สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 13 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? เกาะภูเก็ตยังไม่ปิด

จริง

เพราะ…Phuket Sandbox ยังดำเนินการตามแผนเดิม ยังคงรับนักท่องเที่ยว และคัดกรองอย่างเคร่งครัด

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3cbzj63djheck


จริงหรือไม่…? ต้นไม้สร้างออกซิเจน แต่มหาสมุทรผลิตออกซิเจนได้มากกว่าต้นไม้

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ไม่ใช่ตัวมหาสมุทรหรือทะเลเองโดยตรง แต่เป็นสิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น แพลงตอน สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด ที่ผลิตออกซิเจนรวมกันได้มากกว่าป่าไม้ในโลกรวมกัน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1d07j8wu6ypgs


จริงหรือไม่…? เยอรมันขายชุดตรวจโควิดราคา 30 บาท

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…มีหลายแบรนด์ หลายราคา และมีราคา 30 บาทจริง

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1il36t2dhmpci


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? โรงงานกิ่งแก้วที่ไฟไหม้ มีถังสารเคมีใต้ดินอีก 5 แสนลิตร ที่กำลังปะทุ

ไม่จริง

เพราะ…ผู้จัดการโรงงานยืนยันว่าไม่มีการฝังถังเคมีใต้ดิน มีแต่ถังภายในโรงงาน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3vmiupgbs2ke7


จริงหรือไม่…? รัฐบาลประกาศ ให้ประชาชน ชะลอฉีดวัคซีน

ไม่จริง

เพราะ…เป็นข่าวเก่าตั้งแต่เดือน มีนาคม 2564

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2v1abeva1pbtg


จริงหรือไม่…? วัคซีน mRNA อันตราย

ไม่จริง

เพราะ…เป็นแนวคิดการต่อต้านวัคซีน วัคซีนอาจมีผลข้างเคียง แต่ไม่รุนแรง และเป็นเพียงคราว

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/291dss0wvroga


จริงหรือไม่…? ปิดตลาดนัดมะพร้าวกับตลาดนัดวันอาทิตย์แถวบ้านกือแลมะห์

จริง

เพราะ…เป็นไปตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดยะลา ที่ 152/2564 จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1srbdjq7tetcm


จริงหรือไม่…? แลมบ์ด้า (Lambda) เชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่กว่า รุนแรงกว่า พบผู้ติดเชื้อครั้งแรกในทวีปแฟริกาเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…WHO จัดให้ไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดาอยู่ในประเภทสายพันธุ์ที่น่าจับตามอง เบื้องต้นมองว่ายังเป็นภัยคุกคามที่น้อยกว่าสายพันธุ์ อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1c42v38oc0wb8


จริงหรือไม่…? ปลูกพืชกระท่อมไม่ผิดกฎหมาย

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2564 ยกเลิก “พืชกระท่อม” มีผลตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2564

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/20xl7oj6jawbr


สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 6 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? กินอาหารที่มีค่าพีเอช มากกว่า พีเอช ในไวรัสโคโรนา เช่น กระเทียม มะนาว ฯลฯ เอาชนะไวรัสโคโรน่าได้

ไม่จริง

เพราะ…ยังไม่มีเครื่องดื่มหรือสมุนไพรอะไรที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 หรือรักษาโควิด-19 ได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1jaryewk0kpcd


จริงหรือไม่…? ครูโรงเรียนเบ็ญจะมะอุบลฯติดโควิด

ไม่จริง

เพราะ…โรงเรียน ชี้แจง ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1cq6z201eiqx7


จริงหรือไม่…? รมควันปราบโควิด เขาบอกว่าเป็นพิธีรมควันปราบไวรัสแบบโบราณ

ไม่จริง

เพราะ…เป็นความเชื่อที่ไม่มีงารวิจัยรองรับ และ อันตรายมาก

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/102hwv14ixx68


จริงหรือไม่…? เชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า สามารถแพร่เชื้อได้ภายใน 5-10 วินาที เพียงแค่อยู่ใกล้กัน เดินผ่านกัน ก็สามารถรับเชื้อได้

จริง

เพราะ…ออสเตรเลีย ได้ตรวจสอบจากกล้องวงจรปิด พบว่า ประชาชนติดเชื้อเพียงแค่เดินผ่านคนแปลกหน้า ที่ป่วยโควิดไม่กี่วินาที ขณะจับจ่ายซื้อของในห้างสรรพสินค้าเวสต์ฟิลด์ บอนดิ จังชัน

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/4xmae00e3c8b


จริงหรือไม่…? มหิดล เปิดให้จองวัคซีนโมเดอร์นา

จริง

เพราะ…เปิดให้จองจริง แต่ขณะนี้การเปิดจองได้เต็มแล้ว

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/g5mj2l4dwd9v


จริงหรือไม่…? มาตรการเข้าจังหวัดภูเก็ต

จริง

เพราะ…เป็นมาตรการทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เริ่ม 1 กค.นี้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/skuei86vtpsm


จริงหรือไม่…? แรงงานจากกรุงเทพฯเข้าแถวตรวจโควิดแถวยาวที่รพ.สรรพสิทธิ์อุบลฯ

จริง

เพราะ…เป็นการคัดกรองเพื่อลดความเสี่ยงในรพ. ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบบริการอื่นๆมีผลกระทบ เพื่อให้สามารถดูแลพ่อแม่พี่น้องประชาชน ที่ป่วยด้วยโรคอื่นๆได้อย่างปลอดภัย

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/a9r2tie33mjo


จริงหรือไม่…? แพทย์แผนไทยรับมือภัยพิบัติ เตือน มีผู้ไม่หวังดีกล่าวหาว่าข้อมูลของโครงการเป็นข่าวปลอม

จริง

เพราะ…โครงการออกมาชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นของจริง ไม่ใช่ของปลอมตามที่เผยแพร่

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/2450dhhejm7oj


จริงหรือไม่…? พบผู้ป่วยโควิดใช้บริการสายการบินในประเทศกรุงเทพ-ภูเก็ต

จริง

เพราะ…สสจ.ภูเก็ต ประกาศให้ผู้มีความเสี่ยงตรวจ COVID19 หลังพบผู้ติดเชื้อเดินทางกับ Thai Smile เที่ยวบิน WE201 และประกาศพื้นที่พบประวัติผู้ติดเชื้อไปร้านกาแฟในจังหวัด 2 แห่ง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/19yrbvysb0g30


จริงหรือไม่…? Sinopharm เปิดให้ประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดอายุ ไม่จำเป็นต้องเป็น ผู้ป่วยรามาธิบดี สามารถลงทะเบียนจองฉีดในวันที่ 4 กค. 64

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…เฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3ryg1ubjce89e


จริงหรือไม่…? เสียงจากเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ สั้นๆแค่ 35 วินาที แต่มีประโยชน์ โปรดแชร์ให้คนที่คุณรักและห่วงใย

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ไปรษณีย์ไทยออกมาชี้แจงว่าไม่จริง แต่ควรระมัดระวังเพราะพบว่าเชื้อโควิดอาจติดมากับวัตถุได้แม้ยังไม่มีรายงานที่แน่ชัดเกี่ยวกับผู้ที่ติดเชื้อจากการรับสิ่งของ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3tyij7225cdpq


จริงหรือไม่…? ใช้ยาสมุนไพรในโรค COVID-19

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…แพทย์แผนไทยหลายท่านกล่าวในทำนองเดียวกัน คือยาสมุนไพรไทย เช่น ยาฟ้าทะลายโจร ยาจันทลีลา ยาห้าราก ฯลฯ สามารถใช้รักษาผู้ป่วยโควิดที่มีอาการน้อยได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1uqagqt9bu6ni


จริงหรือไม่…? กสทช. สั่งยกเลิกสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ มีผลวันที่ 3 เมษายน 2565

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…มีข่าวนี้รายงานแล้วในบางสื่อ แต่กลับไม่พบการประกาศข่าวนี้ในเพจของ กสทช. แต่อย่างใดจึงคาดว่าอาจจะยกเลิกหรือระงับการประกาศไปก่อน

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3gkev6awfbcip


จริงหรือไม่…? พ่อแม่ไม่ควรสวมหน้ากากให้เด็กต่ำกว่า 2 ขวบ

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…เด็กทารกแรกเกิด-1 ปี ไม่ควรสวมหน้ากาก เพราะเด็กเล็กระบบการหายใจยังไม่แข็งแรงพอ มีโอกาสเกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดอันตรายต่อระบบประสาทของทารกได้

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3rrglpppyu05o


จริงหรือไม่…? ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว ตอนนี้ควบคุมเพลิงไม่ได้แล้ว ไฟกำลังไหม้ถึงถังเคมีแล้ว รีบออกมาให้เร็วที่สุดค่ะ ระเบิดลูกนี้แรงมากๆ

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ยังไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ จึงได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ถอนกำลังหวั่นระเบิดซ้ำ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/1jpt5d17ctox0


Opening Speech (webinar) “Hands-On Fact-Checking: Online Short Course”

บทความ

By Charge d’Affaires Michael Health, U.S. Embassy Bangkok

Proposed Remarks

Thank you so much for the kind introduction and invitation to speak today.  I want to thank Baybars Örsek and the International Fact-Checking Network (IFCN) at the Poynter Institute; Khun Supinya and the Cofact Thailand team; and the moderator and panelists, Dr. Jessada, Khun Peerapon and Khun Mike.  It is an honor to be here today to mark the closing of this first-of-its-kind online self-directed fact-checking course in Thailand, offered by the world’s premier fact-checking institute, IFCN.

This training opportunity could not have come at a better time.  As the world’s doctors, nurses, and scientists struggle to contain the Covid-19 pandemic, it is the journalists, editors, fact-checkers and academics who are charged with the important task of containing the spread of misinformation about the virus.  

The U.S. Embassy has been working closely with various partners and local organizations since 2018 to countering misinformation while empowering journalists and independent new organizations.  We sponsored a group of Thai media experts to participate in training trips to the United States, connecting them with partners like the Google News Lab.  We have sponsored fact-checking workshops in Bangkok and other major cities, and funded Thailand’s first-ever fact-checking handbook, co-authored by Dr. Jessada and Khun Peerapon of Sure and Share, who are joining us today. 

In early 2019 we brought in Baybars Örsek, on his first official trip to Thailand, to lead a fact-checking workshop co-hosted by Chulalongkorn University’s Faculty of Communication Arts, supported by Dr. Jessada and Khun Peerpon.  Our goal was to form connections between the IFCN and various Thai counterparts to build the foundations of the emerging independent fact-checking infrastructure in Thailand. 

In 2021, it is with great pleasure that we continue this endeavor with Cofact, a key player in Thailand’s civil society, which supports a citizen-centric model for fact checking.  I want to congratulate Cofact on its first anniversary as the first and only platform in Thailand dedicated to strengthening citizen fact-checking.   I also want to thank Baybars for being here as keynote speaker and bringing his wealth of expertise and enthusiasm to the effort. 

