7 วิธีจับผิดข่าวลวง สงครามยูเครน-รัสเซีย COFACT Special Report #19

บทความ

English Summary

During the Russia invasion of Ukraine, many researchers have seen misinformation and disinformation across social platforms. Many of them come from hacked or newly created accounts from pro-Kremlin users. A disinformation researcher from Stanford University and her team share what they watch when they analyze social media posts and other online reports related to Russia invasion of Ukraine.

ตลอดกว่าสามสัปดาห์ที่กองทัพรัสเซียบุกโจมตียูเครน สงครามอีกด้านที่รุนแรงไม่แพ้กันคือสงครามข่าวสาร มีการนำเสนอข่าวบิดเบือน และข้อมูลชวนเชื่อจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์จริง รวมทั้งยังสร้างความขัดแย้ง ทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจความเป็นจริงที่เกิดขึ้น บ่อยครั้งเป็นข้อมูลที่เกิดจากการแชร์ผ่านสื่อโซเชียล เชอร์บี กรอสแมน นักวิจัยด้านความปลอดภัยไซเบอร์ มหาวิทยาลัยสแตนเฟิร์ด สหรัฐฯ แนะนำ 7 วิธีจับผิดข่าวลวง ข่าวหลอกที่เกี่ยวข้องกับสงครามยูเครน-รัสเซีย เพื่อไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อของขบวนการสร้างข้อมูลชวนเชื่อต่างๆ

1. ระมัดระวังข้อมูลจากชื่อบัญชีปลอม หรือบัญชีที่ถูกแฮก

เมตา บริษัทแม่ของเฟซบุ๊กประกาศเมื่อไม่นานมานี้ว่าพบขบวนการแฮกเกอร์ในเบรารุสทำการโจรกรรมชื่อบัญชีโซเชียลของผู้ใช้งานในยูเครน แฮกเกอร์เหล่านี้จะใช้บัญชีที่โจรกรรมมาโพสเนื้อหา รูปภาพ และวีดีโอที่ระบุว่าทหารยูเครนยอมรับความพ่ายแพ้ และมอบตัวกับกองทัพรัสเซีย 

วิธีสังเกตว่าชื่อบัญชีโซเชียลที่ติดตามอยู่น่าเชื่อถือหรือไม่ ให้สังเกตว่าบัญชีนั้นมีผู้ติดตามมากน้อยเท่าไร ส่วนใหญ่ถ้าเป็นบัญชีที่ตั้งขึ้นมาไม่นาน จะมีจำนวนเพื่อน หรือผู้ติดตามไม่มาก หรือตรวจสอบชื่อบัญชีบริเวณ URL หรือแถบที่แสดงชื่อเว็บไซต์ ชื่อผู้ใช้งานที่ถูกโจรกรรมมา หรือเป็นบัญชีที่ถูกตั้งขึ้นโดยขบวนการเหล่านี้มักจะเป็นชื่อที่ยาวๆ อ่านไม่รู้เรื่อง และมีตัวอักษรแปลกๆ เช่น @ หรือ # ในชื่อ ควรหลีกเลี่ยงที่จะแชร์ข้อมูลจากบัญชีเหล่านี้

2. ข้อมูลที่มีการแอบอ้างแหล่งข้อมูลที่ไม่ชัดเจน

เมื่อไม่นานมานี้เว็บไซต์สืบสวนสอบสวน Bellingcat ตรวจสอบพบกระบวนการของสื่อที่สนับสนุนรัฐบาลรัสเซียเผยแพร่รายงานว่ารัฐบาลยูเครนเป็นผู้จัดฉากเหตุระเบิดอาคารบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป เป็นเหตุให้มีประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตจำนวนมาก หากเราไม่ตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าวเหล่านี้ให้ถี่ถ้วน เราอาจจะหลงเชื่อว่าข่าวดังกล่าวเป็นเหตุการณ์จริง

วิธีการตรวจสอบที่ดีที่สุด ก็คือการตรวจสอบว่ามีข่าวประเภทเดียวกันในสื่ออื่นๆ หรือไม่ หากข่าวที่ได้มาจากเว็บไซต์ข่าวของรัสเซียเพียงอย่างเดียว ให้ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวลวง หรือข่าวเท็จ และอย่าลืมตรวจสอบว่าเว็บไซต์ หรือสำนักข่าวที่กำลังอ่านอยู่มีใครเป็นผู้สนับสนุน หรือมีกลุ่มทุนใดอยู่เบื้องหลัง อาจจะลองค้นหาชื่อสำนักข่าวนั้นผ่านวิกิพีเดีย หรือกูเกิล

3. เนื้อหาเก่าที่นำมาดัดแปลงแล้วนำเสนอใหม่

ช่วงนี้เราจะเห็นการแชร์ภาพเหตุการณ์ในยูเครนผ่านสื่อโซเชียลอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะภาพสะเทือนขวัญต่างๆ เช่นภาพระเบิด ภาพผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต ดังเช่นที่เราเคยนำเสนอไปในบทความที่แล้ว หลายครั้งภาพเหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต อาจจะเคยเกิดขึ้นที่ยูเครนมาก่อน หรืออาจจะเป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น และไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในยูเครน

วิธีการตรวจสอบที่ดีที่สุด เพื่อให้มั่นใจว่าภาพที่เห็นเป็นภาพเหตุการณ์จริง ให้ใช้วิธีการค้นหาภาพย้อนกลับ (Reverse Image Search) ด้วยเซิร์จเอนจิ้นต่างๆ เช่น กูเกิล, ปิง (Bing) หรือ ยานเดกซ์ (Yandex) ลองกดเซฟภาพเหล่านั้น หรือใช้ฟังค์ชั่นสกรีนช็อตบนคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ จากนั้นไปที่เว็บไซต์ที่มีระบบค้นหาภาพย้อนกลับ อัพโหลดภาพเหล่านั้นลงไป ระบบก็จะแสดงผลภาพที่ใกล้เคียงกัน และแหล่งที่มาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับภาพดังกล่าว 

นอกจากนี้เรายังสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเจ้าของบัญชีที่โพสภาพเหล่านั้น ด้วยการเข้าไปใน About เพื่อดูว่าเขาเป็นใคร มีผู้ติดตามมากน้อยแค่ไหน เป็นคนที่อยู่ในพื้นที่จริงๆ หรือไม่ มีตัวตนจริงหรือเปล่า และอย่าลืมที่จะดูโพสต่างๆ ที่เจ้าของบัญชีเคยโพส เพื่อพิสูจน์ว่าเขาเป็นคนที่ทำงานในพื้นที่จริง ไม่ใช่เป็นผู้ใช้งานทั่วไป หรือเป็นชื่อบัญชีปลอมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อโพสเนื้อหาลวงโดยเฉพาะ

4. การปลอมแปลงภาพ

นอกจากการนำภาพเก่ามาเล่าใหม่แล้ว เราจะเห็นคนอีกกลุ่มที่ใช้วิธีการปลอมแปลง ตัดต่อภาพ หรือใช้ระบบสมองกลต่างๆ ตัดต่อภาพโปรไฟล์ และเนื้อหาต่างๆ ที่แชร์บนหน้าเพจ เพื่อหลบเลี่ยงการถูกจับ เริ่มแรกเราอาจจะใช้วิธีค้นหาภาพแบบย้อนกลับเหมือนกับข้อที่แล้ว บวกกับการจับสังเกตจุดต่างๆ บนภาพ เช่น หน้าคนในภาพดูบิดเบี้ยว ตำแหน่งของใบหูสลับทาง ต่างหูดูไม่สมประกอบ หรือตัวหนังสือบนเสื้อกลับด้าน เป็นต้น ทั้งนี้วิธีการที่ดีที่สุดก็คือการดูเนื้อหาย้อนหลังของผู้โพสว่าเป็นการสร้างบัญชีขึ้นมาเพื่อใช้โพสเนื้อหาสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่หรือไม่ สร้างบัญชีนี้มานานแค่ไหน และมีตัวตนจริงหรือไม่ โดยเข้าไปอ่านรายละเอียดของโปรไฟล์

