สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 22 พฤษภาคม 2564


จริงหรือไม่…? คนไม่ฉีดวัคซีนต่อไป จะทำอะไรจะกลายเป็นอุปสรรค กลายเป็นบุคคลต้องห้ามของสังคม

ไม่จริง

เพราะ…ตามประกาศ ศบค. ยังไม่มีข้อความระบุว่าหากบุคคลใดไม่ฉีดวัคซีนโควิด-19 จะถือเป็นบุคคลต้องห้ามข้องสังคมแต่อย่างใด

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/y6urvy27jwah


จริงหรือไม่…? ลงทะเบียนขอรับ วัคซีนโควิด 19 ของไฟเซอร์

ไม่จริง

เพราะ…ไฟเซอร์ยังไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับ อย. และยังไม่มีการนำเข้าไทย

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/s7ubun7zpkl4


จริงหรือไม่…? รัฐบาลวางแผนเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ จากแผนเดิม 4 ระยะรับคนไม่ติดโควิด

จริง

เพราะ…เป็นไปตามแนวทางการเปิดประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยว นำเสนอโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/10145rs5l9xzf


จริงหรือไม่…? ศบค. ยืนยัน ไทยพบเชื้อ โควิด19 สายพันธุ์อินเดีย จำนวน 15 คน ที่แคมป์คนงานหลักสี่

จริง

เพราะ…ขณะนี้อยู่ในการดูแลของเจ้าหน้าที่ พร้อมควบคุมไม่ให้เดินทางข้ามเขตระหว่างแคมป์คนงาน และจัดระเบียบชุมชนควบคุมการแพร่ระบาด

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/16rw7242ni32a


จริงหรือไม่…? ธุรกิจประกันวินาศภัยชวนคนไทย แจกฟรีประกันแพ้วัคซีน 11.5 ล้านสิทธิ์

จริง

เพราะ…ประชาชนสามารถเลือกลงทะเบียนรับสิทธิ์ฟรี ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการฯ ตามระยะเวลาที่กำหนด

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/3ui6uscv3mzwx


จริงหรือไม่…? การฉีดวัคซีนสำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาไทยที่มีกำหนดเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ

จริง

เพราะ…ศบค. มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และจุฬาฯ ดำเนินการฉีดวัคซีนให้กลุ่มนักเรียน/นักศึกษาดังกล่าว

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/vwi51oox9a3m


จริงหรือไม่…? ข้อควรพิจารณา การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

จริง

เพราะ…เป็นข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ที่มีการเผยแพร่ของข้อมูลนี้บนเว็บไซต์.

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/wx5xo9pp7vuu


จริงหรือไม่…? คำแนะนำเกี่ยวกับการรับวัคซีนโควิด 19 สำหรับผู้ป่วยจิตเวชและญาติ โดยราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

จริง

เพราะ…เป็นกลุ่มที่ควรรับวัคซีนเร่งด่วน และยินยอม

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/woqe0w9xiaqr


จริงหรือไม่…? เฮลิคอปเตอร์ของอุทยานแก่งกระจาน ถูกยิงขณะบินสำรวจ การบุกรุกป่า

จริง

เพราะ…เหตุเกิดเมื่อวันที่ 19 พ.ค.64 ที่ผ่านมา อยู่ระหว่างการตรวจสอบ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/raoyjp3wmdr0


จริงหรือไม่…? ประเทศ “ญี่ปุ่น” เพิ่มมาตรการห้ามชาวต่างชาติจากไทย และอีก 6 ประเทศเข้าญี่ปุ่น

จริง

เพราะ…วันที่ 19 พ.ค. ญี่ปุ่นประกาศห้ามชาวต่างชาติเข้าประเทศเพิ่มเติม โดยเพิ่มประเทศไทย กัมพูชา ศรีลังกา เซเชลส์ เซนต์ลูเซีย ติมอร์ตะวันออก และมองโกเลีย เข้าประเทศ รวมเป็น 159 ประเทศ

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/16unlmf4az9gc


จริงหรือไม่…? กระทรวงการคลัง เสนอร่างพ.ร.ก.เงินกู้ 7 แสนล้านบาท

จริง

เพราะ…เพื่อใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ที่รุนแรงเกินคาด ขณะที่ พ.ร.ก.กู้เดิม เหลือไม่มาก

