือจากสงครามทางกายภาพ สงครามเศรษฐกิจและสงครามทางการทูตในเวทีระหว่างประเทศ ในสงครามเย็นยุค 4.0 ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของวารศาสตร์ที่มีหลักการมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและรอบด้านแก่คนในสังคมต่อประเด็นการเมืองระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก  กรณีของสังคมไทยเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนหรือถูกปั่นกระแสเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความแยกในสังคมที่มีความขัดแย้งสูงอยู่แล้วให้รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่บรรยากาศทางการเมืองกำลังร้อนแรงขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นต้นปี พ.ศ. 2566 และย่อมส่งผลกระทบต่อการเป็นเจ้าภาพของประเทศไทยในการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำประเทศในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ APEC Summit ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2565 ซึ่งจะมีผู้นำจากสมาชิกเอเปค 22 ประเทศ รวมถึงสหรัฐ รัสเซียและจีน และสหภาพยุโรป เข้าร่วมการประชุม 

Trust Media Project และความเคลื่อนไหวในของสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“ความไว้วางใจมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่สับสนอันเกิดจากข้อมูลลวงและบิดเบือน วารสารศาสตร์ที่มีหลักการต้องก้าวออกมายืนอยู่แถวหน้าเพื่อเรียกความไว้วางใจจากสาธารณชนกลับคืนมา”

Trust Media Project เป็นความพยายามที่ริเริ่มโดย Sally Lehrman อดีตผู้สื่อข่าวสายวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่ได้รับรางวัลด้านวารสารศาสตร์มากมายจากสถาบันวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชนขั้นนำในสหรัฐ และกลุ่มบรรณาธิการของสำนักข่าวแถวหน้าในตะวันตกที่ต้องการจะกู้ศรัทธาต่อบทบาทสื่อมวลชนกลับคืนมา ท่ามกลางความท่วมท้นและสับสนของข้อมูลข่าวสารที่เต็มไปเนื้อหาที่เป็นเท็จ หลอกลวงและเข้าถึงได้ง่ายผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ (หลังจากถูกกระแสโจมตีลดทอนความน่าชื่อถือจากวาทกรรม Fake News ที่สร้างขึ้นโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมพ์ และ ผลกระทบสำคัญจากข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนอันส่งผลให้อังกฤษตัดสินใจออกจากประชาคมยุโรป)

โดยเบื้องต้น คณะทำงานซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็น consortium หรือภาคีความร่วมมือของหลายภาคส่วน ได้รวบรวมคำตอบจากผู้ทำแบบสอบถามทั่วโลกว่าอะไรทำให้พวกเขาไว้วางใจหรือไม่ไว้ใจสื่อมวลชน โดยนำผลสำรวจเหล่านั้นมาประเมินและสรุปเป็นตัวชี้วัด 8 ประการ (ดูรายละเอียดในหน้าสาม) ที่ทำให้สื่อมีความน่าเชื่อถือ องค์กรสื่อที่เป็นภาคีจะต้องแสดงตัวชี้วัดเหล่านี้บนหน้าแรกของเว็ปหรือข่าวที่ตีพิมพ์

หลังจากเปิดตัวไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ได้มีการจัดทำแบบสำรวจความเห็นโดย Reach Plc ซึ่งเป็นสำนักสำรวจความเห็นของศูนย์การสร้างการมีส่วนร่วมในการสื่อสารของมหาวิทยาลัย Austin และผลสำรวจพบว่าผู้อ่านมีความไว้วางใจ The Mirror เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 8 รวมทั้งความไว้วางใจใจตัวผู้สื่อข่าวและแหล่งข่าวก็เพิ่มขึ้นในอัตราไล่เลี่ยกัน

ปัจจุบัน Trust Media Project มีเครือข่ายสำนักข่าวอยู่กว่า 200 แห่งทั่วโลก เช่น BBC,  The Mirror, The Globe and Mail,  DPA, La Republica, The Economist, Washington Post, Frontline, Toronto Start, CBA-Radio Canada, La Prensa, และ elPeriodico เป็นต้น ในทวีปเอเชียมีเพียงแห่งเดียวคือ South China Morning Post

ทาง Google, Facebook, Twitter และ Bing ได้แสดงเจตจำนงค์ที่จะให้ความร่วมมือผลักดันให้ตัวชี้วัดเหล่านี้ปรากฎอยู่บนข่าวที่คนดูเข้าไปดูหรือค้นหามากขึ้น

ต่อมาในปี 2563 ทาง BBC ก็ได้สร้างแนวร่วมในทำนองเดียวกันชื่อ Trusted News Initiative (TNI) เพื่อต่อต้านข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนในช่วงเริ่มต้นการระบาดของโควิด19 และ ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี2563 นอกจากจะมีสำนักข่าวใหญ่ที่มีชื่อเสียงทั่วโลกและองค์กรเอ็นจีโอที่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนมาเข้าร่วมเพิ่มมากขี้นแล้ว เช่น  New York Times, Reuters, The Financial Times, The Wall Street Journal และ First Draft ยังกระชับความร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีสื่อสารสารสนเทศอย่าง Google/Youtube และ Microsoft ในการสร้างระบบ Project Origin เพื่อแจ้งเตือนข้อมูลบิดเบือนหรือข้อมูลลวง โดยร่วมมือกันค้นหาต้นตอของข้อมูลที่บิดเบือนและแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง พร้อมกับการกำกับว่าเนื้อหาหรือข่าวใดเป็นเท็จหรือไม่มีความน่าเชื่อถือ