Congratulations to all the course participants for completing the self-directed course, as you are Thailand’s front line in debunking misinformation.  We look forward to supporting and working with you in the future. 

The United States and Thailand have enjoyed a strong friendship for over 200 years.   From the first day of our official contact – when an American sea merchant sailed across the ocean and arrived in Bangkok to open commerce between our countries – until today, we will be standing side by side to support you through challenges large and small.  

อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ไมเคิล ฮีธ กล่าวในการสัมมนาปิดหลักสูตรเรียนออนไลน์ระยะสั้น การตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่นับเป็นหลักสูตรที่มีการนำเสนอครั้งแรกในไทย โดยองค์กรเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงชั้นนำระดับโลก ว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันที่บุคลากรการแพทย์ สาธารณสุข นักวิทยาศาสตร์ ทั่วโลกกำลังรับมือกับสถานการณ์โรคระบาด นักข่าว สื่อมวลชน กองบรรณาธิการข่าว นักตรวจสอบข้อเท็จจริง นักวิชาการ นับมีบทบาทสำคัญในการรับมือกับข้อมูลผิดๆที่แพร่หลายเกี่ยวกับไวรัส ทั้งนี้สถานทูตสหรัฐฯ ได้ทำงานใกล้ชิดกับหลากหลายหน่วยงานและองค์กรในไทย ผ่านโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่ปี 2018 ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพสื่อมวลชนไทยในการรับมือกับข้อมูลที่ผิด สนับสนุนกิจกรรมดูงานในสหรัฐฯ เชื่อมโยงเครือข่ายกับหลากหลายองค์กร อาทิ Google จัดกิจกรรมอบรมปฎับัติการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรุงเทพฯและหลายจังหวัดในไทย รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำคู่มือ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ฉบับภาษาไทยเป็นครั้งแรกในไทย ในปี 2019 สถานทูตสหรัฐฯ ได้เชิญBaybars Örsek จาก IFCN มาเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรก เพื่อจัดการอบรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีวัตถุประสงค์ ร่วมผลักดันและวางรากฐานเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงในไทย

อุปทูตสหรัฐฯ กล่าวแสดงความยินดีกับ Cofact ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ปัจจุบันเป็นองค์กรหลักในการผลักดันขับเคลื่อนการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยภาคประชาชนในประเทศไทย ในโอกาสครบรอบหนึ่งปี ซึ่งปีนี้ได้ร่วมกับสถานทูตฯและ IFCN ในการจัดกิจกรรมอบรมการตรวจสอบข้อเท็จ อุปทูตสหรัฐฯแสดงความยินดีกับผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งจะเป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศไทยในการรับมือและลบล้างข้อมูลที่ผิด โดยสถานทูตสหรัฐฯ จะเดินหน้าร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนและสนับสนุนเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงในไทยต่อไป เช่นที่สหรัฐฯได้ร่วมมือกับไทยมาต่อเนื่องยาวนานกว่า 200 ปี นับตั้งแต่ที่สหรัฐฯและไทยมีการติดต่อกันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก โดยพ่อค้าชาวอเมริกันคนหนึ่งได้เดินเรือข้ามน้ำข้ามทะเลมาถึงกรุงเทพฯ และเปิดการค้าขายร่วมกัน นับเป็นจุดเริ่มของมิตรภาพอันยาวนาน จนปัจจุบันที่สหรัฐฯจะยังยืนเคียงข้างไทยและพร้อมสนับสนุนไทยก้าวข้ามความท้าทายในทุกมิติ.

สรุปจากการสัมมนาออนไลน์ปิดหลักสูตรการตรวจสอบข้อเท็จจริง

บทความ

ขอบคุณที่มา เวบส่องสื่อ

สรุปสาระสำคัญบางส่วนจากการสัมมนาออนไลน์ (webinar) ปิดหลักสูตรเรียนออนไลน์ระยะสั้น: การตรวจสอบข้อเท็จจริง “Hands-On Fact-Checking: Online Short Course” สำหรับผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ผู้สื่อข่าว และนักวิชาการสื่อ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล (International Fact-Checking Network) หรือ IFCN ณ Poynter Institute โคแฟค ประเทศไทย (Cofact Thailand) และ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

โดยคุณ Baybars ได้กล่าวในช่วงเริ่มต้นว่า เมื่อพูดถึงว่าอะไรที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ ก็จะมีอยู่หลากหลายกรณี เช่น ความคิดเห็น เราไม่สามารถตรวจสอบได้เพราะมันเป็นปัจเจกของแต่ละบุคคล หรือภาพล้อเลียน เสียดสีต่างๆ ซึ่งมันจะไม่มีประโยชน์ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง อีกสิ่งหนึ่งก็คืออนาคต เพราะเราไม่มีหลักฐานว่าคำกล่าวเหล่านี้เป็นความจริงหรือไม่?

