ใส่ผ้าอนามัยระยะเวลานาน ทำให้เสี่ยง “มะเร็งปากมดลูก”

มะเร็งปากมดลูก นับว่าเป็นภัยคุกคามสุขภาพของผู้หญิงไทยอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงอายุ 35-50 ปี แต่ในปัจจุบันก็พบผู้ป่วยในช่วงวัยรุ่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สังคมเกิดการตั้งคำถามถึงประเด็นที่ว่า  การไม่เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ นั้นมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกจริงหรือไม่

การเกิดมะเร็งปากมดลูกนั้น เกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human papilloma virus) ซึ่งปกติมัก มาจากการมีเพศสัมพันธ์ ผ่านการสัมผัสผิวหรือเยื่อบุอวัยวะเพศ หรือการที่ปากมดลูกมีรอยถลอกหรือแผลทำให้ติดเชื้อ รวมไปถึงการสูบบุหรี่ที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง

แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้ดังนี้

  • 1. หมั่นตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่มซึ่งสามารถตรวจคัดกรองได้โดย แพปสเมียร์ (Pap Smear) และการตรวจหาเชื้อ HPV 
  • 2. ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV
  • 3. คุมกำเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัย
  • 4. งดสูบบุหรี่
  • 5.หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย 
  • 6. หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน

ทั้งนี้การใส่ผ้าอนามัยแผ่นเดิมเป็นระยะเวลานาน  ก็สามารถส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ที่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง อาการคัน หรือเชื้อเหล่านี้อาจแพร่ไปยังทางเดินปัสสาวะทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 4-6 ชั่วโมง หรือตามปริมาณประจำเดือนที่มีในแต่ละวันให้เหมาะสม

(ข้อจาก คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี / คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล / สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข )

Cofact

https://cofact.org/article/3pw67a6ue2mem