สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? กองประชาสัมพันธ์ กทม. อัพเดต Timeline สถานที่เสี่ยง COVID-19 จำนวน 36 สถานที่

ไม่จริง

เพราะ…เป็นข่าวเก่า ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2564

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3g2b80mz2zhhn


จริงหรือไม่…? สารคณบดี จากโรงพยาบาลรามาธิดี ม.มหิดล

จริง

เพราะ…คณบดีคณะ​แพทย์ รพ.รามาฯ ออกสารให้กำลังใจ อจ.หมอชี้ แม้สถานการณ์เกินรับไหว ต้องสู้ต่อไป

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/impi6fzx87jk


จริงหรือไม่…? ยอดผู้ติดเชื้อโควิด และเสียชีวิตในอินเดียลดลงอย่างในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

จริง

เพราะ…ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดของรัฐต่างๆ ซึ่งยังคงต้องเฝ้าระวังต่อไป

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/vbrkydmpbrcv


จริงหรือไม่…? วิจัยกรุงศรีได้ re-estimate ประมาณการติดเชื้อโควิค 19 ของไทยอีกครั้งโดยใช้ข้อมูลล่าสุดจนถึงวันที่ 28 มิย 64

จริง

เพราะ…อาจจะยืดเยื้อถึงเดือน ต.ค. แม้ยอดผู้ติดเชื้อจะลดลง แต่อาจพบการติดเชื้อที่ล้อไปกับบราซิลและอิตาลี

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/16aq3wxme446x


จริงหรือไม่…? ดาวฤกษ์ ProximaCentauri ลุกจ้า รุนแรงกว่าดวงอาทิตย์

จริง

เพราะ…แม้อุณหภูมิพื้นผิวร้อนน้อยกว่าดวงอาทิตย์แต่สามารถปลดปล่อยพลังงานได้สูงกว่าการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ถึง 100 เท่า

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/35kr8t76fcjkj


จริงหรือไม่…? มาตรการการเดินทางของ 10 จังหวัดในพื้นที่ ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

จริง

เพราะ…มาตรการสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาประจวบคีรีขันธ์ ต้องรายงานตัว/กักตัว สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/zc89p18f2edz


จริงหรือไม่…? ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ประกาศ 5 จุดยืนต่อรัฐบาล กรณีวัคซีนป้องกัน โควิด19

จริง

เพราะ…ขอให้เร่งจัดหาวัคซีนอย่างเพียงพอ ทั้งปริมาณและคุณภาพ พร้อมขอให้จัดสรรวัคซีนอย่างเป็นระบบชัดเจนและโปร่งใส

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2nwjcdqv6jt19


จริงหรือไม่…? อย. แจ้งเตือนเฝ้าระวังการเก็บรักษาวัคซีน ซิโนแวค

จริง

เพราะ…พบลักษณะสารละลายของวัคซีนรวมตัวเป็นเจลใสติดในขวด และไม่หายไปหลังเขย่า คาดเกิดจากการจัดเก็บ-ขนส่งไม่ควบคุมอุณหภูมิตามกำหนด ถ้าเจอขอให้ระงับการฉีดทันที

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1sjgqu9kzx348


จริงหรือไม่…? อย.สั่งระงับวัคซีน ซิโนแวคพบฉีดและเป็นเจลใส

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ระงับเฉพาะบางรุ่นที่เป็นเจลใสเท่านั้น

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2fbwmniww6cez


จริงหรือไม่…? หน้ากากผ้าไม่ปลอดภัย

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…หน้ากากผ้าไม่มีลวดปรับให้แนบกับจมูก อาจทำให้หลุด และเกิดความเสี่ยงได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/17zvrt32fqhcr


สรุปผลการวิจัย 1 ปีโคแฟค “บทเรียนและข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน”

บทความ

สรุปผลการวิจัย 1 ปีโคแฟค
“บทเรียนและข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน” โดย

  • ดร.รดี ธนารักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิถต์/ภาคีโคแฟค ภาคเหนือ
  • ผศ.ดร.ณภัทร เรืองนภากุล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้/ภาคีโคแฟค ภาคเหนือ

ดาวน์โหลดที่นี่

https://drive.google.com/file/d/11mJcsEw1zYxBds6wb1CGVMDWuoQ4zSWO/view?usp=drivesdk

นำเสนอในงานเสวนานักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 17
How to รับมือปัญหาข้อมูลสับสน/ข่าวสารลวงหลอก
บทเรียนไทยและเทศ

Digital Thinkers Forum #17
How to counter ‘information disorder’ wisely?