วิธีการตรวจสอบข้อเท็จจริงหลักๆ จะมีขั้นตอน คือ ค้นหาการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าอันไหนที่ตรวจสอบได้หรือไม่ได้ ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปแล้วจะมีบางส่วนที่ตรวจสอบไม่ได้ และหาจุดเด่นที่สำคัญต่อสาธารณชนที่ให้ความสนใจ และยังต้องสร้างความสมดุลให้กับข้อมูลอีกด้วยว่าเป็นหน่วยงานที่เป็นกลาง

หลังจากนั้น เราก็ต้องหาว่าแหล่งข้อมูลที่ไว้ใจได้คืออะไร? อะไรที่เราไม่รู้บ้าง? และเราต้องหาแหล่งว่าอันไหนที่เราหาเพิ่มเติมได้บ้าง หลังจากนั้นคือการแก้ไขหรือทำให้ถูกต้อง โดยการนำคำกล่าวต่างๆ มาทำให้เป็นจริง ซึ่งก่อนที่เราจะเผยแพร่นั้นต้องดูรูปแบบที่เข้าถึงทุกคนได้มากขึ้นได้อย่างไรบ้าง? และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งต้องดูตามบริบทว่าทำให้มีความเปลี่ยนแปลงในข้อเท็จจริงอย่างไรบ้าง?

ในการตรวจสอบข้อมูลนั้น จำเป็นต้องหาข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง เช่นในตุรกีที่เขาไปหาองค์กรในระดับภูมิภาค เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และสามารถทำให้ข้อมูลกระจ่างได้มากขึ้นด้วย อย่างในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศอาเซียน 1 ใน 10 ประเทศ ก็สามารถหาข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ของอาเซียนได้ว่ามีข้อมูลตรงไหนที่เป็นประโยชน์สำหรับการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้บ้าง

หรือองค์กรต่างๆ ในระดับระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหประชาชาติ หรือองค์การอนามัยโลก หรือสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ที่มีชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยที่สามารถนำข้อมูลมาต่อยอดและตรวจสอบข้อเท็จจริงได้เช่นกัน ซึ่งทำให้สามารถเข้าใจและนำมาตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ในหลายๆ เรื่องด้วยเช่นกัน

แล้วเราก็สามารถตรวจสอบว่าข้อมูลที่สร้างขึ้นมาในโลกออนไลน์จริงหรือไม่? โดยการศึกษาข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ออกมาและสร้างข้อมูลออกมา ซึ่งการสร้างข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องนี้เกี่ยวข้องกับทุกคน ในฐานะที่ที่ผู้เข้าร่วมเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องนั้น อาจจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ผิดพลาดได้ เพื่อทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพได้ในอนาคตอีกด้วย

ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กิจกรรม “หยุดแชร์” ของสหประชาชาติ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จัดขึ้นมาเพื่อให้คนตระหนักในการอ่านและตรวจสอบก่อนแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ซึ่งเรายังต้องเผชิญวิกฤตโรคระบาดนี้เป็นจำนวนมาก โดยดูแหล่งข้อมูลที่เราเจอว่ามาจากไหน และตรวจสอบดูว่าองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเขาได้พูดอะไรที่เกี่ยวข้องไหม? รวมไปถึงการพูดคุยเรื่องนี้ในโลกออนไลน์ เช่น ทวิตเตอร์, เฟสบุ๊ค หรือการถ่ายทอดสดในออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งถ้าได้รับการตรวจสอบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องเราก็ต้องรีบไปบอกและแก้ไข ซึ่งนี่ไม่ใช่แค่วิกฤตทางด้านสุขภาพเท่านั้น แต่เป็นวิกฤตของการเกิดข่าวลวงเช่นกัน

ในปัจจุบันก็มีตัวส่วนเชื่อมต่อใน Browser ต่างๆ ชื่อว่า “InVID” ที่สามารถดึงตัว Keyframe ออกมาจากวีดิโอได้ และตรวจสอบได้ว่าข้อมูลในวีดิโอนี้เป็นข้อเท็จจริงหรือไม่? โดยการค้นหาเพิ่มเติมจาก Google Search นั่นเอง นอกเหนือจากนี้เรายังสามารถนำ Keyframe ไปค้นหาได้ด้วยว่าข้อมูลตรงไหนที่เป็นข้อเท็จจริงหรือถูกบิดเบือน โดยการใช้ Google Image Search / Google Search ร่วมกัน

แน่นอนว่าการตรวจสอบข้อเท็จจริงในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย และเป็นเรื่องที่ต้องให้เวลามากพอสมควรที่จะพัฒนางานตรงนี้ รวมไปถึงการหาข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้จริงๆ และการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกันในการค้นหาข้อมูลในวงกว้างต่อไป

และเมื่อช่วงถามตอบก็ได้มีผู้ให้ความสนใจร่วมถามตอบเป็นจำนวนมาก โดยทางส่องสื่อได้หยิบยกคำถามที่น่าสนใจมาสรุปเพื่อให้ผู้ที่พลาดจากการเรียนครั้งนี้ได้มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันด้วย ซึ่งมีคำาถามดังต่อไปนี้

อะไรบ้างที่ควรตรวจสอบข้อเท็จจริง?
แน่นอนว่าข้อมูลสาธารณะควรถูกตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ ซึ่งการตรวจสอบข้อเท็จจริงควรที่จะทำกับข้อมูลสาธารณะได้อยู่แล้ว โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่แล้วและเผยแพร่อยู่แต่เดิมแล้ว แต่การตรวจสอบเชิงข่าวจะได้ในส่วนของเนื้อข่าวไปเขียน การตรวจสอบข้อเท็จจริงก็จะได้ข้อสรุปว่าข้อมูลนี้จริงหรือไม่จริง

