สรุปข่าวจริง ลวงประจำวันที่ 2 มกราคม 2565
จริงหรือไม่…? ฉีดวัคซีนเสี่ยงติดโควิดมากกว่าคนมีภูมิธรรมชาติ 13 เท่า
ไม่จริง
เพราะ…ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่าเป็นข้อมูลจากผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีนในสหรัฐฯ ซึ่งข้อมูลจากเวบยังไม่ผ่านการ Peer Review หรือประเมินความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญในแวดวงวิชาการ จึงไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงในงานปฏิบัติการทางคลินิกได้
อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/19wndw8al1fv
จริงหรือไม่…? Moderna และ Johnson&Johnson ปกปิดข้อมูลในฉลากวัคซีน
ไม่จริง
เพราะ…ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า ไม่ใช่การจงใจปิดบังข้อมูล แต่เป็นความต้องการให้ผู้คนค้นหาข้อมูลของวัคซีนทางออนไลน์ เนื่องจากมีการอัพเดทข้อมูลที่ทันต่อสถานการณ์มากกว่า
อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/7dbjehi6342y
จริงหรือไม่…? ธนาคารออมสิน เปิดสินเชื่อสู้ภัยไวรัส ไม่มีงานทำก็กู้ได้ วงเงิน 500,000 บาท
ไม่จริง
เพราะ…สินเชื่อดังกล่าวมีชื่อว่า สินเชื่อสวัสดิการสู้ภัยโควิด ไม่มีชื่อเรียกอื่น และเป็นสินเชื่อที่ให้บริการแก่ผู้ที่มีเงินเดือนมีรายได้ประจำเท่านั้น
อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/x11vehlwznwn
จริงหรือไม่…? สหภาพยุโรป มีมติยอมรับ Thailand Digital Health Plus บนหมอพร้อม เพื่อเข้าประเทศในสหภาพยุโรปกว่า
จริง
เพราะ…เริ่มใช้งานได้ภายใน ม.ค. 65 ใช้เดินทางเข้าประเทศกว่า 60 แห่ง
อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/356lom19vs8c3
จริงหรือไม่…? “ไวรัสนิปาห์” ไม่มีวัคซีน โอกาสตาย 70%
จริง
เพราะ…เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน จากการสัมผัสมูลสัตว์ และสารคัดหลั่งของพาหะนำโรค ยังไม่มียาต้านทานไวรัสนิปาห์ได้โดยตรง รวมไปถึงยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้
อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/1idck1qcvhp1c
จริงหรือไม่…? ครม. มอบของขวัญให้ลูกจ้างแรงงาน เพิ่มเงินสงเคราะห์ลูกจ้างสูงสุด 100 เท่า
จริง
เพราะ…เพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์จากกองทุนฯลูกจ้างสูงสุด 100 เท่า รวมทั้งสมทบผู้ประกันตน ม.40 นาน 6 เดือนและฟรีดอกเบี้ย 0% นาน 12 เดือน สำหรับการกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน
อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/ywoluir96edx
จริงหรือไม่…? ไขมันพอกตับ คือสิ่งที่คนไทยเป็นกันเยอะมาก ไม่ใช่เพียงเพราะแอลกอฮอล์ แต่การกินขนมเครื่องดื่มก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
ข่าวจริงบางส่วน
เพราะ…การกินอาหารให้พลังงานสูง แอลกอฮอลล์ เป็นสาเหตุของไขมันพอกตับ แต่ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับเพศ ประเภท ปริมาณและระยะเวลาดื่มแอลกอฮอล์ และนอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆด้วย
อ่านต่อได้ที่https://cofact.org/article/3b9j0j5gd7x2