ส่วนความร่วมมือของสื่อมวลชน กับภาคประชาสังคมและบริษัทเทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นรูปธรรมและเข้มข้น เริ่มจากการรวมตัวขององค์กรต่อต้านข้อมูลบิดเบือน อย่างเช่น Mafindo และสำนักข่าวต่างๆในประเทศอินโดนีเซียเพื่อต่อต้านข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนทั่วไป และ ช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี 2561 และก่อนหน้านี้ สำนักข่าว Vera Files และ Rappler ก็ได้ริเริ่มโครงการต่อต้านข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนในฟิลิปปินส์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง และล่าสุด สื่อมวลชนในฟิลิปปินส์ได้ร่วมมือกับภาคประชาสังคม FactsFirstPH เพื่อเตรียมต่อสู้กับสงครามข้อมูลข่าวสารก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ที่จะมีขึ้นในวันที่ 9 พฤษภาคม ศกนี้ สำหรับในประเทศไทย ความตื่นตัวในเรื่องการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนเริ่มจากช่วงสงครามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยมีภาคประชาสังคมเป็นแกนหลัก Cofact Thailand ส่วนสื่อมวลชนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในภายหลังแต่ยังอยู่ในวงจำกัด

8 ตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือในสื่อมวลชน

  1. ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจและมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมของสื่อ (Best Practices)
  2. ความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชีพของผู้สื่อข่าว ต้องเปิดเผยชื่อ ประวัติและความเชี่ยวชาญ ผลงานที่ผ่านมา (Journalist Expertise)
  3. ระบุประเภทของเนื้อหาข่าวให้ชัดเจน โดยแยกให้ชัดว่าเป็นรายงานข่าว บทความแสดงความคิดเห็น บทวิเคราะห์หรือบทความที่มีสปอนเซอร์ (Type of Work)
  4. ระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในข่าว ในกรณี ข่าวสืบสวนสอบสวน หรือข่าวที่มีข้อถกเถียง ต้องระบุแหล่งข้อมูลตั้งต้นทีมาของข้อเท็จจริงและข้อโต้แย้งต่าง ๆ ที่อ้างอิงในข่าวหรือรายงานชิ้นนั้น (Citations and References)
  5. อธิบายกระบวนการทำข่าว เช่น ทำไมข่าวชิ้นนี้ถึงสำคัญ ถ้าเป็นข่าวสืบสวนสอบสวน หรือข่าวที่มีข้อโต้แย้ง ต้องระบุสาเหตุที่ติดตามข่าวนี้ ( Methods)
  6. เป็นข่าวที่ผู้สื่อข่าวรายงานมาจากท้องที่ ผู้สื่อข่าวมีความรู้เกี่ยวกับพื้นที่นั้น และมีข้อมูลเชิงลึกของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือพื้นที่นั้น ๆ (Locally Sourced)
  7. แสดงถึงความพยายามและมุ่งมั่นของกองบรรณาธิการที่จะนำเสนอข่าวรอบด้านในสังคมโดยให้ความสำคัญกับเสียง บทบาทหน้าที่และสถานะของคนทุกเพศ ทุกวัยและกลุ่มในสังคมอย่างเท่าเทียม (Diverse Voices)
  8. ให้พื้นที่ผู้อ่านในการโต้แย้ง เสนอแนะความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงงานข่าวในเชิงประเด็นที่ตอบโจทย์สังคมและให้มีคุณภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ (Actionable Feedback)

ในยุคที่ สื่อมวลชนตกอยู่ในวงล้อมดิจิทัล (Journalism under Digital Siege) หลักวารสารศาสตร์แห่งความจริงยิ่งสำคัญ โดยเฉพาะ วารสารศาสตร์ที่ปราศจากความเกรงกลัว และ ความลำเอียง (Journalism without Fear or Favor) ในการนำเสนอข้อเท็จจริง แม้จะเป็นสิ่งที่เป็นอุดมคติมาก แต่ก็เป็นภารกิจที่จำเป็นและท้าทายยิ่งในการธำรงหลักการความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชนไม่ใช่เสื่อมถอยไปตามแรงบีบรัดทางเศรษฐกิจการเมืองและเทคโนโลยีดิจิทัล 


ตรวจสอบมาตรการโควิดใหม่ เดือนพฤษภาคม 2565 มีอะไรบ้าง COFACT Special Report #22

บทความ

วันที่ 1 พฤษภาคมนี้ ศบค. กำหนดมาตรการรับมือกับโควิด-19 ใหม่ ทั้งมาตรการสำหรับในประเทศและต่างประเทศ สาระสำคัญหลักคือการลดขั้นตอนการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR สำหรับผู้ที่เข้าประเทศ ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางระหว่างประเทศสะดวกสบายยิ่งขึ้น และยังมีการผ่อนคลายมาตรการสำหรับประชาชนในประเทศมากขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อในช่วงหลายสัปดาห์ลดลงอย่างต่อเนื่อง

English Summary:

Thailand lifts more travel restrictions by allowing fully vaccinated visitors into the country without taking RT-PCR test (Test & Go scheme). The government also allows restaurants to serve alcohol beverages until midnight. These measures come as daily new COVID-19 cases have been reduced for the past two weeks. This is a welcome news for both tourists and locals, especially those in tourism sector. However, the government warns that we are not in the endemic stage yet due to the death rate per day is still 0.3%, and less than 40% of Thais still have not received the vaccine booster dose yet.

Q: ผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทย ไม่ต้องตรวจ RT-PCR และ Test & Go แล้วใช่หรือไม่?