5. รายงานที่ไม่ได้รับการยืนยัน

เนื้อหาของข่าวที่นำเสนอเกี่ยวกับเหตุการณ์ในยูเครนก็สำคัญ หากเนื้อหาที่ถูกแชร์มาไม่ได้ระบุว่ามาจากแหล่งใด มีใครที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ มีผู้สื่อข่าว หรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ให้ข้อมูลตามภาพที่เห็นจริงๆ หรือไม่ หากเราเจอข้อมูลที่ปราศจากที่มาที่ชัดเจน หรือยังไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้ เราไม่ควรเชื่อข่าวนั้น ควรเช็คว่ามีสำนักข่าวขนาดใหญ่ หรือสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือได้และไม่ได้อยู่ข้างรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งรายงานตรงกับข้อมูลที่เราได้มาจริงๆ เสียก่อน จึงค่อยเชื่อหรือแชร์ ที่สำคัญ ข้อมูลเหล่านั้นควรมาจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ และนักข่าวภาคสนามที่เกาะติดรายงานสถานการณ์ในพื้นที่จริงๆ 

6. มิจฉาชีพ

ในช่วงวิกฤติต่างๆ เรามักจะเห็นการขอรับบริจาคเงินจากหลายหน่วยงานที่อ้างว่าจะนำเงินเหล่านี้ไปบริจาคให้กับผู้ประสบภัย ในกรณีนี้ก็เช่นกัน เราจะเห็นหลายเว็บไซต์ประกาศรับบริจาคเงิน อาจจะเป็นทั้งเงินสด และเงินดิจิทัล (คริปโต) หลายบัญชีมีการปลอมแปลงโดยทำหน้าเพจ และกราฟฟิกคล้ายกับเว็บไซต์ของรัฐบาลยูเครน ก่อนจะตัดสินใจโอนเงิน หรือบริจาคเงินให้กับเว็บไซต์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินสด หรือคริปโต ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าเว็บเหล่านี้เป็นเว็บอย่างเป็นทางการหรือไม่ เช่น หากเป็นเว็บไซต์ทางการของรัฐบาลยูเครน ชื่อโดเมน หรือตัวอักษรที่ต่อท้ายชื่อเว็บ จะต้องขึ้นต้นด้วย .gov.ua หากเป็นการโพสขอรับเงินบริจาคผ่านสื่อโซเชียล ควรมาจากชื่อบัญชีที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นบัญชีของรัฐบาลยูเครนจริงๆ สังเกตจาก Verified Account หรือเครื่องหมายถูกต่อท้ายชื่อบัญชีเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือทวิตเตอร์

ปัจจุบันมีหน่วยงานระดับนานาชาติที่ให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมให้กับผู้ลี้ภัยชาวยูเครน และชาวยูเครนที่ยังตกค้างอยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหประชาชาติ (UN) และกาชาดสากล (Red Cross) เราสามารถบริจาคเงินผ่านหน่วยงานเหล่านี้ได้

7. คำชวนเชื่อจากสื่อที่สนับสนุนรัฐบาล

การรู้เท่าทันว่าสื่อที่เรากำลังอ่านอยู่เป็นสื่อเสรี หรือสื่อที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลหรือไม่เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากในสถานการณ์วิกฤติ เราจะเห็นสื่อที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาลนำเสนอเนื้อหาสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มที่ และรัฐบาลมักจะใช้ช่องทางนี้ในการเผยแพร่ข้อมูลชวนเชื่อ (Propaganda) ให้กับผู้ที่สนับสนุนตน เราจะสังเกตเห็นได้ชัดว่า การรายงานข่าวเกี่ยวกับสงครามในยูเครนของรัสเซียจะแตกต่างจากการนำเสนอข่าวของสื่อประเทศอื่นๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้นเราต้องไม่ลืมที่จะตรวจสอบข่าวจากแหล่งที่มาหลายๆ แหล่ง รวมทั้งตรวจสอบว่าข่าวที่เรากำลังอ่านอยู่นั้นมาจากสำนักข่าวเสรี ที่ทำงานโดยอิสระ ปราศจากการครอบงำของรัฐบาลหรือไม่ เช่น หากข่าวที่เรากำลังอ่านอยู่มาจาก RT หรือ Sputnik เราอาจจะอย่าพึ่งตกลงเชื่อเนื้อหาเหล่านั้นโดยทันที เนื่องจากสองสำนักข่าวนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลรัสเซีย เป็นต้น

ปัจจุบันผู้ให้บริการสื่อโซเชียลอย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และยูทูบ จะมีตัวอักษรกำกับเนื้อหาที่มาจากสื่อที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็ตาม ส่วนติกตอก (TikTok) ยังไม่มีฟังค์ชั่นดังกล่าว


ที่มา: https://news.stanford.edu/2022/03/03/seven-tips-spotting-disinformation-russia-ukraine-war/


 เกี่ยวกับผู้เขียน

ธนภณ เรามานะชัย (ไมค์) Fact-checker และ คอลัมนิสต์ประจำ Cofact Thailand

ปัจจุบันทำหน้าที่วิทยากรด้านการตรวจสอบข้อมูลข่าวและเครื่องมือดิจิทัลด้านข่าวให้กับ Google News Initiative ก่อนหน้านี้เขาเป็นผู้ประกาศข่าวเทคโนโลยีให้กับสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (Voice TV) และอดีตกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) https://www.damikemedia.com

‘Deepfake’อีกระดับของข่าวปลอม ‘หลอกเนียน-ลวงเหมือน-สกัดยาก’รู้อีกทีเป็นเหยื่อ

Editors’ Picks

ต้องเรียกว่าเป็น “ภัยร้ายแห่งยุค 4 จี 5 จี” กันเลยทีเดียวกับ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ที่แต่เดิมก็สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไปอยู่แล้วกับการโทรศัพท์ไปหลอกลวงเหยื่อ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ตำรวจบ้าง ป.ป.ส. บ้าง ดีเอสไอบ้าง ว่าเหยื่อมีคดีความซึ่งมีอัตราโทษสูง และหากต้องการให้ช่วย “วิ่งเต้น” เพื่อ “เคลียร์คดี” ก็ให้โอนเงินไปที่บัญชีที่มิจฉาชีพเตรียมไว้ โดยที่ผ่านมาก็มีคนถูกหลอกสูญเงินไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งมิจฉาชีพยังมีการพัฒนากลอุบายล่อลวงที่แนบเนียนขึ้นด้วย

ดังล่าสุดเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2565 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกมาเตือนประชาชนว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ติดต่อทางคดีกับผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้ต้องสงสัย ผ่านทางระบบวิดีโอคอล และไม่มีนโยบายให้โอนเงินมาให้เจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบเป็นอันขาด และหากประชาชนพบว่ามีบุคคลใดแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจวิดีโอคอลไปหา หรือขอให้โอนเงินไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ให้สันนิษฐานได้ทันทีว่าเป็นมิจฉาชีพ ให้วางสายสนทนาทันที 

ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบในการหลอกลวงพี่น้องประชาชน โดยการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้นที่เรียกว่า Deepfake ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยี Deep Learning ในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ให้สามารถตัดต่อคลิปวิดีโอหรือภาพถ่ายของบุคคลหนึ่ง ให้สามารถขยับปากตามเสียงของบุคคลอื่นได้ ซึ่งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ก็ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าว มาตัดต่อคลิปหรือภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้พูดตามสิ่งที่คนร้ายพูด เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการหลอกลวงทรัพย์สินจากพี่น้องประชาชน พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าว

ต้นกำเนิดของเทคโนโลยี Deepfake (ดีพเฟค) ต้องย้อนไปเมื่อปี 2540 ในเวลานั้นมีโปรแกรม Video Rewrite ซึ่งทำงานโดยการประมวลผลคำที่ลักษณะของริมฝีปากขยับได้ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการให้ออกเสียงมากที่สุด ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานสร้างภาพยนตร์ในส่วนของการพากย์ และเป็นโปรแกรมแรกที่สามารถทำแอนิเมชั่นใบหน้าที่สามารถขยับริมฝีปากต่อเนื่องแบบอัตโนมัติได้อย่างสมบูรณ์

ในปี 2557 เอียน กู๊ดเฟลโลว์ (Ian Goodfellow) และคณะ ได้คิดค้น Machine Learning ชื่อ Generative Adversarial Networks (GANs) ซึ่งทำงานโดย 2 ส่วนคือ Generator ทำหน้าที่สร้างภาพบุคคล และ Discriminator ทำหน้าที่จับผิดภาพที่ Generator กระทั่งที่สุดแล้ว Generator สามารถสร้างภาพที่ Discriminator ไม่สามารถจับผิดได้ นั่นคือผลงานที่สมบูรณ์ และเทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำไปใช้พัฒนาต่อยอดอย่างแพร่หลาย 