อ่านต่อได้ที่ https://cofact.org/article/w522nvui3lyf


จริงหรือไม่…? เชียงรายยกระดับ มาจาก 4 จังหวัด ต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือใบตรวจโควิด

จริง

เพราะ…ผู้มาจาก กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ หากเข้าพื้นที่เชียงราย ต้องมีผลการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด19

อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/vedcfogz5lo7

5 ข่าวลวง #โควิด19 วนซ้ำกี่รอบ คนก็(ไม่)เบื่อ

ใครคือทางออกวิกฤติข่าวสารเรื่องวัคซีนโควิด?

Editors’ Picks
เนื้อหาเป็นจริง

“…รัฐ ภาคประชาชน และสื่อมวลชน คือทางออกวิกฤตข่าวสาร ที่จะร่วมกันทำให้ไทยผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ โดยรัฐต้องเปิดเผย ใจกว้าง และต้องทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง ขณะที่สื่อควรจะนำเสนอข่าวอย่างครบถ้วนรอบด้าน สำหรับภาคประชาชนนั้น ขออย่ามีอคติต่อการรับข่าวสาร และให้ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบเองด้วย ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารไหลบ่าจำนวนมาก การรอสื่อตรวจสอบเพียงอย่างเดียวคงไม่ไหว…”

………………………………………………………

ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด วัคซีนเป็นทางเลือกที่สำคัญที่จะช่วยฝ่าวิกฤตครั้งนี้ได้ เรื่องของวัคซีนจึงกลายเป็นวิวาทะทางสังคม เมื่อการนำเสนอข่าว ทำให้หลายคนรู้สึกสับสน เกิดการโทษกันในสังคมว่ารัฐสื่อสารไม่ตรงกันกัน ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนบ้าง หรือโทษว่าสื่อมวลชนเข้าใจผิดพลาด ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดของประชาชนบ้าง ดังนั้นเมื่อประชาชนไม่ทราบว่าข้อมูลใดจริงหรือเท็จ จึงอาจเลือกเชื่อตามแนวความคิดของตนเอง

เพื่อไขคำตอบว่า แล้วใครคือทางออกวิกฤตข่าวสารเรื่องวัคซีนโควิด เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2564 ภาคีโคแฟค (COFACT) ประเทศไทย จึงได้จัดงานเสวนาโต๊ะกลมออนไลน์ ‘รัฐ-สื่อ-สังคม: ใครคือทางออกวิกฤตข่าวสารเรื่องวัคซีน’ มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

นายกฤตนัน ดิษฐบรรจง ผู้ก่อตั้ง ส่องสื่อ กล่าวว่า จากกรณีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) หรือฝ่ายข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกแถลงการณ์ขอโทษถึงการนำเสนอข่าวสารที่ผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วนเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีน ตนเองมองว่าสถานการณ์การนำเสนอข่าวสารในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่เรียกว่ากลืนไม่เข้าคายไม่ออก จุดเริ่มต้นของปัญหาเริ่มมาจากการนำเสนอของภาครัฐที่ยังไม่ชัดเจนในเรื่องข้อมูลตั้งแต่แรก รวมถึงการขาดการเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าไปสอบถามหรือทำข่าว ดังนั้นสื่อจึงรับหน้าที่สรุปข่าว ทั้งๆ ที่บางข้อมูลอาจจะยังไม่ชัดเจน ขณะเดียวกันสื่อมวลชนทุกสื่อต่างเร่งกันนำเสนอข่าวสารมาก มีความเล่นข่าวเกิดขึ้นด้วยการพาดหัวให้น่าสนใจในบางสำนักข่าว ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดได้

ขณะที่ นายเจนพสิษฐ์ ปู่ประเสริฐ ผู้ก่อตั้ง ยามเฝ้าจอ กล่าวด้วยว่า ความผิดพลาดจากการนำเสนอข่าวสารที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากต่างคนต่างทำหรือไม่ ซึ่งจะต้องไปดูกระบวนการนำเสนอต่อไป อย่างไรก็ตาม การนำเสนอข่าวถึงผลกระทบต่อความเดือดร้อนของประชาชน ไม่สามารถเลี่ยงได้ ดังนั้นตนเองจึงมองว่าทางออกของวิกฤตข่าวสารนี้จึงอยู่ที่สื่ออาจถูกตรวจสอบได้โดยประชาชน แต่ไม่ถึงขั้นต้องใช้กฎหมายเข้ามาควบคุม

