4 ปี รัฐประหารเมียนมา คลิปเก่า-เนื้อหาเท็จระบาด ปั่นความเกลียดชังแรงงานข้ามชาติ

Top Fact Checks Political

กองบรรณาธิการ HaRDstories: รายงาน

ผู้ใช้โซเชียลมีเดียและสื่อออนไลน์บางส่วนในไทยอาศัยช่วงครบรอบ 4 ปี รัฐประหารเมียนมา และการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 กุมภาพันธ์ 2568 เผยแพร่เนื้อหาที่ปลุกปั่นความเกลียดชังแรงงานเมียนมา โดยนำภาพเหตุการณ์ในอดีตมาใส่บริบทใหม่เพื่อสร้างความเข้าใจผิด และพาดพิงพรรคการเมือง ซึ่งอาจส่งผลต่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่น

เนื้อหาที่บิดเบือนและสร้างความเข้าใจผิดต่อแรงงานเมียนมาที่เกิดขึ้นในระลอกนี้ มุ่งประเด็นไปที่การขอขึ้นค่าแรงของแรงงานเมียนมา โดยนำคลิปวิดีโอที่นายสุรัจ กีรี (รู้จักในชื่อไทย วีระ แสงทอง) ชาวเมียนมาที่เคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิแรงงาน ให้สัมภาษณ์สื่อเมื่อ 2 ปีที่แล้วมาเผยแพร่ใหม่ในลักษณะที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการเคลื่อนไหวในปัจจุบัน

จากการตรวจสอบพบว่าในช่วงเดือนมกราคม 2568 มีเนื้อหาที่สร้างความเข้าใจผิดและบิดเบือน ทำให้เกิดความไม่พอใจแรงงานเมียนมาอย่างน้อย 3 ชิ้น ที่ถูกแชร์ต่อในวงกว้าง ดังนี้

1.คลิปเก่าปี 2565 ถูกนำมาปั่นกระแสก่อนวันครบรอบ 4 ปีรัฐประหารเมียนมา

ช่วงวันที่ 5-8 มกราคม 2568 มีการแชร์คลิป “พม่าเรียกค่าแรง 600-700 บาท” อย่างกว้างขวางบนเฟซบุ๊กและติ๊กต็อก โดยเป็นคลิปที่นายสุรัจ กีรี นักเคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิแรงงานชาวเมียนมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในเรื่องค่าแรง มีข้อความซ้อนในคลิปว่า “พม่าต้องการค่าแรง 600-700 บาท” ซึ่งบางคลิปมีการใส่โลโก้พรรคประชาชนด้านมุมขวาของคลิปด้วย 

เนื้อหาเดียวกันนี้ ถูกเผยแพร่ซ้ำบนเพจเฟซบุ๊กที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก เช่น TOP NEWS (ผู้ติดตาม 2.1 ล้านบัญชี), มุมมองเพื่อนบ้าน (ผู้ติดตาม 8.4 หมื่นบัญชี) และ ข่าวเฟสบุ๊ก (ผู้ติดตามกว่า 3 แสนบัญชี)

Fact-check: คลิปดังกล่าวเป็นการให้สัมภาษณ์ของนายสุรัจระหว่างการชุมนุมของกลุ่มแรงงานเมียนมา Bright Future เนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2565 บริเวณหน้าสถานทูตเมียนมาในกรุงเทพฯ การตรวจสอบพบว่าต้นฉบับคลิปเป็นข่าวที่เผยแพร่ทางยูทูป Voice TV เมื่อ 25 ธันวาคม 2565 พาดหัวข่าวว่า “ฟังเสียงคนสร้างกรุงเทพ ‘พวกเราไม่ได้เผากรุงศรี’ ขอค่าแรงขั้นต่ำ 600 เท่าเทียมกัน!”

ในคลิปให้สัมภาษณ์ต้นฉบับนั้น สุรัจกล่าวว่า “ค่าแรงตอนนี้ 335 หรือ 350 บาท คนพม่าได้ร้อยกว่าบาท บางคนได้ 200 แน่นอนคนที่ได้เต็ม 350 มันก็มี แต่ส่วนน้อย ส่วนมากก็คือโดนหักค่าประกันสังคม แต่เจ้านายไม่ส่งเงินสมทบให้ประกันสังคม ผมเจอ 2-3 เคส มันจะมีค่ารถ ค่าห้อง ค่ากิน 350 ยังไงก็ไม่พออยู่แล้ว ยังไงก็อยากได้มากกว่า 350 บาท 600 หรือ 700 ก็ว่าไป ถ้าได้ราคานั้น เราก็อาจจะอยู่อย่างสบายระยะหนึ่งหน่อย อาจจะนะ เพราะอย่าลืมว่าคนที่จะหาประโยชน์จากเรื่องนี้ก็มีเยอะ ไม่ว่าจะนายหน้าทั้งหลาย คนก็จะหาประโยชน์จากไอ้พวกนี้เยอะ เราต้องจัดการเรื่องนายหน้า […] อย่าลืมนะครับ กรรมกร งานสร้างตึกคนไทยไม่ทำ เราทำ เราทำให้ประเทศไทยสวยงามมากขึ้น ผมว่าลุงก็น่าจะดูแลพวกผมบ้างนะครับ อยากจะบอกว่า พม่าไม่ได้เผากรุงศรี แต่พม่าสร้างกรุงเทพ” 

เห็นได้ว่า คลิปที่ถูกนำมาเผยแพร่ใหม่ในช่วงเดือนมกราคม 2568 นั้น ไม่มีการให้ข้อมูลหรือบริบทใด ๆ ว่าเป็นการให้สัมภาษณ์เมื่อกว่า 2 ปีที่แล้ว ทำให้คนเข้าใจว่าเป็นการชุมนุมที่เพิ่งเกิดขึ้น อีกทั้งยังตัดคำพูดให้สั้นลง และบางคลิปได้นำโลโกพรรคประชาชนมาใส่ ทำให้เข้าใจว่าการชุมนุมนี้เกี่ยวข้องหรือได้รับการสนับสนุนจากพรรคประชาชน เช่น มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นในเพจเฟซบุ๊ก “มุมมองเพื่อนบ้าน” ว่า “ข้างหลังนั้นป้ายอะไรสีส้มๆ บอกตรงๆ เสียใจที่ลงคะแนนให้ แล้วประเทศจะไปทางไหนต่อในเมื่อพรรคที่หวังไว้กลับมาสนับสนุนคนพวกนี้ให้มาบ่อนทำลายประเทศ”

เปรียบเทียบภาพจากคลิปที่เผยแพร่ทางยูทูป VOICE TV เมื่อปี 2565 และภาพที่เผยแพร่ทางติ๊กต็อกในช่วงเดือนมกราคม 2568 ซึ่งมีการใส่โลโกพรรคประชาชน

