กินหมูกระทะไม่แยกตะเกียบเสี่ยงโรคไข้หูดับจริงหรือไม่?

  หมูกระทะ อาหารยอดฮิตของคนไทยที่หากินได้ง่าย และหลายคนคงไม่ได้แยกตะเกียบที่ใช้คีบหมูดิบ อาหารทะเล เครื่องในต่างๆที่อยู่ในภาชนะเดียวกัน จริงหรือไม่ถ้าไม่แยกตะเกียบคีบหมูกระทะเสี่ยงเป็นโรคไข้หูดับ

โรคไข้หูดับ เกิดจากการกินเนื้อหมู หรือเลือดหมูสุกๆ ดิบๆ ที่มีเชื้อสเตปโตค็อกคัส ซูอิส  (Streptococcus suis) ปนเปื้อนอยู่ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อผ่านทางบาดแผล รอยถลอก และทางเยื่อบุตาได้ 

อาการของโรคไข้หูดับ เริ่มต้นจากมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว หูหนวกหรือการได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลัน ภายใน 24 ชั่วโมง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจลุกลามถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นพิษต่ออวัยวะต่าง ๆ จนเสียชีวิต ซึ่งหากไม่แยกตะเกียบที่คีบหมูดิบย่างบนกระทะและตะเกียบที่ใช้คีบหมูเข้าปากอาจทำให้ได้รับเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้ 

กินหมูกระทะให้ปลอดภัย เพียงแค่ใส่ใจกับ “ความสะอาด”  

  • เลือกใช้ตะเกียบคีบเฉพาะ 
  • ก่อนรับประทาน หมู เนื้อ หมึก กุ้ง ต้องลวกนาน 5-10 นาทีให้สุก 
  • รับประทานแค่เนื้อสุก เพื่อความปลอดภัย  
  • ล้างมือด้วยสบู่ก่อนหยิบอาหาร และ หลังเข้าห้องน้ำ  

ดังนั้น การกินหมูกระทะแบบไม่แยกตะเกียบจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไข้หูดับ

(ข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข / สสส. / กรมควบคุมโรค)

Cofact

https://cofact.org/article/3bia5pr7fz8d3

Banner