การตรวจสอบข้อเท็จจริงกับการถามข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ต่างกันอย่างไร? (fact-checking vs verification)
มันมีความต่างกันอยู่ในเชิงภาษาอังกฤษ แต่ส่วนตัวที่ใช้ภาษาตุรกีเป็นภาษาหลัก สองคำนี้จึงไม่ต่างกันเลย ในประเทศไทยก็ไม่แน่ใจว่ามีการใช้คำสองคำนี้มีความต่างมากน้อยแค่ไหน? ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง คือการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่เราหยิบขึ้นมาว่าต้นตอมาจากไหนและจริงหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นโควตหรือข้อมูลอื่นๆ เช่นกัน

เกณฑ์ในการที่จะตรวจสอบความจริง สามารถปรับเปลี่ยนตามบริบทได้หรือไม่?
แน่นอนว่าปรับเปลี่ยนตามบริบทได้ โดยปัจจุบัน 102 องค์กรจาก 50 ประเทศทั่วโลกได้รับการรับรองจาก IFCN อยู่แล้ว เขาก็มีการจัดทำเครื่องมือเพื่อปรับไปตามบริบทของแต่ละประเทศ เครื่องมือหลักๆ เราก็มีอยู่แล้ว เพียงแต่รายละเอียดก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทนั้นๆ แม้กระทั่งข้อมูลที่ไม่เสียค่าเข้าข้อมูล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ รวมไปถึงการเข้าถึงของข้อมูลด้วยเช่นกันว่าจะเข้าถึงได้มากน้อยแค่ไหน

รวมไปถึงการสนับสนุนทางการเงินที่ต้องโปร่งใสเช่นเดียวกัน คือสิ่งที่เป็นหลักเกณฑ์ในประเทศหนึ่ง อาจไม่สามารถใช้ได้ในอีกประเทศเช่นเดียวกัน ซึ่งแต่ละประเทศก็ต้องมีหลักเกณฑ์สากล แต่สามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทได้เช่นกัน

มีวิธีการอะไรที่เป็นระยะสั้นที่ทำให้เราสามารถดำเนินการได้บ้าง?
คือเวลาที่เรามีใบสมัครมาจากหลายๆ ประเทศ แล้วเราก็ดูว่าองค์กรนั้นๆ มีเครือข่ายในภูมิภาคมากน้อยแค่ไหน? ถ้าน้อยกว่า 5 รายก็จะให้ทำงานตรวจสอบข่าวลวงอย่างน้อย 6 เดือน แต่ถ้ามีมากกว่า 5 รายในภูมิภาคก็จะให้ตรวจสอบข่าวลวงอย่างน้อย 12 เดือน หรือในบางช่วงที่ต้องมีการเลือกตั้งหรือในสถานการณ์โรคระบาดก็จะลดเหลือแค่ 3 เดือน เนื่องมาจากการตรวจสอบข่าวลวงมีความสำคัญมากๆ นอกจากนี้เราก็ยังมีความช่วยเหลือและให้ความสะดวกต่างๆ มีข้อมูลที่ให้ไปดำเนินการได้เช่นกัน

เวลาที่คุณยกตัวอย่างว่าสิ่งไหนที่ตรวจสอบได้หรือไม่ได้ มันยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่ตรวจสอบได้ และเราก็อยากเห็นกับผู้สื่อข่าวในบ้านเรา
ขอบคุณครับและขออนุญาตขยายความสักนิดนึง จริงๆ แล้วเราสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ได้ว่าการกล่าวอ้างที่เกิดขึ้น กับข้อมูลเชิงสถิติอื่นๆ มันมีความจริงหรือไม่จริงอย่างไรบ้าง? ไม่จำเป็นต้องใช้การวัดเรทติ้งก็ได้ เพื่อที่ทำให้สาธารณชนเห็นว่าข้อมูลนี้ควรเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ในฐานะของผู้สื่อข่าวก็ต้องนำข้อมูลสถิติมากางเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจได้เช่นกัน

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา อะไรที่เป็นความท้าทายในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
ความท้าทายที่สำคัญคือการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ จากการทำงานเป็นผู้ตรวจสอบข่าวลวงก่อนมาทำงานกับ IFCN 5 ปี ผมพบว่าสิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งบางข้อมูลที่เราพบอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน เราต้องหาข้อมูลที่เป็นปัจจุบันให้ได้มากที่สุด และพอค้นพบแล้วเราก็ต้องตั้งข้อสงสัยเสมอว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่? การเก็บข้อมูลต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน? แล้วก็เมื่อไม่นานมานี้การตรวจสอบความถูกต้อง เราจะปกป้องตนเองจากการถูกรังควานได้อย่างไร?

มีกรณีศึกษาที่หักล้างข้อมูลโควิด-19 ที่น่าสนใจบ้างไหม?
ช่วงก่อนหน้านี้ตนเองได้ทำงานที่ฟอริด้า สหรัฐอเมริกา โดยทำงานที่บ้าน แล้วเราก็ได้รับข้อมูลจากไต้หวันซึ่งนำข้อมูลมาจับเก็บที่เรา เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มชายอายุต่ำกว่า 35 ปี ซึ่งทำให้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของฟอริด้านำไปตีพิมพ์ข่าวที่บิดเบือน ซึ่งข้อมูลส่วนหนึ่งก็นำมาจากข้อมูลจากเว็บไซต์ตรวจสอบข่าวลวงของเรา

