Cofact Live Talk กับ หน้าที่สื่อไทยยุคโควิด ควรนำเสนอความจริง สร้างความรู้เท่าทันให้กับประชาชน

บทความ
เนื้อหาที่ทำให้เข้าใจผิด

29 มิ.ย. 2020
โดย สุชัย เจริญมุขยนันท

Cofact Live Talk กับ หน้าที่สื่อไทยยุคโควิด-19 ควรนำเสนอความจริง สร้างความรู้เท่าทันให้กับประชาชน

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 63 Cofact Thailand จัด Cofact Live Talk EP.4 “นักข่าวและนักวิทยาศาสตร์ ต่างกันตรงไหนในยุคโควิด-19 รีวิวโรคระบาดข้อมูลข่าวสารในรอบ 6 เดือน กับวงการ Fact Checkers ไทยและเทศ” เพื่อหาร่วมหาคำตอบของความเหมือนในความต่าง ความท้าทายของข่าวลวง เผยแพร่ทางเพจ Cofact และ UbonConnect

พีรพล อนุตรโสตถิ์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย เผยว่า ภาพรวมของข่าวลวงในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกต้องยอมว่าในภาวะวิกฤตข่าวลวงถูกสร้างและแพร่ระบาดออกมาในทุกประเทศอย่างรวดเร็ว โดยบางเนื้อหาถูกดัดแปลงข้อมูลให้มีสอดคล้องกับวัฒนธรรมหรือบริบทของภูมิประเทศนั้น โดยยกตัวอย่างเช่น พืช สมุนไพรหรืออาหาร ที่สามารถรักษาโรคโควิด-19ได้ และนอกจากนี้ในช่วงแรกของการระบาดเชื้อโควิด-19 การส่งต่อข้อมูลยอดผู้ติดเชื้อหรือพื้นที่ที่มีผู้ป่วยเป็นข้อมูลที่ได้ถูกรับความสนใจเป็นอย่างมากผู้คนส่งต่อข้อมูลกันการอย่างรวดเร็ว

และเมื่อเกิดการระบาดของโรคอุบัติใหม่สิ่งที่ตามและต้องระวังคือเรื่องของ Hate Speechและการตีตรา โดยผู้ติดเชื้อโควิด-19 หลายคนถูกคนในสังคมรังเกียจและตีตรา ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมีผลกระทบทางด้านจิตใจของผู้ติดเชื้อ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องใช้เวลานานในการปรับตัวรักษาสภาพจิตใจและส่วนคนในสังคมต้องสร้างความเข้าใหม่ถึงการเกิดโรคระบาดอุบัติใหม่

ซึ่งหน้าที่ Fact Checkers เป็นหน้าที่สำคัญที่ทุกคนต้องช่วยกัน แต่ทั้งนี้หากนักสื่อสารมวลชนหรือนักข่าวสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องราวนั้นๆ ก็จะส่งผลให้การทำงานและการรายงานข่าวมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประชาชนได้รับข้อมูลที่เป็นจริงลดการสร้างความเข้าใจผิดในสังคม

ส่วนการรายงานข่าวในช่วงนี้ภาวะวิกฤตนี้ถือว่าเป็นเวลาที่ดีของสื่อมวลชนและนักวิทยาศาสตร์ที่จะมีพื้นที่และร่วมสื่อสารสร้างกรอบความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ทำให้ประชาชนเข้าใจประเด็น,สถานการณ์และเกิดองค์ความรู้ใหม่ติดตัวประชาชน ซึ่งองค์ความรู้ใหม่จะเป็นความรู้ที่ประชาชนสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ในอนาคตภายภาคหน้า

ด้าน สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งcofact ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันเห็นได้ว่าประเทศไทยสื่อมวลชนทำหน้าที่นำเสนอเรื่องราวไสยศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์ ซึ่งในช่วงการเกิดโรคระบาดสื่อไทยก็ทำหน้าที่รายงานข้อมูลได้ดี แต่ในเรื่องอื่นๆสื่อไทยยังคงนำเสนอเนื้อหาเร้าอารมณ์ส่งเสริมความเชื่อ โดยยอมรับว่าสื่อบนออนไลน์นั้นสามารถควบคุมเนื้อหาได้ยากกว่าสื่อโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ ซึ่งเวลาแล้วที่สื่อมวลชนไทยจะต้องเริ่มหันหน้าพูดคุยกันเพื่อหาทางออกและแก้ไขปัญหาเหล่านี้

ต่อมาที่ประเด็น Fact Checkers ใครๆก็เป็นได้ พีรพล อนุตรโสตถิ์ เสริมว่า หากประชาชนจะเริ่มตรวจสอบข้อมูลควรเริ่มต้นที่ตนเองด้วยการตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อมูลก่อนส่งต่อให้ผู้อื่น ซึ่งหากข้อมูลผิดพลาดตนเองต้องมีส่วนรับผิดชอบกับการส่งต่อข้อมูลนั้น ดังนั้นทักษะที่ประชาชนต้องมีคือทักษะการสงสัย เพราะเมื่อเกิดการสงสัยจะนำไปสู่การตรวจสอบข้อมูล โดยการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกต้องใช้ความรู้เฉพาะด้าน ดังนั้นการตรวจสอบข้อมูลต้องใช้เวลาสะสมความรู้ในระยะยาว

ส่วนอนาคตทิศทางของFact Checkersในประเทศไทย สื่อมวลชนหรือองค์กรต่างๆ ต้องลุกขึ้นมาสร้างความรู้เท่าทันให้กับภาคประชาชน โดยโควิด-19 เป็นสถานการณ์ตัวอย่างทดสอบการเปิดรับข่าวสารความรู้อย่างถูกต้อง ซึ่งประชาชนจะเริ่มได้เห็นภาพสะท้อนจากสถานการณ์นี้

อย่างไรก็ตามหากมีหลายฝ่ายเข้ามาช่วยเหลือเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงจะถือว่าเป็นสิ่งที่ดีประชาชนมีพื้นที่และส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นประชาชนต้องทำความเข้าใจกับเนื้อหาข้อมูลก่อน หากประชาชนเข้าใจข้อมูลข่าวสารแล้วสามารถตรวจสอบเนื้อหาเองได้ระดับหนึ่งก็จะเป็นการช่วยลดการส่งต่อข่าวปลอมได้อย่างดี

ขอบคุณที่มา https://www.77kaoded.com/news/suchai/1764757

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

สุชัย เจริญมุขยนันท
ผู้สื่อข่าวจังหวัดอุบลราชธานี
นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : suchaiubon@gmail.com F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS