สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 3 สิงหาคม 2564


จริงหรือไม่…? โควิดสายพันธุ์แลมป์ดา ระบาดในไทย

ไม่จริง

เพราะ…ยังไม่มีรายงานว่าสายพันธุ์แลมบ์ดา ระบาดในไทย

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1ux78ng7u6xoh


จริงหรือไม่…? นกเก้าหัว ที่ Huaping Jianshi มณฑลหูเป่ย์

ไม่จริง

เพราะ…ไมได้มีการเปลี่ยนหัว แต่เกิดจากการหักเหของแสง และ ทิศทางของแสง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/o49hlqp7dydc


จริงหรือไม่…? เปรียบเทียบอาการโควิด 4 สายพันธุ์

จริง

เพราะ…เป็นข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ที่เปิดเผยข้อมูลเทียบอาการโควิด-19 ของสายพันธุ์ต่างๆ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/4i7y5fx0hhwn


จริงหรือไม่…? หนังสือราชการ ใช้คำว่า “จนแจ๊กๆ”

จริง

เพราะ…เป็นหนังสือราชการจริง เรื่องสำรวจรายชื่อประชาชนผู้ยากจน ในจังหวัดสงขลา โดยมีการใช้คำว่า จนแจ๊กๆ เป็นภาษาถิ่นภาคใต้ ซึ่งหมายถึงจนจริงๆ เพื่อสื่อสารให้คนในพื้นที่เข้าใจ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2y0k2sj1hdgkm


จริงหรือไม่…? เว็บไซต์ปลอมแอบอ้างการเปิดลงทะเบียนจองวัคชีนไฟเซอร์ (Pfizer) และชำระเงิน กับโรงพยาบาลกรุงเทพ

จริง

เพราะ…โรงพยาบาลกรุงเทพ ชี้แจง ยังไม่ได้ทำการเปิดให้ลงทะเบียนจองวัคซีนไฟเซอร์ แต่อย่างใด และขอให้ติดตามข่าวสารผ่านช่องทางการสื่อสารของโรงพยาบาลกรุงเทพเท่านั้น

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/30bmfbyrx95cl


จริงหรือไม่…? ชัญญ่า ทามะดะ ออกมาชี้แจง ได้รับวัคซีน Pfizer แต่ไม่ได้อยู่ไทย

จริง

เพราะ…เจ้าตัวออกมาชี้แจงโพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ได้รับวัคซีน Pfizer จริง แต่ตัวเองไม่ได้อยู่ประเทศไทย

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/s55mg6exdblx


จริงหรือไม่…? มติชน ขอโทษ นพ.ทศพร นำเสนอข่าวผิดพลาด

จริง

เพราะ…มติชนตรวจสอบคลิปพบว่าคลาดเคลื่อน นพ.ทศพรไม่ได้กล่าวข้อความดังกล่าว จึงขออภัยต่อ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ มา ณ ที่นี้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/7xt6ba5a6xwr


จริงหรือไม่…? ปรับมาตรการ-พื้นที่ควบคุมโรค

จริง

เพราะ…เพื่อเป็นการแพร่ระบาดและลดการเสียชีวิต และลดผู้ป่วยอาการหนัก เพิ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเป็น 29 จังหวัด มีผล 3 ส.ค.64

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/36hfcsy9hncty


จริงหรือไม่…? ติดโควิด กักตัวอยู่ที่บ้าน ก็สามารถได้เงินชดเชยจาก สปสช. ของรัฐได้

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ไม่ใช่เงินชดเชย แต่เป็นเงินหนุนการรักษา ค่าตรวจหาเชื้อ ค่ารักษา ค่ายา สนับสนุนค่าอุปกรณ์ไม่เกิน 1,100 บาท และค่าดูแลผู้ป่วยรวมอาหาร 3 มื้อ ไม่เกิน 1,000 บาท/วัน เป็นเวลา 14 วัน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1k91r2yxkj3ii