“ขณะนี้สื่อตกเป็นผู้ร้ายของบางคน แต่หากเราไม่มีสื่อจริงๆ เราจะฟังหรือติดตามข่าวสารจากภาครัฐ หรือภาคประชาชนเท่านั้นจริงหรือไม่ เนื่องจากภาคประชาชนอาจไม่มีกำลังทุนมากพอ ไม่มีบรรณาธิการ อาจทำให้สังคมวุ่นวายพอสมควร ดังนั้นเราจะต้องทำอย่างไรให้สื่อมวลชนสามารถอยู่ด้วยร่วมกันได้” นายเจนพสิษฐ์ กล่าว

ด้าน นางสาวฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวอีกว่า หลายคนอาจมองว่าสื่อคือผู้ตรวจสอบอำนาจของรัฐ แต่ประชาชนก็สามารถช่วยกันตรวจสอบสิ่งที่สื่อทำงานด้วยได้ ดังนั้นสังคมควรจะไปด้วยกัน คือ ร่วมกันตรวจสอบให้ครบถ้วนทุกแง่มุม อย่างไรก็ตามในการดูแลกำกับสื่อ จะต้องเป็นอิสระต่อการตรวจสอบของรัฐ เนื่องจากการใช้อำนาจของรัฐทางกฎหมาย หรือการฟ้องร้อง เป็นไม้แข็งไม้เรียวให้สื่อรับผิดชอบต่อสังคม จะทำให้สื่อไม่กล้าตรวจสอบรัฐด้วย ขณะเดียวกันอาจสร้างความสงสัยให้กับประชาชนได้เช่นเดียวกันว่า การที่รัฐใช้ยาแรงเลยนั้นจะมีเรื่องที่ปิดบังหรือไม่

“เครื่องมือในการแก้ไขวิกฤตข่าวสารมีอยู่แล้ว เพียงแต่รัฐเอง หรือประชาชนเองต้องใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง วิกฤตนี้อาจถึงวันที่สื่อตกอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐได้ แต่สถานการณ์ในประเทศไทย ขณะนี้เชื่อว่าหลายคนยังพึ่งพาสื่ออยู่ ถ้าไม่เช่นนั้นประชาชนคงจะติดตามแต่เพียงข่าวสารจากทางภาครัฐ นั่นแสดงได้ว่าประชาชนยังมองว่าการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนมีจุดที่ทำได้ดีแล้ว แต่อาจมีบ้างที่ผิดพลาดไป อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ รัฐเองต้องมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นมาด้วย เมื่อรวมอำนาจเข้ามาสู่ศูนย์กลางเพื่อบริหารสถานการณ์โควิดนี้” นางสาวฐิติรัตน์ กล่าว

ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การระบาดของโควิด เราจะเห็นข่าวสารที่ไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนไปเกี่ยวกับโควิด หรือที่เรียกว่า Infodemic ซึ่งข้อมูลข่าวสารนี้เปรียบเสมือนกับไวรัส ที่สื่อจะทำหน้าที่เป็นหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันประชาชน ซึ่งแน่นอนว่าหน้ากากอนามัยแต่ละยี่ห้ออาจจะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันบ้าง ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือการเรียกร้องให้หน้ากากอนามัยนั้นมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่การทำโทษคนขายหน้ากากอนามัย

“การทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการสื่อสารในยุคที่ข้อมูลข่าวสารไหลบ่าเข้ามามาก วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั้น คือการพูดคุยกันให้ตรงกันทุกครั้ง ถ้าหากพูดผิด ก็มาสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน โดยรัฐอาจจัดประชุมกับสื่อเพื่อให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งตรงนี้จะสร้างความเชื่อใจได้ดีกว่า การที่จะใช้ไม้แข็งหรือบอกว่าสิ่งนี้ควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ” นางสาวฐิติรัตน์ กล่าว

