How to “SureVac” เช็กยังไงให้ชัวร์เรื่อง “วัคซีน”

บทความ

3 พฤษภาคม 2564 กฤตนัน ดิษฐบรรจง

ขอบคุณที่มา : เวบส่องสื่อ

ในช่วงสุดท้ายของการจัดกิจกรรมในวันนี้ ทางโคแฟคร่วมกับชัวร์ก่อนแชร์ ของ บมจ.อสมท ได้จัดห้อง Clubhouse ในหัวข้อ “How to “SureVac” เช็กยังไงให้ชัวร์เรื่อง “วัคซีน”” ซึ่งมีวิทยากรสำคัญๆ ทั้งทางการแพทย์ ทางสื่อมวลชน ทางภาคประชาสังคม และหน่วยงานของรัฐมาร่วมพูดคุยกัน ซึ่งวันนี้เว็บไซต์ส่องสื่อของสรุปรวบรวมบางส่วนนำมาให้คิดต่อกัน

สุชัย เจริญมุขยนันท์ จากภาคีอีสานโคแฟค / Ubonconnect เกริ่นเริ่มต้นด้วยคำถามว่า สำหรับตนเองที่เป็นสื่อท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี สำหรับคนในพื้นที่เองต่างมีข้อสงสัยในการไม่อยากจะฉีดวัคซีน แม้กระทั่งบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลที่ไม่กล้าฉีดวัคซีนโควิด-19 เขาจึงโน้มน้าวให้ตัดสินใจระหว่างความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงกับความเจ็บป่วยในระยะยาวจะเลือกอะไร? กับความน่าเชื่อถือในแต่ละแบรนด์ของวัคซีน ซึ่งนั่นรวมไปถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรคอีกด้วย รวมไปถึงข้อถกเถียงเกี่ยวกับการนำเข้าวัคซีนว่าเป็นอย่างไร? จะฉีดกับโรงพยาบาลเอกชนได้เลยหรือไม่? อย่างไร?

มติเอกฉันท์ ‘ชวรงค์’ นั่ง ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
หลังจากนั้น ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ได้กล่าวว่า ปัญหาที่สำคัญที่ทำให้สื่อมวลชนไม่สามารถดำเนินการข่าวไปได้ตามปกติ เนื่องจากภาครัฐไม่สามารถบูรณาการเชิงข้อมูลไปให้ถึงสื่อมวลชนได้ จนทำให้สื่อมวลชนไม่สามารถกระจายข้อมูลไปยังประชาชนได้ โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากๆ นอกจากนี้อีกหลายข้อมูลที่จำเป็น โดยเฉพาะจำนวนเตียงในโรงพยาบาลสนามต่างๆ อาจจะทำให้สื่อสามารถตรวจสอบข้อมูลให้ได้ก็ไม่ได้มีการบูรณาการที่มากพอ

นอกเหนือจากนั้นคือในเรื่องของวัคซีนที่นำเข้ามา เราก็เห็นว่าข้อมูลมีไม่เพียงพอ ทั้งในแง่ของการกระจายวัคซีน ตลอดจนถึงจำนวนวัคซีนที่ได้ฉีดในแต่ละพื้นที่จริงๆ การที่มีข้อมูลตรงนี้ก็จะช่วยทำให้ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ จนทำให้ประชาชนมั่นใจว่าวัคซีนมีเพียงพอและฉีดกันได้อย่างทันท่วงทีต่อไป ฉะนั้นการบูรณาการข้อมูลมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และจะไปต่อยอดถึงความเชื่อมั่นในการฉีดวัคซีนนั่นเอง

รพ.จุฬาฯ ตรวจ”โควิด”ทางน้ำลาย วางแผนรุกตรวจ ชุมชนรอบโรงพยาบาล

ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ หังสสูต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้พูดต่อถึงเรื่องวัคซีนว่า วัคซีนที่จะป้องกันแบบหมู่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของวัคซีนที่ป้องกันไวรัสโดยรวมว่ามีความสามารถมากเพียงใด เพื่อปกป้องไม่ให้คนติดเชื้อไปมากกว่านี้ ทั้งนี้ต้องนับจากสัดส่วนคนฉีดวัคซีนทั้งโลกด้วย ซึ่งด้วยความข้อมูลที่คลาดเคลื่อนนี้ อาจทำให้เราไม่สามารถรับรู้ได้ว่าข้อมูลที่แท้จริงมาจากไหน และที่สำคัญด้วยความที่ไวรัสกลายพันธุ์ได้ง่ายมาก จึงทำให้อาจเกิดปัญหามากกว่าเดิมได้

การฉีดวัคซีนทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับความปลอดภัย ซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญในการส่งออกวัคซีนได้ ซึ่งถ้าไม่ปลอดภัยตั้งแต่การทดสอบครั้งแรกก็อาจจะถูกปัดตกทิ้งไปได้ทันที