จริงหรือไม่…? หมอประสิทธิ์ ออกประกาศ ให้ล๊อคดาวน์ครอบครัว โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา เป็นพันธุ์ชนิดรุนแรงที่สุดในประเทศเปรู กำลังระบาดที่มีนบุรี อาการไอเป็นเลือด แล้วเสียชีวิตเลย

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…แลมบ์ดาเป็นสายพันธุ์ที่อันตราย และมีต้นตอมาจากประเทศเปรู แต่ยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย และข้อความดังกล่าวไม่ได้เป็นข้อมูลที่มาจาก ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา แต่อย่างใด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1d0wu1420vt0h


จริงหรือไม่…? วัคซีน ASTRA ลอตแรกที่ผลิตในไทย ไม่ได้การรับรองจาก WHO และไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…เอกสารสถานะวัคซีนโควิด-19 ฉบับวันที่ 15 ก.ค.2564 ขององค์การอนามัยโลก ยังไม่ปรากฏชื่อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ของประเทศไทย ส่วนการเข้าประเทศ ไม่สามารถเข้าได้ใน “บางประเทศ”

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2xrxa06gfdact


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? ชมรมเภสัชชนบทรับสมัคร RX Volunteer

จริง

เพราะ…ข้อมูลจากชมรมเภสัชชนบท อบรมไปแล้ววันที่ 28 ก.ค. 10.00-11.30 น.

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/7iqydzeh6cxc


จริงหรือไม่…? ภูเก็ตสั่งปิดสถานที่เพิ่มเติม

จริง

เพราะ…เพื่อสกัดการแพร่เชื้อ สั่งปิดห้างเซ็นทรัล โรงเรียน สนามกีฬา ตลาดนัด ตลาดสด มีผล 27 ก.ค. 64

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/diyashtihxfl


จริงหรือไม่…? บัญชีรับบริจาค ภาคีsaveบางกลอย

จริง

เพราะ…เป็นบัญชีรับบริจาคจริงจากเฟซบุ๊ก ภาคีSaveบางกลอย

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/culqw2d3gvyv


จริงหรือไม่…? แก๊งไฮบริด สแกม หลอกลงทุนสกุลเงินดิจิตอล

จริง

เพราะ…พัฒนารูปแบบจากโรแมนซ์ สแกม อ้างว่าติดต่อมาจากกรมศุลกากรหรือบริษัทขนส่ง หลอกให้เหยื่อโอนค่าภาษีหรือค่าธรรมเนียม

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1fg5shnfmpebj


จริงหรือไม่…? ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เปิดจองฉีดวัคซีนเข็มแรก สำหรับผู้ทีมีอายุ 18 ขึ้นไป ผู้สูงอายุ 60 ปี และผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง

จริง

เพราะ…เปิดให้จองคิวล่วงหน้าผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เริ่ม 29 ก.ค.นี้ 9.00 น.

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3ogk7u0fs28vu


จริงหรือไม่…? ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย Safe Bangkok เลี่อนวันฉีดวัคซีน สำหรับกลุ่ม 18-59 ปี

จริง

เพราะ…มีการเปลี่ยนแปลงวันที่ฉีด สำหรับกลุ่ม 18-59 ปี ใน 5 สถานที่ แต่ช่วงเวลาเดิม ส่วนผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปที่ลงทะเบียนแล้วให้มาฉีดตามเดิม

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2bj9mkrtyopu6


จริงหรือไม่…? วัดลาดพร้าวงดรับงานฌาปนกิจ

จริง

เพราะ…เพื่อลดอัตราการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/rh5qyb1jhnf7


จริงหรือไม่…? ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มรายวันเป็นอันดับ 10 ของโลก

