‘ข้อมูลบิดเบือน’เกลื่อนโลกออนไลน์! ‘วาระโลก’ต้องร่วมแก้ไข..หากยังอยากให้‘ประชาธิปไตย’น่าเชื่อถือ

บทความ
เนื้อหาเป็นจริง

Think-Piece by Digital Thinkers
บทความนักคิดดิจิตอล
โดย Windwalk_Jupiter

ในโลกสมัยใหม่ที่ “ประชาธิปไตย” เป็นระบอบการปกครองกระแสหลัก ซึ่งเรียกร้องให้ประชาชน “กระตือรือร้น” เข้าไป “มีส่วนร่วมทางการเมือง” อย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่นิติบัญญัติและบริหารแล้ว ยังต้องคอยสังเกตการณ์รวมถึงท้วงติงเพื่อควบคุมการใช้อำนาจของผู้แทนไม่ให้นอกลู่นอกทาง แต่การที่ประชาชนจะสามารถเลือกคนเข้าไปบริหารประเทศก็ดี การตรวจสอบอำนาจของผู้แทนที่เลือกเข้าไปเป็นสมาชิกรัฐสภาหรือจัดตั้งรัฐบาลก็ดี “การได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง” เป็นเรื่องสำคัญ

MediaSmarts องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา มีภารกิจให้ความรู้และสร้างความตระหนักเรื่องการคิดแบบมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เผยแพร่บทความ Political Disinformation อธิบายว่า ข้อมูลบิดเบือนทางการเมือง สร้างความปั่นป่วนต่อกระบวนการเลือกตั้งที่ถูกคาดหวังว่าควรจะบริสุทธิ์ยุติธรรมได้อย่างไร ดังนี้

1.เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เปราะบางต่อสาร (Reaching an audience that’s vulnerable to the message) มนุษย์นั้นมีสิ่งที่เรียกว่า ความเชื่อ (Belief) และความเชื่อนั้นส่งผลต่อ ความคิด (Thinking) ดังนั้นโฆษณาที่เข้ากับ จริต ของกลุ่มเป้าหมายจะส่งผลอย่างมีประสิทธิภาพมาก ซึ่งการค้นหาว่ากลุ่มเป้าหมายมีจริตหรือความคิด-ความเชื่ออย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องยากในปัจจุบัน ในยุคที่ผู้คนใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ประเภทเสิร์ชเอ็นจิน (Search Engine เช่น Google , Yahoo ฯลฯ) กันเป็นปกติในชีวิตประจำวัน

พรรคการเมืองหรือนายหน้านักโฆษณา (Ad Broker) สามารถนำข้อมูลเป้าหมาย (เช่น ประวัติความเหลื่อนไหวบนสื่อสังคมออนไลน์) มาใช้ออกแบบโฆษณาเพื่อส่งสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกับความเชื่อที่กลุ่มเป้าหมายมี ยิ่งได้ข้อมูลมากเท่าใดโฆษณาที่ออกแบบมาก็ยิ่งส่งผลสะเทือนต่อสู้รับสารมากจึ้นเท่านั้น ที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งกว่านั้นคือการอาศัยกลไก อัลกอริทึม (Algorithm) ของสื่อสังคมออนไลน์ แม้การโฆษณาในช่วงแรกๆ ผู้ต้องการเผยแพร่โฆษณาต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หากมันเข้ายึดกุมจิตใจของผู้รับสารได้ ผู้รับสารก็จะค้นหาข้อมูลที่มีเนื้อหาทำนองเดียวกัน ซึ่งนั่นหมายถึงกระตุ้นให้อัลกอริทึมเรียนรู้ที่จะป้อนเนื้อหาทำนองเดียวกันมาให้เรื่อยๆ บนหน้าฟีดข่าว โดยที่ผู้รับสารไม่ต้องค้นหาเองอีกต่อไป รวมถึงยังช่วยแชร์ไปยังเพื่อนคนอื่นๆ ของผู้รับสารด้วย

แม้แต่เรื่องราวที่ดูประหลาดหลุดโลกที่สุดก็ยังได้ประโยชน์จากกระบวนการนี้ เพราะผู้ที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดเรื่องหนึ่งมักจะเชื่้่อทฤษฎีสมคบคิดเรื่องอื่นๆ ด้วย การค้นหาผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่พร้อมจะรับทฤษฎีดังกล่าวอย่างน้อยสักเรื่องหนึ่งนั้นมีความสำคัญต่อการเผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิดใหม่ๆ ต่อไป (Even the most outlandish stories benefit from this process: because those who believe in one conspiracy theory are likely to believe in others, finding voters who already subscribe to at least one such theory is crucial to spreading a new one.)”