การค้นหาด้วยเครื่องมือออนไลน์ Who Posted What พบว่าผู้ที่นำคลิปให้สัมภาษณ์ของนายสุรัจมาเผยแพร่ใหม่พร้อมกับใส่โลโกพรรคประชาชนคือบัญชีผู้ใช้ติ๊กต็อกชื่อ @jiraya3115 ซึ่งโพสต์คลิปนี้เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2568  

บัญชีผู้ใช้งานติ๊กต็อก @jiraya3115 มีผู้ติดตาม 7,077 ราย และ 253,700 ไลก์ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2567 เผยแพร่คลิปทั้งหมด 309 คลิป เนื้อหาเกือบทั้งหมดสื่อสารแง่ลบเกี่ยวกับผู้อพยพในไทย

คลิปคำให้สัมภาษณ์เรื่องเรียกร้องการขึ้นค่าแรงของนายสุรัจที่ถูกนำมาเผยแพร่ซ้ำในช่วงก่อนวันครบรอบ 4 ปีรัฐประหารเมียนมา ถูกใช้เป็นเหตุผลในการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน นำโดยนายทรงชัย เนียมหอม ที่เดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้อำนวยการฝ่ายกิจการความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2568 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไทยห้ามชาวเมียนมาในไทยเคลื่อนไหว นอกจากนี้ “ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน” ยังได้นัดรวมตัวที่หน้าสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อคัดค้านการเคลื่อนไหวของชาวเมียนมาเช่นกัน โดยมีการปราศรัยโจมตีชาวเมียนมาด้วยถ้อยคำรุนแรง

สำหรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มแรงงานเมียนมาที่นำโดยนายสุรัจและกลุ่ม Bright Future ในวาระครบรอบ 4 ปีรัฐประหารเมียนมาในปีนี้ มีเพียงการเดินทางไปยื่นหนังสือที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย หนึ่งในข้อเรียกร้องเกี่ยวกับแรงงานคือ ขอให้ปรับกระบวนการขึ้นทะเบียนแรงงงานข้ามชาติ (บัตรชมพู) ในไทยให้สะดวกกับแรงงานและนายจ้างมากขึ้น

2.คลิปการชุมนุมของแรงงานเมียนมาที่ จ.เพชรบูรณ์ ถูกนำมาบิดเบือนว่าเป็นการเรียกร้องขึ้นค่าแรง

วันที่ 31 มกราคม 2568 บัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งเผยแพร่คลิปความยาว 33.5 วินาที เป็นภาพการชุมนุมของชาวเมียนมาพร้อมเสียงภาษาเมียนมาที่แปลเป็นไทยว่า “เราจะไม่กลับ จนกว่าจะได้ตามที่เรียกร้อง” คลิปนี้มีการใส่ข้อความว่า “พม่าขอขึ้นค่าแรงเป็น 700 บาท” และคำบรรยายว่า “คนไทยได้ 350 พม่าจะเอา 700” มียอดเข้าชมกว่า 1.8 ล้านและถูกแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง

Fact-check: คลิปดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่แรงงานชาวเมียนมารวมตัวกันภายในบริษัทการเกษตร ต.กันจุ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ซึ่ง Manager Online รายงานว่า​แรงงานชาวเมียนมาประมาณ 1,000 คน รวมตัวเรียกร้องให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายในการต่อพาสปอร์ตและวีซา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องการขึ้นค่าแรงเป็น 700 บาทตามข้อความที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวโพสต์

3.ภาพเก่าปี 2564 และ 2567 ถูกนำมาประกอบเนื้อหาเท็จเรื่องการเคลื่อนไหวของชาวเมียนมา

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 บัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพการเดินขบวนและการชุมนุมที่มีการชูธงชาติเมียนมาทั้งหมด 3 ภาพ พร้อมกับข้อความว่า “…วันนี้แรงงานพม่าในไทยเหิมเกริมมากเกินทำการเดินขบวนชุมนุมที่หน้าสนง.ยูเอ็น ใครรับได้. ผมรับไม่ได้ ผมมีความรู้สึกที่ดีกับแรงงานต่างด้าวแต่กับเรื่องนี้ รับไม่ได้ จะมาเคลื่อนไหวทางการเมืองไม่ได้ หากอยากเรียกร้องกลับไปพม่าให้หมดจะไปต่อสู้เรียกร้องรัฐบาลเมียนม่าเรื่องสิทธิ เรื่องการเมือง ประชาธิปไตยเชิญกลับประเทศไปให้หมด จะมาปิดถนนเดินขบวนอย่างนี้ไม่ได้คนไทยจะได้มีงานทำเพิ่มมากขึ้น ไทยช่วยเหลือผู้หนีภัยสู้รบนานพอแล้ว มากกว่านี้ รัฐบาลจะเอาเงินที่ไหนมา จะตอบคนไทยที่ยากไร้ยังไง ส่วนที่แรงงานพม่าเรียกร้อง 700 บาท เอกชนคนไหนรวยเชิญตามสบาย ไปหา สส.ที่เชียร์แรงงานพม่าน่าจ่ายไหว คนไทย 400 บาทยังยากเลย…”

โพสต์นี้ถูกแชร์ไปมากกว่า 1.5 หมื่นครั้ง มีผู้กดแสดงรีแอคชันกว่า 1 หมื่นครั้ง ในจำนวนนี้มีผู้กด “ถูกใจ” 6 พันครั้ง และกด “โกรธ” 3.6 พันครั้ง

Fact-check: วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ 4 ปี รัฐประหารเมียนมา โดยกลุ่ม Milk Tea Alliance ในเวลา 16.00 น. ที่หน้าสถานทูตเมียนมาในกรุงเทพฯ โดยมีชาวเมียนมาและคนไทยเข้าร่วมจำนวนหนึ่ง ซึ่งจากการตรวจสอบทั้ง 3 ภาพที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวนำมาเผยแพร่พบว่าเป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2564 และ 2567 ดังนี้

ภาพที่ 1 เป็นภาพจากการชุมนุมที่จัดโดยกลุ่ม “เยาวชนปลดแอก” เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งมีชาวเมียนมาในไทยร่วมกิจกรรมด้วยเพื่อต่อต้านรัฐประหารในไทยและเมียนมา โดยผู้ชุมนุมเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปยังบ้านพักของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ภาพต้นฉบับมาจากบัญชี X ของกลุ่มพันธมิตรชานม ประเทศไทย (Milk Tea Alliance Thailand)

ภาพที่ 2 เป็นภาพจากการชุมนุมที่จัดโดยกลุ่ม “ทะลุฟ้า” เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 เพื่อขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ และต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทั้งในไทยและเมียนมา ภาพต้นฉบับมาจากเพจเฟซบุ๊ก “MTAT – Milk Tea Alliance Thailand – พันธมิตรชานม”