จริง

เพราะ…ตามข้อมูล ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2564

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/24d7k197lwcbo


จริงหรือไม่…? แพทย์แผนไทยรับมือภัยพิบัติ ส่งยาแผนไทยให้ผู้ป่วยโควิด19

จริง

เพราะ…ทางโครงการได้มีการแจกยาแผนไทยสำหรับผู้ป่วยโควิด19 สามารถดูรายละเอียดการขอรับยาเพิ่มเติมได้ที่เพจ แพทย์แผนไทยรับมือภัยพิบัติ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1go2lrh1hu9lp


จริงหรือไม่…? ประเทศไทยได้อันดับที่ 119 จาก 120 ประเทศ จากผลการจัดอันดับประเทศที่จะฟื้นตัวจาก COVID-19 ที่จัดโดย Nikkei

จริง

เพราะ…เป็นการจัดอันดับมากกว่า 120 ประเทศ อันดับที่สูงขึ้นบ่งชี้ว่าประเทศหรือภูมิภาคใกล้จะฟื้นตัวแล้วโดยมีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันจาก COVID-19 ต่ำ อัตราการฉีดวัคซีนที่ดีขึ้น

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/tsv9rmsdwtny


จริงหรือไม่…? กสทช. ออกมาตรการช่วยเหลือภาครัฐและประชาชน เพื่อลดผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

จริง

เพราะ…มีการออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่น มีแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตสำหรับนักเรียน โทรฟรีสายด่วนต่างๆ สนับสนุนระบบสื่อสาร บริการคมนาคมสำหรับเจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์ และสนับสนุน SMS สำหรับแจ้งข่าวสาร

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2wsvjd7jhb6dl


จริงหรือไม่…? หมอจุฬาฯ เตือน ดื่มน้ำเมา ลดประสิทธิภาพวัคซีนโควิด เสี่ยง เม็ดเลือดขาวทำงานผิดปกติ

จริง

พราะ…แอลกอฮอล์สามารถลดการทำงานของโทนกล้ามเนื้อบริเวณคอหอย เพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้เชื้อลงปอด การทำงานของเม็ดเลือดขาวแย่ลง ทำให้ติดเชื้อง่ายกว่าปกติ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/fujnw0d9bepc


จริงหรือไม่…? 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ ขอให้รัฐบาลยกเลิกมาตรการจำกัดเสรีภาพประชาชนและสื่อมวลชน

จริง

เพราะ…เพื่อไม่เป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการทำหน้าที่เสนอข่าวสารของสื่อมวลชนและการแสดงความคิดเห็น

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3pqn2mwlouhp0


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? คลิปชายนอนริมถนนเป็นการเล่นจัดฉาก

ไม่จริง

เพราะ…เป็นคนเมานอนชักจริง ไม่ได้จัดฉากละคร แต่ก็ไม่ได้เป็นโรคโควิดเช่นกัน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1a0pisptidew3


จริงหรือไม่…? เลื่อนฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็ม 2 ให้เร็วขึ้น

จริง

เพราะ…เร็วขึ้นเป็น 8 สัปดาห์ ในพื้นที่ระบาด เนื่องจากพบรายงานการระบาดของโรคโควิดสายพันธุ์เดลตา เพิ่มมากขึ้น

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1os1nxj9y6cxa


ข้อมูลบิดเบือน, ข้อมูลเท็จ แตกต่างกันอย่างไร Disinformation VS Misinformation?

Editors’ Picks

ข้อมูลบิดเบือน, ข้อมูลเท็จ  แตกต่างกันอย่างไร

Disinformation

คนสร้างข้อมูลเท็จ บิดเบือนข้อมูลโดยเจตนา เพื่อมุ่งหวังเงิน อิทธิพลทางการเมือง หรือ มุ่งสร้างปัญหาที่เป็นอันตราย

ทำไมคนจึงส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือน

เงินทอง ผลประโยชน์ทางการเมือง มุ่งสร้างความสับสนเพื่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจ

Misinformation   

คนเผยแพร่ข้อมูลเท็จออกไป โดยที่ไม่รู้ว่าข้อมูลนี้เป็นเท็จหรือบิดเบือน  บ่อยครั้งที่ผู้เผยแพร่คิดว่าตนพยายามที่จะช่วย หรือต้องการความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

