สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 20 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? ห้าม สาธารณสุข รพ. รับเคสจากประชาชน ให้ติดต่อ 1330 ต่อ 14

ไม่จริง

เพราะ…ไม่ใช่การไม่รับเคส แต่เบอร์ 1330 กด 14 ของ กทม. เป็นทางเลือกสำหรับผู้มีอาการน้อย ที่ต้องการแยกกัก-รักษาตัวที่บ้าน ให้โทรแจ้งได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3pbphfhrn5nvo


จริงหรือไม่…? รัฐบาลเปิดจองฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม โมเดอร์นา ไฟเซอร์ ฯลฯ ฟรี

ไม่จริง

เพราะ…เป็นภาพล้อเลียนเท่านั้น

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1pyhei62ecol6


จริงหรือไม่…? ไลน์ @comcovid-19 ช่วยดูแลผู้ป่วยอาการไม่หนัก

จริง

เพราะ…เป็นโครงการของ สปสช. สนับสนุน ค่าอาหาร วันละ 1,000 บาท และค่าอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและอุปกรณ์วัดระดับออกซิเจน ตามจริงไม่เกิน คนละ 1,100 บาท ค่าบริการจัดการอื่นๆ ค่ารถ ค่าเอกซเรย์ ค่า SWOP และค่าตรวจ RT-PCR ตามหลักเกณฑ์ ให้กับหน่วยบริการ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3d8m5d9a6vsj9


จริงหรือไม่…? การบินพลเรือน ห้ามบินในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 14 จังหวัด

จริง

เพราะ…เป็นไปตามประกาศสำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เริ่ม 21 ก.ค. 64

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/uruzggbxh29f


จริงหรือไม่…? มาตรการยกระดับการควบคุม บังคับใช้ในพื้นที่ควบคุม 13 จังหวัด

จริง

เพราะ…บังคับใช้ในพื้นที่ 13 จังหวัด มีผลวันที่ 20 ก.ค. 64 – 2 ส.ค. 64 ประเมินสถานการณ์ทุก 7 วัน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3u22sm9n89ndm


จริงหรือไม่…? ศูนย์รับวัคซีนธรรมศาสตร์ แอสตร้าเซเนก้าหมดสต็อก ต้องหยุดฉีด 5 วัน

จริง

เพราะ…โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ แจ้งผ่านเฟซบุ๊ก วัคซีนไม่เพียงพอ ต้องหยุดการทำงาน 24-28 ก.ค. 64

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2n6w2n4p66e5g


จริงหรือไม่…? สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จัดหาวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA จากบริษัทไฟเซอร์ จัดหาร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น

จริง

เพราะ…เป็นไปตามประกาศของ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/xe28nv0aa98c


จริงหรือไม่…? เยอรมนีจัดไทยเป็นประเทศกลุ่มเสี่ยง และไม่รับรองวัคซีนซิโนแวค

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…สามารถเข้าได้ปกติ แต่ต้องแสดงเหตุผลความจำเป็นเร่งด่วน และยังไม่รับรองซิโนแวค

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/ps27sebrq8z9


ริงหรือไม่…? ไวรัสสายพันธุ์ “แลมบ์ดา” อันตรายกว่าเดลตา

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…สวทช. ยืนยันว่า ขณะนี้ไม่มีข้อมูลใดที่บ่งชี้ว่าโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา หรือ C.37 ซึ่ง พบครั้งแรกในเปรูเมื่อปีที่แล้ว แพร่กระจายได้เร็วกว่า หรือ รุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้า

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3jrf4pe43il2h


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? vaccine Pfizer, Moderna ที่มีส่วนผสมของแม่เหล็ก อาจมีผลกระทบต่อร่างกายในอีก 1-2 ปี

ไม่จริง

เพราะ…ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (CDC) ยืนยัน วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้งานกันอยู่ไม่มีส่วนผสมใดๆ ที่จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3jk9j5pkmzjea


จริงหรือไม่…? กินมังสวิรัติแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน

ไม่จริง

เพราะ…ไม่มีข้อมูลใดบอกว่าคนกินมังไม่ต้องฉีดวัคซีน ที่สำคัญองค์กรพีตาที่รณรงค์เรื่องการคุ้มครองสัตว์ ไม่ให้ถูกทดลองในการผลิตยา ก็ออกมาบอกว่าคนเป็นวีแกนควรไปฉีดวัคซีน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2f9x2qne5vsjr