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2564
ถ่ายทอดสดผ่านเพจ Cofact โคแฟค, Fnf Thailand และ Ubon Connect

รับชมวิดีโอย้อนหลัง คลิก!

https://www.facebook.com/CofactThailand/videos/603842363921351/

เปิดตัวโคแฟค ทำไมความจริงร่วมจึงสำคัญ

Editors’ Picks

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ธนาคารจิตอาสา มูลนิธิฟรีดิช เนามัน และภาคีเครือข่ายป้องกันและตรวจสอบข่าวลวง จัดงานเสวนานักคิดดิจิทัลครั้งที่ 11 เปิดตัวโคแฟค “ทำไมความจริงร่วมจึงสำคัญ” พร้อมปฐมนิเทศจิตอาสาพัฒนาทักษะด้านเท่าทันสื่อและสุขภาวะทางปัญญารุ่นแรก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3m4oHKT

ขอบคุณที่มา สสส.

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 29 มิถุนายน 2564


จริงหรือไม่…? Luc Montagnier บอกว่าฉีดวัคซีน covid จะตายใน 2 ปี

ไม่จริง

เพราะ…ออกมาแสดงความกังวลจริง แต่ไม่เคยบอกว่าฉีดแล้วจะตายใน 2 ปี

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/399yui87hcwj5


จริงหรือไม่…? 4 จังหวัดภาคใต้ประกาศปิดล็อกแคมป์แรงงานเป็นเวลา 1 เดือน

จริง

พราะ…เป็นไปตาม มาตรา 9 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 25) บังคับใช้ต้ังแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1h3mg7eva9np3


ริงหรือไม่…? ผู้ประกันตนมาตรา 33 เข้ารับวัคซีนโควิด-19 ไม่รับ Walk In

จริง

เพราะ…สำนักงานประกันสังคมแจ้ง ต้องลงทะเบียน e-service แล้วมาตามนัดเท่านั้น ไม่รับ walk-in เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอน และลดความแออัด หากมีข้อสงสัย ติดต่อสายด่วน 1506 กด 7 เวลา 08.00 – 17.00 น.ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/14imk14dw6a5x


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 26 มิถุนายน 2564


จริงหรือไม่…? โตโยต้า จัดกิจกรรมฉลองครบ 80 ปี

ไม่จริง

เพราะ…เว็บดังกล่าวเป็นเว็บปลอม

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/xki9bj7y4omb


จริงหรือไม่…? หอมแดง ทุบสามารถนำมาใช้ป้องกันและรักษาโควิด19 ได้

ไม่จริง

เพราะ…ไม่ได้ใช้ทั้งป้องกันและรักษา แต่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ หากมีข้อมูลไม่ครบถ้วน ก็อาจจะเกิดอันตรายกับผู้ใช้ได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/nf6942fe1bph


จริงหรือไม่…? อกหักทำให้รู้สึกเจ็บปวด

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…เกี่ยวกับข้องกับสารเคมี หรือ ฮอร์โมนในร่างกายที่ผลิตออกมายามมีความสุข และมีความทุกข์ เมื่อฮอร์โมนต่ำจะทำให้รู้สึกหดหู่ ซึมเศร้าได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2t82jwdns0xdc


Digital Thinkers Forum #17 : How to รับมือปัญหาข้อมูลสับสน/ข่าวสารลวงหลอก บทเรียนไทยและเทศ

บทความ

ชวนร่วม เวทีเสวนานักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 17

How to รับมือปัญหาข้อมูลสับสน/ข่าวสารลวงหลอก บทเรียนไทยและเทศ

Digital Thinkers Forum #17 How to counter ‘information disorder’ wisely?