ทำไมคนจึงส่งต่อข้อมูลเท็จ

มั่นใจและต้องการปกป้องคนที่ห่วงใยและติดต่อสัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ส่งต่อข้อมูลที่คล้ายคลึงกัน

ข้อมูลที่ผิดปกติ ทำไม เราจึงไม่เรียกว่า “ข่าวลวง” (เฟคนิวส์)

Editors’ Picks

ข้อมูลที่ผิดปกติ  ทำไม เราจึงไม่เรียกว่า   “ข่าวลวง”

ข้อมูลเท็จที่ถูกเผยแพร่ออกไปจากคนที่เชื่อว่าข้อมูลนี้เป็นจริง  ถูกแพร่กระจายไปในหลากหลายรูปแบบจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง  เช่น รูปภาพ หรือสื่อวิดีโอ ต่าง ๆ ที่น่าขบขันหรือน่าสนใจ ซึ่งแพร่กระจายอย่างกว้างขวางทางอินเทอร์เน็ต , ภาพหน้าจอ และข้อคิดเห็น

เมื่อใช้คำว่า  “ข่าว”   สื่อจึงตกเป็นแพะรับบาป  ในขณะที่ข้อมูลบิดเบือนที่ถูกเผยแพร่ออกไปนั้นมาจากแหล่งข้อมูลมากมาย

“ลวง”  เป็นคำที่มีทางเลือกเพียง 2 ทาง  แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้สีเทาก็ยังมีหลายเฉดสี   บ่อยครั้งที่เนื้อหาที่สร้างปัญหาก็มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 27 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? ญี่ปุ่นนำตุ๊กตาหมีมาวางบนที่นั่งเชียร์แทนคนดู ในงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปี 2020

ไม่จริง

เพราะ…ภาพดังกล่าวเป็นภาพจากการแข่งขันฟุตบอลที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี 2020 เพื่อสร้างความรับรู้สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นมะเร็ง ไม่ใช่ภาพในงานโตเกียวโอลิมปิก 2020 อย่างที่แชร์กันแต่อย่างใด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2whcziquipq70


จริงหรือไม่…? โควตาวัคซีนไฟเซอร์ 20,000 โดส เริ่มฉีด 25 ส.ค. 64

ไม่จริง

เพราะ…เป็นการแอบอ้าง หลอกลวงเรื่องการฉีดวัคซีนไฟเซอร์และเรียกเก็บเงิน สธ. ย้ำ วัคซีนไฟเซอร์ทั้ง 1.54 ล้านโดส เป็นการฉีดฟรี ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2yiojwf9dk3q4


จริงหรือไม่…? ปืนแอลกอฮอล์ อันตราย

จริง

เพราะ…มีความเสี่ยงที่จะเพิ่มความฟุ้งกระจายของเชื้อโรคในอากาศ แสง UV เสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนัง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/19o6h79izjrqa


จริงหรือไม่…? เชียงคานออกประกาศเตือนให้ประชาชนริมโขงเฝ้าระวังน้ำโขงท่วมฉับพลัน

จริง

เพราะ…เขื่อนไชยะบุรี สปป.ลาว ได้มีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน อาจส่งผลกระทบต่อผู้อาศัยริมน้ำโขง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3u7ftxo8t1imx


จริงหรือไม่…? น้องเทนนิส คว้าเหรียญทองโอลิมปิก กีฬาเทควันโด

จริง

เพราะ…เอาชนะคู่ต่อสู้จากประเทศสเปน ไปด้วยสกอร์ 11-10 คว้าเหรียญทองแรกจากกีฬาเทควันโดให้กับประเทศไทยในกีฬาโอลิมปิก