A: ใช่ ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางเรือ หรือทางอากาศ ที่มีประวัติเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 ครบตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด สามารถเดินทางเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องเข้ารับการตรวจ RT-PCR แบบ Test & Go อีกต่อไป อย่างไรก็ตามผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวไทย หรือชาวต่างชาติ จะต้องกรอกข้อมูลการฉีดวัคซีน และที่พักของตนเองบนระบบ Thailand Pass ก่อนเดินทางเข้าประเทศทุกคน สำหรับผู้ที่ยังฉีดวัคซีนไม่ครบตามจำนวนที่กำหนด หรือไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ยังคงต้องแสดงผลตรวจ RT-PCR เป็นลบก่อนเดินทางไม่เกิน 72 ชั่วโมง และเมื่อเดินทางมาถึงจะต้องเข้ารับการกักตัวที่โรงแรม AQ เป็นเวลา 5 คืน พร้อมกับตรวจ RT-PCR อีกหนึ่งครั้งก่อนจะเดินทางต่อภายในประเทศได้

Q: แล้วคนไทยที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ยังคงต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 อยู่หรือไม่?

A: สำหรับการเดินทางไปต่างประเทศของคนไทย จะต้องศึกษาข้อมูลของประเทศปลายทางว่ายังจะต้องตรวจหาเชื้อหรือไม่ ข้อมูลล่าสุด (วันที่ 1 พฤษภาคม 2022) ประเทศที่คนไทยนิยมเดินทาง เช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศเหล่านี้ยังคงต้องแสดงผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR (หรือ ATK แบบออกใบรับรองโดยแพทย์) ก่อนเดินทาง แต่เมื่อเดินทางถึงไม่ต้องตรวจหาเชื้ออีก อย่างไรก็ตามก่อนเดินทางเราควรศึกษามาตรการของประเทศปลายทางก่อน เนื่องจากมาตรการเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

Q: มาตรการในประเทศหลังวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ มีอะไรที่ผ่อนคลายเพิ่มบ้าง?

A: ศบค. ปรับระดับสีของทุกจังหวัดทั่วประเทศเหลือเพียง 2 สี คือพื้นที่เฝ้าระวัง (สีเหลือง) และพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) โดยทุกจังหวัดสามารถจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อบริโภคในร้านได้ถึงเวลา 24:00 น. สถานบริการที่เป็นผับ บาร์ คาราโอเกะ สามารถปรับการบริการให้เป็นแบบร้านอาหาร และจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ 

สำหรับผู้ที่สัมผัสเสี่ยงสูง หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 ให้ลดวันกักตัวลงเหลือ 5 วัน และกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ โดยสังเกตอาการด้วยตนเองอีก 5 วัน และหมั่นตรวจหาเชื้อด้วย ATK อย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาดังกล่าว

Q: ใกล้เปิดเทอมแล้ว มาตรการผ่อนคลายจะช่วยให้นักเรียนกลับไปเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติหรือยัง?

A: กระทรวงศึกษาธิการ และ ศบค. เห็นชอบให้มีการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยสถานศึกษาให้ประเมินความพร้อมผ่านระบบ TSC+ และปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้บ่อยครั้ง และตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี ATK เมื่อมีอาการหรือมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ หากพบว่ามีนักเรียน หรือบุคลากรในโรงเรียนติดเชื้อโควิด-19 หรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จะต้องปฏิบัติตามมาตรการ 5+5 (กักตัว 5 วัน และสังเกตอาการ 5 วัน) 

นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการยังขอความร่วมมือให้นักเรียนอายุ 12-17 ปีที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน เข้ารับการฉีดเข็มกระตุ้น (เข็ม 3) ก่อนเปิดภาคเรียน ส่วนนักเรียนที่อายุ 5-11 ปีให้เข้ารับการฉีดวัคซีนก่อนเปิดภาคเรียนตามความสมัครใจของผู้ปกครองเช่นกัน ซึ่งการที่นักเรียนได้รับการฉีดวัคซีน และเข็มกระตุ้นก่อนเปิดภาคเรียน จะช่วยลดอาการป่วยหนัก และการติดเชื้อได้ ช่วยให้นักเรียนสามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้อย่างมั่นใจ และผู้ปกครองก็จะสบายใจที่บุตรหลานจะมีโอกาสติดเชื้อหรือป่วยจากโควิด-19 น้อยกว่าผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

Q: แล้วตอนนี้เชื้อโควิด-19 ในไทยเป็นโรคประจำถิ่นแล้วหรือยัง?

A: นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ระบุเมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมาว่า อัตราผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ต่อวันของไทยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมายังเฉลี่ยอยู่ที่ 0.3 ต่อจำนวนผู้ติดเชื้อต่อวัน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้โควิด-19 จะเป็นโรคประจำถิ่นได้ อัตราการเสียชีวิตต่อวันจะต้องต่ำกว่า 0.1 ดังนั้นปัจจุบันโควิด-19 ยังไม่เข้าสู่โรคประจำถิ่นตามคำจำกัดความของกระทรวงสาธารณสุข

นอกจากอัตราจำนวนผู้เสียชีวิตต่อวันจะต้องน้อยกว่า 0.1 แล้ว การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น โดย พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ประชาชนทั้งประเทศจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น 60% ขึ้นไป ถึงจะสามารถผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ตามแผนการเปลี่ยนผ่านเชื้อโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่นได้

โรคประจำถิ่น (Endemic) หมายถึงโรคติดต่อที่แพร่ระบาดตามฤดูกาล เป็นโรคที่มีความรุนแรง แต่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ และรักษาหายได้หากได้รับการเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้อย่างทันท่วงที โรคประจำถิ่นในปัจจุบันที่เรามักคุ้นเคยได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก และเอดส์