นางกุลชาดา ชัยพิพัฒน์ ที่ปรึกษาโคแฟค (COFACT) ประเทศไทย กล่าวต่อด้วยว่า ตนเองไม่เห็นด้วยกับการทางออกวิกฤตข่าวสารด้วยการเซ็นเซอร์ เนื่องจากการเซ็นเซอร์อาจทำให้ประชาชนอาจสงสัยลังเลในข้อมูลมากขึ้น จะเริ่มออกหาข้อมูลคำตอบ และจะยิ่งเชื่อในช้อมูลที่ถูกปกปิดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียมากกว่าการเกิดข้อมูลในด้านที่ไม่ดีบ้าง ที่จะช่วยดึงข้อมูลในส่วนที่ดีออกมาด้วย ดังนั้นรัฐจะต้องให้ข้อมูลเชิงประจักษ์มากขึ้น ขณะที่สื่อจะต้องตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนรอบด้านมากขึ้น ไม่มุ่งเน้นเพียงแต่ความรวดเร็ว และไม่ควรมาประณามด้วยกันเอง ทั้งนี้ขอเน้นย้ำว่าการตรวจสอบสื่อทำได้ แต่ไม่ควรมีการเซ็นเซอร์

ปิดท้ายด้วย ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา กล่าวว่า ทั้ง 3 ภาคส่วน ได้แก่ รัฐ ภาคประชาชน และสื่อมวลชนควรนำบทเรียนข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น มาหาทางออกวิกฤตข่าวสารร่วมกัน ร่วมกันทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้ โดยรัฐต้องเปิดเผย ใจกว้าง ให้ข้อมูลชี้แจง และต้องทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง ขณะที่สื่อควรจะนำเสนอข่าวอย่างครบถ้วนรอบด้าน ต้องรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เนื่องจากภาวะวิกฤตนี้เป็นเรื่องที่สำคัญและสามารถส่งผลกระทบไปได้หลากหลายมิติ สำหรับภาคประชาชนนั้น ขออย่ามีอคติต่อการรับข่าวสาร เนื่องจากอาจทำให้บดบัง ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ และขอให้ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบเองด้วย ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารไหลบ่าเข้ามาจำนวนมาก การรอสื่อตรวจสอบเพียงอย่างเดียวคงไม่ไหว

เปิดไทม์ไลน์ 4 ระยะรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย

Editors’ Picks
เนื้อหาเป็นจริง

รัฐบาลวางแผนเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกยก ปัดฝุ่นแผนเดิม 4 ระยะรับคนไม่ติดโควิด ฉีดวัคซีนครบเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว พักผ่อนในประเทศไทย จับตา “Phuket Sandbox” จะล่มหรือไม่ในรอบสอง ตั้งเป้าหมายเอาไว้หนาว ๆ เปิดรับ 1 ก.ค.นี้ ส่วนปีหน้าเปิดเดินทางได้อย่างอิสระ

พากันสั่นคลอนความมั่นใจไปไม่น้อยเลย หลังจากประเทศไทยพบกับจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเฉียด 5,000 รายในวันเดียว โดยเฉพาะฝั่งขับเคลื่อนนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศผ่านการท่องเที่ยวซึ่งล่าสุดเพิ่งจะคลอดแผนการทำงานใหม่อีกครั้ง หลังเจอผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ในระลอกใหม่เดือนเม.ย. ที่ผ่านมา

กองบรรณาธิการเฉพาะกิจ TJA&Cofact ได้มีการตรวจสอบรายละเอียดจากเอกสารการประชุมคณณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ครั้งที่ 2/1264 ที่ประชุมผ่านระบบ Video Conferenceโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข มอบหมายให้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานการประชุมแทนเมื่อต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการเปิดประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยว นำเสนอโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ตามแผนได้มีการกำหนดเอาไว้ด้วยกัน 4 ระยะ แบ่งเป็น 