ตัวอย่างการทดลองที่สะท้อนความน่าสะพรึงกลัวของเทคโนโลยีนี้ เกิดขึ้นในปี 2560 คือกรณีคณะผู้วิจัยจาก มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างเค้าโครงปากของ บารัค โอบามา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และผสานเข้ากับภาพวีดีโอของ โอบามา ที่เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ โดยคณะผู้วิจัยรวบรวมมาถึง 14 ชั่วโมง สำหรับนำมาทดลองในงานนี้ และในที่สุดก็สามารถนำเสียงของบุคคลอื่นเข้าไปใส่ในใบหน้าของอดีตผู้นำสหรัฐฯ ได้อย่างแนบเนียน 

ศ.ไอรา เคเมลมาเชอร์-ชลิเซอร์แมน (Prof.Ira Kemelmacher-Shlizerman) หนึ่งในทีมวิจัย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC ของอังกฤษ ว่า เราพัฒนาเทคโนโลยี และเทคโนโลยีทุกอย่างก็สามารถนำไปใช้ในทางลบอยู่บ้าง ดังนั้นเราควรทำเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่เกิดขึ้น และแม้แต่ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือเมื่อรู้อยู่แล้วในวิธีสร้างสิ่งที่รู้ หมายถึงการทำวิศวกรรมย้อนกลับ จนนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือพิสูจน์วีดีโอที่ถูกตัดต่อขึ้นกับวีดีโอจริงๆ ได้

เคเมลมาเชอร์-ชลิเซอร์แมน ยังให้สัมภาษณ์กับ The Wall Street Journal หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ว่า ความสามารถในการสร้างวีดีโอที่ดูเหมือนจริงของบุคคล (หรือคำพูดของใครบางคนที่เหมือนคนคนนั้น) สามารถช่วยในการประชุมทางไกลที่ประสบปัญหา Bandwidth หรืออัตราการส่งถ่ายข้อมูลต่ำ ด้วยการถ่ายทอดเสียงและการแสดงออกทางสีหน้าที่ตรงกัน เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้เราสามารถสนทนากับบุคคลในประวัติศาสตร์ในความเป็นจริงเสมือนได้ เช่น ในวีดีโอเกมหรือนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ แต่มันคงไม่หยุดแค่นั้น เพราะในอนาคต โปรแกรมสนทนาอย่าง Skype หรือ Messenger จะช่วยรวบรวมวีดีโอที่นำมาใช้ฝึกคอมพิวเตอร์ให้สร้างโมเดลได้

ในปี 2563 นิตยสาร Forbes เผยแพร่รายงานพิเศษ Deepfakes Are Going To Wreak Havoc On Society. We Are Not Prepared. เริ่มต้นด้วยการอ้างถึงนักวิเคราะห์ของ ESPN สถานีโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ที่เน้นนำเสนอเนื้อหาด้านกีฬา ระบุว่า นักวิเคราะห์ที่อ้างว่าเป็นบุคคลในปี 2541 ได้ทำนายอนาคตปี 2563 ไว้อย่างแม่นยำ จริงๆ แล้วทั้งหมดเป็นเพียงเนื้อหาที่ถูกสร้างด้วย AI และนั่นคือสิ่งที่ประชาชนควรกังวล เพราะหมายถึงใครก็ตามที่มีคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างภาพถ่ายและวีดีโอที่สมจริงในการให้คนคนหนึ่งพูดในสิ่งที่คนคนนั้นจริงๆ แล้วไม่ได้พูด

ยังมีรายงานคนดังโดนผลกระทบจากเทคโนโลยี Deepfake เล่นงาน ทั้งอดีต ปธน.โอบามา กล่าวถึง โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งเป็น ปธน. ต่อจากตน ด้วยถ้อยคำหยาบคาย , มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก กล่าวว่า นโยบายของเฟซบุ๊กคือหาประโยชน์จากผู้ใช้งาน กระทั่งนักแสดงตลกอย่าง บิล เฮเดอร์ ถูกทำให้กลายเป็นนักแสดงรุ่นใหญ่อย่าง อัล ปาชิโน ในรายการทอล์คโชว์ยามดึก ทั้งนี้ ช่วงต้นปี 2562 มีจำนวนวีดีโอ Deepfake 7,964 รายการ และเพิ่มเป็น 14,678 รายการในอีก 9 เดือนให้หลัง 

ศ.ฮานี ฟาริด (Prof.Hany Farid) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ภาพดิจิทัล มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ กล่าวว่า ในเดือน ม.ค. 2562 คลิปวีดีโอปลอมเหล่านั้มีจำนวนน้อยและมีช่องให้จับผิด แต่อีก 9 เดือนจากนั้น ตนไม่เคยเห็นอะไรที่ไปได้เร็วขนาดนี้มาก่อน นี่คือส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็ง และอีกหลายเดือนหรือหลายปีข้างหน้า Deepfake จะขยายวงจากเรื่องแปลกๆ บนอินเตอร์เน็ต สู่พลังทำลายล้างทางการเมืองและสังคมอย่างกว้างขวาง ซึ่งสังคมต้องเตรียมความพร้อมรับมือ

รายงานของ Forbes ยังกล่าวถึงความพยายามในการควบคุม Deepดake ตั้งแต่การออกกฎหมายมาควบคุมเป็นการเฉพาะ ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายเพราะรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างมาก อีกทั้งการใช้อินเตอร์เน็ตที่ไม่ต้องระบุตัวตน บวกกับภาวะไร้พรมแดน ยิ่งทำให้การสกัดกั้นทำได้ยาก ส่วนกฎหมายอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น ลิขสิทธิ์ การหมิ่นประมาท เมื่อพิจารณาถึงการนำไปใช้อย่างกว้างขวางตามหลักการใช้กฎหมายโดยชอบธรรม ประโยชน์ตามช่องทางของกฎหมายเหล่านี้ก็อาจถูกจำกัด

เมื่อหันไปถามหาความรับผิดชอบของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก กูเกิ้ล ทวิตเตอร์ ฯลฯ โดยหวังให้มีมาตรการป้องกันผลกระทบเชิงลบจาก Deepfake แต่ปัจจุบัน มาตรา 230 ของกฎหมายว่าด้วยความเหมาะสมในการสื่อสาร (Section 230 of the Communications Decency Act) ซึ่งถูกเขียนขึ้นในยุคแรกๆ ที่อินเตอร์เน็ตถูกใช้ในเชิงพาณิชย์ ทำให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ กับเนื้อหาที่บุคคลที่สามมาใช้ช่องทางแพลตฟอร์มเพื่อเผยแพร่ แต่การแก้กฎหมายโดยกำหนดให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต้องรับผิดชอบ ก็อาจส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกและการเซ็นเซอร์ที่ซับซ้อนขึ้น 

บทความทิ้งท้ายว่า ในเมื่อไม่มีวิธีเดียวที่แก้ปัญหาได้อย่างครอบคลุม ดังนั้นสิ่งแรกคือต้องสร้างความตระหนักให้ผู้คนเห็นอันตรายของ Deepfake และระมัดระวังในการส่งต่อข้อมูล!!!


อ้างอิง

https://www.tnnthailand.com/news/social/107509/ (ตร.เตือนประชาชนระวังมิจฉาชีพใช้ Deepfake ปลอมเป็นตร.ตัดต่อปากขยับตามเสียง : TNN 11 มี.ค. 2565)

https://engineering.purdue.edu/~malcolm/interval/1997-012/ (Video Rewrite: Driving Visual Speech with Audio : College of Engineering , Purdue University รัฐอินเดียนา สหรัฐอเมริกา)

https://www.researchgate.net/publication/319770355_Generative_Adversarial_Nets (Generative Adversarial Nets : Ian Goodfellow , University of Montreal แคนาดา)

https://developers.google.com/machine-learning/gan (Introduction | Generative Adversarial Networks | Google Developers)

https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/957991 (เนียนยิ่งกว่า ‘Fake news’ รู้จัก DeepFake คลิปปลอมใบหน้าคนดัง : กรุงเทพธูรกิจ 2 ก.ย. 2564)

https://www.bbc.com/news/av/technology-40598465 (Fake Obama created using AI tool to make phoney speeches : BBC 17 ก.ค. 2560)

https://www.wsj.com/articles/the-researchers-who-synthesized-video-of-barack-obama-1500655962 (The Researchers Who Synthesized Video of Barack Obama : The Wall Street Journal : 21 ก.ค. 2560)

https://www.forbes.com/sites/robtoews/2020/05/25/deepfakes-are-going-to-wreak-havoc-on-society-we-are-not-prepared/?sh=53ed96f67494 (Deepfakes Are Going To Wreak Havoc On Society. We Are Not Prepared. : Forbes 25 พ.ค. 2563)


