สรุป “การบริหารจัดการเตียง” ในสถานการณ์โควิด-19 (สัมภาษณ์พิเศษ)

Editors’ Picks
เนื้อหาเป็นจริง

กองบรรณาธิการเฉพาะกิจ TJA&Cofact สัมภาษณ์ พิเศษ “นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ สรุป การบริหารจัดการเตียงโควิด-19 และการขยายเตียงICU ผู้ป่วยโควิดอาการหนัก.

การบริหารจัดการเตียงโควิด-19

กลุ่มผู้ป่วยสีเขียวที่เพิ่มขึ้นจากที่บ้าน ตอนนี้มีโรงพยาบาลสนาม hospitel รองรับ ถือว่ายังอยู่ในระดับที่รับได้ แต่ที่น่ากังวลและเป็นปัญหา คือ กลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง หรือสีแดงจากที่บ้าน หรือจากโรงพยาบาล รวมถึง กลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองจากโรงพยาบาลที่กลายเป็นสีส้มเป็นสีแดง คือ มีอาการมากขึ้น ในส่วนนี้จำเป็นต้องใช้ศักยภาพในการรักษาของโรงพยาบาลใหญ่

แผนที่เตรียมไว้และทำอยู่ คือ ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องการเตียงในกลุ่มสีเหลืองจากบ้านในระบบ 1668 จะถูกนำเข้าสู่ระบบกลาง co link โดยจะส่งเตียงในกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองที่ต้องการไปยังโรงพยาบาลของกรมการแพทย์ที่ยังสามารถช่วยดูแลได้ โดยจะมีการเพิ่มเตียงของโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ เช่นสถาบันบำบัดยาเสพติดฯปทุมธานี ที่เพิ่มเป็น 200 เตียง / โรงพยาบาลนพรัตนฯอีก 45 เตียง / สถาบันประสาทอีก 100 เตียง/ โรงพยาบาลเลิดสิน อีก 30 เตียง/ ในส่วนนี้จะพอในระดับหนึ่ง

และกำลังทำโรงพยาบาลสนามสีเหลือง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาลสนามที่จังหวัดสมุทรสาคร แต่เดิมจะรองรับในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวจากกรุงเทพฯเท่านั้น แต่ตอนนี้อยู่ระหว่างการวางระบบในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองอ่อนที่มีอาการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยด้วย

ส่วนที่ 2 คือ โรงพยาบาลสนามของกรุงเทพฯ ที่จะรองรับกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองได้มากขึ้น โดยข้อบ่งชี้ผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลสนาม และ hositel ที่จากเดิมเป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวอย่างเดียว ตอนนี้จะมีการเพิ่มกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองนิดหน่อย ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัวมากๆ สามารถที่จะอยู่ได้

ขณะที่ในโรงพยาบาล กลุ่มผู้ป่วยสีแดงหมายถึง ผู้ติดเชื้อมีอาการหนักขึ้น แต่อาจยังไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ จะมีการวางระบบ ว่า โรงพยาบาลที่เป็นแม่ข่ายในกรุงเทพมหานคร ได้แบ่งออกเป็น 6 โซน เช่น โรงพยาบาล โรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาฯ โรงพยาบาลศิริราช

โรงพยาบาลรามาธิบดีฯ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลภูมิพล วชิรพยาบาล และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งโรงพยาบาลดังกล่าว จะเป็นหัวหน้าโซนในการดูแลผู้ป่วยสีเขียว เหลือง แดง ในพื้นที่ของตัวเอง แต่ถ้าโรงพยาบาลเล็กๆใน 6 โซนจำเป็นต้องใช้เตียงสีแดง ก็จะปรึกษามายังหัวหน้าโซน หากเตียงในโซนนั้นเต็ม จะมีการขอเตียงข้ามโซนกันได้ ผ่านศูนย์การบริหารจัดการเตียงโรงพยาบาลราชวิถี.