ที่มา:

https://tna.mcot.net/politics-928495

https://www.bbc.com/thai/thailand-61185890

https://www.bangkokbiznews.com/social/1000538

https://www.bangkokbiznews.com/social/1001551

https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31751


เกี่ยวกับผู้เขียน

ธนภณ เรามานะชัย (ไมค์) Fact-checker และ คอลัมนิสต์ประจำ Cofact Thailand

ปัจจุบันทำหน้าที่วิทยากรด้านการตรวจสอบข้อมูลข่าวและเครื่องมือดิจิทัลด้านข่าวให้กับ Google News Initiative ก่อนหน้านี้เขาเป็นผู้ประกาศข่าวเทคโนโลยีให้กับสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (Voice TV) และอดีตกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) https://www.damikemedia.com

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 30 เมษายน 2565

จริงหรือไม่…? จากการที่มีการโพสต์ในกลุ่ม อสม.ที่อุบลราชธานี ถึงยาแคปซูลชนิดหนึ่งว่าสามารถยับยั้งโควิดลงปอด

ไม่จริง

เพราะ…เป็นข่าวลวงเก่าปี 2563 ที่วนซ้ำกลับมาแชร์ใหม่

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/u5hl1ldsy336


จริงหรือไม่…? อย. แพ้คดี หลังไฟเซอร์ถูกบังคับให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีน

ไม่จริง

เพราะ…รายงานดังกล่าวไม่ได้มีการปิดบังหรือถูกศาลสั่งให้เปิดเผยแต่อย่างใด เพราะมีการเผยแพร่ให้สาธารณะทราบเป็นระยะ ทั้งนี้ US FDA จะมีการตรวจสอบว่าอาการต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/18m5avy3ma8ki


จริงหรือไม่…?  วันที่ 1 พ.ค. 65 สปป.ลาว เปิดประเทศเต็มรูปแบบแล้ว

จริง

เพราะ…เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว และการเดินทางเข้า-ออกประเทศลาว สำหรับนักธุรกิจ นักลงทุน และบุคคลทั่วไป 

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3c1xei6gipt8r


จริงหรือไม่…?  จ่อปลดล็อกเข้าประเทศทุกเงื่อนไข 1 มิ.ย.นี้ เลิก ThailandPass/Test&Go

จริง

เพราะ…เป็นนโยบายผลักดันเพื่อปลดล็อกเงื่อนไขการเข้าประเทศทั้งหมด ให้เหมือนกับก่อนวิกฤตโควิด-19

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3hwpeswgjrxv9


จริงหรือไม่…?  มาเลเซียประกาศผ่อนคลายมาตรการป้องกัน #โควิด19

จริง

เพราะ…ตั้งแต่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป ยกเว้นพื้นที่ภายในอาคาร เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือระบบขนส่งมวลชน ที่ยังบังคับให้ต้องสวมหน้ากากอนามัยอยู่

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1n3zuxjtfjwgg


จริงหรือไม่…?  อันตรายจากละออง แอลกอฮอล์ ที่ใช้ฉีดมือสิ่งของ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่งผลต่อทางเดินหายใจ

จริง

เพราะ…แอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์ ไม่ว่าเซลล์ผิวหนัง เซลล์เยื่อบุ หรือแบคทีเรีย ไวรัส

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1v0d40ugnttmv


จริงหรือไม่…? ก่อนกรอกข้อมูลข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์ต้องมั่นใจว่าระบบที่ใช้มีความปลอดภัย

จริง

เพราะ…ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนใช้บริการ และควรใส่ข้อมูลส่วนบุคคลให้น้อยที่สุด ใส่เท่าที่จำเป็น และควรเลือกเว็บไซต์หรือบริการที่น่าเชื่อถือ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2ldt4yk0pcs86


จริงหรือไม่…?  รถไฟฟ้าบีทีเอส ขอความร่วมมือ ไม่นั่งไขว่ห้างบนรถไฟฟ้า

จริง

เพราะ…รขาของเราอาจจะไปโดนผู้โดยสารท่านที่ยืนอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัว

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2e80ew3420q68


จริงหรือไม่…?  สำนักงานตำรวจแห่งชาติจับมือกับเครือข่ายโทรศัพท์ในการตอบโต้ปัญหา Call center

จริง

เพราะ…เพื่อตัดการทำงานของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยให้ประชาชนแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวเข้าระบบมือถือทั้ง 3 ค่าย เพื่อตรวจสอบและบล็อกเบอร์ดังกล่าว

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2415rgn405ya


จริงหรือไม่…? TCAS65 นักเรียนจำนวนพันคน ไม่ได้ฝนเลขชุดในกระดาษคำตอบ ทำให้คะแนนเป็นศูนย์

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…กก. TCAS มีมตินำกระดาษคำตอบที่ลืมฝนมาดำเนินการตรวจให้คะแนนตามเลขที่ระบุไว้ของผู้เข้าสอบโดยจะดำเนินการภายใน30 เมย. 65

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2vhmazupcnukv

อาวุโสโซเชียล สร้างความเข้าใจ และเชื่อมโยงผู้สูงวัยเข้าสู่สังคมออนไลน์

ในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์ เพราะใคร ๆ ก็สามารถโพสต์เรื่องราวลงบนโลกออนไลน์ได้ ในตอนนี้ซาร่าจะชวนแม่กุ้งไปตรวจสอบเว็บไซต์และข่าวปลอม รวมถึงพาไปฟังคำแนะนำการเช็กก่อนแชร์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญกัน

ติดตามชมรายการ อาวุโส โซเชียล วันพฤหัสบดีที่ 28 เม.ย. 65 เวลา 09.30 – 10.00 น. ทาง ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุกรับชมได้ทาง #ALTVช่อง4ทีวีเรียนสนุก #ช่องหมายเลข4Website : www.ALTV.tv/AwusoSocialFacebook : www.fb.com/ALTV4เพิ่มเพื่อนทาง LINE : www.ALTV.tv/AddLINEเว็บไซต์ข่าวปลอมออนไลน์แม่กุ้ง

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 24 เมษายน 2565

จริงหรือไม่…? ดื่มแอลกอฮอล์แก้เมาค้างได้

ไม่จริง

เพราะ…การดื่มแอลกอฮอล์กลับยิ่งจะทำให้คุณปวดปัสสาวะมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเมาค้างได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3i63dy09bjgah


จริงหรือไม่…? การแยงจมูก เป็นประจำเป็นการทำลายโพรงจมูก

ไม่จริง

เพราะ…ชัวร์ก่อนแชร์รายงานว่า การ Swab ไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ กับระบบประสาท

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/ictndbs2oiuh


จริงหรือไม่…? ทาวุ้นว่านหางจระเข้สดบริเวณจุดซ่อนเร้นของผู้หญิง ช่วยดับกลิ่น ลดตกขาว ผิวนุ่มชุ่มชื้น

ไม่จริง

เพราะ…ยังไม่มีผลวิจัยใดๆพิสูจน์ได้ว่าว่านหางฯช่วยดับกลิ่นไม่พึงประสงค์

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1tpjgereb9yww


จริงหรือไม่…? กินอาหารเสริมบำรุงสมองก่อนสอบ ช่วยเพิ่มความจำได้

ไม่จริง

เพราะ…อาหารเสริมไม่ช่วยในการเพิ่มความจำ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2owqat4bi90wj


จริงหรือไม่…? ญี่ปุ่นมีตู้หยอดเหรียญน้ำแร่มหัศจรรย์ฆ่าเชื้อโควิด

ไม่จริง

เพราะ…เป็นเครื่องฟอกอากาศ และไม่ได้ระบุว่าสามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3p0krs6oth41j


จริงหรือไม่…? อาการเหงื่อออกมือ เป็นสัญญาณของโรคหัวใจ

ไม่จริง

เพราะ…โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มักมาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย อาจมีอาการใจสั่น หรือเหงื่อออกร่วมด้วยได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/22vstqofu9cyl


จริงหรือไม่…? แถลงการณ์สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ความจำเป็นของการได้รับวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น

จริง

เพราะ…องค์การอนามัยโลก ประกาศสนับสนุนประชาชนเข้ารับวัคซีน #โควิด19 เข็มกระตุ้น เพื่อลดอัตราการป่วยหนัก และสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ #Omicron

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/106w6uvi8osk3


จริงหรือไม่…? ฟ้าทะลายโจรกับยาฟาวิพิราเวียร์ ห้ามทานร่วมกัน

จริง

เพราะ…มีโอกาสเป็นพิษต่อตับและผลกระทบขัางเคียงอื่นๆ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3nabs9wsbg7eo


จริงหรือไม่…? คนไทย 7 กลุ่มเสี่ยง ทุกสิทธิการรักษา เริ่มฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ฟรี 1 พ.ค.นี้

จริง

เพราะ…ไม่ต้องจอง ไปก่อนได้ก่อน 1 พค. – 31 สค.65 หรือจนกว่าวัคซีนจะหมด ค้นหาสถานพยาบาลใกล้บ้านผ่านกระเป๋าสุขภาพ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1rl283zpug3l5


จริงหรือไม่…?  เปลี่ยนรองเท้าให้เป็นทุนการศึกษาปันรองเท้ากัน

จริง

เพราะ…ร้านปันกันรับบริจาครองเท้าสภาพดี เพื่อนำมาจำหน่าย รายได้ทั้งหมดมอบเป็นทุนการศึกษาให้กับน้องๆ ที่ขาดโอกาส ใน มูลนิธิยุวพัฒน์ได้เรียนหนังสือต่อ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3mys3koupn9t2


จริงหรือไม่…? โรงเรียนอนุบาลปัตตานี สามารถคลุมฮิญาบไปโรงเรียนได้แล้ว

จริง

เพราะ…หลังศาลปกครองยะลาอ่านคำตัดสินคดีให้สามารถคลุมฮิญาบไปเรียนได้ ศาลให้ยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/vtn6f38uycnb


ติดตาม…สรุปกิจกรรม สัปดาห์ค้นหาข้อเท็จจริง ในวาระวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2565

Editors’ Picks

รายงานสรุปกิจกรรม

สัปดาห์ค้นหาข้อเท็จจริง ในวาระวันตรวจสอบข่าวลวงโลก

วันที่ 28 มีนาคม – 2 เมษายน พ.ศ. 2565


📢 #รู้ทันข่าวลวง ผ่านงานสัปดาห์ค้นหาข้อเท็จจริง ในวาระวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2565 

