รับประทานผักปริมาณมากทำให้ท้องอืดจริงหรือไม่

ผักนับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และให้คุณค่าแก่ร่างกาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย และเป็นแหล่งของใยอาหารที่ช่วยร่างกายกำจัดสิ่งหมักหมมในลำไส้ แต่รู้หรือไม่ว่า หากรับประทานผักในปริมาณที่มากจนเกินไปจะทำให้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือแน่นท้องได้

เนื่องจากผักมี “เซลลูโลส” ที่เป็นสารประกอบของคาร์โบไฮเดรต พบได้ในผนังเซลล์พืช ธัญพืชและผักใบเขียวทั่วไป  ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายมนุษย์ไม่สามารถการย่อยสลาย เซลลูโลส ได้โดยตรง ใยอาหารหรือไฟเบอร์เหล่านี้ต้องใช้แบคทีเรียในการย่อย ทำให้เมื่อเรารับประทานผักในปริมาณมาก ร่างกายจะต้องส่งเส้นใยเหล่านี้ไปยังลำไส้  เพื่อให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ทำหน้าที่ย่อยเส้นใยอาหารบางส่วนผ่านกระบวนการหมัก เมื่อเกิดกระบวนการหมัก แบคทีเรียจะปล่อยก๊าซออกมา ซึ่งแก๊สเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องอืด แน่นท้อง หรือมีลมในกระเพาะอาหาร 

วิธีป้องกันอาการท้องอืดจากการกินผัก มีดังนี้

  • เริ่มกินผักทีละน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้น จะช่วยให้ลำไส้ปรับตัวและย่อยสลายกากใยในผักได้ดีขึ้น เลือกกินผักที่มีกากใยน้อย เช่น ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ผักโขม ผักบุ้ง ฯลฯ ปรุงผักให้สุกก่อนกิน จะทำให้ผักมีกากใยน้อยลง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยในการย่อยอาหารและขับถ่ายแก๊ส
  • หลีกเลี่ยงการกินผักที่มีกากใยสูง เช่น กะหล่ำปลี บร็อคโคลี ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว ผักกาดหอม ผักกาดขาว ฯลฯ ในช่วงที่มีอาการท้องอืด

สรุปคือ การรับประทานผักในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดอาการท้องอืดได้  เนื่องจากร่างกายเราไม่สามารถย่อยเส้นใยเหล่านี้ได้โดยตรง ทำให้ต้องอาศัยแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้เป็นตัวช่วยย่อยสลาย จึงทำให้เกิดแก๊สที่เป็นสาเหตุของท้องอืด  

( ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล / โรงพยาบาลพญาไท 2 / โรงพยาบาลรามคำแหง )

Cofact

https://cofact.org/article/1m370x79zj03r

Banner