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2564  เวลา 9.00 – 12.00 น.

การประชุมระบบ Zoom และถ่ายทอดสดผ่านเพจ Cofact โคแฟค/ Fnf Thailand/ Ubon Connect

9.00 น.            กล่าวต้อนรับและเปิดงานโดยองค์กรร่วมจัด 

  • ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์         กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานกองทุน

สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 

  • ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์     ที่ปรึกษาโคแฟค (ประเทศไทย) 

9.30 – 10.00 น.        นำเสนอผลการวิจัย 1 ปีโคแฟค 

                        บทเรียนและข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน โดย  

  • ดร.รดี ธนารักษ์          รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิถต์/

ภาคีโคแฟค ภาคเหนือ

  • ผศ.ดร.ณภัทร เรืองนภากุล     คณะสารสนเทศและการสื่อสาร 

มหาวิทยาลัยแม่โจ้/ภาคีโคแฟค ภาคเหนือ

10.00 – 12.00 น.    เสวนานักคิดดิจิทัล ฮาวทูรับมือข้อมูลสับสน/ข่าวสารลวงหลอกให้ถูกทาง 

  • ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันท์      คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  • คุณเทพชัย หย่อง          ที่ปรึกษา Thai PBS
  • ดร.พิชญ์วดี กิตติปัญญางาม     ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหาร Arkki ประเทศไทย 
  • พ.ต.ท.(หญิง) เพรียบพร้อม เมฆิยานนท์     รองผู้กำกับ กลุ่มงานต่อต้านการล่วง

ละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต 

บก.ตอท.บช.สอท. 

                      ดำเนินรายการโดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้ง โคแฟค (ประเทศไทย)

                                             คุณรณพงศ์ คำนวณทิพย์ ผู้ก่อตั้ง Media Oxygen

                                ———————————————-

กำหนดการสัมมนาออนไลน์

การอบรมหลักสูตรระยะสั้นแบบเรียนด้วยตนเองว่าด้วยการตรวจสอบข้อเท็จจริง

วันพุธที่ 30 มิถุนายน 2564 เวลา 13.00 – 15.00 น.

13.00 – 13.05 น.    กล่าวต้อนรับโดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้ง โคแฟค (ประเทศไทย)

13.05 – 13.15 น.     กล่าวเปิดงานโดย คุณไมเคิล ฮีธ 

อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย 

13.15 – 13.45 น.     ฟังบรรยายโดย คุณ Baybars Orsek

ผู้อำนวยการเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล (IFCN) ณ Poynter Institute

13.45 – 14.15 น.    พูดคุย – ถามตอบ (Q&A) กับผู้อำนวยการเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล   ดำเนินรายการโดย ดร.เจษฎา ศาลาทอง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14.15 – 14.45 น.    ร่วมอภิปราย โดย เครือข่ายนักตรวจสอบข้อเท็จจริง 

  • คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์     ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท
  • คุณธนภณ เรามานะชัย     Google News Initiative

14.45 – 15.00 น.    สรุปการสัมมนา

*********

Live Webinar Agenda

Final webinar Hands-On Fact-Checking: Online Short Course

Wednesday 30 June 2021, 1.00 – 3.00 p.m.