ภาพที่ 3 เป็นภาพขบวนพาเหรดเนื่องในเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ Bangkok Pride Festival 2024 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2567 จากสนามกีฬาแห่งชาติ มุ่งหน้าสู่แยกราชประสงค์ โดยในขบวนพาเหรดมีกลุ่มนักกิจกรรมมาร่วมแสดงออกในหลายประเด็นรวมทั้งการเรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมาและยุติสงครามในกาซา ภาพนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางเพจเฟซบุ๊ก “MTAT – Milk Tea Alliance Thailand – พันธมิตรชานม” เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2567   

ข้อสังเกตจาก 3 กรณี

  • เนื้อหาที่หยิบยกมาล้วนเป็นการสร้างความเข้าใจผิดและปลุกปั่นความเกลียดชังแรงงานเมียนมาในไทยด้วยการใช้ภาพและคลิปเก่าเผยแพร่ใหม่ ในบริบทใหม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื้อหาทั้งหมดถูกเผยแพร่ช่วงเดือนมกราคม 2568 ซึ่งเป็นช่วงก่อนครบรอบ 4 ปีรัฐประหารเมียนมา 1 กุมภาพันธ์ ซึ่งที่ผ่านมาชาวเมียนมาในไทยจะใช้โอกาสนี้จัดกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตย
  • เนื้อหาและการแสดงความคิดเห็นเป็นไปในทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจว่ามีพรรคการเมืองในไทยสนับสนุนการเคลื่อนไหวของชาวเมียนมา ซึ่งเป็นการเผยแพร่ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังจะมีการเลือกตั้งนายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568
  • ปัจจุบันเนื้อหาเหล่านี้ยังคงเผยแพร่อยู่ในโซเชียลมีเดีย แม้จะมีประชาชนทักท้วงจำนวนมาก โดยผู้ให้บริการแพลตฟอร์มไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เช่น การขึ้นข้อความแจ้งเตือนเนื้อหาเท็จ 

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

การไม่รับประทานไขมันดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่?

สำหรับคนที่กำลังเริ่มดูแลสุภาพน่าจะเคยได้ยินถึงการงดไขมัน  งดการรับประทานของที่มีความมัน ซึ่งจะทำให้เราอ้วน ลดน้ำหนักยาก ไขมันอุดตัน จริงหรือไม่ถ้าเราไม่รับประทานไขมันเลยจะทำให้สุขภาพดีขึ้น

“ไขมัน” เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะการทำงานของระบบสมอง รวมถึงการสร้างฮอร์โมน และผิวพรรณ กรดไขมันดีส่งผลดีต่อการทำงานของระบบหัวใจ 

ร่างกายควรได้รับแคลลอรี่ประมาณ 20-35% ของปริมาณไขมันที่ร่างกายต้องการ หรือไม่เกิน 7 ช้อนชาต่อวัน และที่สำคัญควรเน้นไปที่ “ไขมันดี”  (HDL) หรือ High Density Lipoprotein คือไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีความหนาแน่นของไขมันสูงเป็นไขมันที่ดีสำหรับหลอดเลือดแดง และยังช่วยป้องกันไม่ให้  “ไขมันไม่ดี” (LDL) หรือ Low Density Lipoprotein ที่สะสมอยู่ตามหลอดเลือดส่งไปที่ตับ เพื่อกำจัดออกจากร่างกาย 

หากระดับไขมันดีในเลือดต่ำ จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวและเกิดาการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs ต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไตวาย โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต เป็นต้น 

ดังนั้น การไม่รับประทานไขมันเลยถือเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะไขมันยังมีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่ควรรับประทานไขมันดี เพื่อให้กำจัดไขมันไม่ดีออกจากหลอดเลือดและควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน

(ข้อมูลจาก : สำนักโภชนาการ / โรงพยาบาลรามาธิบดี / คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล)

กระทู้  https://cofact.org/article/3lj99zzgji6of 

พรรคประชาชนกับข้อกล่าวหา “บังคับนักเรียนฟังหาเสียงท่ามกลางฝุ่น PM2.5”

Top Fact Checks Political

กองบรรณาธิการโคแฟค

โคแฟคตรวจสอบกรณีผู้ใช้บัญชี X “เจ๊จุก คลองสาม” (@jjookklong3) โพสต์ภาพผู้สมัครนายก อบจ. พรรคประชาชนแจกโบรชัวร์หาเสียงให้เด็กนักเรียน และเขียนข้อความกล่าวหาว่าพรรคประชาชนบังคับให้เด็กนักเรียนมานั่งฟังการหาเสียงเลือกตั้ง อบจ. ท่ามกลางฝุ่น PM2.5 ที่สูงในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

แม้ว่าการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะผ่านพ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 แต่โคแฟคยังคงตรวจสอบข้อเท็จจริงทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง อบจ. ที่ปรากฏอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อป้องกันการใช้ข่าวลวงมาเป็นเครื่องมือทำลายคู่แข่งทางการเมืองโดยเฉพาะช่วงการเลือกตั้งในทุกระดับ

โคแฟคตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อความในโพสต์ดังกล่าว ซึ่งมีการเข้าถึงเกือบ 2.8 หมื่นครั้งและมีผู้รีโพสต์ 270 ครั้ง (ณ วันที่ 31 มกราคม 2568) โดยมีเนื้อหาที่ทำให้ประชาชนเข้าใจว่า มีการบังคับให้นักเรียนมาฟังการหาเสียงกลางแจ้งในช่วงเวลาที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ลำดับเหตุการณ์และข้อความกล่าวหา

เวลา 11.12 น. วันที่ 23 มกราคม 2568  เพจเฟซบุ๊ก “นันทิยา ลิขิตอำนาจชัย” โพสต์ภาพพร้อมแคปชันระบุว่า “ภาพบรรยากาศการลงพื้นที่ของ เก่ง นันทิยา ลิขิตอำนวยชัย ผู้สมัครนายก อบจ. สมุทรสงคราม พรรคประชาชน – People’s Party ลงพื้นที่พบปะน้อง ๆ โรงเรียนศรัทธาสมุทร”

ต่อมา วันที่ 24 มกราคม 2568 บัญชีผู้ใช้ X “เจ๊จุก คลองสาม” ในภาพมีโลโก “พรรคประชาชนสมุทรสงคราม” โดย “เจ๊จุก” โพสต์ข้อความ “หาเสียงในโรงเรียนกันไม่หยุดเลยทีเดียว ทั้งที่เมื่อก่อน เรียกร้องให้ยกเลิกเข้าแถวหน้าเสาธงตอนเช้า แต่ตอนนี้บังคับให้นักเรียนต้องมานั่งฟัง ท่ามกลางภาวะ PM2.5 ที่สูงแบบนี้ ขอสามคำจาก FC เจ๊จุก ให้กับพวกพรรคส้มหน่อยได้ไหม? เห็นแก่ตัวเกินมนุษย์จริง ๆ” (ลิงก์บันทึก https://archive.ph/Cl195)

ทั้งนี้มีผู้เข้ามาวิจารณ์พรรคประชาชนในโพสต์นี้จำนวนมาก ต่อมา “เจ๊จุก คลองสาม” ได้โพสต์ภาพและข้อความอีกว่า “ในสภาทำเป็นร้องว่า PM2.5 สูง เป็นอันตราย แต่ทีมงาน ส.ส.พรรคตัวเองไปบังคับเด็กนักเรียนให้นั่งฟังปราศรัยแล้วสูดดม PM2.5 กลางแจ้ง…ปากอย่างทำอย่าง พวกเราอยากได้นักการเมืองแบบนี้จริงๆเหรอ?”

