“เคยมีตัวอย่างที่มีสำนักข่าวมีการทดลองสร้างรูปประกอบโดยใช้ AI ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่ามีกฎเกณฑ์ทำอย่างไร ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจาก AI สร้างมาแบบไม่สมบูรณ์ มีจุดที่ทำให้สามารถจับผิดได้ง่าย รู้ว่าไม่ใช่ภาพจริง จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าสร้างภาพนี้โดยสร้างขึ้นจาก AI แต่ไม่บอกผู้ชม-ผู้ฟัง ซึ่งเป็นประเด็นที่เคยพูดคุยกัน” ชวรงค์ กล่าว
“ที่ผ่านมาสื่อมวลชนถูกกำกับด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลกันเอง ดังนั้นสื่อมวลชนจึงมีโอกาสในการทำงานร่วมกันได้อย่างรวดเร็วเพื่อปกป้องสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลที่เชื่อถือได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าสื่อมวลชนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบฝ่ายเดียวเท่านั้น เพราะจำเป็นต้องกำกับดูแลผู้ให้บริการ AI และ Social Media ด้วยเช่นกัน แต่สำนักข่าวยังทำหน้าที่ของตัวเองได้และดำเนินการในฝั่งของตนได้จึงเป็นเหตุผลที่ RSF ได้ริเริ่มกฎบัตรปารีสว่าด้วย AI และงานข่าวและสื่อสารมวลชน” ผู้แทน RSFกล่าว
“สำหรับการทำงานของสื่อมวลชน อาจจะต้องมีข้อกำหนดอะไรบางอย่างว่า AI ไม่ควรจะสร้างอะไรที่นอกเหนือจากสิ่งที่เขาหาไม่ได้ซึ่งจะเป็นการช่วยงานสื่อเบื้องต้นการเป็นสื่อมวลชนต้องนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และเป็นหลักการที่ก็ยึดหลักปฏิบัติมานานแล้วไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ AI การนำเสนอข้อเท็จจริงจะช่วยทำให้สื่อมีความน่าเชื่อถือ” ชุตินธรา กล่าว
ชนิดา จันทเลิศลักษณ์ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์กล่าวว่า สนับสนุนกฎบัตรปารีสในเรื่องการให้อำนาจของมนุษย์ที่อยู่เหนือ AI เพราะการทำงานของกองบรรณาธิการ สุดท้ายการตัดสินใจหรือการกำหนดวาระข่าวยังเป็นเรื่องของบรรณาธิการที่มีทั้งประสบการณ์และมีความมั่นใจในการหยิบแหล่งข้อมูลแรก (First Source Data) มาใช้ก่อนที่จะใช้ AIมาช่วยสนับสนุน จึงเห็นว่าเป็นโอกาสดี เมื่อมี AI เข้ามา ซึ่งเป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนการทำงาน อำนาจของมนุษย์ไม่ว่าบรรณาธิการหรือนักข่าวจะมีความสำคัญมากขึ้น
“First Source Data(แหล่งข้อมูลแรก) มีความสำคัญมาก อย่างไม่นานนี้ Open AI ก็ถูก New York Times ฟ้องในเรื่องของการละเมิด คือเขาเชื่อว่ามีการหยิบเอาเนื้อหาบางส่วนเพื่อมาให้ AI เรียน แต่สุดท้ายแล้ว Open AI ก็กลับกลับไปซื้อข้อมูลของ Times สะท้อนให้เห็นความสำคัญของ First Source Data ในงานข่าวและสื่อสารมวลชน ดังนั้นยิ่งตอกย้ำให้มีความมั่นใจยิ่งขึ้นว่าการแยกระหว่างเนื้อที่เป็น First Source Dataที่มีการตรวจสอบแล้ว ค่อยใช้เครื่องมือมาสร้าง หรือช่วยในการเล่าเรื่อง”ชนิดา กล่าว
ทั้งนี้ โดยส่วนตัวมองว่าประเทศไทยหรือสื่อไทยยังไม่มีความพร้อม อีกทั้ง Big Data ที่จะมาให้ AI ใช้ก็ยังไม่มี เคยไปอบรมการใช้ AI เข้ามาช่วยงานอยู่หลายครั้ง แต่เมื่อลองใส่คำสั่งลงไปก็พบว่า AI ทำออกมาผิดค่อนข้างมาก ดังนั้นหากคนที่ใช้งาน AI เชื่อทั้งหมดจะมีโอกาสผิดพลาดสูง อย่างตนเคยเป็นบรรณาธิการ มีประสบการณ์จะรู้ว่าข้อมูลนั้นถูกหรือผิด แต่คนรุ่นใหม่ๆ ที่ยังสะสมข้อมูลมาน้อยแล้วนำ AI มาใช้ ความวุ่นวายจะเกิดขึ้นอย่างมากซึ่งปัจจุบันจะมีคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้เป็นนักข่าวหรือผู้ผลิตเนื้อหา พบว่าใช้และเชื่อ AI อย่างมาก โดยไม่รู้ด้วยว่าจะได้รับข้อมูลผิดๆ
10.30 – 11.00 น. Keynote Next levels to counter fraud & deepfake: What’s else should we act? โดย Dr. Joshua James Regional Counter-Cybercrime Coordinator United Nations Office on Drugs and Crime