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2b93j6aiojgkb


จริงหรือไม่…? ธปท. ปล่อยคลิปเสียงแจงแหล่งที่มาของเงิน 9 แสนล้านบาท เป็นข่าวปลอม

จริง

เพราะ…ธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้แจง ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้เป็นผู้ปล่อยคลิปเสียง และไม่เคยมีการกล่าวถึงหรือให้ข้อมูลเรื่องของแหล่งที่มาของเงิน 9 แสนล้านบาท

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3530lfk2dswgh


จริงหรือไม่…? IOC ไม่อนุญาตให้นักกีฬาทุกคนถือรูปภาพ หรือป้ายตัวหนังสือเข้ามาในบริเวณพื้นที่จัดการแข่งขัน และในพิธีรับมอบเหรียญรางวัลโอลิมปิก

จริง

เพราะ…กฎข้อบังคับที่ 50 ของโอลิมปิก ไม่อนุญาตให้ทำการแสดงสัญลักษณ์การประท้วงที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ศาสนา หรือการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อแบ่งแยกเชื้อชาติเกิดขึ้นในพื้นที่ของการแข่งขันโอลิมปิก

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/oth3mvrbeicu


จริงหรือไม่…? ศบค. แจ้ง 1 ส.ค.นี้ เปิดประเทศที่ กระบี่ พังงา

จริง

เพราะ…สำหรับนักท่องเที่ยวพำนักภายในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นเวลา 7 วัน สามารถเดินทางและเข้าพักใน กระบี่ พังงา สุราษฏร์ธานี ได้อีก 7 วัน เริ่ม 1 ส.ค. 2564

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2ya6dx6dnzeqe


จริงหรือไม่…? เครือสหพัฒน์ เปิดลงทะเบียนรับบะหมี่ฟรี

จริง

เพราะ…แจก 3 ล้านซอง ให้กับผู้เดือดร้อนจากวิกฤตโควิด-19 ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์เครือสหพัฒน์ ตั้งแต่ 26 ก.ค.-1 ส.ค. หรือจนกว่าของจะหมด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1tbmxld3iruxb


จริงหรือไม่…? โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดผ่องพลอยวิริยาราม รับบริจาคกระชายสด ขิง ข่า ตระไคร้สด และวิตามินซี

จริง

เพราะ…พบแม่บ้าน ครูฆราวาส ครูพระ พระสงฆ์ และสามเณร ติดเชื้อโควิดเป็นจำนวนมาก ขอรับบริจาคเพื่อบรรเทาอาการป่วย

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3k0z5u8g16gb4


จริงหรือไม่…? ท่าออกกำลังกายต้าน Covid-19

จริง

เพราะ…การออกกำลังกายคือการทำให้ร่างกายของตัวเองแข็งแรง และเป็นเกาะคุ้มกันต่อ COVID-19 ได้อีกทางหนึ่ง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2tcpzhh4jsuiy


จริงหรือไม่…? ฟ้าทะลายโจรช่วยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบบรรเทาอาการป่วยโควิดไม่รุนแรง

จริง

เพราะ…มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการป่วยโควิดที่ไม่รุนแรง แต่ไม่ช่วยป้องกันการป่วยจากโควิด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/r0xspmbfrccc


จริงหรือไม่…? ComCOVID-19 ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน หรือในชุมชน

จริง

เพราะ…เป็นโครงการของ สปสช. สนับสนุนค่าอาหาร วันละ 1,000 บาท และค่าอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและอุปกรณ์วัดระดับออกซิเจน ตามจริงไม่เกิน คนละ 1,100 บาท ค่าบริการจัดการอื่นๆ ค่ารถ ค่าเอกซเรย์ ค่า SWOP และค่าตรวจ RT-PCR ตามหลักเกณฑ์ ให้กับหน่วยบริการ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/32u0n96zi4bkz


จริงหรือไม่…? ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องการเข้าระบบการดูแลที่บ้าน กรอกข้อมูล/ลงทะเบียนผ่านการแสกน QR Code หรือเข้าไปที่เว็ปไซต์ crmsup.nhso.go.th

จริง

เพราะ…ลงทะเบียนได้ที่เว็บ crmsup.nhso.go.th สอบถามเพิ่มเติม โทร สายด่วน สปสช. 1330 ให้บริการตลอด 24 ชม.