โคแฟคตรวจสอบ

  • บัญชีผู้ใช้ X  @jjookklong3 “เจ๊จุก คลองสาม” เริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 มีผู้ติดตามกว่า 1 แสนคน (ณ วันที่ 31 มกราคม 2568) โพสต์ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองไทย การวิจารณ์พรรคประชาชน นักกิจกรรมทางการเมือง และประเด็นเมียนมา
  • ทีมงานพรรคประชาชน จ.สมุทรสงคราม ให้ข้อมูลกับโคแฟคว่า พรรคประชาชนได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงเรียนศรัทธาสมุทร อ.เมืองสมุทรสงคราม เพื่อขออนุญาตประชาสัมพันธ์นโยบายของผู้สมัครนายก อบจ. ในช่วงที่นักเรียนเข้าแถวหน้าเสาธง โดยใช้เวลาประมาณ 5 นาที เนื่องจากทางพรรคมีความเห็นว่านักเรียนเป็นพลเมืองที่ควรมีส่วนร่วมทางการเมือง จึงเห็นควรให้พวกเขาทราบถึงนโยบายต่าง ๆ ที่ผู้สมัครนายก อบจ. จะดำเนินการเพื่อพัฒนาจังหวัด จากการติดต่อประสานงาน ทางโรงเรียนศรัทธาสมุทรได้อนุญาตและได้มีการนัดหมายวันเวลาให้ตามที่พรรคการเมืองเสนอ

สำหรับปัญหาฝุ่น PM2.5 นั้น ทีมงานพรรคประชาชนอธิบายว่า ทางโรงเรียนจะตรวจสอบค่าฝุ่นและคุณภาพอากาศประจำวันหากอยู่ในระดับที่อันตรายต่อสุขภาพก็จะงดการเข้าแถวหน้าเสาธง ซึ่งในวันที่ทีมงานพรรคประชาชนได้รับอนุญาตให้เข้าไปประชาสัมพันธ์นโยบายนั้น ทางโรงเรียนได้ให้นักเรียนเข้าแถวหน้าเสาธงตามปกติ

จากภาพที่เผยแพร่ในเพจเฟซบุ๊ก “นันทิยา ลิขิตอำนวยชัย” เห็นได้ว่า ผู้สมัครนายก อบจ. พรรคประชาชนยืนพูดกลางแจ้ง ส่วนเด็กนักเรียนนั่งอยู่ในบริเวณลานกิจกรรมในร่ม

ผู้สมัครนายก อบจ. พรรคประชาชนประชาสัมพันธ์นโยบายที่โรงเรียนศรัทธาสมุทรเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 (ภาพจากเพจเฟซบุ๊ก นันทิยา ลิขิตอำนวยชัย)
  • โคแฟคตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5 ย้อนหลังจากเว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ พบว่าค่าฝุ่น PM2.5 จากสถานีวัดคุณภาพอากาศที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ต.ลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งอยู่ห่างจากโรงเรียนศรัทธาสมุทรประมาณ 4 กิโลเมตร พบว่าค่าฝุ่นในช่วงเช้าของวันที่ 23 มกราคม 2568 อยู่ที่ 82.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ซึ่งเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยที่ 50 มคก./ลบ.ม. และอยู่ในระดับที่ “เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ”

ทั้งนี้ ค่าฝุ่น PM2.5 ระดับ 51-90 มคก./ลบ.ม. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำให้ประชาชน “ลดระยะเวลาหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หากจำเป็นให้สวมหน้ากากอนามัย

เว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษรายงานความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 ณ เวลา 8.00 น. วันที่ 23 มกราคม 2568 อยู่ที่ 82.8 มคก./ลบ.ม.

ข้อสรุปโคแฟค

จากการตรวจสอบของโคแฟคพบว่า เหตุการณ์ทีมงานพรรคประชาชนพบปะเด็กนักเรียนที่บัญชีผู้ใช้ X “เจ๊จุก คลองสาม” นำมาเผยแพร่นั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 ที่โรงเรียนศรัทธาสมุทร อ.เมืองสมุทรสงคราม จ.สมุทรสงคราม โดยทีมงานผู้สมัครนายก อบจ. พรรคประชาชนได้ขออนุญาตผู้บริหารโรงเรียนเพื่อเข้าไปประชาสัมพันธ์นโยบายในช่วงหลังการเข้าแถวเคารพธงชาติ ใช้เวลาประมาณ 5 นาที

สำหรับข้อกล่าวหาที่ผู้โพสต์ระบุว่า “บังคับให้นักเรียนต้องมานั่งฟังท่ามกลางภาวะ PM2.5 ที่สูง” นั้น จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังพบว่า ค่าฝุ่น PM2.5 ในเวลา 8.00 น. ของวันที่ 23 มกราคม อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผบกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ ทางโรงเรียนและทางทีมงานผู้สมัครควรตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างใกล้ชิด หากมีการจัดกิจกรรมในช่วงที่ค่าฝุ่นสูง ควรพิจารณาให้รอบคอบและดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยให้ความสำคัญกับสุขภาพของนักเรียนเป็นหลัก

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

กินแหนมหมูดิบ เสี่ยงเป็นโรคไข้หูดับจริงหรือ?

     การรับประทานเนื้อหมู แหนมหมู หรือเลือดหมูสุกๆ ดิบๆ จะมีเชื้อสเตปโตค็อกคัส ซูอิส  (Streptococcus suis) ปนเปื้อนอยู่ในทางเดินหายใจและเลือดของหมูที่ติดเชื้อ เชื้อนี้จะติดต่อมาสู่คนได้จึงเรียกว่า โรคไข้หูดับ นอกจากนี้โรคไข้หูดับสามารถติดต่อผ่านทางบาดแผล รอยถลอก และทางเยื่อบุตา  เป็นต้น ทำให้ผู้ติดเชื้อมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ หนาวสั่น สับสนกระสับกระส่าย ปวดข้อ คอแข็ง หูหนวกหรือการได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลัน

      ดังนั้นการรับประทานแหนมหมูดิบ หรือหมูสุกๆดิบๆ อาจเสี่ยงเป็นโรคไข้หูดับได้ 

   นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน กล่าวต่อไปว่าในปัจจุบันมีกระแสสังคมบนสื่อออนไลน์ได้รีวิวการรับประทานอาหารดิบและมีพฤติกรรมการดื่มสุราร่วมกับการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆมีผู้ติดตามรับชมจำนวนมากอาจทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบหรืออยากลองทำตาม ทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคไข้หูดับได้ เพื่อเป็นการป้องกันโรคไข้หูดับขอให้รับประทานหมูอย่างถูกวิธี ดังนี้

1.รับประทานเนื้อหมูหรือเลือดหมูที่ปรุงสุกเท่านั้น 

2.อาหารปิ้งย่าง ควรใช้อุปกรณ์ในการคีบเนื้อหมูดิบและเนื้อหมูสุกแยกจากกัน

3. ไม่ควรรับประทานหมูดิบร่วมกับการดื่มสุรา

4. เลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้ 

5. ผู้ที่สัมผัสกับหมูที่ติดโรค โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรสวมรองเท้าบูทยาง สวมถุงมือ รวมถึงสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

(ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)

ลิ้งค์กระทู้ Cofact  : https://cofact.org/article/1y0tcg3st102r

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568

ดื่มนมพร้อมยาได้ผลจริง…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/cp7o63py876w


มังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็งได้จริง…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/cas7i0uvtk8t


น้ำดื่มมีกลิ่นคลอรีน อาจเป็นสัญญาณของน้ำไม่สะอาด…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/3v2igvl34o1s2


  สภาเอกฉันท์ รับหลักการ ร่าง “พ.ร.บ.ตั๋วร่วม” บัตรใบเดียว ใช้ได้ทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือ

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/d9dfabpn1wf8#_=_


 ฝุ่น PM2.5 อันตรายต่อดวงตา

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/1f7h1spq7tsvc


 กลางปี68 ปิดซ่อมใหญ่”สะพานพุทธ”

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/2f5wmidwuddeyn


 ตัดไฟเมืองชายแดน 2 จุด สกัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/dsp8am0qzvef#_=_


 ต้นลูกใต้ใบ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และลดไข้ได้…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/otg1ubjed81p


ถอดรหัสถ้อยคำ‘ข่าวลวงสุขภาพ’ กลวิธีจี้ปม‘ความเปราะบาง’ คนอ่านพร้อมเชื่อและแชร์

กิจกรรม

29 ม.ค. 2568 รายการ “Cofact Live Talk” ทางเพจเฟซบุ๊ก “Cofact โคแฟค ดำเนินรายการโดย สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) ใน EP2 ของปี 2568 รับเทศกาล “ตรุษจีน” ชวนพูดคุยกับ ผศ.ดร.นิษฐา หรุ่นเกษมอาจารย์สาขานิเทศศาสตร์ คณะการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ในหัวข้อ เฮงปัง สุขภาพดี เท่าทันข้อมูลลวง เช็กให้ชัวร์ที่โคแฟค รับตรุษจีน สืบเนื่องจากเรื่องสุขภาพ เป็นหัวข้อที่พบปัญหาข่วงลวงและข้อมูลบิดเบือน-คลาดเคลื่อนบนโลกออนไลน์อยู่บ่อยครั้ง

ผศ.ดร.นิษฐา กล่าวถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ถูกส่งเข้ามาในฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ cofact.org โดยไล่ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2562 มาจากถึงวันที่ 20 พ.ย. 2567 คัดมา 1,726 รายการ ในจำนวนนี้ร้อยละ 97 มีการตรวจสอบไปแล้ว มีข้อค้นพบที่น่าสนใจ 1.ช่วงเวลา แบ่งเป็นช่วงก่อน ระหว่าง และหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 พบว่า ในช่วงปี 2563 – 2564 ที่มีสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จะมีการส่งข้อมูลเข้ามาให้ช่วยตรวจสอบเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากนั้นการส่งเข้ามาก็ค่อยๆ ลดลง

สะท้อนถึงว่าตอนนั้นคนไม่มั่นใจข้อมูลข่าวสารที่ตัวเองได้ จะเชื่อได้ไหม? ข้อความนี้เป็นอย่างไร? จะใช้ได้ไหม? ทำให้เหมือนกับบางครั้งก็ต้องตรวจสอบ ทีนี้จะตรวจสอบที่ไหน? เวลาที่คนส่งข้อความเข้ามาเยอะๆ สามารถจะอนุมานได้ว่าในนี้เป็นแหล่งข้อมูลที่เขาเชื่อถือมั่นใจ ข้อมูลที่ได้มาจึงมีจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด

2.ประเภทของข้อมูลในช่วงสถานการณ์โควิด-19ข้อมูลที่พบมากคืออาการของโรค การป้องกันตนเอง การรักษาและการฉีดวัคซีน สะท้อนว่าการที่มีข้อมูลข่าวลวงจำนวนมากก็ส่งผลต่อการตัดสินใจ เช่น ในเวลานั้นมีคำถามเกิดขึ้นว่าควรฉีดวัคซีนหรือไม่ เกิดความลังเลจากข้อมูลเรื่องผลข้างเคียงต่างๆอาทิ ฉีดแล้วเป็นหมัน เป็นโรคเรื้อน หรือฉีดแล้วเสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม การที่คนส่งข้อมูลมาทางเว็บไซต์น้อยลงหลังสถานการณ์โควิด-19 ผ่านพ้นไป อาจเป็นเพราะไปส่งผ่านช่องทางอื่นก็ได้ เช่น โคแฟคมีไลน์ @cofact ซึ่งปกติหลายคนก็อยู่กับโทรศัพท์มือถือและได้รับการแชร์ข้อความต่างๆ ผ่านทางไลน์อยู่แล้ว จึงอาจส่งเข้าไปให้ตรวจสอบในช่องทางดังกล่าวเพราะเห็นว่าง่ายต่อไป ซึ่งก็จะต้องเก็บข้อมูลต่อไปว่าผู้คนใช้ช่องทางใดมากกว่ากัน