หลังจากนั้นก็มีการส่งอีเมลมาทางเราว่าอยากนำไปอ้างอิงได้ไหม? และนำข้อมูลไปหักล้างกับวัคซีนอื่นๆ รวมไปถึงอยากสัมภาษณ์เรา ซึ่งข้อมูลเรื่องนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการหักล้างข้อมูล และเป็นผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ ปัจจุบันข้อมูลจากโลกออนไลน์ก็ขาดการตรวจสอบที่ดีในการนำเสนอข้อมูลนั้นๆ

มีการโน้มน้าวเจ้าของแพลตฟอร์มที่จะทำให้คนไม่ส่งข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงไปบ้างไหม?
ตอบว่าใช่และไม่ครับ คือมันมีแพลตฟอร์มสองรูปแบบ คือสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งจะแตกต่างกับแอพพลิเคชันส่งข้อความ โดยแอพพลิเคชันส่งข้อความจะมีการใส่รหัสเอาไว้ไม่ให้เราสามารถตรวจสอบได้ ในขณะเดียวกันสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ เราไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่ระบบก็สามารถนำข้อมูลมาตรวจสอบได้เลย ดังนั้นไม่ง่ายเลยในการตรวจสอบข้อมูลในแอพพลิเคชันส่งข้อความ เพราะมีเรื่องของความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่เราต้องพึงระมัดระวังด้วย

พูดถึงประสบการณ์ของประเทศไทยในการตรวจสอบข่าวลวงว่าในผู้สูงวัยเป็นแหล่งของผู้ส่งต่อข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิด ในตุรกีเป็นเช่นนั้นหรือไม่?
ใช่ครับ ในสหรัฐอมเริกาและยุโรปมีการสำรวจว่าผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 65 ปีมีการส่งข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เปิดรับข้อมูลที่ทำให้เขาเข้าใจมากขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งต้องอาศัยการใช้ทักษะและข้อมูลที่เขาเข้าใจได้มากขึ้นด้วย ในกรณีที่สำคัญๆ คือ มิจฉาชีพที่มีการโอนเงินต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งมีเหตุในสหรัฐอยู่บ้าง แม้กระทั่งประเด็นทางสังคม ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่เปราะบางในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเช่นกัน แน่นอนว่าเวลาเราแชร์ก็ควรแชร์ด้วยความระมัดระวัง ดังนั้นเราควรที่จะช่วยเขาให้เขามีทักษะในการตรวจสอบข่าวลวง

ในช่วงต่อมาเป็นช่วงของการอภิปรายระหว่างเครือข่ายนักตรวจสอบข่าวลวง โดย คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท ได้เริ่มพูดถึงการตรวจสอบข่าวลวงว่า การตรวจสอบข้อเท็จจริง สิ่งสำคัญคือการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ นอกเหนือจากนั้นคือการตั้งคำถามกับข้อมูลสำคัญๆ ก็อาจจะต้องใส่ใจในการหาข้อมูลเชิงลึกและตั้งคำถามให้มากขึ้น อีกส่วนหนึ่งคือการมีอยู่ของข้อมูลสาธารณะ ซึ่งในประเทศไทยกำลังไปเส้นทางนั้น แต่ด้วยหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทำให้ไม่สามารถไปถึงจุดนั้นได้สักที เรามีทั้งหน่วยงานและพระราชบัญญัติ เพียงแต่ในความเป็นจริงในการรวมศูนย์ของข้อมูลศูนย์กลางอาจจะเป็นไปได้ยากพอสมควร

ในช่วงที่ผ่านมา Google พยายามช่วยดูข้อมูลที่ไทยมากๆ ให้สามารถถูกค้นหาเจอได้ ซึ่งการถึงจุดตรงนั้นในการตรวจสอบข้อเท็จจริงจะมาถึง คือการเปิดข้อมูลสาธารณะซึ่งเป็นจุดสำคัญเป็นอย่างมาก หรือแม้กระทั่งการแปลงไฟล์ PDF ซึ่งตามปกติเราอาจจะใช้แค่แปลงไฟล์ให้เป็น PDF แต่ในราชการไทยกลับใช้วิธีการสแกนรูปภาพเป็นข้อมูลออกมา ซึ่งทำให้ยากขึ้นในการค้นหาข้อมูล

ในส่วนของการมีอยู่ของข้อมูลของภาครัฐ มีหลายส่วนที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลควรเป็นรูปแบบไหน แล้วการรวมข้อมูลจะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งจะเป็นอย่างไรต้องติดตามต่อไป ในประเทศไทยเรากำลังไปตรงนี้แต่ไม่รู้ว่าจะไปถึงเมื่อไหร่ หรือในบางส่วนคือแพลตฟอร์มต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีการแปลงรูปภาพที่มีตัวอักษรมาใช้มากขึ้น ทำให้การตรวจสอบสะดวกขึ้นและง่ายขึ้นเช่นกัน

สิ่งที่เราทำได้เลยก็คือการตั้งคำถามกับการตรวจสอบข้อมูล และการค้นหาตามเว็บไซต์ต่างๆ ให้คนเข้าใจได้ง่ายขึ้นอีกด้วยนั่นเอง ในส่วนของการเคลมรีวิว (Claim Review) นั้นมีกลุ่มที่เขาพูดถึงว่าอาจจะต้องมีการค้นหาแล้วค้นพบว่ารู้จักบทความต่างๆ สามารถโชว์บทความได้ ซึ่งทาง Google เองก็จะต้องรู้จักว่าอันนี้คือหนัง อันนี้คือเพลง เป็นต้น ซึ่งการนำบทความมาลงบนการค้นหาก็จะทำให้คนได้รู้จักได้มากขึ้นว่าข้อมูลนี้ได้รับการตรวจสอบข้อมูลมาได้แล้ว