11.30 – 12.30 น. เสวนานักคิดดิจิทัลในหัวข้อ “ Next levels to counter fraud & deepfake: What’s else should we act? ยกระดับรับมือมิจจี้ภัยการเงิน จากพลเมืองเท่าทันสู่นโยบายสาธารณะในยุคดีพเฟค” โดย
แต่ก็มี “ด้านลบ” เช่น การสูญเสียงาน อคติในการนำเสนอข้อมูล ยังมีความเสี่ยงในเรื่องความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล หรือแม้แต่การพึ่งพา AI มากเกินไปจนขาดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทั้งนี้ มีข้อมูลซึ่งพบว่า ในแต่ละปีที่ผ่านไป คนที่สนใจเรื่อง AI มีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีความกังวลเรื่องจริยธรรม เรื่องความถูกต้องเพิ่มขึ้นมากด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในปี 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ Chat GPT เริ่มเข้ามา เพราะการใช้ AI ไม่ได้อยู่แต่ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อีกต่อไป แต่เผยแพร่สู่คนทั่วไปด้วย
Screenshot
รศ.พิจิตราศุภสวัสดิ์กุลนักวิชาการอิสระfounder Spectrum Podcast กล่าวว่า หากถามว่า AI ประเทศไทยอยู่ในระดับไหน โดยส่วนตัวยังคิดว่าเป็นเพียงผู้ใช้งาน (User) คือไปนำโปรแกรมสำเร็จรูปจากต่างประเทศมาใช้ ซึ่งหนึ่งในเรื่องที่เป็นกระแสความน่ากังวลในยุคนี้คือปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (Gen AI) ที่มนุษย์สร้างข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตไม่ว่าเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ กลายเป็นฐานข้อมูลที่ถูกนำเข้าไปใช้ในกระบวนการเรียนรู้ของ AI เพื่อใช้ตอบคำถามต่างๆ ที่ถูกป้อนเข้าไปภายหลังจากนั้นได้
ดังนั้นเมื่อพูดถึง AI จึงมีหลายแบบ ทั้งที่เป็นอัลกอริทึม ทั้งที่อยู่ใน Internet of Things อยู่ในสิ่งของต่างๆ ที่สามารถเรียนรู้เพื่อทำนายหรือควบคุมการเข้าถึงการทำงานได้ แต่สิ่งที่กำลังตื่นตูมกันในวงการข่าว คือ Gen AI เพราะปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างได้ทั้งภาพและตัวอักษร แน่นอนว่าย่อมกระทบกับอุตสาหกรรมสื่ออย่างชัดเจน เช่น ข้อมูลลวง เพราะมีเทคโนโลยีอย่างดีพเฟคเกิดขึ้น คือนำใบหน้าของคนมีชื่อเสียงมาตัดต่อการขยับปาก เหมือนกับบุคคลนั้นมาพูดกับเรา ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวล
อีกประการหนึ่งคือเรื่องของลิขสิทธิ์ (Copyright) เพราะ AI ใช้งานโดยการป้อนข้อมูลเข้าไป ซึ่งปัจจุบันหลายบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ AI เช่น Chat GPT หรือ Gemini สิ่งที่บริษัทเหล่านี้ต้องการคือข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อไม่ให้ AI ของบริษัทตนเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง แต่สำหรับองค์กรสื่อเรื่องนี้นอกจากข้อกังวลแล้วยังมีโอกาสอยู่ด้วย เช่นในต่างประเทศที่บริษัทผู้พัฒนา AI มักถูกสำนักข่าวฟ้อง นำไปสู่การเจรจากันระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย โดยสำนักข่าวที่มีข้อมูลดีๆ ก็สามารถขายลิขสิทธิ์การใช้ข้อมูลให้บริษัทผู้พัฒนา AI นำไปใช้ได้
“มีภาพที่ได้รางวัลจากการใช้ AI สร้างขึ้น เจ้าของภาพที่ Gen AI จะอ้างลิขสิทธิ์เวลาที่มีการนำไปใช้ อันนี้อ้างไม่ได้เพราะศาลสหรัฐอเมริกาบอกว่า Too much Machine , Less Human คือแปลว่าใช้เครื่องจักรเยอะกว่าสมองคน คนไม่ค่อยทำอะไรแล้วจะมาอ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพได้อย่างไร อันนี้เป็นเรื่องของลิขสิทธิ์ที่ยังสู้กันอยู่ว่าท้ายสุด Input (ข้อมูลที่ถูกป้อน) เข้าโปรแกรม AI ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสำนักข่าว เจ้าของลายเส้นภาพการ์ตูนต่างๆ Output (ข้อมูลผ่านการผลิตออกมา) เมื่อGen AI แล้วใครเป็นเจ้าของ คนที่ทำขึ้นมา หรือบริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มที่ทำให้เกิดการ Gen AI แล้วได้เงินจากการเอาภาพนี้ไปใช้”รศ.พิจิตรา กล่าว