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 13 มีนาคม 2565

จริงหรือไม่…? ผู้ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดจากการฉีดวัคซีน

ไม่จริง

เพราะ…เป็นเพียงข้อสันนิฐานที่ไม่สามารถยืนยันด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/34bfljbiwopsu


จริงหรือไม่…? สนามกีฬานราธิวาส สร้างเสร็จแล้ว

ไม่จริง

เพราะ…ยังมีสนามกีฬาหลายส่วน ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบ การขาดแคลนแรงงาน

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/jb1qo3i5kyk2


จริงหรือไม่…? ประเทศมาเลเซียเตรียมตัวเปิดประเทศ 1 เมย. 65

จริง

เพราะ… ต้องฉีดวัคซีน #โควิด19 แสดงผลตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ก่อน 48 ชม. ตรวจแบบ ATK ภายใน 24 ชม. หลังเดินทางเข้ามาเลเซีย และแจ้งผลการตรวจผ่านระบบของรัฐ

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/y9raei7yh7f8


จริงหรือไม่…? กระทรวงพลังงานเตรียมปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม

จริง

เพราะ…จะมีการปรับขึ้นอีก 15 บาท เป็น 333 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม เป็นการปรับขึ้นตามราคาตลาด แต่ยังคงต่ำกว่าราคาตลาดโลก

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/15851347dhiek


จริงหรือไม่…? เริ่มแบนการใช้พลาสติก 4 ชนิด ดังนี้ ถุงหิ้ว โฟม แก้ว หลอด โดยจะเริ่มภายในปี 2565

จริง

เพราะ…มติ ครม.เห็นชอบ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกรวมถึงการจัดการขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/17u5i5y45pl3f


จริงหรือไม่…? ตราด ประกาศมาตรการป้องกันผลผลิตทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด หากพบผู้จำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ(ทุเรียนอ่อน) มีความผิดทางกฎหมาย

จริง

เพราะ…ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 และผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47 

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/50c3synu74am


จริงหรือไม่…? พบคราบน้ำมันรั่ว #สัตหีบ #ชลบุรี

จริง

เพราะ…เรือสินค้าทางทิศตะวันตกของเกาะสีชัง มีการปล่อยคราบน้ำมันออกจากท้ายเรือ สาเหตุเกิดจากตัวเครื่องยนต์ชำรุด น้ำหล่อเย็นรั่วไหล ผสมกับน้ำมันใต้ท้องเรือ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/52halj8kz2nx


จริงหรือไม่…? ฟุตเทจปลอมเลียนแบบการรายงานข่าวของ CNN แพร่ระบาดท่ามกลางสงครามยูเครน

จริง

เพราะ…เป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือนเกี่ยวกับการรายงานข่าวสงครามของ CNN International

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/13ndrrq7yn4e6


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 6 มีนาคม 2565

จริงหรือไม่…? ประเทศที่ตัดสินใจปรับการรับมือเชื้อไวรัสเหมือนโรคระบาดตามฤดูกาล

ไม่จริง

เพราะ…สำนักข่าว AFP ตรวจสอบ เป็นคำกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิด หลายประเทศยังใช้มาตรการกักตัว/ตรวจหาเชื้อกับบุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2x5lhmuganaam


จริงหรือไม่…? Zinc สามารถรักษาการติดเชื้อโควิด-19

ไม่จริง

เพราะ…ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพระบุว่ายังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ซิงค์สามารถรักษาการติดเชื้อโควิด-19 ได้ และการรับซิงค์มากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2vdrm9tbz7evt


จริงหรือไม่…? อุทยานเขาแหลมหญ้า จ.ระยองปิด ห้ามนักท่องเที่ยวเข้าเด็ดขาด

ไม่จริง

เพราะ…ปิดเฉพาะเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติชั่วคราว ยังเดินสะพานได้บางจุด และต้องใช้เส้นทางเดินบนเขาเพื่อไปจุดชมวิวเขาแหลมหญ้า เนื่องจากมีงานก่อสร้าง sky walk

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1u137qhc6o51f


จริงหรือไม่…? มะระต้มร้อนๆ สามารถฆ่าเซลล์มะเร็ง

ไม่จริง

เพราะ…มะระขี้นกมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีส่วนช่วยต้านเซลล์มะเร็ง แต่ไม่สามารถนำมารักษาโรคมะเร็งได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2yjnci6csm9fy


จริงหรือไม่…? น้ำมันรั่วทะเล #ระยอง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของสัตว์ทะเลหายาก

จริง

เพราะ…โดยศูนย์วิจัย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ศูนย์ ทช. อ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้ทำการสำรวจเชิงรุกเพื่อค้นหาสัตว์ทะเลหายาก โดยไม่พบ นกนางนวลแกลบ และนกนางนวลท้ายทอยดำ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/yd9gkbkjvv4q


จริงหรือไม่…? เกิดภัยพิบัติในบริเวณพื้นที่สามจังหวัด

จริง

เพราะ…น้ำท่วมในหลายพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ผู้ว่าฯ ประกาศเขตภัยพิบัติแล้วทั้ง 13 อำเภอ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/37eh06xvui3a8


จริงหรือไม่…? กรมอุตุนิยมวิทยา ไทยเข้าสู่ฤดูร้อน

จริง

เพราะ…กรมอุตุฯ ประกาศ เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ อุณหภูมิสูงสุดตั้งแต่ 35 องศาฯ ขึ้นไป คาดสิ้นสุดลงเดือน พ.ค. 2565

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2ox3jpakclv7v


จริงหรือไม่…? จิตแพทย์แนะนำเมื่อเสพข่าวการเสียชีวิตของ “แตงโม นิดา” มากไป หากมีอาการเครียด โทร 1323

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ… เป็นการให้คำปรึกษาของศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/174ibj4gzsmcf


ตรวจสอบข่าวลวง-ข่าวเท็จ สถานการณ์ในยูเครน COFACT Special Report #18

บทความ

English Summary

Russia invasion in Ukraine has been one of top topics in social media for the past week. It is very common to see misinformation spreading during a crisis like this. Many contents tend to provoke fears or have a political intention. We look as some of the misinformation contents, how to spot misinformation, and how to find the accurate information. 

ข่าวที่คนทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคงหนีไม่พ้นการโจมตียูเครนของรัสเซีย สถานการณ์ที่ตึงเครียด มีความสูญเสียของทหารและประชาชน ทำให้มีภาพต่างๆ ที่ระบุว่าเป็นภาพในสถานที่เกิดเหตุถูกแชร์บนสื่อโซเชียลจำนวนมาก บางภาพและบางเนื้อหาเป็นการตกแต่งภาพ และเป็นการนำภาพเหตุการณ์เก่าจากพื้นที่อื่นมาแชร์ซ้ำเพื่อสร้างกระแส หรือบิดเบือนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่

ภาพเด็กผิวเปื้อนฝุ่นจากการโจมตีของรัสเซีย: ข่าวลวง

ในช่วงหลายวันที่ผ่านมาเราจะเห็นการรายงานข่าวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์โจมตียูเครนของรัสเซีย มีการแชร์ภาพเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุโจมตีเป็นจำนวนมาก แต่หลายภาพไม่ใช่ภาพที่เกิดขึ้นในยูเครน เช่น ภาพเด็กคนหนึ่งที่ตัวเปื้อนไปด้วยฝุ่น เว็บไซต์ India Today ตรวจสอบด้วยวิธีค้นหาภาพย้อนกลับบนกูเกิล พบว่าภาพนี้เป็นภาพเหตุการณ์ในเขตดอนบาส พื้นที่ที่กลุ่มกบฏยูเครนตะวันออกยึดครองตั้งแต่ปี 2014 ภาพนี้ปรากฎในคลิปวีดีโอบนยูทูบเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2015 ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์บุกยูเครนโดยรัสเซียแต่อย่างใด 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: https://www.indiatoday.in/fact-check/story/fact-check-image-from-music-video-falsely-shared-as-child-affected-by-russia-ukraine-conflict-1918044-2022-02-26 