“ขณะนี้อัตราการครองเตียงในกลุ่มผู้ป่วยสีแดงอยู่ที่ร้อยละ 85 ซึ่งถือว่าอยู่ในจุด

วิกฤต ซึ่งเป็นจุดที่ต้องมีการปรับกลยุทธ์ปรับจำนวนเตียง นอกจากการปรับในการดูแล 6 โซนแล้ว ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางมารักษายังโรงพยาบาลใหญ่อย่างเดียว แต่จะให้ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์โรงเรียนแพทย์ช่วยดูแลผู้ป่วยที่อยู่โรงพยาบาลเล็กได้ บางทีโรงพยาบาลเล็กมีห้อง แต่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญเราจำเป็นต้องนำผู้เชี่ยวชาญไปดูแลให้” นพ. ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว

ส่วนที่ 2 คือการขยายห้อง ICU เพิ่มขึ้น โดย ICU มี 2 ส่วน

ส่วนหนึ่งคือ ห้อง ICU ที่อยู่ในโรงพยาบาลที่ปรับจากการเอาห้องดูแลผู้ป่วยโควิดสามัญ ที่มีลักษณะห้องโถงใหญ่ ปรับให้มาเป็นห้อง ICU คือ เอาผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจมารักษาในห้องนี้ โดยใช้มาตรฐานในการดูแลเดียวกันได้ แต่อาจจะไม่ใช่ห้องที่เป็นความดันลบโดยสมบูรณ์ / ส่วนอีก 1 แนวทางคือการจัดตั้ง ICU สนามซึ่งตอนนี้ได้มีแนวทางเตรียมแผนไว้ที่โรงพยาบาลราชวิถีแล้ว

กรณีการจัดตั้งICUโรงพยาบาลสนาม

นพ. ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า ICU สนาม จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ออกซิเจน เครื่องดูดซัคชั่นสูง อุปกรณ์เหล่านี้ไม่สามารถที่จะไปวางตามโรงพยาบาลสนาม เช่น ในโรงยิม สนามกีฬาฯ ที่อยู่ไกลๆนอกรพ.ได้ ซึ่งยังไม่มีความพร้อม

เบื้องต้นเลยมีแนวทางจัด ICU ในโรงพยาบาลสนาม ที่โรงพยาบาลราชวิถี อยู่ในอาคารและห้องว่าง ซึ่งสามารถใช้อุปกรณ์เฉพาะในโรงพยาบาลได้

ส่วนที่2 คือ การจัดตั้งในอาคารลานจอดรถของโรงพยาบาลราชวิถี โดยเตรียมไว้ 3 ระยะ

ระยะที่1 : ปัจจุบันได้มีการติดตั้งแล้วซึ่งจะใช้ได้เต็มที่ในวันที่ 10 พฤษภาคมจำนวน 10 เต้นท์ หรือ 10 ยูนิต โดยเป็นห้องความดันลบ

– ระยะที่2 : จะเพิ่มอีก10 เต็นท์ รวมเป็น 20ห้อง

– ระยะที่3 : จะถูกวางในอาคารของโรงพยาบาล

ซึ่งทั้ง 3 แนวทาง ยังเป็นแนวทางที่เตรียมไว้แต่ยังไม่ถูกนำมาใช้ในขณะนี้ ถ้าระบบในโรงพยาบาลยังสามารถรักษาได้อยู่

“คงไม่สามารถนำ ICU สนามไปอยู่ในโรงพยาบาลสนามจริงๆได้ เนื่องด้วยปัจจัยทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญที่ยังคงต้องรักษาผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาลอยู่

วันนี้บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาลเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้มีการปฏิบัติงานเต็มที่ในโรงพยาบาล หากจะต้องมีการให้บุคลากรเหล่านี้ไปประจำอยู่โรงพยาบาลสนามในห้อง ICU เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร ส่วนหนึ่ง คือ เครื่องมือทางการแพทย์หลายชนิดจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลและมีการขนย้ายลำบาค”

สำหรับผู้ป่วยICU ปกติ กับผู้ป่วยICUโควิด มีการแยกการรักษาอย่างชัดเจนเนื่องจากผู้ป่วยโควิดที่อาการหนัก และอยู่ห้องICU ต้องรักษาในห้องความดันลบ รอบถึง ต้องเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้รักษาภายในห้อง ทีมแพทย์ ทีมพยาบาล มีการแยกทีมกันอย่างชัดเจน ซึ่งจะต่างจากหอผู้ป่วย ICU ปกติ เนื่องจากต้องป้องกันเรื่องของการติดเชื้อ.

สำหรับอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วยโควิด19 อาการรุนแรงมาก

– คือ เครื่องออกซิเจน หรือเครื่องไฮโฟลว์ และ เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งในอดีตมีการ เตรียมอุปกรณ์ดังกล่าวไว้เพียงพอเหมาะสมกับจำนวนห้องไอซียูที่มีอยู่ หมายความว่า หากมีห้องไอซียูกี่ห้อง ก็จะมีการเตรียม เครื่องช่วยหายใจไว้เพียงพอ

แต่วันนี้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องการมาก คือ เครื่องไฮโฟลว์ คือเครื่องทำออกซิเจน เอาออกซิเจนเข้าสู่ปอดของคนไข้ การที่เราให้เร็วขึ้นตั้งแต่ผู้ป่วยในอยู่ระยะสีเหลือง จะทำให้ผู้ป่วยไม่กลายเป็นผู้ป่วยสีแดง เมื่อก่อนครั้งที่ยังมีผู้ป่วยไม่เยอะเครื่องไฮโฟลว์ มีความเพียงพอ แต่พอสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้ป่วยเยอะขึ้นมันและมีอาการอยู่ในระยะสีเหลืองเพิ่มขึ้น ตรงนี้เครื่องไฮโฟลว์ จะทำให้ผู้ป่วยให้หายได้เร็วขึ้น และไม่มีอาการรุนแรงกลายเป็นผู้ป่วยสีแดง ในหลายโรงพยาบาลจึงมีความต้องการ

“เมื่อก่อนเคสผู้ป่วยอาการหนัก จะอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่เท่านั้น แต่ปัจจุบัน เคสผู้ป่วยปานกลาง โรงพยาบาลเล็กๆจำเป็นที่จะต้องทำการรักษา เครื่องมือดังกล่าว โรงพยาบาลเล็กไม่เคยมี วันนี้พอมีผู้ป่วยเยอะขึ้น โรงพยาบาลเล็กเลยจำเป็นต้องใช้เครื่องมือไฮโฟลล์ด้วย หากได้ก็ดี เราไม่ต้องรอผู้ป่วยแย่ก่อน แต่ถ้าไม่ได้สุดท้ายคือต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ”

ขณะนี้ในโรงพยาบาลใหญ่ มีการสั่งซื้อเครื่องมือไฮโฟลว์เยอะมาก ซึ่งต้องมีระยะเวลาการจองและการจัดส่ง เนื่องจากต้องสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่นที่ โรงพยาบาลรามาธิบดีมีการสั่งประมาณ 100 ตัว ขณะที่ภาพรวมการสั่งเครื่องมือดังกล่าวทั่วประเทศมีกว่า 2000-3,000 ตัว

ประเด็น การนำผู้ป่วยไม่จำเป็นออกจากห้องICU  จึงมีคำถามว่า แล้วแต่ก่อนทำไมถึงนำเข้าไป   นพ. ณัฐพงษ์ ระบุว่า แต่ก่อนเตียงเหลือผู้ป่วยไม่มาก ยังรักษาได้เต็มที่อีกทั้งเมื่อก่อนมีห้องว่าง ทีมแพทย์ก็รักษาดีที่สุดเต็มที่ คือนำผู้ป่วยเข้าห้องดังกล่าว แต่วันนี้มาพิจารณาและมีการหารือกันแล้วผู้ป่วยหลายรายที่เคยเข้าไปแล้วไม่จำเป็นต้องอยู่ก็ได้ เราจึงต้องถอยผู้ป่วยเหล่านี้ออกมาอยู่ห้อง ICU รวม และเอาผู้ป่วยที่มีอาการหนักจริงๆ ที่บอกว่าเป็นสีแดงเข้มกลับเข้าไปแทน ถ้ามีการจัดสรรหมุนเวียนอย่างนี้ ภายในโรงพยาบาล ภายในเครือข่าย และข้ามเครือข่าย จะทำให้เสามารถใช้เตียง ICU ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด สถานการณ์ตอนนี้ ถือว่ายังพอไปได้ แต่ก็ถือว่าตึงและติดขัด