จริงหรือไม่…? สเปรย์พ่นลำคอป้องกันการยึดเกาะของไวรัสกับเยื้อบุอ่อนไม่ได้

จริง

เพราะ…อย.เตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์สเปรย์สำหรับพ่นปากและลำคอ เบตาดีนโทรตสเปรย์ ที่กล่าวอ้างตามสื่อสังคมออนไลน์ ว่าฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ยันเป็นเรื่องไม่จริง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3s866jfutw6er


จริงหรือไม่…? ครม. เห็นชอบมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ อาทิ ลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม และลดภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา

จริง

เพราะ…ครม. เห็นชอบมาตรการเยียวยา รวมระยะเวลา 2 เดือน ทั้งประชาชนและธุรกิจทั่วประเทศ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2j8pz6yfymysj


จริงหรือไม่…? ผู้ขาดแคลนที่เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไม่ต้องจ่ายค่าฌาปนกิจศพ

จริง

เพราะ…ให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ สำนักงานเลขาฯ สมเด็จพระสังฆราช ในต่างจังหวัดให้เบิกค่าใช้จ่ายผ่านสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/319a6hiq4hnr6


จริงหรือไม่…? สมุนไพรเคอร่า Kerra รักษา โควิด19 ไม่ได้

จริง

เพราะ…ไม่มีฟ้าทะลายโจรเป็นส่วนประกอบ และไม่พบหลักฐานข้อมูลการวิจัยถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้เพื่อข้อบ่งใช้เพื่อรักษาโรคโควิด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1sd9ht0lf46qo


จริงหรือไม่…? EU ถอดไทยออกจากประเทศที่ปลอดภัยจากโควิด

จริง

เพราะ…วันที่ 16 กค.64 สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงาน คณะมนตรียุโรป (อียู) แถลงการณ์ได้นำชื่อประเทศไทยออกจากลิสต์ประเทศที่ “ปลอดภัย” จากการระบาดของโควิด-19

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2d85vwwe50lro


จริงหรือไม่…? สินมั่นคง ยกเลิกประกันโควิด19

จริง

เพราะ…ภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อโควิดที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องและมีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงจนคาดเดาสถานการณ์ไม่ได้ แต่คปภ.ไม่ให้เลิก

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1o4e8blc79h5r


จริงหรือไม่…? ไทยร่วมใจฯ เชิญชวนผู้สูงอายุฉีดวัคซีน

จริง

เพราะ…กทม.เร่งรัดฉีดวัคซีนแก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย และอาจมีอาการที่รุนแรง รวมทั้งมีอัตราการเสียชีวิตสูง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2y17y7zvkvb2


จริงหรือไม่…? ฟ้าทะลายโจร แพง แจ้งสภาองค์กรของผู้บริโภคได้

จริง

เพราะ…เตรียมหลักฐาน แจ้งมาได้ที่ Facebook : สภาองค์กรของผู้บริโภค

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2ce0ifbwumnhd


จริงหรือไม่…? ไบออนเทค ของเยอรมนี ปฏิเสธว่ากำลังเจรจากับบริษัท THG เกี่ยวกับการจัดหาวัคซีนโควิด

จริง

เพราะ…บริษัทที่เยอรมันออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้ทำกับโรงพยาบาลเอกชน แต่เจรจากับรัฐเท่านั้น

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3ry3wmoy87mei


จริงหรือไม่…? ศูนย์กระจายสินค้าโลตัส​ พนักงานติด 300+ คน

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…มีข่าวดังกล่าวจริง แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นพนักงานทั้งหมด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/29607egrltz3i


จริงหรือไม่…? แมวรำคาญที่มนุษย์อยู่ด้วยกันมากขึ้น

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ผลวิจัยเผยว่าแมวไม่มีความรู้สึกไม่พอใจ โมโห และเหวี่ยงวีนมากขึ้น เมื่อเจ้าของต้องอยู่บ้านนานขึ้น

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1soh1nurzgbcj


Cofact Journal Issue 3/2021 เปิดผลการวิจัย 1 ปีโคแฟค “บทเรียน/ข้อเสนอแนะ” การแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน

ISSUE 3/2021

Cofact Journal Issue 3/2021 พบกับวารสารโคแฟคฉบับล่าสุด

เปิดผลการวิจัย 1 ปีโคแฟค สำรวจแบบสอบถามและประชุมกลุ่มเฉพาะ “บทเรียนและข้อเสนอแนะ” การแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน

เปิดผลการวิจัย 1 ปีโคแฟค “บทเรียน/ข้อเสนอแนะ” การแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน

บทความ

Cofact Journal Issue 3/2021 พบกับวารสารโคแฟคฉบับล่าสุด

เปิดผลการวิจัย 1 ปีโคแฟค สำรวจแบบสอบถามและประชุมกลุ่มเฉพาะ “บทเรียนและข้อเสนอแนะ” การแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน

ดาวน์โหลด ผลสำรวจข้อมูลทำไมต้องค้นหาความจริงร่วม

ดาวน์โหลด รายงานวิจัย 1 ปี โคแฟค “บทเรียน/ข้อเสนอแนะ” การแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 15 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? มีอีเมลหลอกลวงให้ลงทะเบียนรับวัคซีน โดยใช้ชื่อสถาบันวัคซีนแห่งประเทศไทย

จริง

เพราะ…เป็นการแอบอ้างชื่อสถาบันวัคซีนแห่งประเทศไทยซึ่งไม่มีอยู่จริง และดัดแปลงโลโก้ของ “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ” มาใช้ หากทราบเบาะแสต้นตอโปรดแจ้งเพื่อดำเนินคดีต่อไป

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/88khmz0vz26z


จริงหรือไม่…? แนะนำวิธีการตรวจ ด้วยชุดตรวจ Rapid Antigen Test

เพราะ…ขึ้นทะเบียนกับ อย. ไปแล้วนั้นมีทั้งชนิด Rapid Antigen Test และ Rapid Antibody Test แต่ทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันด้านการอ่านและแปล ควรศึกษาให้ละเอียดก่อนใช้

จริง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/37p3jawdazo7x


ริงหรือไม่…? Soumya Swaminathan ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยถ้าหากประชาชนจะเลือกจับคู่วัคซีนโควิดต่างแบรนด์กัน

จริง

เพราะ… Soumya Swaminathan แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่าไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวหากไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/wpxk2qai7z85


จริงหรือไม่…? บุคลากรทางการแพทย์ รพ. สนามธรรมศาสตร์ ติดเชื้อโควิด-19 ต้องกักตัวทั้งวอร์ดเกือบ 100 คน

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 นั้น เป็นบุคลากรทางการแพทย์ทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเท่านั้น ส่วนโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ยังไม่มีบุคลากรติดแต่อย่างใด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1sxbcr036pe4t


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 13 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? เกาะภูเก็ตยังไม่ปิด

จริง

เพราะ…Phuket Sandbox ยังดำเนินการตามแผนเดิม ยังคงรับนักท่องเที่ยว และคัดกรองอย่างเคร่งครัด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3cbzj63djheck


จริงหรือไม่…? ต้นไม้สร้างออกซิเจน แต่มหาสมุทรผลิตออกซิเจนได้มากกว่าต้นไม้

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ไม่ใช่ตัวมหาสมุทรหรือทะเลเองโดยตรง แต่เป็นสิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น แพลงตอน สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด ที่ผลิตออกซิเจนรวมกันได้มากกว่าป่าไม้ในโลกรวมกัน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1d07j8wu6ypgs


จริงหรือไม่…? เยอรมันขายชุดตรวจโควิดราคา 30 บาท

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…มีหลายแบรนด์ หลายราคา และมีราคา 30 บาทจริง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1il36t2dhmpci


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? โรงงานกิ่งแก้วที่ไฟไหม้ มีถังสารเคมีใต้ดินอีก 5 แสนลิตร ที่กำลังปะทุ

ไม่จริง

เพราะ…ผู้จัดการโรงงานยืนยันว่าไม่มีการฝังถังเคมีใต้ดิน มีแต่ถังภายในโรงงาน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3vmiupgbs2ke7


จริงหรือไม่…? รัฐบาลประกาศ ให้ประชาชน ชะลอฉีดวัคซีน

ไม่จริง

เพราะ…เป็นข่าวเก่าตั้งแต่เดือน มีนาคม 2564

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2v1abeva1pbtg


จริงหรือไม่…? วัคซีน mRNA อันตราย

ไม่จริง

เพราะ…เป็นแนวคิดการต่อต้านวัคซีน วัคซีนอาจมีผลข้างเคียง แต่ไม่รุนแรง และเป็นเพียงคราว

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/291dss0wvroga


จริงหรือไม่…? ปิดตลาดนัดมะพร้าวกับตลาดนัดวันอาทิตย์แถวบ้านกือแลมะห์

จริง

เพราะ…เป็นไปตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดยะลา ที่ 152/2564 จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1srbdjq7tetcm


จริงหรือไม่…? แลมบ์ด้า (Lambda) เชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่กว่า รุนแรงกว่า พบผู้ติดเชื้อครั้งแรกในทวีปแฟริกาเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…WHO จัดให้ไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดาอยู่ในประเภทสายพันธุ์ที่น่าจับตามอง เบื้องต้นมองว่ายังเป็นภัยคุกคามที่น้อยกว่าสายพันธุ์ อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1c42v38oc0wb8


จริงหรือไม่…? ปลูกพืชกระท่อมไม่ผิดกฎหมาย

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2564 ยกเลิก “พืชกระท่อม” มีผลตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2564

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/20xl7oj6jawbr


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 6 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? กินอาหารที่มีค่าพีเอช มากกว่า พีเอช ในไวรัสโคโรนา เช่น กระเทียม มะนาว ฯลฯ เอาชนะไวรัสโคโรน่าได้

ไม่จริง

เพราะ…ยังไม่มีเครื่องดื่มหรือสมุนไพรอะไรที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 หรือรักษาโควิด-19 ได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1jaryewk0kpcd


จริงหรือไม่…? ครูโรงเรียนเบ็ญจะมะอุบลฯติดโควิด

ไม่จริง

เพราะ…โรงเรียน ชี้แจง ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1cq6z201eiqx7


จริงหรือไม่…? รมควันปราบโควิด เขาบอกว่าเป็นพิธีรมควันปราบไวรัสแบบโบราณ

ไม่จริง

เพราะ…เป็นความเชื่อที่ไม่มีงารวิจัยรองรับ และ อันตรายมาก

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/102hwv14ixx68


จริงหรือไม่…? เชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า สามารถแพร่เชื้อได้ภายใน 5-10 วินาที เพียงแค่อยู่ใกล้กัน เดินผ่านกัน ก็สามารถรับเชื้อได้

จริง

เพราะ…ออสเตรเลีย ได้ตรวจสอบจากกล้องวงจรปิด พบว่า ประชาชนติดเชื้อเพียงแค่เดินผ่านคนแปลกหน้า ที่ป่วยโควิดไม่กี่วินาที ขณะจับจ่ายซื้อของในห้างสรรพสินค้าเวสต์ฟิลด์ บอนดิ จังชัน

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/4xmae00e3c8b


จริงหรือไม่…? มหิดล เปิดให้จองวัคซีนโมเดอร์นา

จริง

เพราะ…เปิดให้จองจริง แต่ขณะนี้การเปิดจองได้เต็มแล้ว

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/g5mj2l4dwd9v


จริงหรือไม่…? มาตรการเข้าจังหวัดภูเก็ต

จริง

เพราะ…เป็นมาตรการทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เริ่ม 1 กค.นี้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/skuei86vtpsm


จริงหรือไม่…? แรงงานจากกรุงเทพฯเข้าแถวตรวจโควิดแถวยาวที่รพ.สรรพสิทธิ์อุบลฯ

จริง

เพราะ…เป็นการคัดกรองเพื่อลดความเสี่ยงในรพ. ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบบริการอื่นๆมีผลกระทบ เพื่อให้สามารถดูแลพ่อแม่พี่น้องประชาชน ที่ป่วยด้วยโรคอื่นๆได้อย่างปลอดภัย

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/a9r2tie33mjo


จริงหรือไม่…? แพทย์แผนไทยรับมือภัยพิบัติ เตือน มีผู้ไม่หวังดีกล่าวหาว่าข้อมูลของโครงการเป็นข่าวปลอม

จริง

เพราะ…โครงการออกมาชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นของจริง ไม่ใช่ของปลอมตามที่เผยแพร่