หลังจากนั้น คุณธนภณ เรามานะชัย จาก Google News Initiative ได้กล่าวต่อถึงการตรวจสอบข่าวลวงในฐานะแพลตฟอร์มอย่าง Google ว่า ต้องบอกว่าครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ร่วมงานกับ COFACT ซึ่ง GNI ในปีนี้เป็นปีแรกที่เข้ามาทำงานในภาคภาษาไทย แต่เราเกิดขึ้นมา 5 ปี ซึ่งในส่วนของผมเองที่เป็นแพลตฟอร์ม เพราะฉะนั้นแล้วผมจะพูดถึงวิธีการหรือขั้นตอนต่างๆ ในการตรวจสอบได้ ซึ่งตัว Keyframe ไปค้นหาอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอแล้ว ตัวผมอาจจะใช้วิธีการเพิ่มเติม คือวีดิโอในบางทีในลักษณะทางภูมิศาสตร์ว่าเสียง ภาษาถิ่นเป็นอย่างไร ถ้าเราเข้าใจภาษาถิ่นนั้นๆ ได้แล้ว เราก็อาจจะตั้งสมมุติฐานได้แล้วว่ามาจากประเทศหรือส่วนไหนของประเทศนั้นๆ นอกจากนั้นก็มาดูทิวทัศน์ว่ามีความคุ้นหูคุ้นตามากน้อยแค่ไหน? ไม่ใช่แค่ค้นหาตามลักษณะรูปภาพเท่านั้น เราต้องใช้ประสบการณ์ของตนเองในการช่วยค้นหาความจริงได้เช่นกัน

ส่วนเครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น PDF หรือตัวเลขไทย เราต้องยอมรับว่า Google เองเข้าใจตัวเลขไทยบ้างแล้ว และเราก็มีเครื่องมือเปลี่ยนภาพเป็นตัวอักษร ซึ่งหน่วยงานต่างๆ เอา PDF เป็นต้นฉบับ Upload ขึ้นมา อันนี้ก็จะช่วยในการค้นหาได้ดีกว่ามากๆ ซึ่งสิ่งสำคัญในการลงข้อมูลที่ตรวจสอบความจริง คือการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เผยแพร่คอนเทนต์ การสร้างความรู้ และการตรวจสอบความจริงที่ต้องไปด้วยกัน ข้อมูลที่อ้างอิงต้องเชื่อถือได้และค้นหาได้ง่าย เนื้อหาการตรวจสอบข่าวลวงต้องเข้าถึงง่ายและทำให้สร้างความรู้ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ช่วงท้ายสุด Baybars Orsek ผู้อำนวยการเครือข่ายองค์กรตรวจสอบข่าวสากล / Director of International Fact-Checking Network (IFCN) ได้กล่าวปิดท้ายงานว่า แน่นอนว่าการทำให้ประชาชนเข้าใจง่ายที่สุด คือเราต้องดูว่าคอนเทนต์แบบไหนที่ต้องเอาข้อมูลมาใช้ เราอาจจะต้องดูหลายแหล่งว่าแหล่งข้อมูลไหนที่เหมาะสม หรือแม้กระทั่ง Google ที่เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าค้นหา เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ตรวจสอบข่าวลวงมักจะใช้บ่อยๆ เพราะฉะนั้นคือเราควรที่จะไปถึงข้อมูลข่าวสารสำคัญๆ นั้นได้อย่างไร? และต้องมีการหากลุ่มเป้าหมายว่าเป็นคนกลุ่มไหน ให้ข้อมูลแบบไหนที่จะดีมาก เพราะว่าสุดท้ายคุณไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลทุกชิ้นในโลกนี้ได้หรอก เราต้องให้ข้อมูลและให้ประชาชนได้เข้าใจว่าควรตั้งคำถามกับทุกสิ่งที่เลือกรับเข้ามานั่นเอง

กฤตนัน ดิษฐบรรจง( EDITORIAL DIRECTOR )
บรรณาธิการบริหาร THE MODERNIST STUDIO : ชอบดูทีวี สนใจเรื่องราวของสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะสื่อทีวีและวิทยุ ชอบเขียนบทความ เป็นเด็กค่าย #YWC16

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2564


จริงหรือไม่…? กองประชาสัมพันธ์ กทม. อัพเดต Timeline สถานที่เสี่ยง COVID-19 จำนวน 36 สถานที่

ไม่จริง

เพราะ…เป็นข่าวเก่า ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2564

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3g2b80mz2zhhn


จริงหรือไม่…? สารคณบดี จากโรงพยาบาลรามาธิดี ม.มหิดล

จริง

เพราะ…คณบดีคณะ​แพทย์ รพ.รามาฯ ออกสารให้กำลังใจ อจ.หมอชี้ แม้สถานการณ์เกินรับไหว ต้องสู้ต่อไป

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/impi6fzx87jk


จริงหรือไม่…? ยอดผู้ติดเชื้อโควิด และเสียชีวิตในอินเดียลดลงอย่างในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

จริง

เพราะ…ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดของรัฐต่างๆ ซึ่งยังคงต้องเฝ้าระวังต่อไป

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/vbrkydmpbrcv


จริงหรือไม่…? วิจัยกรุงศรีได้ re-estimate ประมาณการติดเชื้อโควิค 19 ของไทยอีกครั้งโดยใช้ข้อมูลล่าสุดจนถึงวันที่ 28 มิย 64

