covid-19

นักวิชาการ แนะสื่อ-ประชาชน คัดกรอง “ข้อมูล-ข่าวปลอม” ในวิกฤตโควิด

วงเสวนาวิชาการ ยอมรับสื่อมวลชนยุคโควิด-19 ต้องทำงานท่ามกลางพายุข่าวสาร และ Fake Newsจำนวนมาก การตรวจสอบข้อมูลมีส่วนสำคัญ ต้องผลิตข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบแหล่งที่มาได้ชัด เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ ประชาชนรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง ยอมรับ ประชาชนยังศรัทธา สื่อกระแสหลัก เป็นที่พึ่งในยามวิกฤต การนำเสนอข้อมูลข่าวสารต้องมีคุณภาพ

สรุปรายละเอียด “ประกาศยกระดับ” มาตรการคุมโควิด เริ่ม 1พ.ค.นี้

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ควบคุมต้นเหตุการณ์ระบาดของไวรัสโควิด รวมทั้งหมด 6 ข้อ ทั้งให้สวมหน้ากากอนามัย-หน้ากากผ้า กำหนดพื้นที่ควบคุม ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม ออกมาตรการควบคุมสีแดงเข้ม และสีแดง รวมทั้งกำหนดแนวทางการทำงานนอกสถานที่ตั้ง มีผล 1 พ.ค.2564 เป็นต้นไป

เคลียร์ข้อสงสัย “สายด่วน 1668” ภารกิจบริหารจัดการเตียงโควิด-19

TJA&Cofact ตรวจสอบข้อมูลภายในศูนย์ประสานงานของสายด่วน 1668 กรมการแพทย์ พบว่า จะมีเจ้าหน้าที่ สหสาขา ของกรมการแพทย์ และแพทย์ชำนาญการประจำ ที่ผลัดเปลี่ยน หมุนเวียน มาเป็นอาสาสมัครให้บริการประชาชน ซึ่งแต่ละคนล้วนมีหน้าที่ประจำจากงานหลัก ซึ่งการทำงานในส่วนนี้จะเป็นทีมที่3 ทำหน้าที่ติดตามผู้ติดเชื้อที่ถูกแบ่งตามระดับอาการจากการติดเชื้อโควิด-19

“เสรีภาพบนความรับผิดชอบยุคโควิด19 สื่อไทยยืนอยู่จุดไหนในสายตาประชาชน”

เสวนาออนไลน์ “เสรีภาพบนความรับผิดชอบยุคโควิด19 สื่อไทยยืนอยู่จุดไหนในสายตาประชาชน” ภาคประชาสังคมเรียกร้องเลิกต่ออายุ “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” ย้ำให้สื่อเสนอข่าวสร้างสรรค์และรับผิดชอบ รับมือกับ new normal หลังไวรัสระบาด

เราจะหยุดยั้งการระบาดของข่าวลวงด้วย Super-corrector ได้อย่างไร

ผลการวิเคราะห์ข่าวลวงเรื่อง Covid-19 ชี้ให้เห็นว่าข่าวลวงจะแพร่กระจายน้อยลงเมื่อมีองค์กรสื่อและโซเชียลมีเดียที่มีผู้ติดตามมากเป็นผู้แก้ข่าวนั้นพร้อมๆกันทันทีหลังพบ Super-spreader

Back to top