2.กระตุ้นหรือกดผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง (Energizing or suppressing voters) ในอดีตโฆษณาที่มีเนื้อหาของสารแบบ สุดโต่ง (Extreme)” ถูกมองว่าไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเพราะอาจทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเริ่มรู้สึกต้องการความเป็นกลางมากขึ้น แต่ปัจจุบันที่การโฆษณาสามารถส่งสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เนื้อหาประเภทสุดโต่งก็สามารถถูกส่งไปถึงผู้รับสารฝ่ายสนับสนุนขั้วการเมืองของตนที่เป็นบุคคลประเภท หัวรุนแรง (Hardcore)” หรืออีกด้านหนึ่ง อาจส่งไปยังผู้รับสารที่เป็นผู้สนับสนุนคู่แข่งทางการเมือง โดยคาดหวังว่าส่วนหนึ่งเมื่อได้รับสารแล้วอาจตัดสินใจไม่ออกไปลงคะแนนเสียง เป็นการตัดกำลังได้อีกทางหนึ่ง 

และด้วยความที่อยู่ในยุคของสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ที่รับรู้ว่ามีการโฆษณาทำนองนี้จะมีเพียงผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ผู้จ่ายเงินซื้อโฆษณา และผู้รับสารที่ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เท่านั้น จึงเป็นเรื่องยากที่คู่แข่งทางการเมือง หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลการเลือกตั้ง จะติดตาตรวจสอบมและมีมาตรการใดๆ ออกมารับมือ ที่น่ากลัวยิ่งไปกว่านั้น เนื้อหาที่รุนแรงสุดโต่ง ยังไปกระตุ้นให้กลุ่มคนที่คิดเห็นเหมือนกันแข่งกันสุดโต่งมากขึ้นไปอีก

ผลกระทบทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อสมาชิกแชร์ถ้อยคำที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะได้รับการยอมรับและถูกแชร์ต่อไปจากเพื่อนๆ ของพวกเขา และมีภาพสะท้อนในแง่บวกของตนเองในกระบวนการ ตัวอย่างที่โดดเด่นอย่างหนึ่งคือกลุ่มทีแชร์ภาพอาหารบนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างกลไกของอัลกอริทึมกับจริตของมนุษย์ที่ต้องการได้รับความสนใจและการยอมรับ นำไปสู่การแข่งกันโพสต์ภาพของแฮมเบอร์เกอร์ที่ใหญ่เกินกว่าจะกินได้ หรือพิซซ่าที่มีทาโก้อยู่ เมื่อมีคนต้องการขยายขอบเขตออกไปนอกเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ของเขาหรือเธอ วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดวิธีหนึ่งในการบรรลุการดึงดูดใจของมวลชนกลับกลายเป็นการหันไปใช้ความสุดโต่ง

(There is an escalating effect as members avidly share increasingly extreme messages in order to earn endorsements and shares from their friends and reflect positively on themselves in the process. A particularly striking example of this is found among those who share images of food online, where a mix of social network algorithms and human desires for attention and prestige have led people to post pictures of hamburgers too big to eat or pizzas with tacos on them: “When someone wanted to broaden out beyond his or her immediate social networks, one of the most effective ways to achieve mass appeal turned out to be by turning to the extreme.)”

3.ปั่นกระแสให้อยู่ในตำแหน่งมองเห็นได้ง่ายที่สุด (Setting the agenda during breaking news) ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือคลาดเคลื่อน หากถูกแผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางแล้วคนก็จะมักจะเชื้อในเรื่องนั้นมากกว่าเรื่องใหม่ที่ถูกเผยแพร่ตามมาทีหลัง แม้จะมีการพิสูจน์จนหักล้างได้ในเวลาต่อมาก็ตาม บรรดานักสร้างเนื้อหาบิดเบือนจึงพยายามให้เนื้อหาของตนถูกมองเห็นจากผู้คนได้มากที่สุดซึ่งในยุคอินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ก็สามารถทำได้หลายวิธี 