1.00 – 1.05 p.m.     Welcome by Supinya Klangnarong, Co-founder COFACT Thailand 

1.05 – 1.15 p.m.     Opening Remarks by Charge d’Affaires Michael Health, U.S. Embassy Bangkok 

1.15 – 1.45 p.m.    Presentation by Baybars Orsek, Director of International Fact-Checking 

Network (IFCN), Poynter Institute

1.45 – 2.15 p.m.     Q&A Session moderated by Dr. Jessada Salathong, Faculty of 

Communication Arts, Chulalongkorn University 

2.15 – 2.45 p.m.     Discussion Session led by 

  • Peerapon Anutarasoat     Manager of Sure and Share Center, MCOT
  • Tanapon Raomanachai     Google News Initiative

2.45 – 3.00 p.m.     Conclusion

***************

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 24 มิถุนายน 2564


จริงหรือไม่…? ตรวจการติดเชื้อ โควิด19 ง่ายๆ ด้วยตัวเอง โดยการกลั้นหายใจ เช็กอาการไอ-แน่นหน้าอก

ไม่จริง

เพราะ…ยังไม่มีผลวิจัยทางการแพทย์ที่ออกมายืนยันว่า วิธีกลั้นหายใจสามารถใช้เช็กการติดเชื้อโควิด-19 ได้ รวมถึงขณะนี้การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ยังไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/36367ip4w0poh


จริงหรือไม่…? ไข้หูดับ ไม่ระวัง อาจถึงตาย

จริง

เพราะ…เป็นเชื้อ สเตรปโตคอคคัส ซูอิส ภาวะเยื่อหุ้มสมอง ติดเชื้อในกระแสเลือดและการสูญเสียการได้ยิน ติดต่อจากสัตว์สู่คน จากการทานเนื้อสัตว์ดิบและการสัมผัสสัตว์ป่วยทำให้เชื้อเข้าทางแผลตามร่างกาย

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1tzx9j2tmett8


จริงหรือไม่…? ภาพแสงปริศนา คล้องจองกับเสียงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือเป็นภาพเก่าเมื่อ 5 ปี ที่แล้ว

จริง

เพราะ…สปริงนิวส์ ตรวจสอบพบ ภาพดังกล่าวเคยถูกเผยแพร่ไปแล้วตั้งแต่ปี 2015 ไม่ใช่ภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนเรื่องเสียงอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/88gpyexwox96


จริงหรือไม่…? หมอพิษณุโลกเตือนอย่ากินหมูสุกๆ ดิบๆ หลังพบหญิงวัย 49 ปี เสียชีวิตจากโรคไข้หูดับ

จริง

เพราะ…ประวัติผู้ป่วยโรคไข้หูดับส่วนใหญ่พบสัมผัสหมูหรือเนื้อหมูที่ติดเชื้อ อาการส่วนใหญ่ที่พบ คือ การติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะเยื่อหุ้มสมองอับเสบ และภาวะช็อค

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3pu7h4rtvgau0


จริงหรือไม่…? เตือนการเล่นแอปพลิเคชั่นเปลี่ยนใบหน้าอาจถูกแฮกข้อมูล

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวควบคู่กับใบหน้า เพราะอาจเปิดช่องทางการนำข้อมูลไปสร้างความเสียหายได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3heaf8ze7xcja


จริงหรือไม่…? พบเสียงปริศนา ดังสนั่นได้ยินจากหลายพื้นที่ในภาคเหนือ

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กำลังตรวจสอบเรื่องเสียง เบื้องต้นคาดว่าเป็น ดาวตกชนิดระเบิด (Bolide)

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2xboy1wot3jfx


จริงหรือไม่…? อย่าให้รูปถ่ายคุณหรือครอบครัวที่ถ่ายเพื่อทำการ์ตูนล้อเลียนภาพเหมือนคุณกับแอพVoila App

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…แม้แอปแจ้งว่ารูปภาพของผู้ใช้จะถูกลบภายใน 24 ถึง 48 ชม. แต่ระบบยังคงรวบรวมข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลเกี่ยวกับผู้ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ให้กับบริษัทในเครือ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3mbf5tly9hgwl


Cofact Vocabulary

เงื่อนไข “เปิดประเทศ” รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ นำร่อง “ภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์”