ระยะที่ 1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย.2564 ตามแผนนี้เดิมกระทรวงการท่องเที่ยวตั้งใจจะเปิดนำร่องทำโครงการ Phuket Sandbox หรือการทดลองพื้นที่นำร่องเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว และมีใบรับรองการฉีดวัคซีน รวมถึงมีผลการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่าเป็นลบ สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องกักตัก แต่ให้อยู่ในพื้นที่จำกัด 7 วัน แต่เนื่องจากประเทศไทยเกิดการระบาดของไวรัสโควิดระลอกเดือนเม.ย. ทำให้แผนเปิด Phuket Sandbox ต้องถูกพับลงไปชั่วคราวในระยะแรก

ดังนั้นจึงเหลือเพียงการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนแล้ว มีใบรับรองการฉีดวัคซีน และกักตัวตามระยะเวลาที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศบค.) กำหนด นั่นก็คือเมื่อเข้ามาในประเทศไทยมรข่วงระยะแรกยังต้องเข้ารับการกักตัว 14 วัน

ระยะที่ 2 เริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค.-30 ก.ย.2564 ในระยะนี้ถือเป็นเป้าหมายใหม่ที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้จัดทำขึ้น โดยยกโครงการ Phuket Sandbox มาดำเนินการในช่วงนี้แทน ซึ่งแนวทางการดำเนินการยังคงแผนเดิมนั่นคือ เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว และมีใบรับรองการฉีดวัคซีน รวมถึงมีผลการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นลบ สามารถเข้ามาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตได้โดยที่ไม่ต้องมีการกักตัว เป็นเวลา 7 วัน และมีการตรวจหาเชื้อ ถ้าไม่พบว่าติดเชื้อ ก็สามารถเดินทางไปในพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทยได้

สำหรับการดำเนินการระยะนี้ ได้รับการยืนยันจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬาว่า รัฐบาลยังยืนยันผลักดันโมเดล Phuket Sandbox ตอนนี้จะเร่งจัดหาวัคซีน เพื่อนำมาฉีดให้ประชากรในจังหวัดภูเก็ต รวมถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวให้ได้ไม่ต่ำกว่า 70% ของจำนวนประชากรในพื้นที่ 9.5 แสนโดส พร้อมควบคุมให้จำนวนผู้ติดเชื้อในภูเก็ตเป็นศูนย์ให้ได้ หรือติดเชื้อในหลัก 10 เท่านั้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศ

ขณะเดียวกันในการดำเนินการในระยะนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ยังเตรียมจัดหาสิ่งจูงใจให้นักท่องเที่ยวต่างชาติตัดสินใจเดินทางเข้ามาในประเทศไทยในช่วงระยะที่ 2 นี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย.2564 ตั้งเป้าหมายดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาให้ได้ 1.29 แสนคน โดยจะมีการจัดหาตั๋วเครื่องบินในประเทศ ประมาณ 1 แสนใบ ราคาไม่เกิน 2,000 บาท แบบเที่ยวเดียว สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในภูเก็ตผ่านโครงการนี้ เมื่อครบเวลา 7 วัน ก็ได้รับตั๋วเครื่องบินเดินทางไปพื้นที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้ทันที เพื่อช่วยกระจายการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว 

รวมไปถึงการจัดทำเส้นทางนำร่องที่สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการของรัฐ (Seal Area) เช่น จากภูเก็ตไปเกาะต่าง ๆ ในระยะทางใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้กับนักท่องเที่ยวตัดสินใจเดินทางมาในประเทศไทยได้ตามเป้าหมาย โดยตอนนี้จะเปิดฟรีทั้งการเดินทางเข้ามาเป็นกรุ๊ปทัวร์ หรือเดินทางมาด้วยตัวเอง (Free Individual Travelers : F.I.T)

ระยะที่ 3 เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. – 31 ธ.ค.2564 ในระยะนี้จะผ่อนคลายพื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มเติมนอกเหนือจากจังหวัดภูเก็ต โดยเลือกจังหวัดที่มีศักยภาพทางทางการท่องเที่ยวของไทยเป็นหลัก ที่ผ่านมามีการเห็นชอบพื้นที่นำร่องไปแล้ว 5 พื้นที่ คือจังหวัดกระบี่ พังงา สุราษฎร์ธานี (สมุย-พะงัน-เต่า) ชลบุรี (พัทยา) และเชียงใหม่ โดยจะดำเนินการเช่นเดียวกับ Phuket Sandbox

อย่างไรก็ตามในการดำเนินการในระยะนี้ ล่าสุดในการประชุม ท.ท.ช. ได้เห็นชอบให้เพิ่มพื้นที่นำร่องเพิ่มเติมอีก 4 แห่ง คือ กรุงเทพฯ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี โดยกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ให้เหตุผลของการเพิ่มพื้นที่ 4 จังหวัดนี้ว่า จังหวัดแรกที่เพิ่มเข้ามา คือ กรุงเทพฯ ถือเป็นจุดหลายปลายทางหลักของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ขณะที่ จังหวัดบุรีรัมย์ มีเหตุผลว่า จำเป็นต้องเปิดรองรับการจัดการแข่งขันกีฬาหลายรายการ โดยเฉพาะการแข่งขันโมโต จีพี ในเดือน ต.ค. 2564 จึงจำเป็นต้องเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาได้ 

ส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นแหล่งพักผ่อนที่สำคัญของทั้งชาวไทยและต่างชาติและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะหัวหิน ซึ่งตอนนี้มีโครงการหัวหิน รีชาร์จ ตั้งเป้าหมายมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 1 แสนคน สร้างรายได้การท่องเที่ยว 1,200 ล้านบาท ขณะที่จังหวัดเพชรบุรี ก็ถือเป็นพื้นที่เชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ และประจวบคีรีขันธ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมเดินทางมาพักผ่อนเป็นประจำ

หากทำได้ตามแผนจนถึงในไตรมาสนี้ กระทวงการท่องเที่ยวฯ ตั้งเป้าหมายว่า ทั้งปีจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาได้ 3-4 ล้านคน หรือคิดเป็นรายได้ประมาณ แสนล้านบาท

ระยะที่ 4 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 เป็นต้นไป ซึ่งระยะนี้ ถือเป็นระยะสุดท้ายตามแผน คือ จะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติทุกคนที่ฉีดวัคซีนครบ และมีใบรับรองการฉีดวัคซีน รวมถึงมีผลการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นลบ สามารถเดินทางไปเที่ยวในประเทศไทยที่ไหนก็ได้ (หากไม่มีประกาศพื้นที่เพิ่มเติมในการควบคุม) โดยระยะนี้ถือว่า การท่องเที่ยวจะค่อย ๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 

แต่อย่างไรก็ตามแผนการดำเนินงานทั้ง 4 ระยะ ยังคงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันอย่างใกล้ชิด ว่าจะยังคงมีความรุนแรง หรือมีระยะเวลาการแพร่ระบาดที่ยาวนานมากแค่ไหน รวมไปถึงการติดตามสถานการณ์ของการจัดหา กระจาย และการฉีดวัคซีนโควิด-19 ด้วยว่า จะดำเนินการได้ตามแผนของรัฐบาลที่ตั้งเอาไว้หรือไม่ด้วย 

ที่มา : https://www.tja.or.th/view/tjacofact/1331293

“โรคระบาด-ข่าวปลอม-การเมืองแบ่งขั้ว” เรื่องเล่าต่างแดนว่าด้วยงาน ‘คนทำสื่อ’ ยุคโควิด

ISSUE 2/2021

โคแฟคเผย 5 ข่าวลือ ป่วนวัคซีนโควิดทั่วโลก เช็กให้ชัวร์ก่อนแชร์

ISSUE 1/2021

‘COFACT’ นวัตกรรมป้องกันเฟคนิวส์ ตรวจสอบก่อนเชื่อ-แชร์ข่าว – รายการข่าว 3 มิติ ช่อง 33

ขอบคุณคลิปจากรายการข่าว 3 มิติ ช่อง 33

Everyone is a fact checker! แนะนำการใช้งานเครื่องมือ Cofact

จัดทำโดย สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ให้ความจริงเกิดจากเรา – COFACTxFNF [MV]

เพลง : ให้ความจริงเกิดจากเรา
Artist : Fah tikumpond
Lyric : FahxFNF
Music : Joe puang
Melody : Fah tikumpond
Producer : Joe puang
Arranging : Joe puang
Composer : FNF
Mixing&mastering : Joe puang
Music Video : ทีมโคแฟคภาคเหนือ