Screenshot
ศิริลักษณ์รุ่งเรืองกุลดิษฐ์นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการกองลิขสิทธิ์กรมทรัพย์สินทางปัญญากล่าวว่า กฎหมาย AI ของสหภาพยุโรป เพิ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2567 มีการแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 4 ระดับ ตั้งแต่ 1.ความเสี่ยงที่ยอมรับไมได้ หมายถึงห้ามใช้ AI ในเรื่องเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง เช่น การให้คะแนนทางสังคม (Social Scoring) 2.ความเสี่ยงสูง ต้องมีการประเมินโดยบุคคลที่ 3 ที่เป็นกลางและได้รับการรับรอง เช่น การใช้ AI ที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค การศึกษา การจ้างงาน 3.ความเสี่ยงจำกัด ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล เช่น โปรแกรมแชตบอทต่าง ๆ ซึ่งอ้างอิงลิขสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลนั้น และ 4.ความเสี่ยงน้อยที่สุด ไม่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัด เช่น AI ในเกม ขณะที่ในประเทศจีน มีกรณีศึกษาที่มีคนใช้ AI สร้างภาพขึ้นมาแล้วศาลตัดสินให้เจ้าตัวเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพนั้น โดยอธิบายว่าผู้ใช้ AI คนดังกล่าวมีการปรับถ้อยคำที่ใช้เป็นคำสั่งให้ AI สร้างภาพขึ้นมาอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า แสดงถึงการเลือกอย่างมีสุนทรียศาสตร์และมาจากวิจารณญาณส่วนตัวของผู้ใช้ AI เอง
ด้านสหรัฐฯ สำนักงานลิขสิทธิ์ (USCO) เผยแพร่“Guidance on Copyright registration involving made crafted by Artificial Intelligence” เป็นแนวทางการจดแจ้งลิขสิทธิ์ที่เกิดจาการสร้างสรรค์ของ AI หมายถึง ณ ปัจจุบันงานที่ใช้ AI ทำขึ้นยังไม่สามารถจดแจ้งลิขสิทธิ์ได้ แต่หากเป็นงานที่ใช้ทั้ง AI และมนุษย์ทำขึ้นก็ต้องระบุให้ชัดก่อนจดแจ้งลิขสิทธิ์ โดยจะรับจดแจ้งเฉพาะในส่วนที่ใช้ AI ทำเท่านั้น ส่วนกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย คือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ก็จะอ้างอิงแนวทางของสหรัฐฯ
โดยสาระสำคัญคือ “จริยธรรมของงานข่าวและสื่อมวลชนต้องเป็นแนวทางของสื่อในการใช้เทคโนโลยี” หมายถึงจริยธรรมดั้งเดิม เช่น ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ความเป็นธรรม-เป็นกลาง ฯลฯ ยังเป็นเรื่องสำคัญแม้จะนำ AI มาใช้ นอกจากนั้น การผลิตเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบต้องมีมนุษย์ทำด้วยทุกขั้นตอน โดยมี AI เป็นเพียงตัวช่วยเท่านั้น อย่างเมื่อเร็วๆ นี้ เห็นสำนักข่าวอัลจาซีรารายงานข่าวเพจเจอร์ระเบิดที่เลบานอน แม้จะใช้ AI ช่วยทำภาพประกอบ แต่ก็มีการระบุไว้ด้วยว่าข่าวชิ้นนี้มีใครทำหน้าที่อะไรในขั้นตอนใดบ้าง จะเป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติได้
ระบบ AI ที่ใช้ในงานสื่อต้องประเมินอย่างเป็นอิสระก่อนใช้งาน และสื่อต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่เผยแพร่เสมอ จะบอกว่าเป็น AI ทำขึ้นไม่ได้ แต่เรื่องนี้ก็เป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เช่น คลิปเสียงหรือคลิปวีดีโอ หากเป็นของจริงก็อาจถูกอ้างว่าใช้ AI ทำขึ้น ในทางกลับกันหากใช้ AI ทำขึ้นก็อาจถูกนำไปอ้างว่าเป็นของจริง แล้วสื่อจะพิสูจน์อย่างไร ใครจะเป็นคนตัดสิน สื่อก็จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ได้ว่าสามารถรายงานบนฐานที่คนเชื่อถือได้