เดินหน้านวัตกรรมโคแฟค สู่การสร้างชุมชนค้นหาความจริง – Thaihealth.or.th | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ในส่วนของ ผศ.ดร.ณภัทร เรืองนภากุล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / ภาคีโคแฟค พูดถึงการพูดคุยเรื่องการแชร์ข่าวลวงว่า อุปสรรคในการสื่อสารข้อมูลเรื่องวัคซีนโควิด-19 นั้น พบว่าจากการที่ตนเองอยู่ในหลากหลายกลุ่ม โดยพื้นฐานคือวัฒนาธรรมของความเกรงใจ โดยเฉพาะเวลาที่เราต้องพูดคุยกับคนที่อาวุโสมากกว่า ในบางครั้งก็เกิดจากเกรงใจที่ไม่กล้าบอก ถ้าเขาลงข้อมูลข่าวลวงในกลุ่มไป ซึ่งที่เคยทำมาแล้วก็คือการแนะนำว่าข่าวลวงในกรณีเสียงสัมภาษณ์ที่ถูกตัดต่อ แต่ก็ถูกตอบกลับว่าอาจจะจริงก็ได้ เป็นต้น รวมไปถึงวัฒนธรรมในการอ่านที่อ่านมากไปก็อ่านไม่ครบ น้อยไปก็ไม่ได้ข้อมูลที่ครบดีอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคทางด้านข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งส่งผลต่อกรณีการอ่านและตรวจสอบข้อมูลด้วยตนเอง ทำให้เกิดความไม่เข้าใจขึ้นต่อๆ กันไปด้วย บางครั้งอาจจะหลงเชื่อว่าข่าวจริงด้วยซ้ำไป

กองทุนสื่อฯเดินสายติวเข้มชุมชนรับทราบกฎระเบียบข้อบังคับการขอรับทุนสนับสนุน – สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้พูดเสริมเรื่องสื่อที่ปลอดภัยที่ช่วยในการสื่อสารที่ถูกต้องว่า วันนี้สื่อมวลชนต้องทำหน้าที่ที่แตกต่างจากคนที่ทำตัวเป็นสื่อ ต้องสร้างความเข้าใจให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงมากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าการรู้เท่าทันสื่อคือประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้องและมั่นใจ โดยผู้เสพสื่อควรมีทักษะในการตรวจสอบและมีวิจารณญาณในการเสพสื่อ กลั่นกรอง นอกจากนี้การสื่อสารของสื่อมวลชนก็เป็นส่วนสำคัญในการอธิบายแบบต่างๆ ที่ดีขึ้น ไม่ใช่แค่การหยิบยกข้อเสียออกมาอย่างเดียว แน่นอนว่าวัคซีนบางตัวอาจจะดีสำหรับบางคน เราจึงอยากเห็นหน่วยงานในการทำงานร่วมกันเกี่ยวกับการสร้างความรู้ความเข้าใจได้

การตั้งสติในการรับข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ และกลั่นกรองจากการสื่อสารต่างๆ อย่างระมัดระวัง ในขณะที่การแสดงความเห็นทุกคนยังคงสามารถแสดงความเห็นได้ แต่ต้องแนบว่าเป็นข้อคิดเห็นของท่านเพียงเท่านั้น เพื่อทำให้สามารถเข้าใจมากขึ้น สรุปโดยรวมคือต้องมีสติ มีความเข้าใจในการรับข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แจงชัด! เหตุไม่จองวัคซีนโควิดผ่านโคแวกซ์ เสี่ยงได้รับช้า-ราคาสูง | Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ
นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า แน่นอนว่าวัคซีนทุกตัวที่ใช้กันในขณะนี้ จะเป็นการป้องกันในสัดส่วนที่ไม่แพร่กระจายเชื้อที่ทำให้เกิดโรคได้ สำหรับเป้าหมายของสถาบันเน้นการให้คนที่พร้อมฉีดวัคซีนได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นการป้องกันส่วนบุคคล ถ้าหากมีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนกันครอบคลุมและเกิดการป่วยแบบไม่มีอาการ อาจจะทำให้สถานการณ์ระดับโลกเบาบางลงได้ โดยต้องคงสัดส่วนทั้งโลกในการเข้าถึงวัคซีนถึงจะป้องกันได้

ในส่วนของ 3 เดือนแรกในการจัดหาวัคซีนเราพบปัญหาในการจัดส่งวัคซีน ทำให้ได้แค่ซิโนแวคเท่านั้น แม้แต่วัคซีนตัวที่เราผลิตเองได้ก็ต้องใช้ระยะเวลา จึงต้องเร่งรัดการใช้เวลาในการฉีดวัคซีน ส่วนข้อมูลลวงบางอย่างก็เกิดจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการฉีดวัคซีน ในส่วนนี้ต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง สำหรับงานวิจัยในไทยก็จะเริ่มการทดลองในขั้นต่อๆ ไปแล้ว โดยเฉพาะขององค์การเภสัชกรรม

สำหรับใครที่แชร์ข้อมูลที่อ่านไม่ถี่ถ้วน ถ้าเราแชร์แสดงว่าเราเชื่อตามนั้นแล้ว และนั่นอาจจะแสดงว่าคุณเป็นเจ้าของข้อมูลร่วมในชุดนั้นด้วย ฉะนั้นตรวจสอบและอ่านให้ถี่ถ้วน ถ้าไม่แน่ใจก็ตจรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไปจนได้ความจริง

Content Creator
กฤตนัน ดิษฐบรรจง
บรรณาธิการบริหาร MODERNIST Studio : ชอบดูทีวี สนใจเรื่องราวของสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะสื่อทีวีและวิทยุ ชอบเขียนบทความ เป็นเด็กค่าย #YWC16