ภาพเด็กได้รับบาดเจ็บจากการโจมตี: ข่าวเท็จ

อีกภาพที่พบการแชร์มากในสื่อโซเชียลคือภาพเด็กคนหนึ่งที่กำลังบาดเจ็บและนั่งอยู่บนเตียงในโรงพยาบาล สำนักข่าวเอเอฟพีตรวจสอบที่มาของภาพนี้ด้วยการสังเกตลายน้ำที่อยู่บนภาพ ซึ่งมาจาก EPA หรือ European Pressphoto Agency เมื่อตรวจสอบกับเว็บไซต์ดังกล่าวพบว่าภาพนี้เป็นภาพเหตุการณ์สงครามในซีเรียเมื่อปี 2018 ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในยูเครนแต่อย่างไร

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: https://factcheck.afp.com/doc.afp.com.323X8VQ 

จากรายงานของสหประชาชาติคาดว่ามีผู้เสียชีวิตจากเหตุโจมตียูเครนของรัสเซียแล้วกว่า 400 ราย ในจำนวนนั้นมีเด็กเสียชีวิตจริง แต่ภาพที่เราเห็นในสื่อโซเชียลจำนวนไม่น้อยที่ไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนั้นเราควรตรวจสอบกับสำนักข่าวชั้นนำที่น่าเชื่อถือได้ก่อนที่จะตัดสินใจแชร์ภาพเหล่านี้

ภาพเครื่องบินรบบินในน่านฟ้ายูเครน: ข่าวลวง

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมากองทัพรัสเซียเคลื่อนที่เข้ามายึดครองเมืองบริเวณชายแดนยูเครน และพยายามจะเข้ายึดเมืองหลักสองเมือง คือกรุงคีฟ และเมืองคาคีฟ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากกองกำลังของยูเครน และประชาชนจำนวนมากออกมาต่อสู้และขับไล่กองทัพรัสเซีย 

เป็นที่ทราบกันดีว่า รัสเซียมีศักยภาพทางทหาร และมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย เมื่อมีข่าวว่ารัสเซียทำการโจมตียูเครน ภาพที่ถูกแชร์ออกไปอย่างกว้างขวางคือภาพเครื่องบินรบจำนวนกว่าสิบลำบินผ่านพื้นที่บ้านเรือนของประชาชน ภาพเหล่านี้ถูกแชร์บนทวิตเตอร์จำนวนมาก โดยระบุว่ากองทัพรัสเซียส่งเครื่องบินรบเหล่านี้มายิงระเบิดใส่บ้านเรือนประชาชน

จากการตรวจสอบของสำนักข่าวเอเอฟพีพบว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะในกรุงมอสโกของรัสเซีย โดยคลิปวีดีโอต้นฉบับอยู่บนยูทูบ โพสเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2020

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: https://factcheck.afp.com/doc.afp.com.323T8CJ 

ภาพระเบิดในยูเครนภาพใดบ้างที่เป็นข่าวลวง?

หลายครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์สู้รบระหว่างประเทศ เราจะเห็นภาพเหตุระเบิดที่ถ่ายได้โดยโทรศัพท์มือถือ ภาพเหล่านี้มักจะถูกแชร์บนโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว แต่ภาพเหล่านี้จำนวนไม่น้อยที่เป็นภาพจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว หรือเป็นภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

เช่น ภาพเหตุระเบิดบริเวณท่าเรือภาพนี้ ผู้โพสระบุว่าเกิดขึ้นในกรุงคีฟของยูเครน แต่ถ้าเราสังเกตในแผนที่จะพบว่า กรุงคีฟไม่มีพื้นที่ติดน้ำทะเล เราไม่จำเป็นถึงกับใช้เครื่องมือตรวจสอบภาพย้อนกลับก็พอจะรู้แล้วว่าภาพนี้ไม่ใช่ภาพในกรุงคีฟแน่นอน

ภาพจากทวิตเตอร์นี้เป็นภาพเหตุการณ์ระเบิดในคลังเก็บสินค้าในเบรุต เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2020

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: https://factcheck.afp.com/doc.afp.com.323W3V8 

ภาพต่อมาเป็นภาพเพลิงไหม้ที่ไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ ผู้ใช้งานทวิตเตอร์รายหนึ่งโพสคลิปนี้โดยระบุว่าเป็นเหตุระเบิดจากการโจมตีทางอากาศของรัสเซียใกล้กับโรงงานไฟฟ้า สิ่งที่ทำให้คนทั่วไปอาจจะหลงเชื่อภาพนี้มาจากการรายงานของสำนักข่าวบางแห่งระบุว่า โรงงานไฟฟ้าลูฮันสก์ ซึ่งเป็นโรงงานไฟฟ้าที่ถูกกล่าวอ้างในคลิปเสี่ยงที่จะต้องปิดทำการ เนื่องจากพบเพลิงไหม้จากการถูกล้อมปิด

แต่จากการตรวจสอบของสำนักข่าวเอเอฟพีพบว่า ภาพนี้เป็นภาพเหตุโรงงานระเบิดในเมืองเทียนจินในจีนเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2015 เหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตกว่า 165 ราย และยังส่งผลให้สารพิษกระจายไปเป็นวงกว้าง

อ่านเพิ่มเติม: https://factcheck.afp.com/doc.afp.com.323U2TG

เช็คให้ชัวร์ว่าเป็นข่าวต้นฉบับที่มาจากสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ

ในสถานการณ์วิกฤติ หรือในช่วงที่มีข่าวที่มีกระแส เราจะเห็นภาพการนำเสนอข่าวของสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ภาพบางภาพที่มีการแชร์บนโลกโซเชียลโดยมีการกล่าวอ้างว่าเป็นการรายงานของสื่อช่องนั้นๆ หรือหัวนั้นๆ เราควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเนื้อหาต้นฉบับอยู่ในเว็บไซต์ของสื่อค่ายนั้นจริงๆ หรือไม่

ตัวอย่างที่พบเห็นบ่อยครั้งคือการเปลี่ยนพาดหัวข่าวที่ปรากฎบนหน้าจอโทรทัศน์ด้วยการตัดต่อภาพ เช่นในภาพนี้ที่มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนพาดหัวของสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นจากเนื้อหาต้นฉบับ โดยพาดหัวที่ถูกแก้ไขเขียนว่า “ปูตินชะลอการบุกรุกจนกว่าสหรัฐฯ จะส่งอาวุธให้กับยูเครน จากนั้นกองทัพรัสเซียจะยึดอาวุธเหล่านั้น” สำนักข่าวเอเอฟพีตรวจสอบภาพดังกล่าวด้วยวิธีค้นหาภาพย้อนกลับบนกูเกิล และตรวจสอบซ้ำกับซีเอ็นเอ็น พบว่าเป็นภาพการนำเสนอข่าวการเจรจาทางการค้าระหว่างอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ กับปูติน เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2017 ไม่ได้เกี่ยวกับการบุกรุกของรัสเซียแต่อย่างใด

ก่อนเชื่อ หรือแชร์ข่าวบนโซเชียล ควรตรวจสอบให้ดีก่อนว่า:

  1. มาจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้หรือไม่ หากเป็นการแชร์แบบส่งต่อกันมา ควรเช็คก่อนว่ามีลิงค์เนื้อหาต้นฉบับหรือไม่ คนที่ให้ข่าวเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือสำนักข่าวที่ทำประเด็นนี้อย่างต่อเนื่องหรือไม่
  2. ตรวจสอบภาพด้วยวิธีค้นหาย้อนกลับ ข่าวที่เป็นกระแสมักจะมีภาพเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก คุณสามารถเซฟภาพเหล่านั้นและเข้าไปในเว็บไซต์ Google Images จากนั้นกดที่ภาพกล้องถ่ายรูป อัพภาพที่เซฟมา แล้วกดค้นหา เราก็จะเห็นภาพลักษณะคล้ายๆ กัน จากหลายๆ แหล่งที่มา ให้เลือกดูแหล่งที่มาที่เป็นสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือเพื่อตรวจสอบว่าตรงกันกับภาพที่เราเซฟมาหรือไม่
  1. หากเห็นภาพที่แคปหน้าจอจากการรายงานของสำนักข่าว แต่ไม่มีเนื้อหา หรือลิงค์ของเนื้อข่าว ให้ค้นหาด้วยกูเกิล หรือเซิร์จเอนจิ้นต่างๆ ว่ามีเนื้อหาข่าวตามภาพหรือไม่ หรือลองใช้วิธีการค้นหาภาพย้อนกลับในข้อ 2 เพื่อดูว่าภาพข่าวนั้นมีจริงหรือไม่