จริง

เพราะ…อาจจะยืดเยื้อถึงเดือน ต.ค. แม้ยอดผู้ติดเชื้อจะลดลง แต่อาจพบการติดเชื้อที่ล้อไปกับบราซิลและอิตาลี

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/16aq3wxme446x


จริงหรือไม่…? ดาวฤกษ์ ProximaCentauri ลุกจ้า รุนแรงกว่าดวงอาทิตย์

จริง

เพราะ…แม้อุณหภูมิพื้นผิวร้อนน้อยกว่าดวงอาทิตย์แต่สามารถปลดปล่อยพลังงานได้สูงกว่าการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ถึง 100 เท่า

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/35kr8t76fcjkj


จริงหรือไม่…? มาตรการการเดินทางของ 10 จังหวัดในพื้นที่ ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

จริง

เพราะ…มาตรการสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาประจวบคีรีขันธ์ ต้องรายงานตัว/กักตัว สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/zc89p18f2edz


จริงหรือไม่…? ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ประกาศ 5 จุดยืนต่อรัฐบาล กรณีวัคซีนป้องกัน โควิด19

จริง

เพราะ…ขอให้เร่งจัดหาวัคซีนอย่างเพียงพอ ทั้งปริมาณและคุณภาพ พร้อมขอให้จัดสรรวัคซีนอย่างเป็นระบบชัดเจนและโปร่งใส

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2nwjcdqv6jt19


จริงหรือไม่…? อย. แจ้งเตือนเฝ้าระวังการเก็บรักษาวัคซีน ซิโนแวค

จริง

เพราะ…พบลักษณะสารละลายของวัคซีนรวมตัวเป็นเจลใสติดในขวด และไม่หายไปหลังเขย่า คาดเกิดจากการจัดเก็บ-ขนส่งไม่ควบคุมอุณหภูมิตามกำหนด ถ้าเจอขอให้ระงับการฉีดทันที

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1sjgqu9kzx348


จริงหรือไม่…? อย.สั่งระงับวัคซีน ซิโนแวคพบฉีดและเป็นเจลใส

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…ระงับเฉพาะบางรุ่นที่เป็นเจลใสเท่านั้น

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/2fbwmniww6cez


จริงหรือไม่…? หน้ากากผ้าไม่ปลอดภัย

ข่าวจริงบางส่วน

เพราะ…หน้ากากผ้าไม่มีลวดปรับให้แนบกับจมูก อาจทำให้หลุด และเกิดความเสี่ยงได้

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/17zvrt32fqhcr


สรุปผลการวิจัย 1 ปีโคแฟค “บทเรียนและข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน”

บทความ

สรุปผลการวิจัย 1 ปีโคแฟค
“บทเรียนและข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน” โดย

  • ดร.รดี ธนารักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิถต์/ภาคีโคแฟค ภาคเหนือ
  • ผศ.ดร.ณภัทร เรืองนภากุล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้/ภาคีโคแฟค ภาคเหนือ

ดาวน์โหลดที่นี่

https://drive.google.com/file/d/11mJcsEw1zYxBds6wb1CGVMDWuoQ4zSWO/view?usp=drivesdk

นำเสนอในงานเสวนานักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 17
How to รับมือปัญหาข้อมูลสับสน/ข่าวสารลวงหลอก
บทเรียนไทยและเทศ

Digital Thinkers Forum #17
How to counter ‘information disorder’ wisely?

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2564
ถ่ายทอดสดผ่านเพจ Cofact โคแฟค, Fnf Thailand และ Ubon Connect

รับชมวิดีโอย้อนหลัง คลิก!

https://www.facebook.com/CofactThailand/videos/603842363921351/

เปิดตัวโคแฟค ทำไมความจริงร่วมจึงสำคัญ

Editors’ Picks

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ธนาคารจิตอาสา มูลนิธิฟรีดิช เนามัน และภาคีเครือข่ายป้องกันและตรวจสอบข่าวลวง จัดงานเสวนานักคิดดิจิทัลครั้งที่ 11 เปิดตัวโคแฟค “ทำไมความจริงร่วมจึงสำคัญ” พร้อมปฐมนิเทศจิตอาสาพัฒนาทักษะด้านเท่าทันสื่อและสุขภาวะทางปัญญารุ่นแรก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3m4oHKT

ขอบคุณที่มา สสส.

สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 29 มิถุนายน 2564


จริงหรือไม่…? Luc Montagnier บอกว่าฉีดวัคซีน covid จะตายใน 2 ปี

ไม่จริง

เพราะ…ออกมาแสดงความกังวลจริง แต่ไม่เคยบอกว่าฉีดแล้วจะตายใน 2 ปี

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/399yui87hcwj5


จริงหรือไม่…? 4 จังหวัดภาคใต้ประกาศปิดล็อกแคมป์แรงงานเป็นเวลา 1 เดือน

จริง

พราะ…เป็นไปตาม มาตรา 9 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 25) บังคับใช้ต้ังแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1h3mg7eva9np3


ริงหรือไม่…? ผู้ประกันตนมาตรา 33 เข้ารับวัคซีนโควิด-19 ไม่รับ Walk In

จริง

เพราะ…สำนักงานประกันสังคมแจ้ง ต้องลงทะเบียน e-service แล้วมาตามนัดเท่านั้น ไม่รับ walk-in เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอน และลดความแออัด หากมีข้อสงสัย ติดต่อสายด่วน 1506 กด 7 เวลา 08.00 – 17.00 น.ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/14imk14dw6a5x