Digital Enlightenment Series ที่ clazy cafe
สวัสดีครับ วันนี้แอดมินขอนำเนื้อหาสรุปงานแรกของโปรเจ็ค Digital Enlightenment Series ที่ clazy cafe ได้ร่วมมือกับ Cofact โคแฟค กับงาน “เรื่องเล่า อำนาจ โฆษณาชวนเชื่อ เพื่อคน….1%”
โดย
คุณฉัตรชัย พุ่มพวง Co-founder เพจพูด
คุณชูเวช เดชดิษฐรักษ์ เจ้าหน้าที่กระบวนกร Actlab
ขอสรุปประเด็นและสาระสำคัญของงานเป็นข้อๆ ให้ชาว Clazy Cafe ทุกๆ ท่านนะครับ
1 “โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda)” คือ รูปแบบการสื่อสารที่มีเป้าหมายหลักเพื่อโน้มน้าวให้ผู้รับสารปฏิบัติตามที่ผู้ผลิตสื่อต้องการ เพื่อผลักดันเป้าหมายทางการเมือง ซึ่งอาจไม่เป็นความจริง ซึ่งโฆษณาชวนเชื่อนั้น อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด อาจแทรกได้อยู่ทั้งกับสินค้า ธุรกิจ บริการต่างๆ สื่อต่างๆ ไปจนถึงการปลูกฝังทัศนคติ วัฒธรรมและการรับรู้ทางการเมืองด้วย
ลักษณะของโฆษณาชวนเชื่อมีดังนี้ครับ
1
- สิ่งที่ได้ไม่ตรงปก
- ไม่เห็นผลตามที่โฆษณาไว้
- ทำไม่ได้ตามที่หาเสียง
- มีความจริงแค่บางส่วน
- พูดให้เข้าใจผิด
- พูดแต่ด้านดีๆ
-แฝงแรงจูงใจทางธุรกิจและการเมือง - มีอคติ เป็นต้น
2 เทคนิคโฆษณาชวนเชื่อมีมากถึง 14 แบบ สรุปสั้นๆ คือ
- การใช้คำขวัญ (Slogans) ใช้คำขวัญสั้น ๆ ที่จำง่าย เพื่อสื่อสารข้อความ
- การใช้สัญลักษณ์ (Symbols and Imagery) ใช้สัญลักษณ์ที่มีความหมายเชิงบวกหรือเชิงลบเพื่อสร้างความเชื่อ
- เกาะกระแส (Bandwagon) ชักชวนให้ ผู้คนเข้าร่วมกับสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะได้รับความนิยม เพื่อสร้างความรู้สึกว่าทุกคนกำลังทำสิ่งนี้
- การใช้เหตุผลแบบเข้าข้างตัวเอง (Card Stacking) นำเสนอข้อมูลที่มีแต่ด้านบวกของฝ่ายตน
- การกล่าวหาฝ่ายตรงข้าม (Name Calling) ใช้คำที่มีความหมายเชิงลบ เพื่อทำให้ฝ่ายตรงข้ามดูแย่
- การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง (Testimonials) ใช้คำพูดหรือการสนับสนุนจากบุคคลที่มีชื่อเสียงเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
- การใช้คำพูดที่มีความหมายเชิงบวก (Glittering Generalities)โดยไม่มีรายละเอียด เพื่อทำให้ผู้ฟังรู้สึกดีและสนับสนุน
- การใช้ความหวาดกลัว (Fear) สร้างความกลัวเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนทำตามที่ต้องการ
- การใช้ข้อมูลที่บิดเบือน (Disinformation) การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเพื่อสร้างความเชื่อที่ผิดพลาด
- การใช้การซ้ำ (Repetition) นำเสนอข้อความเดียวกันซ้ำๆ เพื่อทำให้ข้อความนั้นฝังอยู่ในความคิดของผู้ฟัง
- การสร้างความเป็นทางเลือกเดียว (False Dilemma) การนำเสนอว่าเหลือเพียงทางเลือกเดียว เพื่อบังคับให้ผู้คนเลือกสิ่งที่ต้องการ
- การใช้ความเป็นบุคคลธรรมดา (Plain Folks) ทำให้ดูเหมือนว่าข้อความนั้นมาจากบุคคลธรรมดา เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับผู้ฟัง
- การโยกย้ายความหมาย (Transfer) ใช้ความเชื่อหรืออารมณ์ที่เกี่ยวข้องมาสื่อถึงสิ่งอื่นเพื่อสร้างความเชื่อมโยง
- การทำให้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ (Scarcity) ชักจูงให้เชื่อว่าบางสิ่งบางอย่างมีจำนวนจำกัด เพื่อกระตุ้นความต้องการ
3 องค์ประกอบสำหรับวิเคราะห์โฆษณาชวนเชื่อ
การรู้เท่าทันสื่อนั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เราไม่ถูกตกเป็นเครื่องมือของการชักจูงผ่านโฆษญาชวนเชื่อทั้งกับตัวเราเองและกับผู้คนรอบๆ ตัว เพราะฉะนั้นเราควรพิจารณาสื่อที่ได้รับ โดยวิเคราะห์องค์ประกอบ ดังนี้
Sender : ผู้จ้างผลิต หรือ ผู้เผยแพร่
Message : เนื้อหาเป็นอย่างไร และใครได้ประโยชน์หรือ ผู้เสียประโยชน์จากเนื้อหาดังกล่าว
Channel : วิธีการรับรู้ + ช่องทาง + เทคนิคโฆษณาชวนเชื่อ (เรารับสารจากช่องทางใด และผู้ผลิตใช้เทคนิคโฆษณาชวนเชื่อแบบใด)
Receiver : กลุ่มเป้าหมาย + พฤติกรรมที่คาดหวัง + ผลกระทบที่เกิดขึ้น (ใครคือกลุ่มเป้าหมายและผู้ผลิตคาดหวังอะไรและอาจมีผลกระทบอย่างไร)
หากมีข้อสงสัยสามารถคอมเมนต์สอบถามใต้โพสต์นี้ได้เลยนะครับ แอดมินฝากกดไลก์และแชร์บทความนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนที่คุณห่วงใยนะคร้าบ
ที่มาข้อมูล
https://www.facebook.com/share/p/psaCudDXqxkfE7c4/?mibextid=qi2Omg