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1nnayv1agiajg


จริงหรือไม่…? สรุปประสบการณ์ในการดูแลรักษาครอบครัวที่ติดโควิดทั้งบ้าน 10 คน แบบ home isolation

จริง

เพราะ…เป็นประสบการณ์จากการบอกเล่าของคุณหมอผ่านทางเฟซบุ๊กของท่านเอง อ่านเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก Sutee Tuvirat

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/11kmhltb0u28m


จริงหรือไม่…? Hospital เปิดใหม่ Atrium Suvarnabhumi และ 9 Winner สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการเตียง

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…มีโรงแรมดังกล่าวจริง แต่รายละเอียดการหาเตียงต้องสอบถามจากทางโรงแรมอีกครั้ง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1iudvyqfgr1pg


จริงหรือไม่…? สามย่านมิตรทาวน์ ให้ประชาชน อายุ 50 ปี ขึ้นไป สามารถมารับการฉีดวัคซีน AZ

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…สามย่านมิตรทาวน์ ให้ผู้สูงอายุ สามารถมารับการฉีดวัคซีน AZ จำนวน 300 สิทธิ์ วันที่ 26 ก.ค. ก่อน 15.00 น. โดยต้องเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1jvmaajqx8uad


จริงหรือไม่…? ประกาศห้ามเดินทางระหว่างจังหวัดทั่วประเทศ

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…เป็นการขอความร่วมมือประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดที่ไม่มีเหตุจำเป็น เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด ในพื้นที่สีแดง และสามารถเดินทางออกไปซื้ออาหาร และของที่จำเป็นได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/r3741hzjjkvn


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 24 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? คลิปผู้ป่วยโควิดโดนห่อพลาสติกบนถนน

ไม่จริง

เพราะ…เป็นคลิปการเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ของผู้ประท้วง ที่โคลอมเบีย เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2564

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3qol1zez8hxsp


จริงหรือไม่…? ขึ้นภาษีผ้าอนามัยแบบสอด 30%

ไม่จริง

เพราะ…ผ้าอนามัยถือเป็นเครื่องสำอางตามกฎหมายมาโดยตลอด และมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ยังไม่ได้ขึ้นเป็นร้อยละ 30 แต่อย่างใด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1t6p7flt5uysr


จริงหรือไม่…? นักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยชื่อดังของจังหวัดเชียงใหม่ ค้นพบยาฆ่าเชื้อโควิด19 แบบชนิดหายขาด

ไม่จริง

เพราะ…วิธีการดังกล่าว ยังไม่มีหลักฐานว่าสามารถฆ่าเชื้อโควิด19 ได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2kvgsyrqhqb7


จริงหรือไม่…? จ.นราธิวาส แถลงยกระดับมาตรการคุมเข้มโควิด-19

จริง

เพราะ…นราธิวาส ขอความร่วมมือประชาชนเลี่ยงการเดินทางข้ามเขต อำเภอ/จังหวัด ยกเว้นมีเหตุจำเป็น ร้านอาหารเปิดได้ถึง 20.00 น. เริ่ม 20 ก.ค.