ระหว่างวันที่ 28 มี.ค. – 2 เม.ย. 65

📌 สัปดาห์วันตรวจสอบข่าวลวงโลก  มีกิจกรรม ดังนี้ 

  • กิจกรรมที่ 1   วันจันทร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2565 . : เสวนาออนไลน์ เวทีนักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 20 “รับมือมิจฉาชีพยุค 5G ถึงเวลาวาระแห่งชาติ”
  • กิจกรรมที่ 2   วันอังคาร ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565 : กิจกรรมฉายหนังสั้นจาก 8 ประเทศ พร้อมเสวนาทำไมสิทธิดิจิทัลจึงสำคัญ ณ  Doc Club & Pub. โดย Engagemedia Cofact Thailand  มูลนิธิผสานวัฒนธรรม Doc Club
  • กิจกรรมที่ 3   วันพุธ ที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2565 : เสวนาออนไลน์ Media Forum ครั้งที่ 14 “บทบาทอัลกอริทึมกับการเข้าถึงข้อเท็จจริงในยุคดิจิทัล”
  • กิจกรรมที่ 4   วันพฤหัส ที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2565 และ วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 : Verification Training workshop in Ampawa ฝึกอบรมการตรวจสอบข่าวลวง
  • กิจกรรมที่ 5   วันเสาร์ ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2565  : กิจกรรม FactCollabTH ในวาระวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2565 International Fact-Checking Day 2022   Hybrid event  ณ The Sukosol Hotel

ถ่ายทอดสดทางออนไลน์
• Facebook : Thai PBS , Cofact โคแฟค, สภาองค์กรของผู้บริโภค, สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ , สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
• YouTube : www.youtube.com/ThaiPBS #ThaiPBS


ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม คลิก

ประมวลภาพกิจกรรม

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 16 เมษายน 2565

จริงหรือไม่…? ดื่มแอลกอฮอล์สามารถแก้เมาค้างได้

ไม่จริง

เพราะ…ไม่มียาลดการเมาใดๆ หรือยาสูตรสำเร็จแก้อาการเมาค้างได้ผล 100% ดีที่สุดคือดื่มแต่น้อย และมีสติ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/18k8bq205p3dr


จริงหรือไม่…? การแช่น้ำเกลือช่วยลดอาการตกขาว

ไม่จริง

เพราะ…อาจเสี่ยงอันตรายได้ ทั้งในเรื่องของความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้นั่งแช่ และหากมีการเข้าใจผิดนำน้ำเกลือเข้าล้างภายในช่องคลอดก็จะทำให้เสียสมดุล อาจเกิดการติดเชื้อต่างๆ ได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2t7ygzrsvei2b


จริงหรือไม่…? มะนาวสามารถไล่งูได้

ไม่จริง

เพราะ…เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น ไม่สามารถไล่งูได้จริง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3iq7ztkhedcoh


จริงหรือไม่…? แผ่นกอเอี๊ยะสามารถรักษาสิวให้หายได้

ไม่จริง

เพราะ…แผ่นแปะกอเอี๊ยะช่วยบรรเทาอาการอักเสบในบริเวณที่แปะแผ่นกอเอี๊ยะชนิดแก้อักเสบเท่านั้น สิวควรรักษาที่ต้นเหตุ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2mo4je665609o


จริงหรือไม่…? การกินยาถ่ายพยาธิสามารถทำให้อ้วนขึ้นได้

ไม่จริง

เพราะ…ยาถ่ายพยาธิมีผลต่อการกำจัดพยาธิแต่ไม่ได้มีผลต่อน้ำหนักตัว

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/14ilos2b5lzlu


จริงหรือไม่…? ชาเขียวสามารถช่วยป้องกันฟันผุ

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ชาเขียวมีสารพอลิฟีนอลส์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่เครื่องดื่มชาเขียวมักมีสารให้ความหวาน หากบริโภคปริมาณมากทำให้ฟันผุได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/k8xawg9wzyjs


จริงหรือไม่…? มะนาวสามารถช่วยรักษาสิวได้

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ขึ้นอยู่กับสภาพผิว แนะควรปรึกษาแพทย์ผิวหนัง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1yicimp4ce77m


เช็ครายชื่อสื่อของรัฐบาลรัสเซีย และการตรวจสอบแยกแยะที่มาของข่าวสงครามยูเครน COFACT Special Report #21

บทความ

ข่าวการร่วมมือนำเสนอข่าวสารจากสื่อของรัสเซีย นำโดยสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทำให้ประชาชนไทยให้ความสนใจถึงการทำหน้าที่สื่อมวลชน และการนำเสนอข่าวสารภายใต้สภาวะสงครามของรัสเซีย และสื่อของชาติตะวันตก เนื่องจากสื่อของรัสเซียส่วนมากจะนำเสนอข้อมูลข่าวสารไปในทางสนับสนุนรัฐบาลของตน ขณะที่สื่อฝั่งตะวันตกจะนำเสนอภาพความสูญเสีย และความเสียหายจากการบุกรุกของกองทัพรัสเซียในยูเครนมากกว่า

English Summary

Russian state media have been well-known in the Western countries as the primary sources for war propaganda. However, not many Thai people know which Russian media outlet is a state-owned or operate independently. This article provides a basic guideline on who are the Russian state-owned media, how they operate, and how to be cautious before believing in information from these outlets. 