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2450dhhejm7oj


จริงหรือไม่…? พบผู้ป่วยโควิดใช้บริการสายการบินในประเทศกรุงเทพ-ภูเก็ต

จริง

เพราะ…สสจ.ภูเก็ต ประกาศให้ผู้มีความเสี่ยงตรวจ COVID19 หลังพบผู้ติดเชื้อเดินทางกับ Thai Smile เที่ยวบิน WE201 และประกาศพื้นที่พบประวัติผู้ติดเชื้อไปร้านกาแฟในจังหวัด 2 แห่ง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/19yrbvysb0g30


จริงหรือไม่…? Sinopharm เปิดให้ประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดอายุ ไม่จำเป็นต้องเป็น ผู้ป่วยรามาธิบดี สามารถลงทะเบียนจองฉีดในวันที่ 4 กค. 64

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…เฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3ryg1ubjce89e


จริงหรือไม่…? เสียงจากเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ สั้นๆแค่ 35 วินาที แต่มีประโยชน์ โปรดแชร์ให้คนที่คุณรักและห่วงใย

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ไปรษณีย์ไทยออกมาชี้แจงว่าไม่จริง แต่ควรระมัดระวังเพราะพบว่าเชื้อโควิดอาจติดมากับวัตถุได้แม้ยังไม่มีรายงานที่แน่ชัดเกี่ยวกับผู้ที่ติดเชื้อจากการรับสิ่งของ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3tyij7225cdpq


จริงหรือไม่…? ใช้ยาสมุนไพรในโรค COVID-19

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…แพทย์แผนไทยหลายท่านกล่าวในทำนองเดียวกัน คือยาสมุนไพรไทย เช่น ยาฟ้าทะลายโจร ยาจันทลีลา ยาห้าราก ฯลฯ สามารถใช้รักษาผู้ป่วยโควิดที่มีอาการน้อยได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1uqagqt9bu6ni


จริงหรือไม่…? กสทช. สั่งยกเลิกสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ มีผลวันที่ 3 เมษายน 2565

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…มีข่าวนี้รายงานแล้วในบางสื่อ แต่กลับไม่พบการประกาศข่าวนี้ในเพจของ กสทช. แต่อย่างใดจึงคาดว่าอาจจะยกเลิกหรือระงับการประกาศไปก่อน

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3gkev6awfbcip


จริงหรือไม่…? พ่อแม่ไม่ควรสวมหน้ากากให้เด็กต่ำกว่า 2 ขวบ

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…เด็กทารกแรกเกิด-1 ปี ไม่ควรสวมหน้ากาก เพราะเด็กเล็กระบบการหายใจยังไม่แข็งแรงพอ มีโอกาสเกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดอันตรายต่อระบบประสาทของทารกได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3rrglpppyu05o


จริงหรือไม่…? ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว ตอนนี้ควบคุมเพลิงไม่ได้แล้ว ไฟกำลังไหม้ถึงถังเคมีแล้ว รีบออกมาให้เร็วที่สุดค่ะ ระเบิดลูกนี้แรงมากๆ

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ยังไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ จึงได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ถอนกำลังหวั่นระเบิดซ้ำ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1jpt5d17ctox0


Opening Speech (webinar) “Hands-On Fact-Checking: Online Short Course”

บทความ

By Charge d’Affaires Michael Health, U.S. Embassy Bangkok

Proposed Remarks

Thank you so much for the kind introduction and invitation to speak today.  I want to thank Baybars Örsek and the International Fact-Checking Network (IFCN) at the Poynter Institute; Khun Supinya and the Cofact Thailand team; and the moderator and panelists, Dr. Jessada, Khun Peerapon and Khun Mike.  It is an honor to be here today to mark the closing of this first-of-its-kind online self-directed fact-checking course in Thailand, offered by the world’s premier fact-checking institute, IFCN.

This training opportunity could not have come at a better time.  As the world’s doctors, nurses, and scientists struggle to contain the Covid-19 pandemic, it is the journalists, editors, fact-checkers and academics who are charged with the important task of containing the spread of misinformation about the virus.  

The U.S. Embassy has been working closely with various partners and local organizations since 2018 to countering misinformation while empowering journalists and independent new organizations.  We sponsored a group of Thai media experts to participate in training trips to the United States, connecting them with partners like the Google News Lab.  We have sponsored fact-checking workshops in Bangkok and other major cities, and funded Thailand’s first-ever fact-checking handbook, co-authored by Dr. Jessada and Khun Peerapon of Sure and Share, who are joining us today. 