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/17wymasj88m3x


จริงหรือไม่…? ชลบุรีปิดแห่งท่องเที่ยว หาด สนามเด็กเล่น เพิ่มเติม

จริง

เพราะ…คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี กำหนดมาตรการเพิ่มเติม เริ่มใช้ 22 ก.ค.64

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1nre4rjzls3kn


จริงหรือไม่…? ภายใน 7 เดือนที่ผ่านมา มีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด 898 ราย

จริง

เพราะ…ข้อมูลจากกรมอนามัย ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 20 กรกฎาคม 2564 พบมีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ 898 ราย เสียชีวิต 16 ราย

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/179ze2o6eheqf


จริงหรือไม่…? วัคซีน mRNA มีความปลอดภัยเหมือนวัคซีนอื่นๆ

จริง

เพราะ…องค์การอนามัยโลก ยืนยันว่าวัคซีนจากเทคโนโลยี mRNA มีความปลอดภัยเหมือนวัคซีนชนิดอื่นๆ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2vamxja5q64lu


จริงหรือไม่…? เมรุเผาศพ เตาระเบิด

จริง

เพราะ…วัดบางน้ำชน ถนนเจริญนคร แขวงสำเหร่ เขตธนบุรี เตาระเบิด เนื่องจากใช้เผาศพผู้ป่วยโควิด-19 หนัก

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/22rn9rwwux1lx


จริงหรือไม่…? หนังสือบันทึกข้อความ อบจ. ให้บุคลากรและครอบครัว ฉีดวัคซีนโมเดอร์นา

จริง

เพราะ…อบจ.สกลนคร ออกมาแถลงต่อเรื่องนี้แล้ว บอกว่าเป็นการสำรวจบุคคลากรในหน่วยเพื่อเตรียมจัดหาวัคซีน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2pgyr7fbdm2ot


จริงหรือไม่…? หนังสือราชการเรื่องขอสนับสนุวัคซีนโควิด19 โมเดอร์นา ของกองทัพไทย

จริง

เพราะ…เป็นเอกสารจริง แต่ยังอยู่ในกระบวนการสอบสวนว่าใครรับผิดชอบ เพราะทางกองทัพแถลงว่าไม่ใช่เอกสารทางการ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1pcqjnh35c087


จริงหรือไม่…? ผลวิจัย​จำนวนผู้ป่วยโควิดจะพีคสูง​สุด​อยู่ที่เดือนสิงหาคม​ 64 นี้ ซึ่งจะมีผู้ติดเชื้อ​อาจถึง 2 หมื่นกว่าคนต่อวันตามกราฟ

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…เป็นการคาดการณ์ และวิเคราะห์จากธนาคาร

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3kyf4jfh45izr


สัมมนา วันตรวจสอบข่าวลวงโลก

Editors’ Picks

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 ที่โรงแรมศิวาเทล กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โคแฟค ประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายองค์กรตรวจสอบข่าวสากล (International Fact Checking Network : IFCN) และภาคีเครือข่ายตรวจสอบข่าวลวงกว่า 30 องค์กรในประเทศ จัดสัมมนาไฮบริดเนื่องในวาระ “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” (International Fact-Checking Day 2021) “ความท้าทายในการตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกัน” โดยมีการประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือของภาคประชาสังคมในปีแห่งการรณรงค์ตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร (2 เมษายน 2564-2 เมษายน 2565)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3wTg6Aj

ขอบคุณที่มา สสส.

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 22 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? กมลา แฮร์ริส ติดโควิด19 ทั้งที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว

ไม่จริง

เพราะ…รายงานจาก CNN พบว่า รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตรวจแล้วผลเป็นลบ ไม่ได้ติดเชื้อโควิด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3cayec3wqa26v


จริงหรือไม่…? ยายนำเงินเยียวยาผลกระทบจากพายุฝนฟ้าคะนองในจังหวัดสกลนคร คืนอบต.100 บาท

จริง

เพราะ…ละอายใจที่จะรับเงินช่วยเหลือ และต้องการให้นำเงินดังกล่าวไปช่วยเหลือคนอื่นที่เดือดร้อนกว่า

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1dlshoemp6mgd


จริงหรือไม่…? สหรัฐฯ บริจาคไฟเซอร์ให้ไทย 1.5 ล้านโดส

จริง

เพราะ…เพื่อให้พลเมืองของตนปลอดภัย ตลอดจนฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว โดยจะฉีดให้กับ 4 กลุ่มเป้าหมายหลัก