Editors’ Picks
เนื้อหาเป็นจริง

หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กาลโหม ออกแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์นายกรัฐมนตรี “ตั้งเป้าประเทศไทยต้องเปิดประเทศภายใน 120 วัน” และนำแนวทางการเปิดประเทศเข้าหารือในที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ก่อนมีมติเห็นชอบไปเป็นที่เรียบร้อย

กองบรรณาธิการเฉพาะกิจ TJA&Cofact ได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เสนอเข้าสู่ที่ประชุม ศบค. ซึ่งกำหนดแผนการเปิดประเทศในปี 2564 ไว้เป็นระยะ ๆ ไล่เรียงไปจากพื้นที่ที่มีความพร้อม และเงื่อนไข ข้อปฏิบัติต่าง ๆ โดยเริ่มต้นจากจังหวัดภูเก็ต เป็นลำดับแรก ซึ่งจะนำร่องเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2564 เป็นต้นไป ผ่านมาตรการที่ชื่อว่า “ภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์” (Phuket Sandbox)

เรื่องนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดทำข้อเสนอให้ที่ประชุม ศบค. เห็นชอบในหลักการ โดยกำหนดระยะเวลาไว้ในช่วงไตรมาสที่ 3 (ก.ค. – ก.ย.2564) เป็นระยะแรกเริ่มต้นจาก Phuket Sandbox ในวันที่ 1 ก.ค.2564 ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่ทั้งเกาะให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบเดินทางเข้ามาได้

ส่วนพื้นที่ต่อไป คือ เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะเปิดตามมาในอีกไม่นานนัก โดยประเมินผลการจัดทำ Phuket Sandbox ในระยะหนึ่ง หากไม่มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นจนน่ากังวล ในวันที่ 15 ก.ค. 2564 ทั้ง 3 เกาะแห่งนี้จะจัดทำทำเป็น “Sealed routes” หรือกำหนดเส้นทางเฉพาะที่นักท่องเที่ยวสามารเดินทางไปได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด

จากนั้นในเดือน ส.ค.นี้ จะขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ  ที่มีลักษณะเป็นเกาะเช่นเดียวกัน คือ เกาะพีพี เกาะไหง และไร่เล ของจังหวัดกระบี่ และเขาหลัก และเกาะยาว ในจังหวัดพังงา

ขณะที่ในเดือน ก.ย.2564 จะมีพื้นที่อื่น ๆ อีก 3 แห่ง คือ จังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุม อำเภอเมือง แม่ริม แม่แตง และดอยเต่า จังหวัดชลบุรี ครอบคลุม เมืองพัทยา ใน 2 อำเภอ คือ บางละมุง และสัตหีบ และจังหวัดบุรีรัมย์ ครอบคลุมอำเภอเมือง และสนามช้างอารีนา เพื่อรับการแข่งขันโมโตจีพี

ส่วนพื้นที่สุดท้ายคือในช่วงเดือน ต.ค.นี้ จะเปิดกรุงเทพฯ ชะอำ และหัวหิน อีก 3 พื้นที่เพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อไป โดยทุกพื้นที่ ททท. จะต้องจัดทำข้อกำหนดกลาง​มาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure : SOP) นำเสนอกระทรวงสาธารณสุข และการประชุมศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศปก.ศบค.) พิจารณาด้วย

เรามาดูเงื่อนไขของการเข้ามาในประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกันบ้าง โดยยึดตามมติของที่ประชุม ศบค. ที่ออกเงื่อนไขมาค่อนข้างรัดกุมและมีขั้นตอนค่อนข้างมาก ซึ่งเราจะขอหยิบยกมาในกรณีของ Phuket Sandbox เริ่มตั้งแต่ก่อนเข้ามา นักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติตามกฎเหล็ก 8 ข้อ ดังนี้