เช่น การอาศัยกลไกอัลกอริทึม การใช้ บอท (Bot)” หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อควบคุมบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ให้ช่วยโพสต์ข้อความปั่นกระแสเรื่องราวที่ต้องการ พร้อมติดแฮชแท็ก (#) จนติดอันดับต้นๆ ของเรื่องราวที่เป็นกระแสมาแรงในขณะนั้น หรือการตั้งกระทู้เรื่องเดียวกันจำนวนมากบนเว็บบอร์ดอย่าง Reddit (เว็บไซต์กระดานสนทนาที่มีแบ่งห้องสนทนาเป็นหมวดตามความสนใจต่างๆ ที่จะมีคนมาตั้งและตอบกระทู้ ซึ่งเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยเว็บไซต์ทำนองเดียวกับ Reddit คือ Pantip.com) 

ดังที่ ศ.ดร.เบรนแดน นีฮาน แห่งวิทยาลัยดาร์ทเมาธ์ เคยกล่าวไว้ว่า ข้อมูลผิดๆ แพร่กระจายอย่างกว้างขวางก่อนที่จะสามารถถูกดาวน์เกรดในอัลกอริทึมได้ ตามผลการค้นหาอันดับต้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มต้นด้วยคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับมุมมองทางการเมืองที่รุนแรง มันสามารถพาผู้คนผ่านโพรงกระต่ายไปสู่จักรวาลแห่งทฤษฎีสมคบคิด ดังที่เห็นได้ชัดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับลีแลนน์ รูป ผู้ก่อเหตุฆาตกรรม 9 ศพ ที่โบสถ์แห่งนึ่งในเซาท์แคโรไลนา หลังจากค้นหาคำว่าอาชญากรผิวดำบนผิวขาว

(As Dartmouth Professor Dr. Brendan Nyhan puts it, misinformation spreads widely before it can be downgraded in the algorithms. Following the top search results, especially when starting with search terms that are associated with extreme political views, can lead a searcher down a rabbit hole into a universe of conspiracy theories, as apparently happened to Dylann Roof, who murdered nine people at a church in South Carolina after searching for the terms black on white crime.)”

4.แหล่งข่าวที่ถูกต้องถูกทำให้ระบาด (Infecting legitimate news) แม้แต่แหล่งข่าวที่ถูกต้องก็อาจถูกนำด้วยอคติได้ทั้งโดยมุมมองของตนเองหรือผู้รับสาร เพื่อให้เรื่องราวดูน่าเชื่อถือแม้ไม่มีการยืนยัน อาทิ ในปี 2559 เว็บไซต์ยูทูปมีผู้เผยแพร่คลิปวีดีโอที่เนื้อหาระบุว่า ฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) มีอาการป่วยที่ไม่เปิดเผย ซึ่งขณะนั้น ฮิลลารี กำลังเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต ลงเลือกตั้ง ปธน. แข่งกับ โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) จากพรรครีพับลิกัน จากคลิปดังกล่าว นำมาซึ่งแฮชแท็ก #hillaryhealth ที่จู่ๆ ก็ได้รับความนิยมในทวิตเตอร์ กระตุ้นให้สื่อมวลชนกระแสหลักต้องไปหาประเด็นเรื่องนี้มาขยายความนำเสนอ แม้จะไม่มีข้อมูลใหม่ก็ตาม

แม้ข้อมูลบิดเบือนที่ถูกแพร่กระจายจะไม่ใช่ข้อมูลเท็จทั้งหมดแต่ก็อาจส่งผลร้ายได้ ดังนี้ กิลัด โลทัน เขียนเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาสื่อสังคมออนไลน์ ในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับฉนวนกาซา ทั้ง 2 ฝ่ายเป็นเท็จในตัวเอง ในทางกลับกัน เรื่องราวที่สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันแต่ละด้านโดยละเว้นรายละเอียดและบริบทที่สำคัญ เมื่้อสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน มันจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้คนถึงสิ่งที่เป็นความจริงอย่างเป็นระบบและลึกซึ้ง

(There can be harmful effects even when the disinformation being spread is not entirely false: as Gilad Lotan writes of his study of social networks during the Israel-Gaza conflict, “neither side… was false per se. Rather, each carefully crafted story on either side omitted important detail and context. When this happens constantly, on a daily basis, it systematically and deeply affects people’s perception of what is real.”)”