หนึ่งในมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกหลายประเทศ​ก็คือการแบนการนำเสนอข้อมูลจากสื่อของรัฐบาลรัสเซีย หรือสื่อที่มีความสัมพันธ์กับรัฐบาลรัสเซีย เช่นอังกฤษมีการระบุให้สื่อของรัฐบาลรัสเซียเป็นสื่อประเภทโฆษณาชวนเชื่อ ขณะที่ผู้ให้บริการสื่อโซเชียล เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และยูทูบมีฟังค์ชั่นแจ้งคำเตือนผู้ใช้งานในเนื้อหาที่นำเสนอโดยสื่อของรัฐบาลรัสเซีย 

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ปัจจุบันรัสเซียเป็นประเทศที่สื่อหลัก เช่น โทรทัศน์​ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาล หรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยโทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แทบทุกครัวเรือนจะรับชมข่าวผ่านโทรทัศน์ และรายการข่าวส่วนใหญ่ผลิตโดยสื่อที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล

ทีวี สื่อกระแสหลัก คนรัสเซียชมมากที่สุด เผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อมากที่สุด

ถึงแม้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเข้าถึงประชาชนชาวรัสเซียจำนวนมาก แต่การชมข่าวสารผ่านโทรทัศน์ หรือติดตามข่าวผ่านทางเว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์ก็ยังคงเป็นวิธีการรับข่าวสารยอดนิยม โดยสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ตามรายงานของสำนักข่าวบีบีซี คือสถานีที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ เช่น Channel One และ Rossiya 1 ทั้งสองสถานีล้วนมีแนวทางการนำเสนอข่าวสนับสนุนนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล ขณะที่ NTV เป็นสถานีโทรทัศน์เอกชนที่บริหารโดยกลุ่มบริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ Gazprom ซึ่งมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 

ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์เอกชนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับ หรือบริหารโดยรัฐบาลรัสเซียได้ปิดตัวลงไปแล้วทั้งหมด เนื่องจากกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่จำกัดสิทธิ์ไม่ให้พวกเขานำเสนอข้อมูลที่ขัดแย้งกับรัฐบาล โดยเฉพาะการนำเสนอข้อมูลสงครามยูเครน จะต้องเป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลกำหนดเท่านั้น ดังนั้นสถานีโทรทัศน์ที่เหลือ ซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ภายใต้กำกับของรัฐ หรืออาจจะเป็นสถานีของเอกชน แต่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นหน่วยงานของรัฐก็มักจะนำเสนอข่าวไปในทางเดียวกัน คือสนับสนุนการทำงานและนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล

RT ช่องข่าวภาษาอังกฤษ ตัวแทนรัฐบาลรัสเซียนำเสนอโฆษณาชวนเชื่อไปทั่วโลก

สถานีโทรทัศน์ของรัสเซียที่หลายคนทั่วโลกมักจะคุ้นเคยคือ RT สถานีข่าวภาคภาษาอังกฤษที่สามารถรับชมผ่านระบบจานดาวเทียมและเคเบิลทั่วโลก RT ถือเป็นสำนักข่าวชั้นนำของรัสเซียที่มีผู้สื่อข่าวประจำตามประเทศต่างๆ คล้ายกับ CNN และ BBC แต่สิ่งที่ต่างจากสองสถานีนี้คือ RT เป็นสำนักข่าวที่บริหารภายใต้งบประมาณของรัฐบาลรัสเซีย ไม่ใช่รูปแบบทีวีสาธารณะ (เช่น BBC) หรือโทรทัศน์เอกชน (เช่น CNN) ดังนั้นรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารก็จะเน้นไปทางสนับสนุนการทำงานและนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลรัสเซีย และขัดแย้งกับรายงานข่าวในสื่อฝั่งตะวันตก หรือสื่อชั้นนำระดับโลกที่อยู่ในประเทศเสรีประชาธิปไตย

นอกจาก RT จะเป็นช่องโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้ทั่วโลกแล้ว RT ยังมีบริการเนื้อหาให้กับสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลกสามารถซื้อเนื้อหานำไปใช้ในการนำเสนอข่าวให้กับประชาชนในประเทศของตัวเอง ถึงกระนั้นหลายประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ต่างแบนการนำเสนอข้อมูลของ RT และไม่อนุญาตให้สำนักข่าวต่างๆ นำเนื้อหาของ RT ไปนำเสนอ โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสงครามยูเครน เพราะอาจมีเนื้อหาเชิงโฆษณาชวนเชื่อ และข่าวลวงที่ไม่ตรงกับสถานการณ์จริงในพื้นที่ 

สื่อออนไลน์ของรัสเซีย ควรอ่านด้วยความระมัดระวัง

ปัจจุบันชาวรัสเซียจำนวนมากนิยมติดตามข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ประชาชนเข้าถึงสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์พกพาแทบทุกพื้นที่ ถึงกระนั้นด้วยกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ทำให้ประชาชนในรัสเซียไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากภายนอกประเทศได้ รัฐบาลรัสเซียปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ข่าวต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศชาติตะวันตก เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ และเยอรมนี ทำให้ประชาชนที่ติดตามข่าวสงครามในยูเครนจะได้รับข้อมูลข่าวสารจากฝั่งของรัฐบาลเป็นหลัก

อย่างไรก็ตามประชาชนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตอาจจะใช้เครื่องมือต่างๆ ในการเข้าถึงเว็บไซต์ต่างประเทศได้ แต่นั่นก็มีจำนวนน้อย และไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ในประเทศได้

เว็บไซต์ข่าวยอดนิยมในรัสเซียส่วนใหญ่จะคล้ายกับสถานีโทรทัศน์ เป็นสำนักข่าวที่อยู่ภายใต้กำกับของรัฐ หรือเป็นบริษัทเอกชนที่มีบริษัทของรัฐเป็นผู้ถือหุ้นหลัก ดังนั้นเนื้อหาของเว็บไซต์เหล่านี้ก็จะมีทิศทางไปในด้านสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล แต่ก็ยังมีเว็บไซต์ยอดนิยมบางเว็บที่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียง แต่เป็นแค่ตัวกลางในการเผยข้อมูลในรัสเซียซึ่งบางครั้งเว็บไซต์ในต่างประเทศอาจจะมีไม่เพียงพอ

ตัวอย่างเว็บไซต์ยอดนิยมในรัสเซีย:

  • TASS – เว็บไซต์ข่าวภาษาอังกฤษ อยู่ภายใต้กำกับของรัฐ
  • Interfax – เว็บไซต์ข่าวภาษาอังกฤษ ดำเนินการโดยเอกชน 
  • Lenta.ru – เว็บข่าวออนไลน์ยอดนิยม เนื้อหาเป็นภาษารัสเซีย
  • The Moscow Times – เว็บไซต์ข่าวภาษาอังกฤษ ใช้ชื่อเดียวกันกับหนังสือพิมพ์ที่เคยได้รับความนิยม
  • Sputnik – เว็บไซต์ที่ให้บริการเนื้อหาหลากหลายประเภท มีให้เลือกหลากหลายภาษา บริหารงานโดยรัฐ
  • Yandex.ru – เว็บเซิร์จเอนจิ้นยอดนิยมในรัสเซีย มีฟังค์ชั่นทั้งภาษารัสเซีย และภาษาอังกฤษ
  • VKontakte – สื่อโซเชียลยอดนิยมของคนรัสเซีย

หากคุณใช้งานเว็บไซต์เหล่านี้ หรือพบว่ามีเนื้อหามาจากเว็บไซต์เหล่านี้ อาจจะต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบเนื้อหา วิธีการที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง หรือโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลรัสเซีย ก็คือการตรวจสอบเนื้อหาเดียวกันในหลายๆ สื่อ เช่น ตรวจสอบเนื้อหาเดียวกันในสื่อต่างประเทศ สำนักข่าวอื่นๆ อย่างน้อย 2-3 แห่ง เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการนำเสนอ และตัดสินในข้อมูลที่มีการรายงานตรงกัน 


ที่มา:

https://www.bbc.com/news/world-europe-17840134

https://www.indexoncensorship.org/2013/12/brief-history-russian-media/

เกี่ยวกับผู้เขียน

ธนภณ เรามานะชัย (ไมค์) Fact-checker และ คอลัมนิสต์ประจำ Cofact Thailand

ปัจจุบันทำหน้าที่วิทยากรด้านการตรวจสอบข้อมูลข่าวและเครื่องมือดิจิทัลด้านข่าวให้กับ Google News Initiative ก่อนหน้านี้เขาเป็นผู้ประกาศข่าวเทคโนโลยีให้กับสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (Voice TV) และอดีตกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) https://www.damikemedia.com

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 10 เมษายน 2565

จริงหรือไม่…? ตรวจการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการกลั้นหายใจ

ไม่จริง

เพราะ…ยังไม่มีผลวิจัยทางการแพทย์ยืนยัน วิธีกลั้นหายใจสามารถใช้เช็กการติดเชื้อโควิด-19 ได้ รวมถึงขณะนี้การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ยังไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/22edha3fs01p5


จริงหรือไม่…? การรับประทานอาหารตามกรุ๊ปเลือดช่วยลดน้ำหนักได้

ไม่จริง

เพราะ…ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากพอที่เชื่อถือได้มาสนับสนุนแนวคิดการรับประทานอาหารตามกรุ๊ปเลือด

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2ww0pm82dedqf


จริงหรือไม่…? นำ “กบตบปาก” ช่วยให้ลูกพูดเร็วขึ้น

ไม่จริง

เพราะ…ส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางอารมณ์และความรู้สึกของเด็ก และอาจได้รับเชื้อโรคจากสัตว์

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/8equptqi2kmb


จริงหรือไม่…? สาวข้ามเพศที่เทคฮอร์โมนไม่ควรกินอาหารประเภทแตงเพราะจะไปล้างฮอร์โมนเพศหญิงและเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย

ไม่จริง

เพราะ…ปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/27b3d2p9631y3


จริงหรือไม่…? การนำเส้นผมมาปั่นหู แคะหู อันตราย

ไม่จริง

เพราะ…เส้นผมค่อนข้างอ่อนนุ่มไม่แข็ง ไม่ทำให้มีรอยแผล แต่อาจเกิดจากปัจจัยอื่นได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/o1tmlovn2hph


จริงหรือไม่…? ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ทำให้เป็นโรคมะเร็ง

ไม่จริง

เพราะ…ฟลูออไรด์เป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติที่สามารถป้องกันฟันผุ ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียในช่องปากได้ จึงไม่ใช่สาเหตุของการทำให้เป็นโรคมะเร็ง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/29svdrjbo1w0k


จริงหรือไม่…? WHO ประเทศไทย แนะ 8 ข้อปฏิบัติ ฉลองสงกรานต์ปลอดภัยจาก “โควิด”

จริง

เพราะ…เป็นแนวทางในการป้องกันคนในครอบครัวติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2irxt9r3bzt3i


จริงหรือไม่…?  3 ภัยไซเบอร์ที่คนไทยถูกหลอกมากที่สุด

จริง

เพราะ…มิจฉาชีพบน Social Media, อีเมลหลอกลวง และ การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล มักจะเป็นการขโมยข้อมูลจากการซื้อขายของผ่านทางออนไลน์แบบไม่ผ่านคนกลาง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/26nt2fsd7zd8o


จริงหรือไม่…? รับบริจาคของเพื่อ “ถุงปันสุข” สามารถร่วมสมทบทุนได้ที่บัญชี “มูลนิธิอิสรชน”

จริง

เพราะ…เพื่อแบ่งปันให้กับกลุ่มคนเปราะบาง คนลำบาก คนเร่ร่อน คนตกงาน อ่านรายละเอียดการสมทบทุนได้ที่เฟซบุ๊ก มูลนิธิอิสรชน

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2a33xto6eq2zx