เกี่ยวกับผู้เขียน

ธนภณ เรามานะชัย (ไมค์) Fact-checker และ คอลัมนิสต์ประจำ Cofact Thailand

ปัจจุบันทำหน้าที่วิทยากรด้านการตรวจสอบข้อมูลข่าวและเครื่องมือดิจิทัลด้านข่าวให้กับ Google News Initiative ก่อนหน้านี้เขาเป็นผู้ประกาศข่าวเทคโนโลยีให้กับสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (Voice TV) และอดีตกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) https://www.damikemedia.com

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565

จริงหรือไม่…? #เทศกิจ แจ้งจะปิดตลาดวารินเพื่อทำความสะอาดวันที่ 1-4 มีค. 65

ไม่จริง

เพราะ…นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานีแล้ว ยืนยันว่าไม่มีการปิดตลาดวารินฯ วันที่ 1-4 มีค. 65 ครับ ที่แจ้งกัน เป็นข่าวปลอม

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/p0pk7vjfbvku


จริงหรือไม่…? ศาลโลก สั่ง ให้ ทุกประเทศ หยุดฉีดวัคซีน

ไม่จริง

เพราะ…ไม่ได้มีการตัดสินของศาลโลกให้ประเทศต่างๆ หยุดฉีดวัคซีนโควิด คลิปที่แชร์กัน เป็นกิจกรรมสมมติของกลุ่มต่อต้านวัคซีน

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/6uob4yfkdkag


จริงหรือไม่…? หมอประสิทธิ์ ออกประกาศ ให้ประชาชนปิดพื้นที่ (lockdown) ครอบครัวของตนเอง ไวรัสระบาดหนัก หมอจะเอาไม่อยู่แล้ว

ไม่จริง

เพราะ…เป็นการนำข่าวปลอมมาแชร์ซ้ำ ซึ่งทั้งในรูปแบบข้อความและคลิปเสียง ไม่ได้เป็นข้อมูลที่มาจาก ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแต่อย่างใด

อ่านต่อได้ที่

https://cofact.org/article/26rmyvaxb9fik


จริงหรือไม่…? แช่แข็งขวดน้ำดื่ม-ถุงพลาสติกจะมี ‘สารก่อมะเร็ง’

ไม่จริง

เพราะ…ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินในพลาสติก และสารเคมีต่าง ๆ ที่มีการกล่าวอ้างว่าละลายออกมาจากขวดพลาสติกทั้งในสภาวะอุณหภูมิสูงหรือสภาวะการแช่แข็ง ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1370gzmdefiwy


จริงหรือไม่…? ผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาวผสมผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ ทำให้ขจัดคราบได้ง่ายขึ้น

ไม่จริง

เพราะ…ไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขจัดคราบสกปรก และการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดก๊าซพิษ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/11lqb14wr94zf


จริงหรือไม่…? 14 จังหวัดภาคใต้ เตือนเฝ้าระวังสถานการณ์ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและคลื่นลมแรง

จริง

เพราะ…ศูนย์เตือนภัยพิบัติฯ เตือนประชาชนให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมแรง 23-26 กพ.65 ทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1im2g7zkurkff


จริงหรือไม่…? อังกฤษ ประกาศยกเลิกมาตรการคุมโควิดทั้งหมดแล้ว

จริง

เพราะ…โดยจะมีผลในวันพฤหัสบดี (24 ก.พ.) และจะยุติการออกค่าใช้จ่ายสำหรับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ให้กับประชาชนตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้ เป็นต้นไป

อ่านต่อได้ที่

https://cofact.org/article/3sfyylfyipcxs


จริงหรือไม่…? แค่อ้าปาก ก็สามารถมีโอกาสติดเชื้อ #โอไมครอน

จริง

เพราะ…เชื้อโอไมครอนเกาะบริเวณเซลล์ผนังลำคอจำนวนมาก เมื่อผู้ติดเชื้อพูดคุย ตะโกน ไอ จาม เชื้อจึงกระจายออกมาง่าย และมากกว่า ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่าย

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1nk3cuv32zbbl


จริงหรือไม่…? #ประกันสังคม จ่ายชดเชยกรณี #ติดCovid-19 ทุกมาตรา ม.33 ม.39 และ ม.40

จริง

เพราะ…ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน ใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1s9qxx0qu2s38


จริงหรือไม่…? สาธารณสุข ชวนหญิงไทยคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง

จริง

เพราะ…มอบชุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองที่บ้าน ให้กับหญิงไทยอายุ 30-60 ปี ช่วยคัดกรองระยะแรก รับได้ที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ-รพ.มะเร็งภูมิภาคทั้ง 7 แห่ง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/22b2kujvm9s1a


จริงหรือไม่…? ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต ไม่ควรกินมะเฟือง

จริง

เพราะ…โดยเฉพาะมะเฟืองชนิดเปรี้ยวจะมีสารบางชนิดที่ผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1fmirtv2p81z3


จริงหรือไม่…?  งดใช้ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์สำหรับทารกที่แพ้โปรตีนนมวัวหรือมีภาวะโคลิค เครื่องหมายการค้า #ซิมิแลค อลิเมนทัม เอไอ.คิว พลัส เนื่องจากอาจปนเปื้อนเชื้อโรค

จริง

เพราะ…อย. เตือนผู้บริโภค หลังจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (U.S.FDA) แจ้งเตือนและเรียกคืนอาหารทารกที่ผลิตจากโรงงานแห่งหนึ่งในรัฐมิชิแกนเนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย

อ่านต่อได้ที่

https://cofact.org/article/360vn9rsjoh7j


Excellent Idea to Solve FAKE News problems by Youth, Innovation Created with Proposals Driving the Policy

บทความ

Beside the competition of new generation at the university level to create innovations to solve the problems of fake news, which is all through widespread over online society, also the recommendations were mobilized in term of policy also presenting to the relevant state agencies. More importantly, there were seeking of Common Truth that all relevant parties were acceptable. This will be leading to peaceful coexistence in a society of different people. 

From this competition, the 1st prize winner is “Team Bot”, the team members are students from Thammasat University, and Bangkok University. They present the idea called “Check-on” or “Check-korn” by developing the extension tool. The tool is when the internet users receive content/ picture from website and curious what the fact is, then they can cover text into black highlight, and click at right, then the window of “Check-on” will be pop-up then it will be auto analyzing based on the current database such as Cofact, sure before sharing, Anti-Fake News Center, etc. 

The 2nd prize team is “Team Validator”, the team members are from different faculties of Thammasat University. They present a platform to explore the truth from people who would like to share. Here is providing points and rewards for those people to create online communication for users can debate, share information and opinions. With this, the truth will be clearly occurred. 

The 3rd prize team is “Team New Gen Next FACTkathon”, this team present designing the news broadcast in term of cartoon which is popular nowadays. They created cartoon on the online comic book platform (Webtoon) to enhance reading skill together inserting knowledge about fake news detection with gimmicks by allowing the readers to participate in puzzles solving. Once they voted if the news is true or not true, they will receive a coin to read the next chapter. 

Apart from innovation presenting, a meeting was held on to analyze the problems and present the proposal for sustainable solutions of fake news. The relevant parties are agreed to push the policy that solves the fake news problems which are wide spreading over online society as follows. 

  1. Asking for responsibility from producer and fake news spreaders/ senders: recommend protections and correct message from producers and fake news spreaders/ senders that could reduce the causes that damages others.
  1. Paying attention on skill – Media Literacy: Media Literacy is not new for digital era, whereas this has been discussed ever since the era of analogue press has been existed (radio, television, and print media). For example, use of the strategies or techniques to convey messages to the individual or group of recipients who received the role of the media that resulted to the social values ​​or cultures. Turning to digital era, productions and transmission of information is becoming more wider and faster, thus media literacy is even more important to avoid being victims of fake news or misinformation.

Nevertheless, understanding of online platforms such as Facebook, Twitter, Intragram, Line, etc., how work they were designed. Also understanding to how communicate through these platforms the content creators were using to reach the target which is more complex than the press in the past. For example, some platforms can use the method to transfer the message (text, images, video clips, audio clips) visible widely and in continuous frequencies, even though to have statistics of many forwarding. Those who are ignorant of these methods, may have believed the fake news are true without investigation. 