Carnegie Endowment for International Peace (CEIP) องค์กรคลังสมองเก่าแก่อายุกว่าร้อยปีในสหรัฐอมเริกา ซึ่งทำงานด้านส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ เผยแพร่บทความ “One Strategy Democracies Should Use to Counter Disinformation” เขียนโดย อลิเซีย วานเลส (Alicia Wanless) ผู้อำรวยการของ Partnership for Countering Influence Operations โครงการหนึ่งใน CEIP ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสิ่งที่ผู้คนเป็นอยู่และสิ่งที่ผู้คนควรจะเป็น รวมถึงการศึกษากระบวนการโฆษณาชวนเชื่อผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2565 ระบุแนวทางที่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยควรใช้เพื่อจัดการกับปัญหาข้อมูลบิดเบือน

1.กำหนดให้ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (ซึ่งรวมไปถึงแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ด้วย) ต้องเปิดเผยรายงานการดำเนินการเพื่อสร้างความโปร่งใส ทั้งวิธีการดำเนินงานของบริษัท การพัฒนานโยบายและการบังคับใช้กฎเกณฑ์ โดยรัฐบาลประชาธิปไตยของประเทศต่างๆ ควรร่วมมือกันเพื่อให้แนวทางนี้ถูกใช้อย่างสอดคล้องกันมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็ไม่จำเป็นต้องรอให้รัฐบาลออกมาตรการมาควบคุม แต่สามารถดำเนินการได้เองที่ไปไกลกว่าการเลือกรายงาน แต่ควรรายงานอย่างครอบคลุม และมีกระบวนการตรวจสอบที่เป็นอิสระ

2.รัฐและเอกชนต้องสนับสนุนการส่งเสริมทักษะ รู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)” ให้ประชาชนเข้าใจการใช้ชีวิตในยุคข้อมูลข่าวสาร 3.เพิ่มการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ โดยให้ทุนสนับสนุนผู้สื่อข่าวอิสระที่นักตรวจสอบข้อเท็จจริง 4.ภาคประชาสังคมต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องให้รัฐและเอกชนในการควบคุมกำกับการดำเนินการของแพลตฟอร์ม ระบุค่านิยมที่ต้องการขับเคลื่อนการแทรกแซงในสภาพแวดล้อมของข้อมูล รวมถึงให้ความรู้กับสังคมเกี่ยวกับกลไกประมวลผล และเผยแพร่สู่วงกว้าง เพื่อสร้างความมั่นใจในแหล่งที่มา เป็นต้น

บทความนี้ยังกล่าวถึงความพยายามขององค์การสหประชาชาติ (UN) ในการยกระดับปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการใช้ความรุนแรงได้ โดยในปี 2564 แอนโตนิโอ กูเตเรส (Antonio Guterres)เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องให้ UN ใช้แนวทาง หลักจรรยาบรรณสากลว่าด้วยการส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริตในข้อมูลสาธารณะ (a global code of conduct that promotes integrity in public information)” กำหนดบรรทัดฐานเชิงพฤติกรรม 

ซึ่งแม้ว่าจะเป็นไปได้ยากที่รัฐบาลจะไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับบิดเบือนข้อมูล แต่ก็สามารถจำกัดวงให้แคบลงได้ เช่น รัฐบาลสามารถประกาศจุดยืนที่จะไม่บิดเบือนข้อมูลว่าด้วยสินค้าและบริการสาธารณะ อาทิ สุขภาพ การศึกษา หรือให้คำมั่นว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเรื่องข้อมูลเท็จกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น UN สภากาชาด หรือองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ โดยมีตัวอย่าง เช่น ในปี 2557 รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ประกาศจะไม่ใช้โครงการฉีดวัคซีนเพื่อรวบรวมข่าวกรอง เป็นต้น 

ในทางกลับกัน ภาครัฐสามารถกระตุ้นให้ภาคเอกชนสนับสนุนชุมชนนักวิจัย (ภาควิชาการ) และภาคประชาสังคม ทั้งด้านการเงินและการแบ่งปันข้อมูล เพื่อพัฒนากฎการแบ่งปันข้อมูลเพื่อควบคุมกระบวนการ เพราะด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงวิธีการทำงานของสภาพแวดล้อมของข้อมูลเท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาแนวทางที่มีความหมายมากขึ้นในการต่อต้านการบิดเบือนข้อมูลเพื่อสนับสนุนหลักการของเสรีภาพจากมลพิษทางข้อมูล