In early 2019 we brought in Baybars Örsek, on his first official trip to Thailand, to lead a fact-checking workshop co-hosted by Chulalongkorn University’s Faculty of Communication Arts, supported by Dr. Jessada and Khun Peerpon.  Our goal was to form connections between the IFCN and various Thai counterparts to build the foundations of the emerging independent fact-checking infrastructure in Thailand. 

In 2021, it is with great pleasure that we continue this endeavor with Cofact, a key player in Thailand’s civil society, which supports a citizen-centric model for fact checking.  I want to congratulate Cofact on its first anniversary as the first and only platform in Thailand dedicated to strengthening citizen fact-checking.   I also want to thank Baybars for being here as keynote speaker and bringing his wealth of expertise and enthusiasm to the effort. 

Congratulations to all the course participants for completing the self-directed course, as you are Thailand’s front line in debunking misinformation.  We look forward to supporting and working with you in the future. 

The United States and Thailand have enjoyed a strong friendship for over 200 years.   From the first day of our official contact – when an American sea merchant sailed across the ocean and arrived in Bangkok to open commerce between our countries – until today, we will be standing side by side to support you through challenges large and small.  

อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ไมเคิล ฮีธ กล่าวในการสัมมนาปิดหลักสูตรเรียนออนไลน์ระยะสั้น การตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่นับเป็นหลักสูตรที่มีการนำเสนอครั้งแรกในไทย โดยองค์กรเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงชั้นนำระดับโลก ว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันที่บุคลากรการแพทย์ สาธารณสุข นักวิทยาศาสตร์ ทั่วโลกกำลังรับมือกับสถานการณ์โรคระบาด นักข่าว สื่อมวลชน กองบรรณาธิการข่าว นักตรวจสอบข้อเท็จจริง นักวิชาการ นับมีบทบาทสำคัญในการรับมือกับข้อมูลผิดๆที่แพร่หลายเกี่ยวกับไวรัส ทั้งนี้สถานทูตสหรัฐฯ ได้ทำงานใกล้ชิดกับหลากหลายหน่วยงานและองค์กรในไทย ผ่านโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่ปี 2018 ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพสื่อมวลชนไทยในการรับมือกับข้อมูลที่ผิด สนับสนุนกิจกรรมดูงานในสหรัฐฯ เชื่อมโยงเครือข่ายกับหลากหลายองค์กร อาทิ Google จัดกิจกรรมอบรมปฎับัติการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรุงเทพฯและหลายจังหวัดในไทย รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำคู่มือ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ฉบับภาษาไทยเป็นครั้งแรกในไทย ในปี 2019 สถานทูตสหรัฐฯ ได้เชิญBaybars Örsek จาก IFCN มาเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรก เพื่อจัดการอบรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีวัตถุประสงค์ ร่วมผลักดันและวางรากฐานเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงในไทย

อุปทูตสหรัฐฯ กล่าวแสดงความยินดีกับ Cofact ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ปัจจุบันเป็นองค์กรหลักในการผลักดันขับเคลื่อนการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยภาคประชาชนในประเทศไทย ในโอกาสครบรอบหนึ่งปี ซึ่งปีนี้ได้ร่วมกับสถานทูตฯและ IFCN ในการจัดกิจกรรมอบรมการตรวจสอบข้อเท็จ อุปทูตสหรัฐฯแสดงความยินดีกับผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งจะเป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศไทยในการรับมือและลบล้างข้อมูลที่ผิด โดยสถานทูตสหรัฐฯ จะเดินหน้าร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนและสนับสนุนเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงในไทยต่อไป เช่นที่สหรัฐฯได้ร่วมมือกับไทยมาต่อเนื่องยาวนานกว่า 200 ปี นับตั้งแต่ที่สหรัฐฯและไทยมีการติดต่อกันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก โดยพ่อค้าชาวอเมริกันคนหนึ่งได้เดินเรือข้ามน้ำข้ามทะเลมาถึงกรุงเทพฯ และเปิดการค้าขายร่วมกัน นับเป็นจุดเริ่มของมิตรภาพอันยาวนาน จนปัจจุบันที่สหรัฐฯจะยังยืนเคียงข้างไทยและพร้อมสนับสนุนไทยก้าวข้ามความท้าทายในทุกมิติ.