  1. นักท่องเที่ยวต้องเดินทางมาจากกลุ่มประเทศความเสี่ยงต่ำ และปานกลาง ซึ่งเป็นไปตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข กำหนด
  2. นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องพำนักอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ และปานกลาง อย่างน้อย 21 วันก่อนเดินทาง ทั้งนี้เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวแอบเดินทางมาจากประเทศอื่น แล้วมาขึ้นเครื่องบินในประเทศที่กำหนดไว้ก่อนจะบินตรงมาประเทศไทย
  3. คนไทย และต่างชาติ ที่มีถิ่นพำนักในไทย ต้องเดินทางกลับมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ และปานกลางเท่านั้น
  4. การได้รับวัคซีนที่ได้รับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ WHO ครบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของวัคซีน เช่น ซิโนแวค 2 เข็ม โดยการฉีดวัคซีนมานั้น จะต้องฉีดแล้วอย่างน้อยเป็นเวลา 14 วัน และต้องมีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน (Vaccine Certificate) ถูกต้องตามมาตรฐาน
  5. กรณีที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ให้เดินทางมาพร้อมกับผู้ปกครองได้
  6. กรณีที่นักท่องเที่ยวเคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ต้องได้รับวัคซีนครบตามกำหนด อย่างน้อย 14 วัน ถึงจะเดินทางมาได้
  7. มีการตรวจโควิด-19 (COVID-19 Free) ภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อนำมายืนยันก่อนเดินทาง
  8. มีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมโควิด-19 วงเงินคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ

เมื่อเตรียมตัวพร้อมภายใต้ 8 เงื่อนไขนี้แล้ว ก็ให้นักท่องเที่ยวยื่นเอกสาร และรับใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศ (Certificate of Entry : COE) โดยการขอ COE ให้จองตั๋วเครื่องบินก่อน แล้วจองโรงแรม SHA+ หรือ SHA แล้วยืนยันผลการอนุมัติพร้อมเอกสาร COE และลงทะเบียนผ่านทาง www.entrythailand .go.th จากนั้นจึงเดินทางเข้ามาในประเทศไทย และต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่ ศบค. ประกาศเอาไว้

ทั้งนี้เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย และมาถึงสนามบินภูเก็ตเป็นที่เรียบร้อย ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อที่สนามบินทันที และนักท่องเที่ยวต้องติดตั้งแอปพลิเคชันหมอชนะ ภาษาอังกฤษ และเดินทางเข้าที่พัก ที่มีมาตรฐาน SHA+ ตามที่ ททท. กำหนด ด้วยพาหนะที่จัดไว้ โดยในระหว่างนี้ต้องรอผลตรวจอยู่ในห้องพักเท่านั้น หากผลตรวจไม่พบเชื้อ ก็สามารถเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตได้

ในระหว่างนี้นักท่องเที่ยวจะต้องอยู่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตอย่างน้อย 14 คืน แต่ถ้านักท่องเที่ยวต้องการเดินทางกลับก่อน 14 วัน สามารถทำได้ โดยต้องเดินทางด้วยเที่ยวบินตรงออกนอกราชอาณาจักร มาแวะที่กรุงเทพฯ ไม่ได้ ส่วนผู้ที่ยังอยู่พักตามกำหนด จะมีการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ตามระยะเวลาที่เข้าพัก อีก 2 ครั้ง คือในวันที่ 6-7 และวันที่ 12-13 หากไม่พบก็เดินทางไปเที่ยวพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทยได้ ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้รับเอกสารหลักฐานการควบคุมโรค นำไปแสดงกับจังหวัดปลายทางว่าผ่านการตรวจหาเชื้อ และทำตามข้อกำหนดต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ขั้นตอนจากนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ และททท. จะนำรายละเอียดให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเพื่อให้ทันเปิดรับวันที่ 1 ก.ค.นี้ โดยในระยะแรกจังหวัดภูเก็ตจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ ศบค. ซึ่งแบ่งเป็นโซนสีเหลือง หรือเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง เบื้องต้นในเดือนแรก จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาบางส่วน และเชื่อว่าในเดือนต่อ ๆ ไปจะทยอยมาเพิ่มมากขึ้น

ลิงก์ข่าว https://www.tja.or.th/view/tjacofact/1332090