3.ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่พบบ่อยๆ พบว่า มีหลากหลายมากทั้ง 3.1 สุขภาพจิต เช่น ความเครียด ภาวะซึมเศร้า การปรับอารมณ์ มีเข้ามาทั้งที่เป็นข้อมูลและการสอบถาม อาทิ เล่นเกมช่วยลดความเครียดได้หรือไม่? กินสมุนไพรชนิดนี้ลดอาการซึมเศร้าได้หรือเปล่า? เป็นต้น 3.2 โภชนาการเป็นเรื่องการบริโภคอาหารและการควบคุมน้ำหนัก เช่น ทฤษฎีการกินตามกลุ่มเลือด กินตามเวลาหรือตามความเชื่อบางอย่าง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง อาทิ ยา แผ่นแปะ เครื่องดื่ม ปากกา เซรั่ม ครีม ฯลฯ ซึ่งมักเชื่อมโยงกับการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง   3.3 โรคและการรักษา มีทั้งการรักษาแบบทางเลือก การป้องกันโรค ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับสมุนไพรและอาหารเสริม เช่น ฟ้าทะลายโจรใช้อย่างไร? น้ำโซดาช่วยย่อยอาหารได้หรือไม่? 3.4 การดูแลสุขภาพ เช่น ในเรื่องการนอน มีทั้งการนอนตะแคง ใส่ถุงเท้าแล้วจะช่วยให้นอนหลับได้ง่าย หรือวิ่งมากจะแก่เร็ว บางเรื่องที่ไม่คิดว่าจะมีคนสงสัยก็มี จึงเกิดคำถามว่าแล้วจะไปหาคำตอบจากไหนที่น่าเชื่อถือ ซึ่งส่วนใหญ่ที่ส่งเข้ามาจะเป็นข้อมูลลอยๆ ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาและยังไม่ได้รับการพิสูจน์ หากหลงเชื่อแล้วเกิดอันตรายขึ้น คนที่จะได้รับอันตรายก็คือคนที่หลงเชื่อนั้นเอง

4.ถ้อยคำที่มักถูกเลือกใช้ในข้อมูลที่ส่งต่อกันเรื่องสุขภาพ มักผูกกับการรักษาด้วยวิธีการทางธรรมชาติ เช่น น้ำมะนาวร้อนรักษามะเร็ง ถั่งเช่ารักษามะเร็ง น้ำมันกัญชา น้ำต้มใบมะขาว แต่ขณะเดียวกันก็มักจะใช้คำทางวิทยาศาสตร์ด้วย เช่น หากเป็นโรคมะเร็ง จะมีคำว่า คอร์ไดเซปิน เอนไซม์โบรมิเลน หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับสายตา จะมีคำว่า แคนนาบินอยด์ ไบโลบา หากเป็นโรคเรื้อรัง หรือทางการแพทย์คือกลุ่มโรค NCDs เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง จะมีคำว่า อัลคาลอยด์ จินเซนโนไซด์

เวลาที่เขาพูดถึงวิถีธรรมชาติ การรักษาทางเลือก สมุนไพร พวกคำวิทยาศาสตร์ คำเฉพาะเจาะจงแบบนี้จะถูกใส่เข้ามาประกบกัน เข้าใจว่ามันอาจจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถืออะไรบางอย่าง เพราะมันเป็นคำที่มันดูเป็นวิทยาศาสตร์ ดูน่าเชื่อถือ ดูเป็นคำยากๆ เก๋ๆ เราแปลไม่รู้เรื่อง ฟังไม่ออก แต่มันน่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องการแพทย์ เพราะฉะนั้นน่าเชื่อ ตรงนี้ก็เหมือนเป็นตัวลวงตัวหลอก

5.หลายครั้งข้อมูลถูกแชร์วนซ้ำ โดยทีมงานที่ช่วยเก็บข้อมูลพบว่าหลายเรื่องเคยเก็บแล้วก็ยังพบอีก ดังนั้นคงต้องใช้คำที่คุ้นเคยในช่วงโควิด-19 ระบาดคือ การ์ดอย่าตก เช่น ในปีนี้เจอข้อมูลข่าวสาร ตรวจสอบเรียบร้อยพบว่าเป็นข่าวลวง แต่ผ่านไป 3-4 ปี ข้อมูลเดิมก็ถูกแชร์วนกลับมาอีก หากการ์ดตกไม่ว่าด้วยปัจจัยใดๆ ก็ตาม ก็อาจหลงเชื่อได้ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยตรวจสอบจนรู้แล้วว่าเป็นเรื่องลวงหรือข้อมูลบิดเบือน

6.ข้อมูลเรื่องสุขภาพมักเล่นกับความเปราะบางของคน เช่น โรคเรื้อรัง (NCDs) มีค่าใช้จ่ายสูงในการรักษา ในขณะที่ผู้ป่วยก็อยากหายไวๆ และหายขาด ในค่าใช้จ่ายที่ตนเองแบกรับได้ ดังนั้นข้อมูลจึงนำเสนอทางเลือกที่ง่ายและราคาถูก เช่น ใช้คำว่า ต้มดื่มวันละ 1 แก้ว ในราคาแค่วันละ 10 บาท” , “วัตถุดิบมีขายในตลาดและราคาไม่แพง” ,ประหยัด เป็นต้น โดยคำเหล่านี้มักปรากฏเพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการรักษากับแพทย์ที่สูงกว่า 

นอกจากนั้น หลายคนท้อแท้เพราะไม่หายป่วยเสียทีในการรักษาโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในขณะที่มีข้อมูลการรักษาด้วยสมุนไพรหรือวิธีการทางธรรมชาติ เช่น สูตรยาจากตำราแพทย์แผนไทยโบราณ ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ใช้มาหลายชั่วอายุคน แต่ก็ยังจะไปผูกกับคำทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือ เป็นการผสมระหว่าง โบราณ คือใช้มาหลายรุ่นหลายชั่วอายุคน และใช้ได้ผลจึงยังคงดำรงอยู่มาถึงปัจจุบันกับ ศัพท์วิทยาศาสตร์ ซึ่งดูน่าเชื่อถือและเป็นที่พึ่งของความหวัง ฟังแล้วเชื่อว่าต้องหายป่วยแน่นอน

  ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเปราะบางกับความเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ข้อเข่าเสื่อม ปัญหาสุขภาพตามวัยของเรา เรื่องของความจำ ของสมอง ถ้าเป็นผู้ป่วยโรคร้ายแรง เราอาจกำลังกังวลต่อโรคที่กำลังเป็น หรือผู้ป่วยที่กังวลเกี่ยวกับปัญหาเรื่องสายตา จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก กรณีเป็นคนที่สนใจข้อมูลสุขภาพความงาม ก็จะเปราะบางต่อเรื่องควบคุมน้ำหนัก เรื่องการทานอาหาร อาหารคลีน อาหารมังสวิรัติ อาหารตามกรุ๊ปเลือด เรื่องของการย่อยอาหารก็เป็นเรื่องที่ให้ความสนใจเหมือนกัน