ขณะที่ในปี 2558 องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) แนะนำว่า แม้การให้นิยามของคำว่า “ถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง (Hate Speech)” เป็นไปได้ยาก แต่ก็ยังสนับสนุนให้ภาครัฐพยายามหาคำนิยาม โดยการหารือร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต่อมาในปี 2562 UN ได้เรียกร้องให้สนับสนุนพลเมืองดิจิทัลรุ่นใหม่ มีอำนาจรับรู้ ปฏิเสธ และยืนหยัดต่อต้านถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง 

ส่วนผู้ประกอบการสื่อสังคมออนไลน์ควรปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถปรับปรุงประสบการณ์บนโลกออนไลน์ได้ ดังตัวอย่างของ ทวิตเตอร์ ทดลองใช้โหมดปลอดภัยซึ่งสามารถับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ เพื่อควบคุมให้ผู้ใช้งานลบผู้ติดตามตนออกได้ และแจ้งเตือนเวลาผู้ใช้งานจะโพสต์ข้อความที่มีเนื้อหาสุ่มเสี่ยงละเมิดบุคคลอื่น ขณะเดียวกัน ภาครัฐและผู้ประกอบการควรทำงานกับภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน เพื่อร่วมกันหาแนวทางปรับปรุงกฎระเบียบและการแก้ปัญหาทางเทคโนโลยีให้ดีขึ้น เนื่องจากคนเหล่านี้หลายครั้งคือเป้าหมายของการถูกละเมิด

หรือหากย้อนไปในปี 2524 UN มีปฎิญญาฉบับหนึ่งที่สาระสำคัญคือเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ลดการใช้โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เพื่อหาข้ออ้างทำสงครามรุกรานประเทศอื่น ซึ่งอาจนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการต่อต้านการบิดเบือนข้อมูลได้ เนื่องจากการสร้างอิทธิพล (Influence) ที่ไม่ได้รับการยอมรับมักพบความพยายามปกปิดหรือบิดเบือนแหล่งที่มาของข้อมูล การพิจารณาในประเด็นนี้จะนำมาซึ่งความชัดเจนเกี่ยวกับระดับอิทธิพลที่ยอมรับได้และไม่เป็นที่ยอมรับ

ประชาธิปไตยควรมีส่วนร่วมและสนับสนุนภาคประชาสังคม ทั้งที่เป็นภาควิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) เพื่อช่วยกำหนดพฤติกรรมเชิงบรรทัดฐานเหล่านี้ กระบวนการของผู้มีส่วนได้-เสียทุกฝ่ายควรนำมาซึ่งการอภิปรายอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับบทบาทของอิทธิพลในสังคม ซึ่งผู้มีบทบาทสามารถมีส่วนร่วมในการอภิปรายสาธารณะได้อย่างถูกต้อง รวมถึงส่วนที่ชี้ให้เห็นถึงจุดที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยถูกกัดเซาะจนไม่สามารถตัดสินใจอย่างเป็นอิสระอยู่บนข้อมูล ซึ่งเป็นรากฐานความชอบธรรมของประชาธิปไตย

รัฐประชาธิปไตยต้องดำเนินการในขณะนี้เพื่อช่วยชี้นำองค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการต่อต้านการบิดเบือนข้อมูล ร้องขอข้อเสนอเพิ่มเติมจากภาคประชาสังคมในวงกว้างมากขึ้นในการทำเช่นนั้น และท้ายที่สุดก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงหลักการชี้นำว่าควรควบคุมสภาพแวดล้อมของข้อมูล (Information Environment) อย่างไร!!!

-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-

อ้างอิง

https://mediasmarts.ca/digital-media-literacy/digital-issues/authenticating-information/impact-misinformation-democratic-process/political-disinformation (Political Disinformation) : MediaSmarts)

https://carnegieendowment.org/2022/03/28/one-strategy-democracies-should-use-to-counter-disinformation-pub-86734 (One Strategy Democracies Should Use to Counter Disinformation : CEIP)