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/12lzez6odi4ca


จริงหรือไม่…? ชุดตรวจ COVID-19 Home Test จากเกาหลี อย.ตรวจสอบแล้วไม่พบอนุญาตในไทย

จริง

เพราะ…ชุดตรวจดังกล่าวยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อประเมินประสิทธิภาพกับ อย. อาจมีความเสี่ยงที่จะแปลผลผิดพลาด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/t52n82chzssp


จริงหรือไม่…? SMS หลอกลวงให้กู้เงิน

จริง

เพราะ…มักจะมี SMS หลอกลวงรูปแบบดังกล่าวโดยเปลี่ยนชื่อไปเรื่อยๆ หลอกลวงให้ค้ำประกันให้ แล้วจากนั้นก็จะหลบหนี

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1l1nfbc1vuuuv


จริงหรือไม่…? ข้อมูลภาพรวมการฉีดวัคซีนของไทย

จริง

เพราะ…เป็นข้อมูลจากสำนักข่าวอิศรา เกี่ยวกับจำนวนการฉีควัคซีนของคนไทยในแต่ละจังหวัด ตั้งแต่การฉีดวัคซีนวันแรก 28 ก.พ. 64 จนถึง 18 ก.ค.64

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2zhpfi4dgz3z6


จริงหรือไม่…? ศบค.เผยผลวิจัยคาดการณ์ 31,000 คนต่อวัน

จริง

เพราะ…ศบค.เปิดผลวิจัยคาดการณ์ผู้ติดเชื้อ สูงสุดหากไม่มีมาตรการดูแล 31,997 คน หากทำได้ดีจะลดลง 9,018-12,605 คน กำชับของดออกนอกเคหสถานพร้อมตั้งด่านเข้มแข็งคุมเดินทางเข้า-ออก จังหวัดสีแดงเข้ม

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1kyvt420ewb6


จริงหรือไม่…? ประกาศกฎอัยการศึก เป็นคำสั่งปลอม

จริง

เพราะ…กองทัพบกได้ตรวจสอบเอกสารดังกล่าวและชี้แจงว่า เป็นข้อมูลเท็จ และไม่มีหน่วยงานใดจัดทำขึ้น ซึ่งหากได้อ่านข้อความก็คงจะประเมินได้ว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/21kkv118johtc


จริงหรือไม่…? หมอ รามาฯ แถลงจุดยืนเรียกร้องให้มีการจัดหาวัคซีน ที่มีประสิทธิภาพ

จริง

เพราะ…ในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ที่ทํางานรับมือกับวิกฤตการณ์โรคระบาดฯนี้ ได้เรียกร้องให้มีการจัดหา/จัดสรรวัคซีนป้องกัน Covid19 ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น mRNA vaccine, Protein subunit vaccine

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/123i5q3whehye


จริงหรือไม่…? เฟซบุ๊กห้ามไบโอไทยโพสต์

จริง

เพราะ…หลังโพสต์ข้อมูล สรรพคุณ ฟ้าทะลายโจร ในการรักษาโรคระบาด เนื้อหาการประชุมทางวิชาการ ของกรมการพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ 17 มิ.ย. 64

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1ndi62byirsfz


จริงหรือไม่…? Booster และ Capsule กลับถึงโลกอย่างปลอดภัย

จริง

เพราะ…เป็นภาพจรวด New Shepard ของบริษัท Blue Origin ที่สามารถเดินทางไปถึงอวกาศและกลับสู่พื้นโลกได้อย่างปลอดภัย

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/ljkz81nf1x3o


จริงหรือไม่…? ผลการวิจัยยา Ivermectin ในการรักษา ไวรัสโควิด-19

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…แพทย์ ชี้ มีข้อมูลบางส่วนที่ถูกต้อง แต่ไม่แนะนำให้ซื้อมาใช้เอง และไม่แนะนำให้แชร์ต่อ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3w4thfffrzpmz