7.ถ้อยคำและวิธีการที่กระตุ้นให้อยากเชื่อ-อยากลอง (และอยากแชร์) ไล่ตั้งแต่ 7.1ระบุตัวเลขแบบเฉพาะเจาะจง เช่น หายขาดภายใน 7 วัน ให้นับวันรอได้เลย , เห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ ซึ่งหากเป็นคำแนะนำจากแพทย์จะต้องใช้เวลาในการรักษา แต่ตัวเราไม่อยากรอ , สยบทุกอาการป่วยใน 24 ชั่วโมง , ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ 95% คือเน้นการทำให้เห็นผลลัพธ์ของสิ่งที่จะกินหรือใช้  7.2 ใช้คำที่มีความหมายทำนอง เด็ดขาด เช่น รักษามะเร็งได้แน่นอน หายขาดจากโรคเบาหวาน ป้องกันโรคได้ 100% ซึ่งแตกต่างจากความเห็นของแพทย์ที่จะบอกให้เผื่อๆ ไว้ 7.3 ใช้การอ้างอิง เช่น อ้างความเป็นสูตรโบราณ ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่พิสูจน์มาแล้วหลายชั่วอายุคน อ้างอิงการเป็นทางเลือกด้วยการบอกว่าในเมื่อรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ไปโรงพยาบาลแล้วยังไม่ได้ผลก็มองหาทางเลือกอื่นๆ  7.4 อ้างความเป็นข้อมูลลับหรือสิ่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยรับรู้แล้วให้รีบตัดสินใจ เช่น บอกให้รีบแชร์ก่อนถูกลบ บอกว่าเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้รู้ความจริง ซึ่งจะตรงข้ามกับการณรงค์ให้ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารก่อนเชื่อหรือแชร์ต่อ ที่ต้องการทำให้การตัดสินใจช้าลงหรือไม่ด่วนตัดสินใจเพื่อให้มีเวลาได้หยุดคิดและตรวจสอบ 7.5 แม้จะอ้างบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ หรือสถาบันที่น่าเชื่อถือมารับรองก็ยังต้องระวัง เช่น อ้างชื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนึ่งกับโรคที่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญของแพทย์ท่านนั้น  

หรือที่อ้างว่าได้รับการรับรอง แม้จะได้รับการรับรองจริงแต่หลายอย่างมีจำกัดอายุ ก็ต้องตรวจสอบอีกว่าการรับรองนั้นหมดอายุไปแล้วหรือยัง หรืออ้างว่ามีคนนั้นคนนี้ใช้แล้วเห็นผลบ้าง ใช้แล้วพึงพอใจบ้าง ก็ต้องคิดต่อไปอีกว่าคนที่อ้างถึงนั้นเป็นใคร เพราะส่วนใหญ่การอ้างจะมี 2 ส่วน คือผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้จริง ซึ่งผู้ใช้จริงก็มักจะเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัว ตามสูตรก็เหมือนกับการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงหรือมีอิทธิพลทางความคิด (Influencer) มาเล่าเรื่องว่าใช้แล้วได้ผลจริง 

“ถ้าให้สรุปคือส่วนใหญ่แล้วข้อมูลไม่ระบุแหล่งที่มาชัดเจน เน้นความสะดวก คุ้มค่า ปลอดภัย ไม่มีสถิติที่มาข้อมูล เชื่อมโยงกับโรคสมัยใหม่ เชื่อมโยงกับคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ พวกนี้เหมือนทำให้เราเวลาที่คิดว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อดี ไปเจอกลยุทธ์ เจอเทคนิค กลวิธีแบบนี้ เราจะเหมือนหลอมละลายทุกทีเราเชื่อตามข้อมูลพวกนี้ทุกที อันนี้ก็คือเป็นข้อมูลส่วนใหญ่ที่ได้เจอจากฐานข้อมูลของโคแฟค”

หมายเหตุ : รับชมย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/CofactThailand/videos/1827458771347007/?locale=th_TH

-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-

ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับแอป Smart Vote ของ กกต.  

กมล หอมกลิ่น: โคแฟคอีสาน

นับตั้งแต่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดตัวแอปพลิเคชัน “Smart Vote” เมื่อเดือนมกราคม 2562 ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นระดับชาติ ระดับท้องถิ่น หรือการเลือกสมาชิกวุฒิสภา กกต. จะเชิญชวนให้ประชาชนดาวน์โหลดแอปเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

ก่อนการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ ก็มีการโหมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดาวน์โหลดแอปมาใช้งานเพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเลือกตั้งเช่นกัน

โคแฟคตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแอป Smart Vote ที่เผยแพร่ในโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน โดยเฉพาะแรงงานต่างถิ่นที่ไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิที่ภูมิลำเนาได้ เนื่องจากการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้าและการเลือกตั้งนอกเขต ดังนั้นแอป Smart Vote จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่มีความสำคัญและช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเพื่อรักษาสิทธิทางการเมืองของตนเอง

รู้จักแอป Smart Vote

กกต. พัฒนาและเปิดตัวแอปพลิเคชัน “ฉลาดเลือก Smart Vote” ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับแอปไว้ว่า “เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าถึงข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้ง ข้อมูลพรรคการเมือง ข้อมูลที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง”

ภายในแอปแบ่งเนื้อหาเป็น 5 หัวข้อ คือ 1) การเลือก สว. 2) เลือกตั้ง สส. 3) เลือกตั้งท้องถิ่น 4) การออกเสียงประชามติ และ 5) รวมกฎหมาย/ข่าวประชาสัมพันธ์

ในหัวข้อ “เลือกตั้งท้องถิ่น” จะมีให้เลือก 6 หัวข้อย่อย เช่น ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ข้อมูลการเลือกตั้ง อบจ./เทศบาล/อบต./กทม./เมืองพัทยา, ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง/แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะลิงก์เชื่อมต่อกับข้อมูลในหน้าเว็บไซต์ของ กกต. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง  

ส่วนของการแจ้งเหตุทุจริตการเลือกตั้ง เมื่อคลิกเข้าไประบบจะขึ้นข้อความและสัญลักษณ์ให้ดาวน์โหลดแอป “ตาสับปะรด” ซึ่งเป็นอีกแอปพลิเคชันหนึ่งที่ กกต. พัฒนาขึ้นเพื่อรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งโดยเฉพาะ

Smart Vote เคยโดนแฮ็ก?

หนึ่งในประเด็นที่แพร่หลายในโซเชียลมีเดียคือกรณีแอป Smart Vote “โดนแฮ็ก” ซึ่งมีการเผยแพร่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ตัวอย่างเช่น บัญชีผู้ใช้ TikTok ชื่อ “Artจิตรภณุ” โพสต์คลิปวิดีโอเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ระบุว่า “แอป Smart Vote ของ กกต. โดนแฮ็ก” และแนะนำให้ประชาชนถอนการติดตั้งแอปเพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล

“…มันมีข้อความแปลก ๆ เด้งขึ้นมาในแอปพลิเคชัน เช่น ‘ก้าวไกล no.1’ ‘ลุงตู่อยู่ไหน’ กกต. ไปตรวจสอบแล้วว่าระบบถูกแฮ็กครับ ซึ่ง Smart Vote หลายคนก็ดาวน์โหลดมาตั้งแต่มีการเลือกตั้ง เพราะว่าจะได้ตามผลการเลือกตั้ง ผมเองก็ดาวน์โหลดมาเหมือนกัน ผมว่าเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวของเรา แนะนำให้ทุกคนลบทิ้งมันไปเลยครับ” เจ้าของคลิประบุ