  1. Reducing inequality of access to digital technology: although youth/ new generation were born and growing up with digital native, they are familiar to use the digital technology more fluently than old generation, middle-ages, and retired who may be too new for digital technology. However, there is a gap remaining, that is, some youth/ children who are in poor family that have no fund to provide digital devices such as computer, smart phone, and/ or being inaccessible to digital infrastructure such as stable high-speed internet. Therefore, these causes are the limitation of learning and practicing digital media literacy skills for the youth from poor family comparing to the youth from affordable family. 
  1. Supporting the role of organizations to oppose fake news and transit the information to people with ease: there are parties including the government sector that set up the anti-fake news center, Ministry of Digital Economy and Society (DES), Press sector that set up “Sure before Sharing” center by MCOT, and Academic-People sector, associating as C effort to oppose fake news

At present, there are many efforts to combat the problem of fake news. both the government sector that has an anti-fake news center Ministry of Digital Economy and Society (DES), the media sector with a Sure Before Sharing Center of MCOT and the academic department – the people. gathered in the name of Cofact.org. Beyond supporting these parties to investigate accurately and quickly, digital tool development also is necessary as when internet usages may found some suspended news or information then they could send to the Cofact.org system to process data if there were through the process already (many fake news were spreading as “shared loop” feature, some of which have been proven over the years to be untrue, but are still being passed around again).

  1. Expanding parties in local level to join the ideology to examine the fake news: In fact, fast communication reflecting to a lot of information transiting, could caused to fake news or misinformation become variety and some of them may not be in intention of related organization to investigate. Therefore, it is necessary to set up a center at the community level which maybe local media or community leaders (Kumnans, village headmen, village elders, etc.) by allowing those who are interested in fraudulent issues to practice their skill. Also, discussion to exchanging ideas and suggestions on how to promote this at their own communities because each local area has a different social context.
  1. Starting a culture of “asking questions” and “accepting changes”: absorbing into mindset of people to not immediately believe when first received news or information, but suspense then this will lead to an investigation of the fact. Also, they would understand that the information can be changed following the facts which were rose up. Even though to change mindset following the facts is not concerned as wrong or shameful, it is not easy because since the past, Thai people in Thai society are used to be accustomed to following beliefs, whether they believe in maturity (senior, older) or qualifications (higher education, higher position). Hence, starting to absorb this culture at education system is a must where students can question about textbook or what teachers have taught. However, this is a challenge point to adjust the way of schools, and teacher training in the university where establishes the education courses. 
  1. Accepting community for “the dissenters” talks to build the same direction of understanding and middle way: since there are dimensions toward an issue, most people always get into some part of information that matches with their bias, or their personal belief, and not received the different datasets. By this, there is caused divisions and conflicts in long term, so how to set up a community for dissenters to discuss without pressure of statuses which maybe different level (age, power) is a question. 

Even though people may not be agreed on everything, but opportunities from “open up to one another” will lead to seek and discover aspects that all people from different sides can accept. Nevertheless, this recommendation is hard as the same reason of starting culture “asking questions” because Thai people have accustomed to adhering to the level of seniority or qualification. Also, there is lack of skill of communication to people who agree differently in term of opinion, physical and social status. Therefore, this is a challenge for all people to apply these kinds of skills. 

วิธีรับมือกับแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ และเบอร์โทรศัพท์ชวนเชื่อ COFACT Special Report #17

บทความ

English Summary:
Thai mobile phone users have been experiencing overseas robocalls and scammers recently. These calls often ask them to transfer money to the shipping company or lure them to purchase a service. Although the robocalls and telemarketing is not new in Thailand, some people still don’t know how to handle these calls. Some of them mistakenly transfer money to the scammers. In this article, we provide tips to avoid the scammers and tools we can use to block those numbers.

ช่วงนี้เรามักจะเห็นข่าวแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ หรือเบอร์โทรศัพท์แปลกๆ ที่โทรมาหาเราเพื่อเสนอบริการต่างๆ หรือหลอกว่ามีพัสดุส่งมาจากต่างประเทศ ให้เราโอนเงินเพื่อรับพัสดุดังกล่าว หลายคนตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้ แต่หลายครั้งพฤติกรรมของกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้ก็สร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ

วิธีสังเกตหมายเลขแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ที่ง่ายที่สุดในปัจจุบัน ก็คือการสังเกตหมายเลขโทรศัพท์ที่มาจากต่างประเทศ โดยปกติแล้วหมายเลขโทรศัพท์ในไทย จะใช้รหัสประเทศขึ้นต้นด้วย 66 หรือ +66 หากเป็นต่างประเทศจะขึ้นต้นด้วยตัวเลขอื่น ดังนั้นหากขึ้นด้วยตัวเลขอื่น โดยเฉพาะเป็นหมายเลขที่เราไม่คุ้น เราควรตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่าอาจเป็นมิจฉาชีพ

ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่น และฟังค์ชั่นต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือที่เราสามารถบล็อกเบอร์โทรศัพท์เหล่านี้ได้

  1. บล็อกเบอร์ด้วยฟังค์ชั่นที่มาพร้อมกับโทรศัพท์มือถือ


สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการไอโอเอส (ไอโฟน) และแอนดรอยด์จะมาพร้อมกับฟังค์ชั่นบล็อกหมายเลขที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการรับสาย หากเราต้องการบล็อกหมายเลขดังกล่าว ให้ไปที่แอพพลิเคชั่นโทรศัพท์ (ไอคอนรูปหูโทรศัพท์สีเขียว) และปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


ระบบปฏิบัติการ iOS เมื่อไปที่แอพพลิเคชั่นโทรศัพท์แล้ว กดเลือกเบอร์โทรที่ต้องการจะบล็อกที่บริเวณรูปตัวไอสีฟ้า จากนั้นเลือก Block this Caller และยืนยันอีกครั้งด้วยการกด Block Contact

ผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ iOS สามารถตั้งค่าให้โทรศัพท์ปฏิเสธการรับสายเบอร์โทรที่เครือข่ายมือถือไม่รู้จักได้ โดยเข้าไปยังแอพการตั้งค่า (Setting) เลือกเมนู Phone จากนั้นเปลี่ยน Silence Unknown Caller เป็น On


สำหรับระบบปฏิบัติการ Android ให้ไปที่แอพโทรศัพท์ จากนั้นกดเบอร์โทรที่ต้องการบล็อก และเลือกเมนู Block/Report Spam ทั้งนี้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android จะมีหน้าตาของแอพโทรศัพท์แตกต่างกัน เมนูอาจจะแตกต่างกัน แต่ขั้นตอนการเลือกบล็อกเบอร์โทรศัพท์จะคล้ายๆ กัน อาจจะเปลี่ยนตรงที่คำศัพท์ที่ใช้

  1. ใช้แอพบล็อกเบอร์โทร

นอกจากฟังค์ชั่นพื้นฐานที่มาพร้อมกับโทรศัพท์แล้ว ปัจจุบันเรามีตัวเลือกแอพพลิเคชั่นบล็อกเบอร์โทรกวนใจหลายแอพด้วยกัน บางแอพมาพร้อมฟังค์ชั่นพิเศษที่ช่วยตรวจสอบและแจ้งเตือนหมายเลขมิจฉาชีพก่อนเรารับสาย เว็บไซต์ PC Magazine แนะนำแอพพลิเคชั่น 3 แอพที่น่าสนใจ ได้แก่:

Hiya


แอพ Hiya: Spam Phone Call Blocker ใช้ฐานข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ที่มิจฉาชีพใช้ทั่วโลก รวมทั้งหมายเลขที่มักใช้เป็นสื่อโฆษณาต่างๆ นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ที่อาจเป็นของมิจฉาชีพ ด้วยการพิมพ์หมายเลขลงไปในตัวแอพ ฟังค์ชั่นการใช้งานทั่วไปบนแอพใช้งานได้ฟรี แต่ถ้าต้องการฟังค์ชั่นเสริม เช่นบริการแจ้งเตือนหมายเลขมิจฉาชีพก่อนรับสาย จะต้องสมัครเวอร์ชั่นพรีเมียม ราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 100 บาทต่อเดือน

Robokiller


แอพนี้นอกจากจะมีฟังค์ชั่นบล็อกหมายเลขโทรศัพท์ของมิจฉาชีพเช่นเดียวกับ Hiya แล้ว ตัวแอพยังมาพร้อมกับฟังค์ชั่นตอบสายมิจฉาชีพอัตโนมัติ ในแอพจะมีรูปแบบเสียงตอบรับที่ทำให้มิจฉาชีพรู้สึกรำคาญ ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มเสียงตอบรับอัตโนมัติของตัวเองได้ แอพนี้มีค่าบริการรายเดือนทั้ง iOS และ Android สามารถทดลองใช้งานฟรี 1 สัปดาห์