โคแฟคตรวจสอบพบว่าสื่อมวลชนหลายสำนักรายงานตรงกันว่าแอป Smart Vote โดนแฮ็กเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เช่น มติชนออนไลน์ ไทยพีบีเอส และไทยรัฐ ซึ่งรายงานว่าประชาชนจำนวนมากที่ติดตั้งแอป Smart Vote ของ กกต. ได้รับข้อความแจ้งเตือนจากแอปจำนวนมากในช่วงเวลา 13.00 น. ข้อความมีเช่น “ลุงตู่อยู่ไหน อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลอยู่รวมไทยสร้างชาติ” และ “ก้าวไกล no1” ตลอดจนคำอุทาน คำด่าหรืออักขระพิเศษที่ไม่มีความหมาย

วันเดียวกันนั้น ผู้อำนวยการประชาสัมพันธ์สำนักงาน กกต. ได้ส่งข้อความแจ้งสื่อมวลชนผ่านไลน์กลุ่ม “ภารกิจ กกต.” ว่า ขณะนี้มีแฮ็กเกอร์กำลังเข้าโจมตีแอปพลิเคชัน Smart Vote ทำให้มีข้อความประหลาดในการแจ้งเตือนของแอป ซึ่งทางสำนักประชาสัมพันธ์ ได้แจ้งทางสำนักสนับสนุนการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติแล้ว

ตัวอย่างข้อความที่ปรากฏในแอป Smart Vote หลังจากโดนแฮ็ก
(ภาพจากมติชนออนไลน์)

หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว แอป Smart Vote กลับมาใช้งานได้ตามปกติ และ กกต. ก็ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนติดตั้งแอปนี้อีกครั้งในช่วงการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ที่จัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2567 เพื่อติดตามข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกเป็น สว. และผลการเลือก

แจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง อบจ. ผ่านแอป Smart Vote ได้?

ก่อนการเลือกตั้งนายก อบจ. ใน 47 จังหวัดและ ส.อบจ. ในทุกจังหวัดทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 โคแฟคพบว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มีเนื้อหาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแอป Smart Vote จำนวนมาก ทั้งเชิญชวนให้ติดตั้งแอปเพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง และแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น บัญชีผู้ใช้ TikTok ชื่อ “Natcha na ka” โพสต์คลิปวิดีโอเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2568 อธิบายขั้นตอนการแจ้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ. ทางแอป Smart Vote โดยให้ข้อมูลว่าระบบจะเปิดให้เข้าไปแจ้งเหตุ 2 ช่วงคือ 25-31 มกราคม และ 2-8 กุมภาพันธ์ 2568 เท่านั้น  

บัญชีผู้ใช้ TikTok ชื่อว่า “ฮักน้ำขุ่น” ซึ่งอยู่ใน จ.อุบลราชธานี โพสต์คลิปภาษาอีสานแนะนำให้คนที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ. แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิทางออนไลน์ ภายใน 7 วัน หลังการเลือกตั้ง

โคแฟคสอบถามเจ้าหน้าที่ กกต. ประจำ “สายด่วน กกต. 1444” เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2568 ได้รับคำยืนยันว่า ประชาชนสามารถ “ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง” หรือ “แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง” ทางแอปพลิเคชัน Smart Vote ได้จริง โดยเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แม้แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิไว้ แต่หากวันเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิได้ ก็สามารถเข้าไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งได้ตามปกติ

“บางคนอาจมีข้อจำกัดจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ หรือมีธุระด่วนสำคัญในวันนั้น การลงข้อมูลในระบบออนไลน์จะช่วยอำนวยความสะดวกและเป็นช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย หรือบางคนที่ลงไว้แล้วแต่ถึงวันจริงไปได้ก็สามารถเลือกตั้งได้ตามปกติ” เจ้าหน้าที่สายด่วน กกต. กล่าว

ทั้งนี้ ผู้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางออนไลน์จะต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งของการเลือกครั้งนั้น ๆ เช่น ต้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น และต้องแจ้งเหตุในช่วงระยะเวลาที่กำหนด คือ ก่อนการเลือกตั้ง 7 วัน หรือภายใน 7 วัน หลังวันเลือกตั้ง

วิธีการตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งและแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางแอป Smart Vote มีดังี้ กดเข้าแอปพลิเคชัน Smart Vote > เลือกเมนู “เลือกตั้งท้องถิ่น” > เลือกเมนู “ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง” > หากมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ให้ไปที่เมนู “แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง” ระบบจะพาเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องกรอกเลขบัตรประชาชน ชื่อ-นามสกุล และวันเดือนปีเกิด เพื่อดำเนินการต่อ

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 25 มกราคม 2568

การอมเกลือทำความสะอาดฟันได้…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/k36jywhr8ihu


เบตาดีน ช่วยรักษาสิวอักเสบภายใน 1 คืน…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/2xhsuoaarm4fo


น้ำข้าวผสมไข่ขาวช่วยรักษาโรคไตได้…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/3rj2064ixyjd6


  เผยภาพผลกระทบจากฝุ่นพิษ เด็กนักเรียนตัวเลือดกำเดาไหลไม่หยุด

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/36xa3qcedzggd


 ใช้น้ำมันทอดซ้ำ เสี่ยงอันตราย

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/3mg1o81jx1k85


 กินหมูกระทะไม่แยกตะเกียบเสี่ยงโรคไข้หูดับ

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/3bia5pr7fz8d3


 “นายกฯ” สั่ง “คมนาคม” ให้ประชาชนขึ้น “รถไฟฟ้า – รถ ขสมก.” ฟรี 7 วัน

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/2l1s0disl3fdq


 ในช่วงวันที่ 26-28 ม.ค. 68 กรุงเทพเตรียมหนาวอีกรอบ เย็นลง 2-5 องศาฯ

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/32z0gj8ik9d14


 ข้อบังคับใหม่ สายการบินปฏิเสธรับขนส่งผู้โดยสารได้ เริ่ม 19 ก.พ. 68

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/7j1rill81hrh


 ออกกำลังกายช่วยบรรเทาโรคซึมเศร้าได้

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/dkjcy6d4sx08


  การแช่เท้าในน้ำส้มสายชูช่วยลดกลิ่นเท้า

อ่านต่อได้ที่  https://cofact.org/article/1fd3c7qnzvjs1


 กินผักเยอะๆทำให้ท้องอืด…จริงหรือ?

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1m370x79zj03r


รับชมคลิปสั้นเพื่อแสวงหาความจริงร่วมโรคมะเร็งEP.1 ทำไมคนไทยถึงชอบแชร์ข้อมูล น้ำมะนาวโซดารักษามะเร็ง

ประเด็นสุขภาพ

ซีรีส์คลิปสั้นเพื่อแสวงหาความจริงร่วมโรคมะเร็ง
EP.1 ทำไมคนไทยถึงชอบแชร์ข้อมูล น้ำมะนาวโซดารักษามะเร็ง