Truecaller


แอพนี้นอกจากจะบล็อกหมายเลขของมิจฉาชีพ และตั้งค่าการบล็อกหมายเลขด้วยตนเองได้แล้ว ระบบยังสามารถบล็อกข้อความสแปมต่างๆ ได้ด้วย ปัจจุบันแอพนี้มีฐานข้อมูลเลขหมายของมิจฉาชีพราว 5 หมื่นเลขหมาย ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มหมายเลขเหล่านี้เข้าไปในระบบ ใช้งานฟรี หรือถ้าอยากตัดโฆษณาในแอพ และใช้งานครบทุกฟังค์ชั่น สามารถจ่ายค่าบริการรายเดือนได้ เริ่มต้นที่เดือนละประมาณ 130 บาท

Whoscall


แอพ Whoscall เป็นแอป สัญชาติไต้หวันโดยบริษัท Gogolook โดย Whoscall นั้นมีฐานข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ทั่วโลกกว่า 700 ล้านเลขหมาย ในเดือนมีนาคม 2021 มีรายงานระบุว่า มีผู้ใช้แอป Whoscall มากถึง 80 ล้านยูสเซอร์ทั่วโลก และมีเบอร์โทรศัพท์ที่อยู่ในฐานข้อมูลถึง 1.6 พันล้านเบอร์ ซึ่งจากฐานข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ขนาดใหญ่ของ Whoscall นี้เองทำให้ระบบสามารถตรวจสอบหมายเลขโทรเข้า และแจ้งให้ผู้ใช้ทราบก่อนที่จะรับสายว่าเบอร์ที่โทรเข้ามาเป็นเบอร์ของใคร

ประเทศที่ใช้บริการ ‘Whoscall’ จำนวนมาก อาทิ ไต้หวัน,เกาหลีใต้,ฮ่องกง,ญี่ปุ่น,มาเลเซีย ,บราซิล และ ไทย ในการตรวจสอบเบอร์แปลกที่โทรเข้ามา ถ้าเบอร์นั่นเคยถูกร้องเรียนว่าเป็นเบอร์มิจฉาชีพ เวลาโทรมาหาเราก็จะมีการขึ้นเตือน และผู้ใช้สามารถทำการรายงานในระบบ และ บล็อกเบอร์ หรือไม่รับได้

  1. สัญญาณบ่งชี้มิจฉาชีพ

ถึงแม้แอพพลิเคชั่นเหล่านี้จะช่วยคัดกรอง และช่วยบล็อกเบอร์ของบรรดามิจฉาชีพ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายครั้งเรามักจะเผลอรับสายเบอร์โทรเหล่านี้บ่อยครั้ง เพราะเราก็ไม่รู้เสมอไปว่าบุคคลที่โทรศัพท์มาหาเราเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ ซึ่งมิจฉาชีพกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่มักจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ฟังแล้วดูดีเกินจริง หรือหลอกให้เราโอนเงิน หรือขอข้อมูลส่วนตัว เช่น บัตรประชาชน เลขบัตรเครดิต เลขบัญชีธนาคาร ดังนั้นหากเราเผลอรับสายมิจฉาชีพเหล่านี้ วิธีรับมือที่ดีที่สุด ก็คือวางสาย ไม่พูดคุยต่อ และทำการบล็อกหมายเลขเหล่านั้นเพื่อไม่ให้พวกเขาติดต่อกลับมาหาเรา ไม่ควรต่อล้อต่อเถียง หรือสนทนาต่อ


ที่มา: https://sea.pcmag.com/mobile-phones/48050/how-to-block-robocalls-and-spam-calls
https://www.springnews.co.th/blogs/news/815065


เกี่ยวกับผู้เขียน

ธนภณ เรามานะชัย (ไมค์) Fact-checker และ คอลัมนิสต์ประจำ Cofact Thailand

ปัจจุบันทำหน้าที่วิทยากรด้านการตรวจสอบข้อมูลข่าวและเครื่องมือดิจิทัลด้านข่าวให้กับ Google News Initiative ก่อนหน้านี้เขาเป็นผู้ประกาศข่าวเทคโนโลยีให้กับสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (Voice TV) และอดีตกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) https://www.damikemedia.com

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565

จริงหรือไม่…? หลังวันที่ 24 มีนาคม 65 แบงก์ 20 เก่าจะไม่สามารถใช้ได้

ไม่จริง

เพราะ…ธนบัตร 20 บาทใหม่ออกใช้ในวันที่ 24 มีค. 65 แต่ ธนบัตร แบบเดิม ยังคงใช้ได้เหมือนเดิม

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1vvvksu8mxz59


จริงหรือไม่…? ธนาคารกรุงไทย ปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืม 20,000 บาท ผ่อนเดือนละ 600 บาท ไม่ต้องค้ำประกัน

ไม่จริง

เพราะ…ธนาคาร ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเชิญชวนให้ประชาชนลงทะเบียนตามที่ระบุในเพจดังกล่าวแต่อย่างใด

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2kyqgrkyyyo5v


จริงหรือไม่…? คลิปเสียงหลุด การประชุมที่กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง #วัคซีน หมอท่านนึงได้กล่าวในที่ประชุม เรื่อง ผลของ วัคซีนโควิด

ไม่จริง

เพราะ…คลิปดังกล่าวถูกตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นคลิปเสียงปลอม

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1q6u74mn3aw3w


จริงหรือไม่…? เตรียมเปิดด่านชายแดนใต้ ไทย-มาเลเซีย

จริง

เพราะ…พื้นที่จังหวัดสงขลา ยะลา นราธิวาส และสตูล คาดว่าน่าจะเปิดดำเนินการได้ประมาณเดือนมีนาคม 2565

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1crgi4mdvs94d


จริงหรือไม่…? ไปรษณีย์ไทยแจ้งผู้ใช้บริการ จดหมายสำรวจคุณภาพบริการไปรษณีย์เป็นของจริง

จริง

เพราะ…ทำขึ้นเพื่อสำรวจข้อมูลคุณภาพบริการไปรษณียภัณฑ์ธรรมดา เพื่อนำข้อมูลวิเคราะห์ – ปรับปรุงบริการให้มีความรวดเร็ว และแน่นอนมากยิ่งขึ้น

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2mesxuijfnapg


จริงหรือไม่…? ขึ้นเขาคิชฌกูฏ ต้องจองคิวผ่านแอพก่อนขึ้นเท่านั้น

จริง

เพราะ…ททท. #จันทบุรี ประกาศกำหนดเปิดขึ้นเขาคิชฌกูฏ 2 ก.พ. – 2 เม.ย.65 เปิดให้จองคิวในรูปแบบ New Normal ผ่านแอป QueQ พร้อมทั้งฉีดวัคซีนครบ2 เข็ม และผลตรวจ #PCR ผลลบ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2mff193f2l35u


จริงหรือไม่…? สปสช. ขยายสิทธิ์ฝากครรภ์ให้หญิงไทยได้ไม่จำกัด พร้อมตรวจโรคซิฟิลิส ธาลัสซีเมีย แก่สามีของหญิงท้อง

จริง

เพราะ…ตามแนวทางการดูแลการตั้งครรภ์ที่กรมอนามัย ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และองค์การอนามัยโลกแนะนำ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1rw00fks9vmrm


จริงหรือไม่…? ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 กระทรวงสาธารณสุขจะปลดโรคโควิดพ้นบริการยูเซ็ป (UCEP)

ข่าวจริงบางส่วน

จริงหรือไม่…? ปรับให้โควิด-19 ออกจากสิทธิเจ็บป่วยวิกฤต ประชาชนจะต้องรักษาตามสิทธิสุขภาพของตนเอง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1qew2iufqq4j1


จริงหรือไม่…? จริงหรือไม่…? การฉีดวัคซีนต้านโรค “โควิด-19” เข็มกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…รัฐยังให้การดูแลตามสิทธิสุขภาพ ค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐเป็นผู้จ่ายให้ ยกเว้นประชาชนต้องการเข้ารับบริการที่นอกเหนือจากนี้ เข้ารพ.เอกชนก็จะต้องจ่ายเอง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2abpvg4xatiy0


จริงหรือไม่…? ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ “ทะเบียนรถใส่ชื่อคนได้”

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1u18iiut1dlv4